ไอลอว์เปิดสถิติการคุกคามทั่วประเทศอย่างน้อย 79 กรณี นับตั้งแต่การชุมนุมของเยาวชนปลดแอก
https://prachatai.com/journal/2020/08/89058
15 ส.ค.2563
โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ
ไอลอว์ (iLaw) รวบรวมการคุกคามประชาชนที่ใช้สิทธิในการชุมนุมทางการเมือง พบว่า ตั้งแต่ต้นปี 2563 เริ่มมีกิจกรรมวิ่งไล่ลุงเกิดขึ้นทั่วประเทศอย่างน้อย 39 ครั้ง หลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ แฟลชม็อบตามสถานศึกษาต่างๆ ทยอยเกิดขึ้นนับได้ประมาณ 95 ครั้งทั่วประเทศ โดยข้อเรียกร้องรูปธรรมให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเริ่มปรากฏให้เห็น
เดือนกรกฎาคมหลังมีการคลายล็อคมาตรการป้องกันโควิด-19 กลุ่มเยาวชนปลดแอกจัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 18 ก.ค.พร้อมข้อเสนอรูปธรรรม 3 ข้อ คือ หยุดคุกคามประชาชน ยุบสภา ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยข้อเสนอนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางและมีการจัดชุมนุมย่อยๆ ตามมาอีกหลายครั้ง ส่วนใหญ่นำโดยเยาวชนทั้งนักศึกษาและนักเรียนมัธยม
ไอลอว์บันทึกการคุกคามผู้จัดหรือผู้เข้าร่วมชุมนุมทั่วประเทศ นับตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค.เป็นต้นมาจนปัจจุบัน พบว่า มีการแจ้งเข้ามาทั้งหมด 79 ครั้ง ในจำนวนนี้เป็นกรณีเปิดเผยต่อสาธารณะได้ 63 ครั้ง และกรณีที่ผู้ถูกคุกคามไม่พร้อมให้เปิดเผยอีก 16 ครั้ง
นาย
อภิรักษ์ นันทเสรี เจ้าหน้าที่ไอลอว์ เปิดเผยว่า รูปแบบการคุกคามที่พบเป็นส่วนใหญ่สำหรับแกนนำจัดชุมนุมคือ มีเจ้าหน้าที่ไปที่บ้านก่อนจัดการชุมนุมเพื่อกดดันให้ไม่จัดหรือไม่เข้าร่วม เช่นในจังหวัด
ลำพูน เพชรบูรณ์ แพร่ เลย พัทลุง นครศรีธรรมราช ปัตตานี สมุทรปราการ กาญจนบุรี นนทบุรี สงขลา ขอนแก่น อำนาจเจริญ อุดรธานี กระบี่ กรุงเทพมหานคร ฯลฯ นอกจากนี้การคุกคามผู้เข้าร่วมชุมนุมยังเกิดขึ้นอย่างเป็นล่ำเป็นสันโดยมีการถ่ายภาพนิ่ง วิดีโอ ใช้กล้องวงจรปิด ใช้โดรนในการเก็บข้อมูลผู้เข้าร่วมชุมนุม และมีรายงานการเก็บข้อมูลป้ายทะเบียนรถผู้เข้าร่วมชุมนุมด้วย
กรณีบทบาทของโรงเรียนนั้นพบว่า มีผู้อำนวยการโรงเรียนหรือครูเรียกพบนักเรียนที่เป็นแกนนำหลายกรณี โดยมีเป้าหมายเพื่อห้ามปรามการชุมนุม บ้างเป็นการขอความร่วมมือ บ้างเป็นการข่มขู่ว่าจะมีการลงโทษ กระทั่งจะไม่ได้รับใบประกาศจบการศึกษา อย่างไรก็ดี การชุมนุมโดยส่วนใหญ่ก็ยังคงจัดขึ้นตามกำหนดการ มีเพียงไม่กี่กรณีที่ยุติการจัดการชุมนุม ที่น่าสังเกตคือ เจ้าหน้าที่ในท้องที่ที่เข้าพบเยาวชนหรือประชาชนมักอ้างว่า มีลิสต์ซึ่งเป็นข้อมูลจากส่วนกลางซึ่งระบุชื่อและข้อมูลส่วนบุคคลของแกนนำต่างๆ ด้วย
“หลังจากที่การชุมนุมมีแนวโน้มที่จะเป็นเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ เข้าร่วมมากขึ้น รูปแบบการคุกคามจึงเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนโดยเฉพาะในโรงเรียน เช่นการเรียกนักเรียนที่จัดกิจกรรมเข้าพบผู้อำนวยการหรือครู การเรียกผู้ปกครองมาพบที่โรงเรียน การประกาศในโรงเรียนว่า ห้ามไปร่วมชุมนุม การนำตำรวจเข้าไปในโรงเรียน ตำรวจโทรหาผู้ปกครองหรือไปเยี่ยมบ้านเพื่อพูดคุยกับผู้ปกครองของเด็ก การขับรถตามและเฝ้าอยู่ที่หอพัก รวมไปถึงการให้เซ็นบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) ว่า จะไม่ไปร่วมกิจกรรม การคุกคามรูปแบบใหม่เหล่านี้ส่งผลกระทบและสร้างความกดดันอย่างมากให้กับนักเรียน นักศึกษา เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะเป็นคนหน้าใหม่ที่กำลังเริ่มสนใจกิจกรรมทางการเมือง อีกทั้งกิจกรรมส่วนใหญ่จัดในต่างจังหวัด หลายพื้นที่ไม่เคยมีกิจกรรมทางการเมืองมานาน ทำให้เจ้าหน้าที่ในแต่ละพื้นที่ปฏิบัติรุนแรงแตกต่างกันไป” นาย
อภิรักษ์กล่าว
สำหรับการดำเนินคดีนั้น
อภิรักษ์ระบุว่า จะดำเนินคดีกับผู้จัดหรือผู้ขึ้นปราศรัยเป็นหลัก เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่มีคนถูกดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และพ.ร.บ.โรคติดต่อ จากการทำกิจกรรม
#คนเชียงใหม่จะไม่ทนtoo บริเวณประตูท่าแพ เมื่อวันที่ 19 ก.ค. จำนวน 4 คน ที่จังหวัดลำพูนในงานวันที่ 24 ก.ค. คนขึ้นปราศรัย 2 คนก็ถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่วนที่กรุงเทพฯ มีคนถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมหน้ากองทัพบกในวันที่ 20 ก.ค.จำนวน 5 คน และจากเวทีวันที่ 18 ก.ค.อย่างน้อย 3 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ขึ้นเวทีปราศรัยทั้งสิ้น
ในส่วนของเหตุการณ์หลังเวทีที่ธรรมศาสตร์รังสิต ในวันที่ 10 ส.ค. นั้น ยังไม่มีรายงานของการดำเนินคดีจากเวทีดังกล่าว แต่มีการคุกคามเกิดขึ้นคือ มีตำรวจนอกเครื่องแบบขับรถติดตามผู้ปราศรัยไปจนถึงที่บ้านและในคืนวันที่ 12 ส.ค. ตำรวจนอกเครื่องแบบยังได้ไปเฝ้าอยู่บริเวณหอพักของแกนนำจัดงานและคนขึ้นปราศรัยตั้งแต่ช่วงค่ำจนถึงเช้า รวมไปถึงการจับกุม
พริษฐ์ หนึ่งในกลุ่มแกนนำจัดงาน 10 ส.ค. ในช่วงเย็นวันที่ 14 ส.ค. แต่เป็นการจับกุมจากเหตุของการชุมนุมครั้งอื่น
ส่วนกรณีข้อมูลจำนวนหนึ่งไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะได้นั้น
อภิรักษ์ระบุว่า ส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกคุกคามเป็นนักเรียนหรือเยาวชนซึ่งมีถึง 8 กรณีจากทั้งหมด 16 กรณี และทุกกรณีอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดและเป็นผู้จัดกิจกรรมที่ไม่เคยทำกิจกรรมทางการเมืองมาก่อนจึงไม่ต้องการให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในจังหวัดรวมถึงครูในโรงเรียนด้วย ในส่วนของลักษณะโดยทั่วไปของการคุกคามเป็นจะเป็นการเข้าไปเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นหลัก การโทรหาโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ การเรียกเข้าพบของผู้อำนวยการโรงเรียนหรือครู
สำหรับผู้ที่ทราบข้อมูลการคุกคามประชาชนที่แสดงออกในประเด็นสาธารณะต่างๆ ด้วยรูปแบบใดก็ตาม โดยเจ้าหน้าที่รัฐ หรือเป็นผู้ประสบเหตุคุกคามด้วยตัวเอง สามารถติดต่อเพื่อให้ข้อมูลกับไอลอว์ได้ทั้งทางโทรศัพท์หมายเลข 02 002 7878 email ilaw@ilaw.or.th หรือทาง facebook messenger ของเพจ ilaw หรือทาง Direct message ทาง twitter อ่านรายละเอียดรายงานได้ที่
https://freedom.ilaw.or.th/node/836
แฟลชม็อบตรังชู 3 นิ้ว ยื่น 3 ข้อเสนอจี้รัฐบาลยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน
https://www.matichon.co.th/region/news_2308950
แฟลชม็อบตรังชู 3 นิ้ว ยื่น 3 ข้อเสนอจี้รัฐบาลยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน
เมื่อเวลา 16.45 น. วันที่ 15 ส.ค. ที่สวนทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง น.ส.
ศกุนตลา มียอด อายุ 21 ปี พร้อมด้วยนาย
นัฐพงศ์ ตาแก้ว อายุ 17 ปี และกลุ่ม
Trang Against .................(TAD) ได้กันจัดกิจกรรม Flash Mob ภายใต้สโลแกน “
เมื่อเขาอยากให้เราเงียบ เราก็จะเงียบ #พะยูนปลดแอก #ให้มันจบที่รุ่นเรา” โดยมีผู้เข้าชุมนุมประมาณ 150 คน ร่วมกันใส่เสื้อดำเพื่อแสดงพลังแห่งประชาธิปไตย และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.เมืองตรัง ตำรวจ กก.สส.ภ.จว.ตรัง ตำรวจสันติบาลตรัง เจ้าหน้าที่ทหาร กอ.รมน.กว่า 50 นาย
นอกจากนั้นบริเวณทางเข้างานมีการตั้งจุดคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิ มีการใช้เจลล้างมือ สวมแมส เพื่อป้องกันโควิด 19 สำหรับกิจกรรมภายในงานมีการจัดเวทีปราศรัยเล็กๆ มีการเขียนป้ายข้อความต่อต้าน [เผล่ะจัง] การสืบทอดอำนาจ ขับไล่รัฐบาล ต่อมาเวลา 18.00 น.ได้ร่วมกันร้องเพลงชาติพร้อมกับชูสามนิ้ว ก่อนแยกย้ายกันกลับ บรรยากาศเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย
ทั้งนี้ น.ส.
ศกุนตลา ตัวแทนกลุ่ม กล่าวว่า จุดยืนในวันนี้คือ การคุกคามประชาชน เป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำและเป็นเรื่องที่ผิดปกติในสังคม ข้อเรียกร้องของกลุ่มมี 3 ข้อ คือ
1. หยุดคุกคามประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพทางประชาธิปไตย
2. หากจำเป็นต้องเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องมาจากเจตจำนงของประชาชนและเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
3. รัฐบาลต้องประกาศยุบสภาเพื่อเป็นการเปิดทางให้กับประชาชนแสดงเจตจำนง ได้อย่างมีสิทธิเสรีภาพอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องไม่มีการรัฐประหารซ้ำและต้องไม่มีการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ และอีกสิ่งหนึ่งคือเป้าหมายของกลุ่มคือ ต้องการปฎิวัติไม่ใช่ปฎิรูป
น.ส.
ศกุนตลา กล่าวต่อว่า ส่วนในประเด็นที่ทางตำรวจนครบาลมีการจับกุมนาย
พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ
เพนกวิ้น ก่อนที่ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาติให้ปล่อยตัวนั้น ตนมองว่า สำหรับการจับกุมดังกล่าว เป็นการคุกคามลิดรอนสิทธิและเสรีภาพ และไม่เป็นธรรม ตนมีข้อสงสัยคือตำรวจจับกุมในวันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม ก่อนตั้งข้อหาเพื่อออกหมายจับ มีกระบวนการสอบสวนผู้ต้องหาคนละที่ โดยการบอกข้อมูลอ้อมค้อมทำให้เกิดการล่าช้า และสร้างความสับสนให้ประชาชน รวมถึงไม่ให้สิทธิผู้ต้องหาพบทนายความในขั้นตอนการสอบสวน
อย่างไรก็ตามวันนี้ต้องขอบคุณ พ.ต.อ.
ศานิตย์ พลเพชร ผกก.สภ.เมืองตรัง และเจ้าหน้าที่ในการอำนวยความสะดวก และให้การดูแลเป็นอย่างดีรวมทั้งไม่ริดรอนสิทธิเสรีภาพในการจัดกิจกรรมครั้งนี้
'ธนาธร' ควง 'ปิยบุตร' อัดรัฐบาลไม่จริงใจ
https://www.dailynews.co.th/politics/790039
“ปิยบุตร” ชี้ใช้เทคนิคกฎหมายจัดการแกนนำม็อบนศ. ด้าน “ธนาธร” อัดรัฐบาลไม่จริงใจรับฟัง
เมื่อวันที่ 15 ส.ค. นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า และนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ร่วมกันจัดรายการ "
ก้าวหน้า Talk" ผ่านเพจคณะก้าวหน้า
คณะก้าวหน้า - Progressive Movement โดยเป็นการพูดคุยถึงกรณีการชุมนุมของประชาชน นิสิต นักศึกษาที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ และกำลังจะมีการชุมนุมใหญ่ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในวันที่ 16 ส.ค. นี้ ขณะเดียวกันก็มีการคุกคาม ติดตาม และจับกุมตัวแกนนำนักศึกษา
โดยนาย
ปิยบุตร กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นมองว่าเป็นกลวิธีหรือเทคนิคในการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือเพื่อจำกัดเสรีภาพประชาชน โดยตั้งข้อหาให้มาก ออกหมายจับให้มาก แล้วเลือกจับทีละคน เพื่อให้การชุมนุมค่อยๆ อ่อนกำลังลงไป นิสิตนักศึกษาเหล่านี้ไม่ใช่อาชญากร เพียงแค่อยากมาเรียกร้อง เพราะทนเห็นสภาพบ้านเมืองแบบนี้ไม่ไหว คนก็อดเปรียบเทียบคดีนายบอส อยู่วิทยาไม่ได้ ซึ่ง สังคมกำลังตั้งคำถามถึงมาตรฐานกระบวนการยุติธรรม
ด้านนาย
ธนาธร กล่าวว่า การข่มขู่คุกคาม ลิดรอนสิทธิ เสรีภาพประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าและยิ่งหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้กลายเป็นว่าเจ้าหน้าที่ไล่ติดตามข่มขู่ให้ประชาชนกลัว ติดต่อไปที่เพื่อน ที่ครอบครัว หรือตามไปถึงบ้าน และยิ่งล่าสุดก็มีแผนผังกลุ่มบุคคลที่ปราศรัยเมื่อ 10 ส.ค. ตนเห็นผังแบบนี้หลายครั้ง ลักษณะนี้เป็นหน่วยงานความมั่นคงแน่นอน นี่คือความพยายามจัดการแกนนำอย่างเป็นระบบ ตนยืนยันว่ากลุ่มคนแกนนำต่างๆ เหล่านี้ เขาต้องการกำลังใจจากประชาชน ดังนั้นอย่าปล่อยให้เขาสู้อย่างโดดเดี่ยวต้องออกมาช่วยกัน สำหรับข้อเรียกร้องหยุดคุกคามเสรีภาพของประชาชน แก้รัฐธรรมนูญ ยุบสภานั้น ทั้ง 3 เรื่องเกี่ยวเนื่องกัน สัปดาหาห์ก่อนด้านหนึ่งมีการตั้งกมธ.รับฟังเสียงเรียกร้องนักศึกษา ขณะที่อีกขาให้เจ้าหน้าที่ไล่คุกคามยัดข้อหาให้กับแกนนำ ดังนั้นนี่เป็นการพิสูจน์ว่าความพยายามรัฐบาลฟังนักศึกษาและหาทางออกประเทศนั้นไม่เป็นจริง.
JJNY : 4in1 ไอลอว์เปิดสถิติการคุกคาม/แฟลชม็อบตรังชู 3 นิ้ว/'ธนาธร'ควง'ปิยบุตร'อัดรัฐบาลไม่จริงใจ//“กลินท์”หวังถกศบค.ศก.
https://prachatai.com/journal/2020/08/89058
15 ส.ค.2563 โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ (iLaw) รวบรวมการคุกคามประชาชนที่ใช้สิทธิในการชุมนุมทางการเมือง พบว่า ตั้งแต่ต้นปี 2563 เริ่มมีกิจกรรมวิ่งไล่ลุงเกิดขึ้นทั่วประเทศอย่างน้อย 39 ครั้ง หลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ แฟลชม็อบตามสถานศึกษาต่างๆ ทยอยเกิดขึ้นนับได้ประมาณ 95 ครั้งทั่วประเทศ โดยข้อเรียกร้องรูปธรรมให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเริ่มปรากฏให้เห็น
เดือนกรกฎาคมหลังมีการคลายล็อคมาตรการป้องกันโควิด-19 กลุ่มเยาวชนปลดแอกจัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 18 ก.ค.พร้อมข้อเสนอรูปธรรรม 3 ข้อ คือ หยุดคุกคามประชาชน ยุบสภา ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยข้อเสนอนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางและมีการจัดชุมนุมย่อยๆ ตามมาอีกหลายครั้ง ส่วนใหญ่นำโดยเยาวชนทั้งนักศึกษาและนักเรียนมัธยม
ไอลอว์บันทึกการคุกคามผู้จัดหรือผู้เข้าร่วมชุมนุมทั่วประเทศ นับตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค.เป็นต้นมาจนปัจจุบัน พบว่า มีการแจ้งเข้ามาทั้งหมด 79 ครั้ง ในจำนวนนี้เป็นกรณีเปิดเผยต่อสาธารณะได้ 63 ครั้ง และกรณีที่ผู้ถูกคุกคามไม่พร้อมให้เปิดเผยอีก 16 ครั้ง
นายอภิรักษ์ นันทเสรี เจ้าหน้าที่ไอลอว์ เปิดเผยว่า รูปแบบการคุกคามที่พบเป็นส่วนใหญ่สำหรับแกนนำจัดชุมนุมคือ มีเจ้าหน้าที่ไปที่บ้านก่อนจัดการชุมนุมเพื่อกดดันให้ไม่จัดหรือไม่เข้าร่วม เช่นในจังหวัดลำพูน เพชรบูรณ์ แพร่ เลย พัทลุง นครศรีธรรมราช ปัตตานี สมุทรปราการ กาญจนบุรี นนทบุรี สงขลา ขอนแก่น อำนาจเจริญ อุดรธานี กระบี่ กรุงเทพมหานคร ฯลฯ นอกจากนี้การคุกคามผู้เข้าร่วมชุมนุมยังเกิดขึ้นอย่างเป็นล่ำเป็นสันโดยมีการถ่ายภาพนิ่ง วิดีโอ ใช้กล้องวงจรปิด ใช้โดรนในการเก็บข้อมูลผู้เข้าร่วมชุมนุม และมีรายงานการเก็บข้อมูลป้ายทะเบียนรถผู้เข้าร่วมชุมนุมด้วย
กรณีบทบาทของโรงเรียนนั้นพบว่า มีผู้อำนวยการโรงเรียนหรือครูเรียกพบนักเรียนที่เป็นแกนนำหลายกรณี โดยมีเป้าหมายเพื่อห้ามปรามการชุมนุม บ้างเป็นการขอความร่วมมือ บ้างเป็นการข่มขู่ว่าจะมีการลงโทษ กระทั่งจะไม่ได้รับใบประกาศจบการศึกษา อย่างไรก็ดี การชุมนุมโดยส่วนใหญ่ก็ยังคงจัดขึ้นตามกำหนดการ มีเพียงไม่กี่กรณีที่ยุติการจัดการชุมนุม ที่น่าสังเกตคือ เจ้าหน้าที่ในท้องที่ที่เข้าพบเยาวชนหรือประชาชนมักอ้างว่า มีลิสต์ซึ่งเป็นข้อมูลจากส่วนกลางซึ่งระบุชื่อและข้อมูลส่วนบุคคลของแกนนำต่างๆ ด้วย
“หลังจากที่การชุมนุมมีแนวโน้มที่จะเป็นเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ เข้าร่วมมากขึ้น รูปแบบการคุกคามจึงเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนโดยเฉพาะในโรงเรียน เช่นการเรียกนักเรียนที่จัดกิจกรรมเข้าพบผู้อำนวยการหรือครู การเรียกผู้ปกครองมาพบที่โรงเรียน การประกาศในโรงเรียนว่า ห้ามไปร่วมชุมนุม การนำตำรวจเข้าไปในโรงเรียน ตำรวจโทรหาผู้ปกครองหรือไปเยี่ยมบ้านเพื่อพูดคุยกับผู้ปกครองของเด็ก การขับรถตามและเฝ้าอยู่ที่หอพัก รวมไปถึงการให้เซ็นบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) ว่า จะไม่ไปร่วมกิจกรรม การคุกคามรูปแบบใหม่เหล่านี้ส่งผลกระทบและสร้างความกดดันอย่างมากให้กับนักเรียน นักศึกษา เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะเป็นคนหน้าใหม่ที่กำลังเริ่มสนใจกิจกรรมทางการเมือง อีกทั้งกิจกรรมส่วนใหญ่จัดในต่างจังหวัด หลายพื้นที่ไม่เคยมีกิจกรรมทางการเมืองมานาน ทำให้เจ้าหน้าที่ในแต่ละพื้นที่ปฏิบัติรุนแรงแตกต่างกันไป” นายอภิรักษ์กล่าว
สำหรับการดำเนินคดีนั้น อภิรักษ์ระบุว่า จะดำเนินคดีกับผู้จัดหรือผู้ขึ้นปราศรัยเป็นหลัก เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่มีคนถูกดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และพ.ร.บ.โรคติดต่อ จากการทำกิจกรรม #คนเชียงใหม่จะไม่ทนtoo บริเวณประตูท่าแพ เมื่อวันที่ 19 ก.ค. จำนวน 4 คน ที่จังหวัดลำพูนในงานวันที่ 24 ก.ค. คนขึ้นปราศรัย 2 คนก็ถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่วนที่กรุงเทพฯ มีคนถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมหน้ากองทัพบกในวันที่ 20 ก.ค.จำนวน 5 คน และจากเวทีวันที่ 18 ก.ค.อย่างน้อย 3 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ขึ้นเวทีปราศรัยทั้งสิ้น
ในส่วนของเหตุการณ์หลังเวทีที่ธรรมศาสตร์รังสิต ในวันที่ 10 ส.ค. นั้น ยังไม่มีรายงานของการดำเนินคดีจากเวทีดังกล่าว แต่มีการคุกคามเกิดขึ้นคือ มีตำรวจนอกเครื่องแบบขับรถติดตามผู้ปราศรัยไปจนถึงที่บ้านและในคืนวันที่ 12 ส.ค. ตำรวจนอกเครื่องแบบยังได้ไปเฝ้าอยู่บริเวณหอพักของแกนนำจัดงานและคนขึ้นปราศรัยตั้งแต่ช่วงค่ำจนถึงเช้า รวมไปถึงการจับกุมพริษฐ์ หนึ่งในกลุ่มแกนนำจัดงาน 10 ส.ค. ในช่วงเย็นวันที่ 14 ส.ค. แต่เป็นการจับกุมจากเหตุของการชุมนุมครั้งอื่น
ส่วนกรณีข้อมูลจำนวนหนึ่งไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะได้นั้น อภิรักษ์ระบุว่า ส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกคุกคามเป็นนักเรียนหรือเยาวชนซึ่งมีถึง 8 กรณีจากทั้งหมด 16 กรณี และทุกกรณีอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดและเป็นผู้จัดกิจกรรมที่ไม่เคยทำกิจกรรมทางการเมืองมาก่อนจึงไม่ต้องการให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในจังหวัดรวมถึงครูในโรงเรียนด้วย ในส่วนของลักษณะโดยทั่วไปของการคุกคามเป็นจะเป็นการเข้าไปเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นหลัก การโทรหาโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ การเรียกเข้าพบของผู้อำนวยการโรงเรียนหรือครู
สำหรับผู้ที่ทราบข้อมูลการคุกคามประชาชนที่แสดงออกในประเด็นสาธารณะต่างๆ ด้วยรูปแบบใดก็ตาม โดยเจ้าหน้าที่รัฐ หรือเป็นผู้ประสบเหตุคุกคามด้วยตัวเอง สามารถติดต่อเพื่อให้ข้อมูลกับไอลอว์ได้ทั้งทางโทรศัพท์หมายเลข 02 002 7878 email ilaw@ilaw.or.th หรือทาง facebook messenger ของเพจ ilaw หรือทาง Direct message ทาง twitter อ่านรายละเอียดรายงานได้ที่ https://freedom.ilaw.or.th/node/836
แฟลชม็อบตรังชู 3 นิ้ว ยื่น 3 ข้อเสนอจี้รัฐบาลยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน
https://www.matichon.co.th/region/news_2308950
แฟลชม็อบตรังชู 3 นิ้ว ยื่น 3 ข้อเสนอจี้รัฐบาลยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน
เมื่อเวลา 16.45 น. วันที่ 15 ส.ค. ที่สวนทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง น.ส.ศกุนตลา มียอด อายุ 21 ปี พร้อมด้วยนายนัฐพงศ์ ตาแก้ว อายุ 17 ปี และกลุ่ม Trang Against .................(TAD) ได้กันจัดกิจกรรม Flash Mob ภายใต้สโลแกน “เมื่อเขาอยากให้เราเงียบ เราก็จะเงียบ #พะยูนปลดแอก #ให้มันจบที่รุ่นเรา” โดยมีผู้เข้าชุมนุมประมาณ 150 คน ร่วมกันใส่เสื้อดำเพื่อแสดงพลังแห่งประชาธิปไตย และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.เมืองตรัง ตำรวจ กก.สส.ภ.จว.ตรัง ตำรวจสันติบาลตรัง เจ้าหน้าที่ทหาร กอ.รมน.กว่า 50 นาย
นอกจากนั้นบริเวณทางเข้างานมีการตั้งจุดคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิ มีการใช้เจลล้างมือ สวมแมส เพื่อป้องกันโควิด 19 สำหรับกิจกรรมภายในงานมีการจัดเวทีปราศรัยเล็กๆ มีการเขียนป้ายข้อความต่อต้าน [เผล่ะจัง] การสืบทอดอำนาจ ขับไล่รัฐบาล ต่อมาเวลา 18.00 น.ได้ร่วมกันร้องเพลงชาติพร้อมกับชูสามนิ้ว ก่อนแยกย้ายกันกลับ บรรยากาศเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย
ทั้งนี้ น.ส.ศกุนตลา ตัวแทนกลุ่ม กล่าวว่า จุดยืนในวันนี้คือ การคุกคามประชาชน เป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำและเป็นเรื่องที่ผิดปกติในสังคม ข้อเรียกร้องของกลุ่มมี 3 ข้อ คือ
1. หยุดคุกคามประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพทางประชาธิปไตย
2. หากจำเป็นต้องเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องมาจากเจตจำนงของประชาชนและเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
3. รัฐบาลต้องประกาศยุบสภาเพื่อเป็นการเปิดทางให้กับประชาชนแสดงเจตจำนง ได้อย่างมีสิทธิเสรีภาพอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องไม่มีการรัฐประหารซ้ำและต้องไม่มีการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ และอีกสิ่งหนึ่งคือเป้าหมายของกลุ่มคือ ต้องการปฎิวัติไม่ใช่ปฎิรูป
น.ส.ศกุนตลา กล่าวต่อว่า ส่วนในประเด็นที่ทางตำรวจนครบาลมีการจับกุมนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิ้น ก่อนที่ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาติให้ปล่อยตัวนั้น ตนมองว่า สำหรับการจับกุมดังกล่าว เป็นการคุกคามลิดรอนสิทธิและเสรีภาพ และไม่เป็นธรรม ตนมีข้อสงสัยคือตำรวจจับกุมในวันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม ก่อนตั้งข้อหาเพื่อออกหมายจับ มีกระบวนการสอบสวนผู้ต้องหาคนละที่ โดยการบอกข้อมูลอ้อมค้อมทำให้เกิดการล่าช้า และสร้างความสับสนให้ประชาชน รวมถึงไม่ให้สิทธิผู้ต้องหาพบทนายความในขั้นตอนการสอบสวน
อย่างไรก็ตามวันนี้ต้องขอบคุณ พ.ต.อ.ศานิตย์ พลเพชร ผกก.สภ.เมืองตรัง และเจ้าหน้าที่ในการอำนวยความสะดวก และให้การดูแลเป็นอย่างดีรวมทั้งไม่ริดรอนสิทธิเสรีภาพในการจัดกิจกรรมครั้งนี้
'ธนาธร' ควง 'ปิยบุตร' อัดรัฐบาลไม่จริงใจ
https://www.dailynews.co.th/politics/790039
“ปิยบุตร” ชี้ใช้เทคนิคกฎหมายจัดการแกนนำม็อบนศ. ด้าน “ธนาธร” อัดรัฐบาลไม่จริงใจรับฟัง
เมื่อวันที่ 15 ส.ค. นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า และนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ร่วมกันจัดรายการ "ก้าวหน้า Talk" ผ่านเพจคณะก้าวหน้า คณะก้าวหน้า - Progressive Movement โดยเป็นการพูดคุยถึงกรณีการชุมนุมของประชาชน นิสิต นักศึกษาที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ และกำลังจะมีการชุมนุมใหญ่ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในวันที่ 16 ส.ค. นี้ ขณะเดียวกันก็มีการคุกคาม ติดตาม และจับกุมตัวแกนนำนักศึกษา
โดยนายปิยบุตร กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นมองว่าเป็นกลวิธีหรือเทคนิคในการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือเพื่อจำกัดเสรีภาพประชาชน โดยตั้งข้อหาให้มาก ออกหมายจับให้มาก แล้วเลือกจับทีละคน เพื่อให้การชุมนุมค่อยๆ อ่อนกำลังลงไป นิสิตนักศึกษาเหล่านี้ไม่ใช่อาชญากร เพียงแค่อยากมาเรียกร้อง เพราะทนเห็นสภาพบ้านเมืองแบบนี้ไม่ไหว คนก็อดเปรียบเทียบคดีนายบอส อยู่วิทยาไม่ได้ ซึ่ง สังคมกำลังตั้งคำถามถึงมาตรฐานกระบวนการยุติธรรม
ด้านนายธนาธร กล่าวว่า การข่มขู่คุกคาม ลิดรอนสิทธิ เสรีภาพประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าและยิ่งหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้กลายเป็นว่าเจ้าหน้าที่ไล่ติดตามข่มขู่ให้ประชาชนกลัว ติดต่อไปที่เพื่อน ที่ครอบครัว หรือตามไปถึงบ้าน และยิ่งล่าสุดก็มีแผนผังกลุ่มบุคคลที่ปราศรัยเมื่อ 10 ส.ค. ตนเห็นผังแบบนี้หลายครั้ง ลักษณะนี้เป็นหน่วยงานความมั่นคงแน่นอน นี่คือความพยายามจัดการแกนนำอย่างเป็นระบบ ตนยืนยันว่ากลุ่มคนแกนนำต่างๆ เหล่านี้ เขาต้องการกำลังใจจากประชาชน ดังนั้นอย่าปล่อยให้เขาสู้อย่างโดดเดี่ยวต้องออกมาช่วยกัน สำหรับข้อเรียกร้องหยุดคุกคามเสรีภาพของประชาชน แก้รัฐธรรมนูญ ยุบสภานั้น ทั้ง 3 เรื่องเกี่ยวเนื่องกัน สัปดาหาห์ก่อนด้านหนึ่งมีการตั้งกมธ.รับฟังเสียงเรียกร้องนักศึกษา ขณะที่อีกขาให้เจ้าหน้าที่ไล่คุกคามยัดข้อหาให้กับแกนนำ ดังนั้นนี่เป็นการพิสูจน์ว่าความพยายามรัฐบาลฟังนักศึกษาและหาทางออกประเทศนั้นไม่เป็นจริง.