สินสอดมีเพื่ออะไร คำถามในวันที่สินสอดทำร้ายเรา

ผมอายุ27ปี ทำงานเป็นวิศวกรแห่งหนึ่งมีแฟนอายุเท่ากัน (ออกตัวแรงว่า เป็นคนมีความคิดเชิงตรรกะสูงประมาณนึง ทำอะไรมีเหตุผลเสมอ จะไม่ชอบพวกปนะเพณีที่หาเหตุผลมาซับพอตไม่ได้)
เราสองคนมีแพลนอยากซื้อบ้านก่อนและแต่งงานกัน(3ปีข้างหน้า) 
บ้านที่อยากได้ราคา6ล้านกว่าๆ และดูเงินเก็บและการผ่อนก็ไปไหว ลองยื่นpre-approve ผ่านหมดแล้ว(ผมคนเดียว)
แผนคือผมยื่นซื้อบ้านคนเดียวและอยู่คนเดียวไปก่อน หลังแต่งแฟนค่อยมาอยู่ แต่รีบซื้อเพราะราคาบ้านขึ้นเร็วมาก จนอนาคตคิดว่าซื้อไม่ไหวแน่
แต่!!!!! ที่บ้านแฟนผมเรียกสินสอด6แสนและทอง10บาท (ปัจจุบันรวมๆก็9แสนบาท) ซึ่ง ถ้าผมต้องจ่ายสินสอนราคานี้ บ้านที่ผมกับแฟนฝันไว้จะไม่สามารถได้มา เนื่องจากจำนวนเงินค่อนข้างเยอะ(สินสอดไม่คืน) ยังไม่รวมค่าจัดงานอีก
 
แฟนพยายามไปคุยกับที่บ้านว่าทำไมต้องเรียกเยอะ สุดท้ายผมทำงานซื้อบ้านเพื่อแฟนผมจะได้สบายทั้งนั้น
จนแฟนทะเลาะกับที่บ้านเรื่องสินสอด เราทั้งคู่ไม่ชอบเรื่องนี้มาก ไม่เข้าใจว่ามันคือค่าอะไรที่ต้องมาจ่าย จะบอกว่าค่าน้ำนม งั้นให้พ่อแม่ปู้ชายด้วยไหม
 
หนักใจมาก ปล.ที่อยากได้บ้านราคานี้เพราะมันมีห้องนอนด้านล่างเผื่ออนาคตแม่แฟนมาอยู่ด้วย จะได้ไม่ต้องเดินขึ้นบรรได
 
มีใครเข้าใจเหตุผลของสินสอดจริงๆไหมครับว่ามันคือเพื่ออะไร
เคนถามกับหลายคนแล้วได้แบบ ไม่เห็นด้วยกับเรื่องสินสอด หรือถ้าเห็นด้วย พอถามๆเยอะๆก็ไม่ไคยได้คำตอบแบบเชิง ตรรกะเลย ได้แต่มันเป็นประเพณี เค้าทำมา ก็ทำๆไปเหอะ(ส่วนตัวไม่โอเคกับคำตอบแบบนี้มากๆ ไร้ซึ่งเหตุผล)

************
ก่อนอื่น ขอบคุณทุกคนนะครับที่มาตอบกัน
ประเด็นที่ไม่เคลียหลังจากอ่านเม้นมานะครับ
1. ตอนกู้จริง จะกู้คนเดียว แต่หลังจากนั้น3ปีตอนรีไฟแนนซ์หลังแต่งงาน จะใส่ชื่อแฟนเข้าไปด้วยครับ (ก่อนแต่งงาน ผมอยู่แค่คนเดียวครับ เนื่องจากทางบ้านไม่เห็นด้วยเรื่องอยู่ก่อนแต่ง)

2. เรื่องผ่อนบ้าน เป็นทางผมผ่อน100%ครับ (แฟนมีภาระ บ้านแม่ รถตัวเอง บลาๆ) ส่วนผมไม่มีภาระครับ

3.ที่รีบอยากซื้อบ้านเพราะ ราคาบ้านแถวนี้ขึ้นเร็วมากครับ 3ปีขึ้นมาเกือบล้าน กลัวว่าต่อไปไม่มีปัญญาซื้อครับ เนื่องจากต้องคิดถึงลูกที่จะมีในอนาคต (จากใจว่าไม่เคยคิดเรื่องซื้อก่อนแต่งจะได้ไม่เป็นสินสมรส ส่วนตัวไม่ซีเรียสครับ)

4. ปัจจุบันค่อนข้างสนิทกับที่บ้านแฟนครับ ไปกินข้าวด้วยกันทุกอาทิตย์ ผมพาเที่ยวบ้างครับ(แฟนบอกว่าที่บ้านโอเคกับผมครับ)


5. รบกวนทุกคนคุยกันดีๆ ให้เกรียติกันเถอะครับ อย่าด่าหรือว่าใครเลย ยิ้ม


ขอบคุณทุกคอมเม้นเลยนะครับ จะพยายามอ่านให้ครบแล้วปรับครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
ไม่ต้องใช้อ้างตรรกะหาเหตุผลหรอก แค่คุณไม่อยากจ่าย แค่นั้นเอง

บางอย่างก็ไม่ต้องหาเหตุผล

ประเพณีก็เป็นเหตุผลในตัวมันเองแล้ว

สมมติแต่งงานกัน วันหนึ่งพ่อตาแม่ยายตาย มีมรดกให้สิบล้าน เขายกให้ลูกหรือก็คือแฟนคุณ มันก็คือประเพณีหรือเปล่า

ถ้าวันนั้นมาถึง เขายกให้วัดแทน คุณจะบอกโอเค ไม่มีตรรกะที่เขาจะต้องยกให้เรา เงินเขา เขาอยากทำบุญตามใจเลย จะคิดอย่างนั้นได้หรือเปล่า

สรุปว่า ถ้าเขาเชื่อว่าควรมีสินสอด และมันคือประเพณีที่มีมาก่อนแล้ว ก็ยอมรับเถอะครับ
ความคิดเห็นที่ 18
ผมในฐานะคนที่มีลูกสาว ไม่คิดจะเกาะลูกกินในอนาคต “ไม่รับสินสอด” ครับ

อ่อ ตอนผมแต่ง สินสอดก็เอาไว้โชว์เฉยๆ จบงานแม่ยายคืนให้หมด ไม่เอาซักบาท

สินสอด - ตามกฏหมายมีบัญญัตไว้ตามความสมัครใจ จะให้ไม่ให้ก็ได้

ประเพณีคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและการรับรู้ของคน ถ้าว่าที่พ่อตาแม่ยายไม่ยอมเปลี่ยน เราก็ไม่ต้องฝืนครับ ทำงานเก็บเงินซื้อบ้านไป (ชื่อบ้านคือคุณนะ) แบบไม่ต้องแต่ง
ความคิดเห็นที่ 32
เอาจริงๆ นะ

เรื่องนี้ มันคือ ปัญหาของ ทางคุณกับผู้ใหญ่

ต่อให้คนในนี้ แบ่งฝ่ายกัน 50/50 สนับสนุนสินสอด และ ไม่สนับสนุนสินสอด

มันก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาของคุณได้เลย

พ่อแม่แฟน คุณเขาจะเอา ไม่ว่าเหตุผลอะไรคือ เขาก็จะเอา

คุณไม่อยากให้ ไม่ว่าเหตุผลอะไร ก็คือไม่อยากให้

ไปนั่งคุยกันดีๆ เจรจากันดีๆ

ไหนๆ จะเป็นครอบครัวเดียวกัน ไม่ต้องแข็งใส่กันก็ได้

สินสอดมันเป็นแค่ส่วนประกอบชีวิต

ปล. เรื่องสินสอด ไม่ควรให้ผู้หญิงไปคุยกับพ่อแม่ตัวเองเลยครับ คุณควรเดินเข้าไปคุยและเจรจาให้จบลงด้วยตัวเอง และถ้าสุดท้ายผลไม่เหมือนที่คิดไว้ คุณก็ต้องเป็นคนตัดสินใจเองว่าจะทำยังไงต่อ เพราะคุณกำลังจะกลายเป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นคนที่แฟนคุณจะฝากชีวิตเอาไว้หลังแต่งงานครั
ความคิดเห็นที่ 10
สินสอดเป็นอะไรที่ไร้สาระมากครับ

ถ้าจะบอกว่า เพื่อแสดงให้ครอบครัวอีกฝ่ายมั่นใจ งั้นเอามาแค่โชว์เฉยๆได้มั้ย ทำไมต้องเอาไป

ถ้าไม่ต้องเสียเงินสินสอด ชีวิตจะยิ่งมั่นคงขึ้นอีก

บางคนต้องไปกู้มา เริ่มต้นชีวิตก็ติดหนี้แล้ว จะดีเหรอ

เป็นผมไม่แต่งครับ
ความคิดเห็นที่ 13
มาตรา 1437 วรรค 3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความตอนหนึ่งว่า

สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่