ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 16
ราชสำนักพม่าในสมัยราชวงศ์กงบ่องตอนต้นมีอาวุธปืนไฟที่ทันสมัยใช้ในกองทัพจำนวนมาก เห็นได้จากพงศาวดารพม่าในสงครามพระเจ้าอลองพญาจะพบว่ามีพลทหารแม่นปืนจำนวนมากในกองทัพ ทั้งนี้ราชสำนักพม่ารับซื้ออาวุธปืนจากพ่อค้าอังกฤษและฝรั่งเศสที่มาตั้งสถานีการค้าและอู่จอดเรืออยู่ที่แหลมนีเกรส มาตั้งแต่สมัยทำสงครามกับมอญหงสาวดี
ในช่วงแรกบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส (Compagnie française pour le commerce des Indes orientales) สนับสนุนหงสาวดี ในขณะที่บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (ฺEast India Company - EIC) มีท่าทีไม่ชัดเจนจนต่อมาพระเจ้าลองพญาทรงเผาทำลายสถานีการค้าของอังกฤษทิ้ง ต่อมาพอพระเจ้าอลองพญาทรงเข้มแข็งมีแนวโน้มว่าจะชนะหงสาวดี ทั้งอังกฤษกับฝรั่งเศสจึงหันมาติดต่อเจรจากับพม่าโดยที่ยังคงสัมพันธ์กับหงสาวดีอยู่ จนในปลาย พ.ศ. ๒๒๙๘ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษจึงตกลงทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับพระเจ้าอลองพญาพร้อมกับส่งปืนไฟและดินปืนจำนวนมากมาถวาย
ในพระราชสาส์นที่พระเจ้าอลองพญาทรงส่งไปถึงพระเจ้าจอร์จที่สอง (George II) กษัตริย์อังกฤษกับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ปรากฏในหมายรับสั่งช่วงกลาง พ.ศ. ๒๒๙๙ แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าอลองพญาทรงต้องการอาวุธปืนไฟจากอังกฤษจำนวนมากเพื่อพิชิตหงสาวดี โดยทรงเสนอข้อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางการค้าของอังกฤ็ในเมืองท่านีเกรส และเมืองท่าพสิม ตลอกจนสิทธิพิเศษในการงดเว้นภาษี พร้อมพระราชทานสิ่งของมีค่าจำนวนากให้อังกฤษ
เมื่อพระเจ้าอลองพญาทรงยึดเมืองท่าสิเรียมของหงสาวดีได้ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๙๙ ทำให้ทรงได้ครอบครองอาวุธปืนไฟ เชลยศึก และพ่อค้ากับทหารรับจากต่างประเทศไว้จำนวนมาก เช่นเดียวกับเมื่อตีกรุงหงสาวดีแตกก็ทรงริบอาวุธปืนของหงสาวดีไว้ได้จำนวนมากเช่นเดียวกัน
การที่พม่าทำสงครามสร้างอาณาจักรต่อเนื่องหลายปีน่าจะส่งผลให้กองทัพพม่าในเวลานั้นมีความพร้อมในการทำสงครามมาก นอกจากนี้พระเจ้าอลองพญาเองยังทรงให้ความสำคัญกับการสร้างกองทหารแม่นปืนมาก ปรากฏในพระราชโองการลงวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๐๒ เมื่อจะทรงยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุทธยา พระองค์ทรงพระราชทานสอนวิธีการใช้ปืนคาบศิลา (flintlock) ให้แก่หมู่นายทหาร ทีละขึ้นตอนอย่างละเอียด ทรงย้ำให้ทหารทำตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด จึงเห็นได้ว่ากำลังพลของพม่าในยุคนั้นน่าจะมีประสิทธิภาพและความพร้อมในการทำสงคราม และมีความเชี่ยวชาญในการใช้ปืนมากครับ
ในขณะที่ฝ่ายอยุทธยาซึ่งร้างสงครามมานาน แม้จะมีหลักฐานว่ามีอาวุธปืนจำนวนมากจนเมื่อเสียกรุงพม่าบันทึกว่าสามารถยึดปืนได้หลายหมื่นกระบอก (ซึ่งส่วนใหญ่อาจเป็นปืนรุ่นเก่า) กลับมีหลักฐานการใช้ปืนและดินปืนอย่างไม่ค่อยมีประสิทธิภาพมากนัก ปรากฏในพงศาวดารไทยที่ระบุถึงการยิงปืนในสงครามเสียกรุงช่วงฤดูน้ำหลากว่า “วันนั้นพม่าตั้งค่ายณะวัดภูเขาทอง พระสุริยภาซึ่งเปนนายปอ้มซัดกบให้ประจุปืนมฤษยูราชสองซัดลูกยีงไปนัดหนึ่งปืนก็ราวราล”
อีกตอนกล่าวถึงการยิงปืนในช่วงก่อนเสียกรุงไม่นานว่า “ฝ่ายข้างในกรุงให้ชักปืนปราบหงษาออกไปตั้งรีมท่าทรายกระสุนแรกประจุดินน้อยต่ำไปถูกตะลิ่ง ครั้นประจุะดีนมากขึ้นโดงข้ามวัดศรีโพไป”
ทั้งสองครั้งนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าแม่ทัพนายกองในขณะนั้นไม่มีความรู้เพียงพอในการคำนวณดินปืนอย่างเหมาะสม ซึ่งก็สอดคล้องกับที่รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชวิจารณ์ไว้ว่า “เรื่องยิงปืนไม่เป็นในปลายกรุงเก่านี้ ดูเล่าต้องกันมากนัก เครื่องสาตราวุธเห็นจะขัดสนมาก อย่างไขว้เขวกัน มีปืนไม่มีลูก มีลูกไม่มีปืน อาวุธที่แจกจ่ายออกมาก็ชำรุดทรุดโทรม ปืนจะเอาไปยิงก็เกิดอันตรายเนือง ๆ แตกบ้าง ตกรางบ้าง ยิงไปออกบ้าง ยิงไม่ได้บ้าง เข็ดขยาดเห็นการยิงปืนยากเสียเต็มที คราวนี้ก็เลยกลัวไม่ใคร่จะมีใครกล้ายิงเองอยู่แล้ว ซ้ำเจ้านายและผู้ดีก็พากันสวิงสวายกลัวอะไรต่ออะไร ตั้งแต่ฟ้าร้องเป็นต้นไป เป็นปรกติของผู้ดีชั้นนั้น”
ซึ่งการใช้ดินปืนอย่างไม่เหมาะสมทำให้เสียดินปืนไปโดยเปล่าประโยชน์ และน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ปรากฏหลักฐานว่าต้องมีการขออนุญาตศาลาลูกขุนก่อนยิงปืนใหญ่ เชื่อว่าเพื่อไม่ให้ใช้ดินปืนที่มีจำกัดหลังจากช่วงน้ำหลากอย่างพร่ำเพรื่อครับ
ในช่วงแรกบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส (Compagnie française pour le commerce des Indes orientales) สนับสนุนหงสาวดี ในขณะที่บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (ฺEast India Company - EIC) มีท่าทีไม่ชัดเจนจนต่อมาพระเจ้าลองพญาทรงเผาทำลายสถานีการค้าของอังกฤษทิ้ง ต่อมาพอพระเจ้าอลองพญาทรงเข้มแข็งมีแนวโน้มว่าจะชนะหงสาวดี ทั้งอังกฤษกับฝรั่งเศสจึงหันมาติดต่อเจรจากับพม่าโดยที่ยังคงสัมพันธ์กับหงสาวดีอยู่ จนในปลาย พ.ศ. ๒๒๙๘ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษจึงตกลงทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับพระเจ้าอลองพญาพร้อมกับส่งปืนไฟและดินปืนจำนวนมากมาถวาย
ในพระราชสาส์นที่พระเจ้าอลองพญาทรงส่งไปถึงพระเจ้าจอร์จที่สอง (George II) กษัตริย์อังกฤษกับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ปรากฏในหมายรับสั่งช่วงกลาง พ.ศ. ๒๒๙๙ แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าอลองพญาทรงต้องการอาวุธปืนไฟจากอังกฤษจำนวนมากเพื่อพิชิตหงสาวดี โดยทรงเสนอข้อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางการค้าของอังกฤ็ในเมืองท่านีเกรส และเมืองท่าพสิม ตลอกจนสิทธิพิเศษในการงดเว้นภาษี พร้อมพระราชทานสิ่งของมีค่าจำนวนากให้อังกฤษ
เมื่อพระเจ้าอลองพญาทรงยึดเมืองท่าสิเรียมของหงสาวดีได้ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๙๙ ทำให้ทรงได้ครอบครองอาวุธปืนไฟ เชลยศึก และพ่อค้ากับทหารรับจากต่างประเทศไว้จำนวนมาก เช่นเดียวกับเมื่อตีกรุงหงสาวดีแตกก็ทรงริบอาวุธปืนของหงสาวดีไว้ได้จำนวนมากเช่นเดียวกัน
การที่พม่าทำสงครามสร้างอาณาจักรต่อเนื่องหลายปีน่าจะส่งผลให้กองทัพพม่าในเวลานั้นมีความพร้อมในการทำสงครามมาก นอกจากนี้พระเจ้าอลองพญาเองยังทรงให้ความสำคัญกับการสร้างกองทหารแม่นปืนมาก ปรากฏในพระราชโองการลงวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๐๒ เมื่อจะทรงยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุทธยา พระองค์ทรงพระราชทานสอนวิธีการใช้ปืนคาบศิลา (flintlock) ให้แก่หมู่นายทหาร ทีละขึ้นตอนอย่างละเอียด ทรงย้ำให้ทหารทำตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด จึงเห็นได้ว่ากำลังพลของพม่าในยุคนั้นน่าจะมีประสิทธิภาพและความพร้อมในการทำสงคราม และมีความเชี่ยวชาญในการใช้ปืนมากครับ
ในขณะที่ฝ่ายอยุทธยาซึ่งร้างสงครามมานาน แม้จะมีหลักฐานว่ามีอาวุธปืนจำนวนมากจนเมื่อเสียกรุงพม่าบันทึกว่าสามารถยึดปืนได้หลายหมื่นกระบอก (ซึ่งส่วนใหญ่อาจเป็นปืนรุ่นเก่า) กลับมีหลักฐานการใช้ปืนและดินปืนอย่างไม่ค่อยมีประสิทธิภาพมากนัก ปรากฏในพงศาวดารไทยที่ระบุถึงการยิงปืนในสงครามเสียกรุงช่วงฤดูน้ำหลากว่า “วันนั้นพม่าตั้งค่ายณะวัดภูเขาทอง พระสุริยภาซึ่งเปนนายปอ้มซัดกบให้ประจุปืนมฤษยูราชสองซัดลูกยีงไปนัดหนึ่งปืนก็ราวราล”
อีกตอนกล่าวถึงการยิงปืนในช่วงก่อนเสียกรุงไม่นานว่า “ฝ่ายข้างในกรุงให้ชักปืนปราบหงษาออกไปตั้งรีมท่าทรายกระสุนแรกประจุดินน้อยต่ำไปถูกตะลิ่ง ครั้นประจุะดีนมากขึ้นโดงข้ามวัดศรีโพไป”
ทั้งสองครั้งนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าแม่ทัพนายกองในขณะนั้นไม่มีความรู้เพียงพอในการคำนวณดินปืนอย่างเหมาะสม ซึ่งก็สอดคล้องกับที่รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชวิจารณ์ไว้ว่า “เรื่องยิงปืนไม่เป็นในปลายกรุงเก่านี้ ดูเล่าต้องกันมากนัก เครื่องสาตราวุธเห็นจะขัดสนมาก อย่างไขว้เขวกัน มีปืนไม่มีลูก มีลูกไม่มีปืน อาวุธที่แจกจ่ายออกมาก็ชำรุดทรุดโทรม ปืนจะเอาไปยิงก็เกิดอันตรายเนือง ๆ แตกบ้าง ตกรางบ้าง ยิงไปออกบ้าง ยิงไม่ได้บ้าง เข็ดขยาดเห็นการยิงปืนยากเสียเต็มที คราวนี้ก็เลยกลัวไม่ใคร่จะมีใครกล้ายิงเองอยู่แล้ว ซ้ำเจ้านายและผู้ดีก็พากันสวิงสวายกลัวอะไรต่ออะไร ตั้งแต่ฟ้าร้องเป็นต้นไป เป็นปรกติของผู้ดีชั้นนั้น”
ซึ่งการใช้ดินปืนอย่างไม่เหมาะสมทำให้เสียดินปืนไปโดยเปล่าประโยชน์ และน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ปรากฏหลักฐานว่าต้องมีการขออนุญาตศาลาลูกขุนก่อนยิงปืนใหญ่ เชื่อว่าเพื่อไม่ให้ใช้ดินปืนที่มีจำกัดหลังจากช่วงน้ำหลากอย่างพร่ำเพรื่อครับ
แสดงความคิดเห็น
สงครามก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่2