สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 18
"ผมจึงสงสัยว่า ชีวิตอาจารย์มหาลัยมันแย่ เงินเดือนน้อยไม่คุ้มกับที่เรียน ไม่มั่นคง แบบที่สังคมไทยมอง ตรงไหนหรอครับ ?"
ถามแบบนี้ แสดงว่า จขกท. ไม่ได้เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย
ความจริงคือ
1. อาจารย์รุ่นใหม่ จบ ป.เอก บางคนเข้ามาบรรจุ ถ้าบรรจุใน ม.หัวแถว เงินเดือนก็ตามนั้นแหละ 41,000 ขึ้นไป แต่ไม่ได้เท่ากันทั้งประเทศ ม.บางแห่งยังจ้างที่ 27,000 อยู่เลย
2. ตำแหน่ง ผศ. ไม่ได้ 11,200 บาทเท่ากันทุกแห่ง หากจะได้เต็มต้องมีผลงานการตีพิมพ์มาแลก ไม่ได้จ่ายฟรี ๆ ทุกปี หลายที่จ่ายแค่ขาเดียวคือ 5,600 บาท และมีการจ่ายหรือไม่จ่ายขึ้นกับผลงานการตีพิมพ์ การทำตามพันธะกิจให้ครบ 4 ด้าน เมื่อเทียบ ผศ. กับอาชีพอื่นที่เป็นตำแหน่งชำนาญการพิเศษที่ได้ 11,200 ไปตลอดโดยไม่มีผลงานวิจัยมาแลก อ.มหาวิทยาลัย จึงเป็นอาชีพที่ไม่คุ้มค่าเหนื่อย
3. เงินเดือนที่ปรับฐาน 41,000 หรือปรับใหม่ มีขั้นบันได ทำให้คนมาทำงานใหม่ เงินเดือนเยอะกว่าคนที่ทำงานมานานแล้ว 6 ปี
4. ม. บางแห่งออกนอกระบบไปแล้ว อาจารย์ที่เข้ามาใหม่ ถ้าไม่ได้ตำแหน่ง ผศ. ภายใน 5 ปี คนเก่าเดิมถ้าไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง ผศ. ไป รศ. ภายใน 6 ปี จะไม่ได้ต่อสัญญา หรือเป็น รศ. แต่รอบประเมินนั้นไม่ได้ตีพิมพ์งานวิจัยจะโดนสอบ เครียดไหม
5. คนที่เรียนต่อถึง ป.เอก ส่วนใหญ่จะเป็นตัวท็อปของรุ่น เงินเดือนแค่นี้ มันคุ้มไหม กับเวลาที่เรียนจนจบ ป.โท ไป ป.เอก ยิ่งเรียนสายวิทย์เวลาเรียนจนจบเฉลี่ย 8 ปี แล้วเงินเดือนเริ่มต้น 27,000-41,000 บาท ขณะที่ตัวกลาง ๆ สายวิทย์ของรุ่นไปทำงานเอกชนเลย 8 ปี เงินเดือนเฉลี่ย 60,000 บาท อ.มหาวิทยาลัยจึงเริ่มชีวิตทำงานช้า และถ้าเรียนไม่จบหล่ะ เสียเวลา เป็นหนี้หัวโต
6. อ. มหาวิทยาลัย ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีบำนาญ พ่อแม่เบิกไม่ได้ ลูกเบิกไม่ได้ ตัวเองเบิกไม่ได้ เจ็บป่วยเข้ารักษาตามระบบประกันสังคม
7. ม. บางแห่ง จ้างด้วยระบบการต่อสัญญาจ้าง 1 ปี 3 ปี 5 ปี บางแห่งดีหน่อยให้ถึงอายุ 60
8. งานวิจัย มันต้องตีพิมพ์ อายุเยอะขึ้น ก็ไม่ได้พักผ่อนที่เพียงพอ หัวต้องคิดงานวิจัยตลอดเวลา ปีนี้จะทำเรื่องอะไร ปีหน้าจะทำเรื่องอะไร มีเงินวิจัยไหม มีนักศึกษามาช่วยงานไหม เปเปอร์ที่ซับมิตไปจะโดนรีเจกต์ไหม
9. ประกันคุณภาพการศึกษาตามระบบของ สกอ. Edpex AUN-QA สิ้นปีการศึกษามาให้ทำอีกแล้ว กินเวลา-แรงกาย-แรงใจไปเป็นเดือน
คุ้มไหมเงินเดือน ป.เอก เริ่มต้น 27,000-41,000 บาท
เฉพาะข้อ 6 สังคมไทยก็มองว่าไม่คุ้มแล้ว
ถามแบบนี้ แสดงว่า จขกท. ไม่ได้เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย
ความจริงคือ
1. อาจารย์รุ่นใหม่ จบ ป.เอก บางคนเข้ามาบรรจุ ถ้าบรรจุใน ม.หัวแถว เงินเดือนก็ตามนั้นแหละ 41,000 ขึ้นไป แต่ไม่ได้เท่ากันทั้งประเทศ ม.บางแห่งยังจ้างที่ 27,000 อยู่เลย
2. ตำแหน่ง ผศ. ไม่ได้ 11,200 บาทเท่ากันทุกแห่ง หากจะได้เต็มต้องมีผลงานการตีพิมพ์มาแลก ไม่ได้จ่ายฟรี ๆ ทุกปี หลายที่จ่ายแค่ขาเดียวคือ 5,600 บาท และมีการจ่ายหรือไม่จ่ายขึ้นกับผลงานการตีพิมพ์ การทำตามพันธะกิจให้ครบ 4 ด้าน เมื่อเทียบ ผศ. กับอาชีพอื่นที่เป็นตำแหน่งชำนาญการพิเศษที่ได้ 11,200 ไปตลอดโดยไม่มีผลงานวิจัยมาแลก อ.มหาวิทยาลัย จึงเป็นอาชีพที่ไม่คุ้มค่าเหนื่อย
3. เงินเดือนที่ปรับฐาน 41,000 หรือปรับใหม่ มีขั้นบันได ทำให้คนมาทำงานใหม่ เงินเดือนเยอะกว่าคนที่ทำงานมานานแล้ว 6 ปี
4. ม. บางแห่งออกนอกระบบไปแล้ว อาจารย์ที่เข้ามาใหม่ ถ้าไม่ได้ตำแหน่ง ผศ. ภายใน 5 ปี คนเก่าเดิมถ้าไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง ผศ. ไป รศ. ภายใน 6 ปี จะไม่ได้ต่อสัญญา หรือเป็น รศ. แต่รอบประเมินนั้นไม่ได้ตีพิมพ์งานวิจัยจะโดนสอบ เครียดไหม
5. คนที่เรียนต่อถึง ป.เอก ส่วนใหญ่จะเป็นตัวท็อปของรุ่น เงินเดือนแค่นี้ มันคุ้มไหม กับเวลาที่เรียนจนจบ ป.โท ไป ป.เอก ยิ่งเรียนสายวิทย์เวลาเรียนจนจบเฉลี่ย 8 ปี แล้วเงินเดือนเริ่มต้น 27,000-41,000 บาท ขณะที่ตัวกลาง ๆ สายวิทย์ของรุ่นไปทำงานเอกชนเลย 8 ปี เงินเดือนเฉลี่ย 60,000 บาท อ.มหาวิทยาลัยจึงเริ่มชีวิตทำงานช้า และถ้าเรียนไม่จบหล่ะ เสียเวลา เป็นหนี้หัวโต
6. อ. มหาวิทยาลัย ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีบำนาญ พ่อแม่เบิกไม่ได้ ลูกเบิกไม่ได้ ตัวเองเบิกไม่ได้ เจ็บป่วยเข้ารักษาตามระบบประกันสังคม
7. ม. บางแห่ง จ้างด้วยระบบการต่อสัญญาจ้าง 1 ปี 3 ปี 5 ปี บางแห่งดีหน่อยให้ถึงอายุ 60
8. งานวิจัย มันต้องตีพิมพ์ อายุเยอะขึ้น ก็ไม่ได้พักผ่อนที่เพียงพอ หัวต้องคิดงานวิจัยตลอดเวลา ปีนี้จะทำเรื่องอะไร ปีหน้าจะทำเรื่องอะไร มีเงินวิจัยไหม มีนักศึกษามาช่วยงานไหม เปเปอร์ที่ซับมิตไปจะโดนรีเจกต์ไหม
9. ประกันคุณภาพการศึกษาตามระบบของ สกอ. Edpex AUN-QA สิ้นปีการศึกษามาให้ทำอีกแล้ว กินเวลา-แรงกาย-แรงใจไปเป็นเดือน
คุ้มไหมเงินเดือน ป.เอก เริ่มต้น 27,000-41,000 บาท
เฉพาะข้อ 6 สังคมไทยก็มองว่าไม่คุ้มแล้ว
ความคิดเห็นที่ 21
เราคืออาจารย์มหาลัยที่พึ่งจะบรรจุได้ไม่ถึงปี ได้เงินเดือนประมาณที่ จขกท เขียนเลย (อันที่จริงได้น้อยกว่าหน่อยแต่ไม่กี่พันบาท) ในความเห็นเราเราคิดว่าเราได้เงินเดือนน้อยนะคะเมื่อเปรียบเทียบกับภาระงานที่ต้องรับผิดชอบ
เนื่องจากเราเคยทำงานที่อื่นมาก่อน ก่อนจะลาออกเพื่อรับทุนรัฐบาลไปเรียนเอกที่ ตปท เพื่อกลับมาเป็นอาจารย์มหาลัยเพราะใจรัก (เลยสามารถเปรียบเทียบภาระงาน/เงินที่ได้ระหว่างงานเดิม กับงานอาจารย์มหาลัยได้) ภาระงานของอาจารย์ (ตามที่มหาลัยกำหนด) มีทั้งงานสอน งานชุมชน งานวิจัย และงานมหาลัย
งานสอน: เทอมนี้เราสอนรวม 7 ตัว เป็นตัวหลัก 2 ตัว และสอนร่วมอีก 5 ตัว (บางวิชาก็สอน 3 sec ทั้งไทย ทั้งอังกฤษ แต่ก็นับเป็น 1 รายวิชาค่ะ) การสอนในระดับมหาลัย คือ อาจารย์ต้องออกแบบรายวิชาเอาเอง เขียนเอกสารประกอบการสอนเอง ออกแบบแลปเอง เป็นต้น
งานวิจัย: นอกจากการสอนและการเตรียมการสอนแล้ว ด้านงานวิจัยและตีพิมพ์ผลงาน เราต้องหาทุนวิจัยเอง เขียนขอทุนเอง หาผู้ร่วมทำวิจัยเอง
งานชุมชน: นอกจากนี้ก็มีกิจกรรมของชุมชน เช่น การให้ความรู้ หรือทำสื่อเผยแพร่ให้ชุมชน การช่วยสอนหรือออกแบบกิจกรรมให้ รร มัธยม เป็นต้น
งานมหาลัย: งานของมหาลัยและของคณะไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม สิ่งแวดล้อม ศิลปะวัฒนธรรม การประกันคุณภาพ
เพื่อเป็นอาจารย์ที่ดี อาจารย์จะต้องเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการเป็นอาจารย์อยู่เสมอ เช่น การรับมือกับเด็กที่มีความเครียด การใช้โปรแกรมออนไลน์และการเตรียมสอนออนไลน์ การจัดการขยะ
งานสุดท้าย เราถือว่าเป็นงานที่ท้าทายสุดๆ คือ การรับมือกับเด็กค่ะ เด็กเดี๋ยวนี้มีความเครียดสูง พวกอาจารย์ก็ต้องคอยสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด วันดีคืนดีเด็กก็ไลน์มาตอนกลางคืนบอกว่าอยากฆ่าตัวตาย บอกแบบนี้อาจารย์จะได้นอนกันหรือคะ โทรตามกันจ้าละหวั่นเลยเพราะห่วงเด็ก หรือเด็กไลน์มาหาตอนสี่ทุ่มห้าทุ่มเพราะมีปัญหา ปัญหาใหญ่บ้างเล็กบ้างแต่ก็ต้องฟังก่อน เด็กเลิกกับแฟน มีปัญหากับครอบครัว มีภาวะสมาธิสั้น เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เรียนจะไม่จบ ไม่มีเงินเรียน ปัญหาพวกนี้อาจารย์อย่างเราๆ ก็ต้องช่วยเหลือเด็กไปค่ะ เราคิดว่าถ้าใจไม่รักเราคงขอย้ายไปใช้ทุนที่หน่วยงานอื่นแทนแล้ว
เนื่องจากเราเคยทำงานที่อื่นมาก่อน ก่อนจะลาออกเพื่อรับทุนรัฐบาลไปเรียนเอกที่ ตปท เพื่อกลับมาเป็นอาจารย์มหาลัยเพราะใจรัก (เลยสามารถเปรียบเทียบภาระงาน/เงินที่ได้ระหว่างงานเดิม กับงานอาจารย์มหาลัยได้) ภาระงานของอาจารย์ (ตามที่มหาลัยกำหนด) มีทั้งงานสอน งานชุมชน งานวิจัย และงานมหาลัย
งานสอน: เทอมนี้เราสอนรวม 7 ตัว เป็นตัวหลัก 2 ตัว และสอนร่วมอีก 5 ตัว (บางวิชาก็สอน 3 sec ทั้งไทย ทั้งอังกฤษ แต่ก็นับเป็น 1 รายวิชาค่ะ) การสอนในระดับมหาลัย คือ อาจารย์ต้องออกแบบรายวิชาเอาเอง เขียนเอกสารประกอบการสอนเอง ออกแบบแลปเอง เป็นต้น
งานวิจัย: นอกจากการสอนและการเตรียมการสอนแล้ว ด้านงานวิจัยและตีพิมพ์ผลงาน เราต้องหาทุนวิจัยเอง เขียนขอทุนเอง หาผู้ร่วมทำวิจัยเอง
งานชุมชน: นอกจากนี้ก็มีกิจกรรมของชุมชน เช่น การให้ความรู้ หรือทำสื่อเผยแพร่ให้ชุมชน การช่วยสอนหรือออกแบบกิจกรรมให้ รร มัธยม เป็นต้น
งานมหาลัย: งานของมหาลัยและของคณะไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม สิ่งแวดล้อม ศิลปะวัฒนธรรม การประกันคุณภาพ
เพื่อเป็นอาจารย์ที่ดี อาจารย์จะต้องเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการเป็นอาจารย์อยู่เสมอ เช่น การรับมือกับเด็กที่มีความเครียด การใช้โปรแกรมออนไลน์และการเตรียมสอนออนไลน์ การจัดการขยะ
งานสุดท้าย เราถือว่าเป็นงานที่ท้าทายสุดๆ คือ การรับมือกับเด็กค่ะ เด็กเดี๋ยวนี้มีความเครียดสูง พวกอาจารย์ก็ต้องคอยสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด วันดีคืนดีเด็กก็ไลน์มาตอนกลางคืนบอกว่าอยากฆ่าตัวตาย บอกแบบนี้อาจารย์จะได้นอนกันหรือคะ โทรตามกันจ้าละหวั่นเลยเพราะห่วงเด็ก หรือเด็กไลน์มาหาตอนสี่ทุ่มห้าทุ่มเพราะมีปัญหา ปัญหาใหญ่บ้างเล็กบ้างแต่ก็ต้องฟังก่อน เด็กเลิกกับแฟน มีปัญหากับครอบครัว มีภาวะสมาธิสั้น เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เรียนจะไม่จบ ไม่มีเงินเรียน ปัญหาพวกนี้อาจารย์อย่างเราๆ ก็ต้องช่วยเหลือเด็กไปค่ะ เราคิดว่าถ้าใจไม่รักเราคงขอย้ายไปใช้ทุนที่หน่วยงานอื่นแทนแล้ว
ความคิดเห็นที่ 2
เล่าให้คนรุ่นหลังฟัง อาจารย์จบนอกปริญญาโทมา สมัยโน้นเริ่มเงินเดือน 2000+ บาท แต่สอนเด็กวิศวะ เด็กจบไปยังไม่มีประสพการณ์รับเงินเดือนทันที 4000 บาท ผ่านไป 10 ปี อาจารย์เงินเดือน 10000 บาท เด็กที่อาจารย์สอน เงินเดือนปาไป 50000
เรื่องจริง ไม่โกหกเด็ก
นี่คือตำนานที่ว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยสมัยก่อนเงินเดือนน้อยมากเมื่อเทียบกับความรู้
สมัยนี้ จบปริญญาเอก ต้องเรียนราวๆ 7-10 ปี หลังจากจบ ม. ปลาย เงินเดือนเริ่มก็แค่ 30000+ เอง แล้วแต่มหาวิทยาลัย แต่สอนเด็กวิศวะ เด็กจบไปทำงานแค่ 3 ปีเงินเดือน 30000-50000 ก็มี สรุป แค่ 7 ปีจาก ม ปลาย เด็กก็เงินเดือนเท่าอาจารย์ที่เรียนมา 7-10 ปี ก่อนจะเป็นอาจารย์ได้
สมัยนี้ยังไม่เหลื่อมล้ำเท่าสมัยก่อนที่ ปริญญาโท เริ่ม 2000 บาท นิดๆ เอง ซึ่งสอนเด็กจบ เด็กได้งาน ก็เริ่มเงินเดือนสูงกว่าแล้ว
เรื่องจริง ไม่โกหกเด็ก
นี่คือตำนานที่ว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยสมัยก่อนเงินเดือนน้อยมากเมื่อเทียบกับความรู้
สมัยนี้ จบปริญญาเอก ต้องเรียนราวๆ 7-10 ปี หลังจากจบ ม. ปลาย เงินเดือนเริ่มก็แค่ 30000+ เอง แล้วแต่มหาวิทยาลัย แต่สอนเด็กวิศวะ เด็กจบไปทำงานแค่ 3 ปีเงินเดือน 30000-50000 ก็มี สรุป แค่ 7 ปีจาก ม ปลาย เด็กก็เงินเดือนเท่าอาจารย์ที่เรียนมา 7-10 ปี ก่อนจะเป็นอาจารย์ได้
สมัยนี้ยังไม่เหลื่อมล้ำเท่าสมัยก่อนที่ ปริญญาโท เริ่ม 2000 บาท นิดๆ เอง ซึ่งสอนเด็กจบ เด็กได้งาน ก็เริ่มเงินเดือนสูงกว่าแล้ว
แสดงความคิดเห็น
ทำไมหลายๆ คน ถึงมองว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยเงินเดือนน้อยครับ ?
เห็นมักมีการเปรียบเทียบอาจารย์มหาวิทยาลัยกับอาชีพอื่นอยู่บ่อยๆ
https://cmu.ac.th/th/article/34cf05b1-f459-4ed0-a34e-339a6d4912ad
พอมาดูอัตราเงินเดือนของอาจารย์มหาวิทยาลัย( สถานะพนักงานรัฐ ) จบ ป.เอก บรรจุใหม่ส่วนใหญ่เงินเดือนก็เริ่มที่ 35,000-40,000 บาทแล้ว พอทำงานไปสัก 3 ปี ทำผลงานจนได้ตำแหน่ง ผศ. ก็มีเงินประจำตำแหน่งให้อีก 12,000 บาท พอขึ้นไปอยู่ตำแหน่ง รศ. เงินก็เพิ่มขึ้นมาอีก ฐานเงินเดือนก็ปรับขึ้นทุกปี
สรุปง่ายๆ คือ จบ ป.เอก อายุประมาณ 30 ปี บรรจุใหม่เงินเดือน 38,000 บาท ใช้เวลาสอนและทำผลงานจนได้ตำแหน่ง ผศ. รายได้รวมก็อยู่ที่ราวๆ 50,000 บาทแล้ว ก็คืออาจารย์มหาลัย อายุ 33-35 ปี รายได้รวมราวๆ 50,000 บาท
ส่วนเรื่องความมั่นคง แน่นอนว่ามั่นคงมากกว่าพนักงานบริษัทเอกชนส่วนใหญ่อยู่แล้ว เพราะถือว่า บรรจุในหน่วยงานราชการ ( แม้จะไม่ได้เป็นราชการ ) สวัสดิการการรักษา ก็ใช้ประกันสังคม หรือซื้อประกันชีวิตเอาก็ได้
ผมจึงสงสัยว่า ชีวิตอาจารย์มหาลัยมันแย่ เงินเดือนน้อยไม่คุ้มกับที่เรียน ไม่มั่นคง แบบที่สังคมไทยมอง ตรงไหนหรอครับ ?
อีกอย่าง อาจารย์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ คือคนที่จบอันดับต้นๆ ของรุ่น และสมัครใจที่จะรับทุนไปเรียนต่อเองทั้งสิ้น