ลูกน้ำยุง คงเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีคนไม่น้อยคุ้นเคย ผมเองก็เช่นกัน
ลูกน้ำยุงที่ผมรู้จักนั้น ปกติแล้วเห็นขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำบ่อยมากครับ สังเกตในตัวนึงตัวเดิม หลังหายใจเอาออกซิเจนเข้าไป เพียงแค่แปปเดียวก็ขึ้นมาเอาอากาศเข้าท้องอีกรอบเสียแล้ว
ที่บ้านผมมีน้ำขังและมียุงมาวางไข่เป็นลูกน้ำเต็มเลยครับ
ซึ่งถ้าแค่เทลงท่อ ผมไม่รู้ว่ามันจะกำจัดได้จริงๆหรือเปล่า เพราะก็เคยได้ยินมาบ้างว่ายุงขึ้นมาจากท่อ
การทำลายให้มันไม่ต้องมาเป็นยุงดูดเลือดแน่นอนคือ ต้องฆ่า เมื่อรู่เช่นนั้นผมก็เตรียมการเพื่อทำให้มันตายด้วยมือผมเอง
ผมจับลูกน้ำใส่ขวดน้ำ และ เทน้ำมันลงไปเป็นชั้นบางๆอีกที
จากการที่ลูกน้ำเองก็ตัวหนาแน่นกว่าน้ำ แน่นอนว่ามันจะขึ้นไปได้สูงสุดแค่ผิวน้ำ ไม่ใช่ผิวน้ำมัน
คิดว่า แปปเดียวก็คงตาย เพราะมันน่าจะไม่เปิดท่อหายใจ เพราะท่อไม่ได้สัมผัสอากาศ
แต่ผิดคาดครับ จากการสัมเกตของผม หลังจากใส่น้ำมันลงไป ลูกน้ำมีชีวิตอยู่ต่อประมาณ 2-4 ชั่วโมงเลยครับ กว่าจะตาย
โดยสิ่งที่มันทำคือดังนี้ (เวลาบันทึก คือ จุดเริ่มนะ เช่น ผ่านไปประมาณ 7-12 นาที มีพฤติกรรมเพิ่ม หมายความว่า ตัวแรกทำตอน นาทีที่ 7 ตัวสุดท้ายทำตอนนาทีที่ 12 ทั้งนี้ นี่คือเวลาประมาณคร่าวๆแบบหยาบๆมากๆนะ)
ขึ้นไปถึงผิวน้ำเพื่อหายใจ พอไปเจอชั้นน้ำมันก็ยังค้างตำแหน่งเดิมนะ แปลว่ามันเปิดท่อ
A ผ่านไปประมาณ 4-7 วินาทีก็ย้ายตำแหน่ง เหมือนร่างกายมันจะตรวจจับได้ว่าเห้ยนี่ไม่ใช่อากาศ ให้หาจุดเปิดท่อจุดใหม่
มันผ่านตำแหน่งไปเรื่อยสลับกับการว่ายลงไปก้นขวด
B ผ่านไปประมาณ 1-2 นาที หลังจากย้ายตำแหน่งไปมาสลับกับการว่ายไปก้นขวดแล้วขึ้นไปหายใจ ด้วยความถี่สูง ก็กลายเป็นสลับหาตำแหน่งหายใจกับการว่ายไปถึงแค่ตรงกลาง ความถี่การขึ้นลงน้อยลง แต่ยังขยับไปมาได้ไว ส่วนใหญ่จะลอยค้างในน้ำแปปนึง
C ผ่านไปประมาณ 7-12 นาที มีพฤติกรรมเพิ่มคือ เอาปากไปชนท่อหายใจซึ่งท่อหายใจก็มีหยดน้ำมันเล็กๆอยู่ที่ปลายบ้าง ก่อนขึ้นไปหายใจ
สิ่งที่เกิดขึ้นค่อนข้างวนลูปไปเรื่อยๆ A - C ซึ่งที่ปลายท่อไม่ได้มีหยดน้ำมันตลอด จนประมาณ
D นาทีที่ 10-20 ลูกน้ำลงไปนิ่งที่ก้นขวดแปปนึงก็ขยับว่ายน้ำต่อ
วนลูป A-D โดยมี D เยอะถี่ขึ้นเรื่อยๆ ระยะเวลานิ่งนานขึ้นเรื่อยๆ จน
E นาทีที่ 60-70 ก็มีพฤติกรรมเพิ่มอีกคือ ลูกน้ำไปแปะตัวกับกำแพงขวด จัดท่าตั้งฉากกับพื้นด้วย โดยเอาหัวขึ้นและท่อหายใจลงก่อน
จากนั้นจึงหมุนตัวเป็นวงกลมโดยเอาท่อหายใจยึดตัวกับผิวขวด และไม่นานก็เอาหัวลง จากนั้นก็วนลูป A-E โดยทำ E เยอะขึ้นเรื่อยๆ
ประมาณนาทีที่ 130 ลูกน้ำเริ่มตาย ไม่นับตัวที่ตายก่อนหน้าด้วยการที่พยายามหายใจจนเข้าไปติดในชั้นน้ำมันและออกมาไม่ได้
ผ่านไป 3 ชั่วโมง ผมมาดู ตายเกือบหมดแล้ว
ผ่านไป 4 ชั่วโมง ครึ่ง โดยประมาณ ก็ตายทั้งขวด
สรุปลำดับการตาย
กลุ่มตัวโม่ง ตายก่อนเลย แต่ก็ไม่ทุกตัวครับ บางตัวก็อยู่ได้นาน แค่ส่วนใหญ่จะตายก่อน
ต่อจากตัวโม่งคือ ลูกน้ำตัวใหญ่ ซึ่งตัวที่มีสีอ่อนกว่าจะตายก่อนตัวที่มีสีเข้มกว่าครับ
หลังจากนั้นก็ ลูกน้ำตัวเล็ก ตัวโม่งบางตัวก็อยู่มาจนตายพร้อมลูกน้ำตัวเล็กครับ
ผมเกิดความสงสัยครับว่า ตอนที่ถึงผิวน้ำเปล่า ลูกน้ำได้เปิดท่อหายใจหรือเปล่า
ถ้าปิด
มันก็สมเหตุสมผลที่ย้ายต่ำแหน่งไปเรื่อยๆตอนจะหายใจ แต่ก็มีคำถามคือ มันใช้เวลาประมาณ 4-7 วินาที กับการอยู่ที่จุดนึง ไม่นานไปหรอสำหรับการแตะแล้วรู้ว่าไม่ใช่อากาศ และอีกคำถามคือ ปกติแล้วตามบ่อตามถังที่มีลูกน้ำ ผมเห็นมันขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำบ่อยมาก ซึ่งแปลว่าลูกน้ำต้องการการหายใจที่ถี่ มันจะทนการขาดอากาศได้หลักชั่วโมงเลยหรอ
ถ้าเปิด
ก็จะเป็นความรู้ใหม่ว่า สัญชาตญาณพื้นฐานลูกน้ำ แท้จริงแล้วขึ้นมาที่ผิวน้ำแค่เพื่อเปิดท่อหายใจ ไม่ได้มีความตั้งใจว่าเพื่อรับออกซิเจน มันต่างกันนะ คนละวัตถุประสงค์เลย แบบเพื่อเปิดท่อคือไม่ได้มีเงื่อนไขใดๆนอกเหนือไปจากการถึงผิวน้ำแล้วทำ แต่แบบเพื่อรับออกซิเจนก็คือต้องตรวจก่อนว่ามีออกซิเจน มันจะมีอวัยวะพิเศษซักอย่างเพื่อทำให้แน่ใจว่า นั่นคือออกซิเจน ซึ่งถ้าเป็นกรณีหลังนี้ จะสามารถเอาไปศึกษาจริงจังและอาจเป็นการค้นพบใหม่ทางวิทยาศาสตร์ได้เลยนะ เกี่ยวกับอวัยวะนั้น
ซึ่งกรณีเปิดก็คือมันดูดเอาน้ำมันเข้าไปในตัวจริงๆ แต่กลับยังอยู่ได้นาน แปลว่า ลูกน้ำสามารถดึงออกซิเจนที่ซ่อนอยู่ในน้ำมันออกมาใช้ได้ถูกไหมครับ ถ้าใช่ก็จะอธิบายได้ว่า หยดน้ำมันที่ปลายท่อที่เกิดขึ้น คือการพยายามกำจัดน้ำมันไร้ออกซิเจนออกไป และเอาไปคืนที่ชั้นน้ำมัน มันก็เลยไม่มีหยดน้ำมันที่ปลายท่อตลอด
แก้ไขข้อมูล เอา คห. 1-2 ของผมเองมาเพิ่มตรง สรุปลำดับการตาย
แปลกใจ ผมเอาลูกน้ำยุงไปใส่ในน้ำที่มีน้ำมันข้างบน แล้วมันอยู่ได้ต่อ 2-4 ชั่วโมงกว่าจะตาย ลูกน้ำได้เปิดท่อหายใจไหมครับ ?
ลูกน้ำยุงที่ผมรู้จักนั้น ปกติแล้วเห็นขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำบ่อยมากครับ สังเกตในตัวนึงตัวเดิม หลังหายใจเอาออกซิเจนเข้าไป เพียงแค่แปปเดียวก็ขึ้นมาเอาอากาศเข้าท้องอีกรอบเสียแล้ว
ที่บ้านผมมีน้ำขังและมียุงมาวางไข่เป็นลูกน้ำเต็มเลยครับ
ซึ่งถ้าแค่เทลงท่อ ผมไม่รู้ว่ามันจะกำจัดได้จริงๆหรือเปล่า เพราะก็เคยได้ยินมาบ้างว่ายุงขึ้นมาจากท่อ
การทำลายให้มันไม่ต้องมาเป็นยุงดูดเลือดแน่นอนคือ ต้องฆ่า เมื่อรู่เช่นนั้นผมก็เตรียมการเพื่อทำให้มันตายด้วยมือผมเอง
ผมจับลูกน้ำใส่ขวดน้ำ และ เทน้ำมันลงไปเป็นชั้นบางๆอีกที
จากการที่ลูกน้ำเองก็ตัวหนาแน่นกว่าน้ำ แน่นอนว่ามันจะขึ้นไปได้สูงสุดแค่ผิวน้ำ ไม่ใช่ผิวน้ำมัน
คิดว่า แปปเดียวก็คงตาย เพราะมันน่าจะไม่เปิดท่อหายใจ เพราะท่อไม่ได้สัมผัสอากาศ
แต่ผิดคาดครับ จากการสัมเกตของผม หลังจากใส่น้ำมันลงไป ลูกน้ำมีชีวิตอยู่ต่อประมาณ 2-4 ชั่วโมงเลยครับ กว่าจะตาย
โดยสิ่งที่มันทำคือดังนี้ (เวลาบันทึก คือ จุดเริ่มนะ เช่น ผ่านไปประมาณ 7-12 นาที มีพฤติกรรมเพิ่ม หมายความว่า ตัวแรกทำตอน นาทีที่ 7 ตัวสุดท้ายทำตอนนาทีที่ 12 ทั้งนี้ นี่คือเวลาประมาณคร่าวๆแบบหยาบๆมากๆนะ)
ขึ้นไปถึงผิวน้ำเพื่อหายใจ พอไปเจอชั้นน้ำมันก็ยังค้างตำแหน่งเดิมนะ แปลว่ามันเปิดท่อ
A ผ่านไปประมาณ 4-7 วินาทีก็ย้ายตำแหน่ง เหมือนร่างกายมันจะตรวจจับได้ว่าเห้ยนี่ไม่ใช่อากาศ ให้หาจุดเปิดท่อจุดใหม่
มันผ่านตำแหน่งไปเรื่อยสลับกับการว่ายลงไปก้นขวด
B ผ่านไปประมาณ 1-2 นาที หลังจากย้ายตำแหน่งไปมาสลับกับการว่ายไปก้นขวดแล้วขึ้นไปหายใจ ด้วยความถี่สูง ก็กลายเป็นสลับหาตำแหน่งหายใจกับการว่ายไปถึงแค่ตรงกลาง ความถี่การขึ้นลงน้อยลง แต่ยังขยับไปมาได้ไว ส่วนใหญ่จะลอยค้างในน้ำแปปนึง
C ผ่านไปประมาณ 7-12 นาที มีพฤติกรรมเพิ่มคือ เอาปากไปชนท่อหายใจซึ่งท่อหายใจก็มีหยดน้ำมันเล็กๆอยู่ที่ปลายบ้าง ก่อนขึ้นไปหายใจ
สิ่งที่เกิดขึ้นค่อนข้างวนลูปไปเรื่อยๆ A - C ซึ่งที่ปลายท่อไม่ได้มีหยดน้ำมันตลอด จนประมาณ
D นาทีที่ 10-20 ลูกน้ำลงไปนิ่งที่ก้นขวดแปปนึงก็ขยับว่ายน้ำต่อ
วนลูป A-D โดยมี D เยอะถี่ขึ้นเรื่อยๆ ระยะเวลานิ่งนานขึ้นเรื่อยๆ จน
E นาทีที่ 60-70 ก็มีพฤติกรรมเพิ่มอีกคือ ลูกน้ำไปแปะตัวกับกำแพงขวด จัดท่าตั้งฉากกับพื้นด้วย โดยเอาหัวขึ้นและท่อหายใจลงก่อน
จากนั้นจึงหมุนตัวเป็นวงกลมโดยเอาท่อหายใจยึดตัวกับผิวขวด และไม่นานก็เอาหัวลง จากนั้นก็วนลูป A-E โดยทำ E เยอะขึ้นเรื่อยๆ
ประมาณนาทีที่ 130 ลูกน้ำเริ่มตาย ไม่นับตัวที่ตายก่อนหน้าด้วยการที่พยายามหายใจจนเข้าไปติดในชั้นน้ำมันและออกมาไม่ได้
ผ่านไป 3 ชั่วโมง ผมมาดู ตายเกือบหมดแล้ว
ผ่านไป 4 ชั่วโมง ครึ่ง โดยประมาณ ก็ตายทั้งขวด
สรุปลำดับการตาย
กลุ่มตัวโม่ง ตายก่อนเลย แต่ก็ไม่ทุกตัวครับ บางตัวก็อยู่ได้นาน แค่ส่วนใหญ่จะตายก่อน
ต่อจากตัวโม่งคือ ลูกน้ำตัวใหญ่ ซึ่งตัวที่มีสีอ่อนกว่าจะตายก่อนตัวที่มีสีเข้มกว่าครับ
หลังจากนั้นก็ ลูกน้ำตัวเล็ก ตัวโม่งบางตัวก็อยู่มาจนตายพร้อมลูกน้ำตัวเล็กครับ
ผมเกิดความสงสัยครับว่า ตอนที่ถึงผิวน้ำเปล่า ลูกน้ำได้เปิดท่อหายใจหรือเปล่า
ถ้าปิด
มันก็สมเหตุสมผลที่ย้ายต่ำแหน่งไปเรื่อยๆตอนจะหายใจ แต่ก็มีคำถามคือ มันใช้เวลาประมาณ 4-7 วินาที กับการอยู่ที่จุดนึง ไม่นานไปหรอสำหรับการแตะแล้วรู้ว่าไม่ใช่อากาศ และอีกคำถามคือ ปกติแล้วตามบ่อตามถังที่มีลูกน้ำ ผมเห็นมันขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำบ่อยมาก ซึ่งแปลว่าลูกน้ำต้องการการหายใจที่ถี่ มันจะทนการขาดอากาศได้หลักชั่วโมงเลยหรอ
ถ้าเปิด
ก็จะเป็นความรู้ใหม่ว่า สัญชาตญาณพื้นฐานลูกน้ำ แท้จริงแล้วขึ้นมาที่ผิวน้ำแค่เพื่อเปิดท่อหายใจ ไม่ได้มีความตั้งใจว่าเพื่อรับออกซิเจน มันต่างกันนะ คนละวัตถุประสงค์เลย แบบเพื่อเปิดท่อคือไม่ได้มีเงื่อนไขใดๆนอกเหนือไปจากการถึงผิวน้ำแล้วทำ แต่แบบเพื่อรับออกซิเจนก็คือต้องตรวจก่อนว่ามีออกซิเจน มันจะมีอวัยวะพิเศษซักอย่างเพื่อทำให้แน่ใจว่า นั่นคือออกซิเจน ซึ่งถ้าเป็นกรณีหลังนี้ จะสามารถเอาไปศึกษาจริงจังและอาจเป็นการค้นพบใหม่ทางวิทยาศาสตร์ได้เลยนะ เกี่ยวกับอวัยวะนั้น
ซึ่งกรณีเปิดก็คือมันดูดเอาน้ำมันเข้าไปในตัวจริงๆ แต่กลับยังอยู่ได้นาน แปลว่า ลูกน้ำสามารถดึงออกซิเจนที่ซ่อนอยู่ในน้ำมันออกมาใช้ได้ถูกไหมครับ ถ้าใช่ก็จะอธิบายได้ว่า หยดน้ำมันที่ปลายท่อที่เกิดขึ้น คือการพยายามกำจัดน้ำมันไร้ออกซิเจนออกไป และเอาไปคืนที่ชั้นน้ำมัน มันก็เลยไม่มีหยดน้ำมันที่ปลายท่อตลอด
แก้ไขข้อมูล เอา คห. 1-2 ของผมเองมาเพิ่มตรง สรุปลำดับการตาย