ช่วงนี้ผมใกล้จะสอบเนติฯแล้วครับ รู้สึกไม่มีสมาธิอ่านหนังสือเลย ฮ่า ๆ
เลยอยากจะมาตั้งกระทู้แบ่งปันการอ่านหนังสือกันหน่อยเป็นการปรับอารมณ์
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อน ๆ กันนะครับ ใครมีวิธีไหนใช้ได้ผลมาแชร์กันได้เลย
ตั้งแต่ตอนประถม-มัธยมผมได้อ่านหนังสือสามเล่มนี้ ที่ทำให้ผมได้รับเทคนิคในการอ่านเยอะมาก เป็นสามเล่มที่มีอิทธิพลต่อตัวผมจนมาถึงปัจจุบัน
เริ่มจากซ้ายไปขวา
เรียนยังไงให้เก่งอย่างเทพ
ที่จริงหนังสือซีรี่ย์นี้มี 2 เล่ม ซึ่งเล่มแรกของผมหายไปไหนไม่รู้ เสียดายมาก เพราะ เป็นเล่มที่ทำให้ผมรู้สึกอินกับการมีความรักวัยเรียน "ป็อปปี้เลิฟ" ซึ่งคนที่ผม "เคย" แอบชอบก็เรียนเก่ง และผมเรียนเก่งน้อยกว่าระดับนึง (แต่ก็น่าจะถือว่าเรียนเก่ง เกรดต่ำสุดที่เคยได้ก่อนขึ้นมหาลัยคือ 3.66 ซึ่งเป็นเทอมสุดท้ายม.6 ที่ไม่ค่อยสนเกรดจึงทำงานคุณภาพน้อยลง ไม่ค่อยตั้งใจเรียนในห้องและไม่ค่อยอ่านหนังสือสอบ เพราะสอบตรงติดมหาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งแล้ว)
ซีรี่ย์นี้จะเป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มที่เรียนแย่ ความรับผิดชอบต่ำ คนหนึ่งหมายปองดอกฟ้าที่ตรงกันข้ามกับเขาทุกด้าน ทั้งเรียนเก่ง กีฬาเยี่ยม สวย น่ารัก หุ่นดี เพอเฟ็คสุด ๆ แน่นอนว่าเข้าไปจีบก็ต้องแห้วตามระเบียบ โดนสวดมาหนึ่งชุดจากคนที่ชอบ จึงเริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เรียนเก่งขึ้น ซึ่งจะมีการกล่าวถึงเทคนิคการอ่านหนังสือ การใช้ชีวิตวัยเรียนแบบนักเรียนตัวอย่าง (มั้ง) ให้อ่านกัน เช่น การนอนเร็วตื่นเช้า การท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ ความจำเป็นของการเรียนภาษาจีน ฯลฯ
ส่วนตัวชอบเรื่องราวมาก เป็นการพยายามเพื่อคนที่ชอบและความพยายามนั้นส่งผลดีกับทั้งคู่ด้วย แต่เนื้อหาบางส่วนถ้ามาอ่านในสมัยนี้อาจจะรู้สึกเก่าไปนิดหน่อยหรือแฝงแนวคิดที่ไม่ได้ทันสมัยมาก แต่ไม่ได้เป็นข้อเสียจนครบจุดเด่นของซีรี่ย์เรื่องนี้
12 เคล็ดลับช่วยให้สมองเฉียบแหลมเริ่มจากการตื่นเช้า
เล่มนี้เป็นเล่มโปรดเล่มหนึ่งของผมเลยในสมัยเรียน อ่านบ่อยมาก สังเกตุจากความยับเยิน 555 เพราะเล่มนี้ผมรู้สึกอัดแน่น ใช้ได้จริง และเป็นรูปธรรมที่รู้สึกว่าจับต้องได้ค่อนข้างมาก
เรื่องราวของเล่มนี้ประมาณว่า พระเอกแข่งขันกันเรียนกับเพื่อนในห้องอีกคน(ผู้ชาย) แต่พยายามเท่าไหร่ก็ไม่ชนะสักที จนอยู่มาวันหนึ่งมีเด็กผู้หญิงย้ายเข้ามาใหม่แถมยังเรียนเก่งอีกด้วยซึ่งจะเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของพระเอกไปตลอดกาล
เล่มนี้จะเน้นไปที่การใช้ชิวิตวัยเรียนให้นอนเร็ว ตื่นเช้า อธิบายการนอนหลับด้วย เทคนิคการอ่านหนังสือในภาพผมเคยลองใช้แล้วก็สามารถใช้ได้จริงในระดับนึง คือ เหมือนการสอนตัวเองไปในตัว พูดกับตัวเอง ให้เข้าใจ พร้อมคิดตามไปด้วย ปากกาขีดเส้นไปด้วยเพื่อให้เกิดสมาธิโฟกัสกับสิ่งที่อ่านมากขึ้น แต่ปัจจุบันผมผสมผสานหลายวิธีเข้าด้วยกันมาก แต่ก็ไม่ได้ต่างกันมาก
เช่น เวลาผมอ่านหนังสือผมจะพูดกับตัวเองเหมือนสอนตัวเองว่า "เอาละครับวันนี้เรามาเรียนกฎหมายเรื่องละเมิดกันบ้าง ซึ่งเรื่องละเมิดเนี้ยจะเป็นกฎหมายที่เราใช้ค่อนข้างบ่อยน่าจะที่สุดแล้วมั้งในการใช้ชีวิตจริง ไม่ว่าจะรถชน หมากัด โดนโกง ฯลฯ มักจะมีเรื่องละเมิดมาเกี่ยวข้อตลอด โดยจะมีมาตรา 420 เป็นบททั่วไปครอบจักรวาลลลล ให้จำไว้เลยนะมาตรานี้ ใช้บ่อยแน่ ๆ ..." เป็นต้น
แค่ 30 นาทีก่อนนอน เปลี่ยนคนยอกแย่เป็นคนยอดเยี่ยม
บอกเลยว่าเป็นเล่มที่ผมชอบที่สุดและอ่านซ้ำบ่อยมาก จนถึงขนาดเคยทำสรุปเอาไว้เลย เพราะเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ส่วนตัวรู้สึกว่าใช้ได้จริงมาก ๆุ
เล่มนี้จะเป็นการกล่าวถึงการแก้พฤติกรรมที่คนทั่วไปมักมองว่าไม่ดี เช่น นอนดึก และการใช้เวลาก่อนนอนและตื่นนอนให้คุ้มค่ามากที่สุด แถมยังมีวิธีการอ่านหนังสือที่เป็นพื้นฐานการอ่านหนังสือของผมมาตั้งแต่ตอนนั้นเลย เป็นเล่มที่มีอิทธิพลกับตัวผมมากที่สุดแล้ว เพราะ เล่มนี้แฝง Mind Set ดี ๆ ไว้ค่อนข้างเยอะเหมือนกัน
ไม่รู้ทุกคนเคยเป็นไหม แต่ส่วนตัวผม ตอนเรียนมัธยม มีอยู่วันหนึ่งคุณครูให้การบ้านคณิตศาสตร์ ปกติผมจะทำการบ้านเสร็จตั้งแต่ที่โรงเรียน แต่วันนั้นมันเป็นการบ้านที่ยากมาก ผมเอากลับมาทำที่บ้าน คิดหัวแทบแตกก็คิดไม่ออก พยายามเอาสมการ เอาสูตรเข้าไปใส่ก็คิดไม่ออก และไม่อยากดูเฉลยเพราะต้องการคิดเองให้ได้ แต่ตอนนั้นมันดึกแล้วผมจึงคิดว่าจะตื่นขึ้นมาทำข้อนี้ให้เสร็จต่อก่อนไปโรงเรียน ผมจึงตั้งนาฬิกาปลุกตอนตี 5 เร็วกว่าปกติ 1 ชั่วโมงเผื่อคิดไม่ออกจริง ๆ ก่อนนอนผมก็นึกภาพโจทย์ข้อนั้นในหัวเรื่อย ๆ จนหลับไป
ตื่นมา ปรากฎว่า ผมคิดออกเฉยเลย ! ทั้ง ๆ ที่ก่อนนอนก็คิดไม่ออกแท้ ๆ
ตามที่หนังสือเล่มนี้อธิบายก็คือ ระหว่างนอนและเวลาเราฝันนั้น มันเป็นการจัดเรียงข้อมูลของสมองจากสิ่งที่เราเจอมาในวันนั้น ๆ ในหนังสืออ้างถึงผลการทดลองหนึ่งที่แบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่ม ให้แก้ปริศนาบางอย่าง กลุ่มหนึ่งอ่านโจทย์แล้วทำเลยโดยไม่นอน อีกกลุ่มอ่านโจทย์แล้วหลับเลยตื่นมาค่อยทำ ผลปรากฎว่า กลุ่มที่ได้นอนแก้ปริศนาได้ดีกว่ามากหลาย % (แต่ผมก็ไม่ได้เชื่อผลการทดลองมากนะ แต่มาเชื่อเพราะพิสูจน์ด้วยตัวเองหลายครั้ง)
และเทคนิคที่ผมยังใช้อยู่ประจำที่ได้จากหนังสสือเล่มนี้ก็ตามในรูปภาพเลยครับ เป็นการอ่าน 3 ครั้ง คือ
ครั้งแรก : ผมจะอ่านสารบัญก่อน ถ้ามีข้อย่อย ๆ ก็จะดูแบบนี้ คือ อ่านหัวข้อหลักให้ครบ แล้วหลังจากนั้นมาอ่านหัวข้อหลักเรื่องที่จะอ่านอีกครั้งจึงมาดูข้อย่อยของเรื่องนั้น เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของสิ่งที่เราจะอ่าน แล้วจะเริ่มอ่านเนื้อหาแบบ Scan คร่าว ๆ ผมหมายถึง คร่าว ๆ แบบแค่ผ่านตาจริง ๆ เราจะได้พอห็นว่า หัวข้อย่อยนั้น ๆ พูดเรื่องอะไร มาตาราง มีกราฟ มีรูปภาพ มีการยกตัวอย่างตรงไหนบ้าง
ครั้งสอง : อ่านเนื้อหาพร้อม High Light ไว้ ตรงไหนอ่านไม่เข้าใจจริง ๆ จะทำเครื่องหมายเอาไว้ค่อยกลับมาอ่านอีกครั้ง
ครั้งสุดท้าย : อ่านหัวข้อ อ่านที่ High Light และอ่านที่ทำเครืองหมายว่าไม่เข้าใจ อ่านเสร็จแล้วลองทบทวนกับตัวเองว่า เข้าใจแค่ไหน จำได้บ้างไหม เห็นภาพไหม เพราะถ้าเราเข้าใจ สิ่งสำคัญ ๆ จะผุดออกมาตอนอ่านหัวข้อ ทีนี้ถ้าเราจำหัวข้อพอได้แล้ว เราจะพอที่จะจำเนื้อหาได้บ้าง
ครั้งเพิ่มเติม : อ่านแบบ Scan ผ่านตากว่าครั้งแรกเพื่อเก็บตกที่เราลืม
ทั้งหมดนี้บางครั้งจะทำโดยเหมือนสอนตัวเองหรือเหมือนสอนคนอื่นอยู่ทั้ง ๆ ที่มีแค่ตัวเราเอง
ที่ไม่ได้ทำการพูดสอนทุกครั้งเพราะ บางครั้งอยู่ในที่ที่ไม่ได้สะดวกใช้เสียงมาก เช่น อยู่ข้างนอก อยู่ในห้าง อยู่บนรถเมย์ หรือบางครั้งก็เขิลคนที่บ้าน
แต่สิ่งสำคัญคือ วิธีนี้จะใช้พลังงานค่อนข้างมาก เหนื่อยเร็วพอสมควร จึงต้องฝึกอ่านในใจบ่อย ๆ จะได้ใช้พลังงานน้อยลง (แต่ถ้าท่าเหมือนการสอนยังอยู่นะ แค่ไม่มีเสียง ฮ่า ๆ )
ถ้าถามว่าผมใช้การอ่านแบบ 4 รอบทุกครั้งไหม ตอบเลยว่า "ไม่"
เพราะขึ้นอยู่กับ
1. หนังสือที่เราอ่าน : เขียนดี เขียนไม่ดี เขียนอ่านยาก หรืออ่านง่าย เขียนวกไปวนมา หรือเรียบเรียงเป็นขั้นเป็นตอน ฯลฯ ก็จะมีวิธีรับมือกับหนังสือแต่ละแบบต่างกันไป เช่น ถ้าอ่านยากก็จะใช้แค่ประกอบการอ่านแบบ "คร่าว ๆ ผ่านตา" และหาเล่มอ่านง่ายแทน และถ้าไม่มีเวลาก็ทิ้งเล่มนี้ไปอ่านเล่มที่เข้าใจง่ายกว่าแทน
2. เวลาที่มี : ถ้าเวลามีน้อยก็อาจจะอ่านเร็วมาก ๆ ซึ่งอาจจะตกหล่นสิ่งสำคัญบางอย่างไป หรือบางเรื่องก็รู้ตัวนะว่าจำไม่ได้เพราะยาก แต่ก็ต้องทิ้งไปก่อนเผื่อไปอ่านเรื่องอื่น หากมีเวลาจะกลับมาอ่านให้เข้าใจใหม่ ไม่งั้นจะเสียเวลาได้
3. อารมณ์ : ถ้าไม่ค่อยมีอารมณ์ในการอ่านจริงจัง ก็จะทำแค่ อ่านครั้งแรก อย่างเดียว เพื่อไปอ่านแบบจริงจังต่อไป
(สำหรับสายกฎหมาย ส่วนตัวผมเคยเจอชีทของ ohm's law ของเพื่อน ดีมาก ๆ ดีจนสามารถสร้าง Mind Map ไว้ในหัวได้เลย แต่ด้วยราคาที่รู้สึกค่อนข้างแพงจึงไม่ได้ซื้อมาอ่าน ก็เลยต้องไปสมัครคำบรรยายเนติของที่ถูกกว่าแทน ซึ่งคำบรรยายเนติเนี้ย อ่านยากมากกกก บางครั้งอ่านวกไปวนมาขึ้นอยู่กับอาจารย์ที่สอนแต่ละวิชาด้วย แถมเยอะอีกต่างหาก คิดในใจเหมือนกันนะว่า เนติมีมานานมากแล้ว เป็นองค์กรที่ก็ไม่ได้ดูเล็ก ทำไมทำสู้ของ ohm's law ไม่ได้เลย อาจจะเพราะด้วยราคาถูกละมั้งทำให้ไม่มีแรงจูงใจ ก็ตามราคา ตามสภาพครับ แต่ของ ohm's law ดีจริง ๆ นะ จากที่เคยอ่านอะ ใครมีกำลังแนะนำว่า ohm's law น่าจะดีกว่าครับสำหรับสายกฎหมาย ยังคิดอยู่เลยว่าระดับป.ตรีก็อ่านได้นะ คือ มันอ่านง่ายมาก ๆ ทำให้เห็นภาพมาก นี่ไม่ได้ค่าโฆษณานะ แต่ถ้า ohm's law มาเห็นจะให้ฟรีก็ยินดีรับด้วยความเต็มใจครับ 555)
.
.
.
จบแล้วสำหรับของผม แล้วเพื่อน ๆ ละครับมีวิธีอ่านหนังสือกันยังไงบ้าง ช่วยแชร์กันหน่อยครับ หากใครมีวิธีทำให้อยากอ่านหนังสือจะดีมากเลย ช่วงนี้ขี้เกียจและอ่านวิแพ่งไม่ทันจนคิดจะเทวิชานี้เป็นครั้งแรกในชีวิตแล้ว 555
(วิชาวิแพ่งเป็นยาขมและแผลเก่าสำหรับผมตั้งแต่ป.ตรีแล้ว เป็นวิชาที่สอบไม่ผ่านครั้งแรกในชีวิต)
.
.
.
ส่วนตัวที่ทำให้อยากอ่านหนังสือมากขึ้น คือ ตอนได้ลองทำงาน เพราะ มันต้องอ่าน 555 และจะเข้าใจ จำได้ดีกว่าอ่านไปเรื่อย ๆ มาก ๆ เพราะ ได้ปฏิบัติจริง และอีกสถานการณ์นึง คือ คนที่รู้จักถูกโกงแล้วมาปรึกษา 555
มาแชร์เทคนิควิธีอ่านหนังสือกันเถอะ !
เลยอยากจะมาตั้งกระทู้แบ่งปันการอ่านหนังสือกันหน่อยเป็นการปรับอารมณ์
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อน ๆ กันนะครับ ใครมีวิธีไหนใช้ได้ผลมาแชร์กันได้เลย
ตั้งแต่ตอนประถม-มัธยมผมได้อ่านหนังสือสามเล่มนี้ ที่ทำให้ผมได้รับเทคนิคในการอ่านเยอะมาก เป็นสามเล่มที่มีอิทธิพลต่อตัวผมจนมาถึงปัจจุบัน
เริ่มจากซ้ายไปขวา
เรียนยังไงให้เก่งอย่างเทพ
ที่จริงหนังสือซีรี่ย์นี้มี 2 เล่ม ซึ่งเล่มแรกของผมหายไปไหนไม่รู้ เสียดายมาก เพราะ เป็นเล่มที่ทำให้ผมรู้สึกอินกับการมีความรักวัยเรียน "ป็อปปี้เลิฟ" ซึ่งคนที่ผม "เคย" แอบชอบก็เรียนเก่ง และผมเรียนเก่งน้อยกว่าระดับนึง (แต่ก็น่าจะถือว่าเรียนเก่ง เกรดต่ำสุดที่เคยได้ก่อนขึ้นมหาลัยคือ 3.66 ซึ่งเป็นเทอมสุดท้ายม.6 ที่ไม่ค่อยสนเกรดจึงทำงานคุณภาพน้อยลง ไม่ค่อยตั้งใจเรียนในห้องและไม่ค่อยอ่านหนังสือสอบ เพราะสอบตรงติดมหาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งแล้ว)
ซีรี่ย์นี้จะเป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มที่เรียนแย่ ความรับผิดชอบต่ำ คนหนึ่งหมายปองดอกฟ้าที่ตรงกันข้ามกับเขาทุกด้าน ทั้งเรียนเก่ง กีฬาเยี่ยม สวย น่ารัก หุ่นดี เพอเฟ็คสุด ๆ แน่นอนว่าเข้าไปจีบก็ต้องแห้วตามระเบียบ โดนสวดมาหนึ่งชุดจากคนที่ชอบ จึงเริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เรียนเก่งขึ้น ซึ่งจะมีการกล่าวถึงเทคนิคการอ่านหนังสือ การใช้ชีวิตวัยเรียนแบบนักเรียนตัวอย่าง (มั้ง) ให้อ่านกัน เช่น การนอนเร็วตื่นเช้า การท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ ความจำเป็นของการเรียนภาษาจีน ฯลฯ
ส่วนตัวชอบเรื่องราวมาก เป็นการพยายามเพื่อคนที่ชอบและความพยายามนั้นส่งผลดีกับทั้งคู่ด้วย แต่เนื้อหาบางส่วนถ้ามาอ่านในสมัยนี้อาจจะรู้สึกเก่าไปนิดหน่อยหรือแฝงแนวคิดที่ไม่ได้ทันสมัยมาก แต่ไม่ได้เป็นข้อเสียจนครบจุดเด่นของซีรี่ย์เรื่องนี้
12 เคล็ดลับช่วยให้สมองเฉียบแหลมเริ่มจากการตื่นเช้า
เล่มนี้เป็นเล่มโปรดเล่มหนึ่งของผมเลยในสมัยเรียน อ่านบ่อยมาก สังเกตุจากความยับเยิน 555 เพราะเล่มนี้ผมรู้สึกอัดแน่น ใช้ได้จริง และเป็นรูปธรรมที่รู้สึกว่าจับต้องได้ค่อนข้างมาก
เรื่องราวของเล่มนี้ประมาณว่า พระเอกแข่งขันกันเรียนกับเพื่อนในห้องอีกคน(ผู้ชาย) แต่พยายามเท่าไหร่ก็ไม่ชนะสักที จนอยู่มาวันหนึ่งมีเด็กผู้หญิงย้ายเข้ามาใหม่แถมยังเรียนเก่งอีกด้วยซึ่งจะเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของพระเอกไปตลอดกาล
เล่มนี้จะเน้นไปที่การใช้ชิวิตวัยเรียนให้นอนเร็ว ตื่นเช้า อธิบายการนอนหลับด้วย เทคนิคการอ่านหนังสือในภาพผมเคยลองใช้แล้วก็สามารถใช้ได้จริงในระดับนึง คือ เหมือนการสอนตัวเองไปในตัว พูดกับตัวเอง ให้เข้าใจ พร้อมคิดตามไปด้วย ปากกาขีดเส้นไปด้วยเพื่อให้เกิดสมาธิโฟกัสกับสิ่งที่อ่านมากขึ้น แต่ปัจจุบันผมผสมผสานหลายวิธีเข้าด้วยกันมาก แต่ก็ไม่ได้ต่างกันมาก
เช่น เวลาผมอ่านหนังสือผมจะพูดกับตัวเองเหมือนสอนตัวเองว่า "เอาละครับวันนี้เรามาเรียนกฎหมายเรื่องละเมิดกันบ้าง ซึ่งเรื่องละเมิดเนี้ยจะเป็นกฎหมายที่เราใช้ค่อนข้างบ่อยน่าจะที่สุดแล้วมั้งในการใช้ชีวิตจริง ไม่ว่าจะรถชน หมากัด โดนโกง ฯลฯ มักจะมีเรื่องละเมิดมาเกี่ยวข้อตลอด โดยจะมีมาตรา 420 เป็นบททั่วไปครอบจักรวาลลลล ให้จำไว้เลยนะมาตรานี้ ใช้บ่อยแน่ ๆ ..." เป็นต้น
แค่ 30 นาทีก่อนนอน เปลี่ยนคนยอกแย่เป็นคนยอดเยี่ยม
บอกเลยว่าเป็นเล่มที่ผมชอบที่สุดและอ่านซ้ำบ่อยมาก จนถึงขนาดเคยทำสรุปเอาไว้เลย เพราะเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ส่วนตัวรู้สึกว่าใช้ได้จริงมาก ๆุ
เล่มนี้จะเป็นการกล่าวถึงการแก้พฤติกรรมที่คนทั่วไปมักมองว่าไม่ดี เช่น นอนดึก และการใช้เวลาก่อนนอนและตื่นนอนให้คุ้มค่ามากที่สุด แถมยังมีวิธีการอ่านหนังสือที่เป็นพื้นฐานการอ่านหนังสือของผมมาตั้งแต่ตอนนั้นเลย เป็นเล่มที่มีอิทธิพลกับตัวผมมากที่สุดแล้ว เพราะ เล่มนี้แฝง Mind Set ดี ๆ ไว้ค่อนข้างเยอะเหมือนกัน
ไม่รู้ทุกคนเคยเป็นไหม แต่ส่วนตัวผม ตอนเรียนมัธยม มีอยู่วันหนึ่งคุณครูให้การบ้านคณิตศาสตร์ ปกติผมจะทำการบ้านเสร็จตั้งแต่ที่โรงเรียน แต่วันนั้นมันเป็นการบ้านที่ยากมาก ผมเอากลับมาทำที่บ้าน คิดหัวแทบแตกก็คิดไม่ออก พยายามเอาสมการ เอาสูตรเข้าไปใส่ก็คิดไม่ออก และไม่อยากดูเฉลยเพราะต้องการคิดเองให้ได้ แต่ตอนนั้นมันดึกแล้วผมจึงคิดว่าจะตื่นขึ้นมาทำข้อนี้ให้เสร็จต่อก่อนไปโรงเรียน ผมจึงตั้งนาฬิกาปลุกตอนตี 5 เร็วกว่าปกติ 1 ชั่วโมงเผื่อคิดไม่ออกจริง ๆ ก่อนนอนผมก็นึกภาพโจทย์ข้อนั้นในหัวเรื่อย ๆ จนหลับไป
ตื่นมา ปรากฎว่า ผมคิดออกเฉยเลย ! ทั้ง ๆ ที่ก่อนนอนก็คิดไม่ออกแท้ ๆ
ตามที่หนังสือเล่มนี้อธิบายก็คือ ระหว่างนอนและเวลาเราฝันนั้น มันเป็นการจัดเรียงข้อมูลของสมองจากสิ่งที่เราเจอมาในวันนั้น ๆ ในหนังสืออ้างถึงผลการทดลองหนึ่งที่แบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่ม ให้แก้ปริศนาบางอย่าง กลุ่มหนึ่งอ่านโจทย์แล้วทำเลยโดยไม่นอน อีกกลุ่มอ่านโจทย์แล้วหลับเลยตื่นมาค่อยทำ ผลปรากฎว่า กลุ่มที่ได้นอนแก้ปริศนาได้ดีกว่ามากหลาย % (แต่ผมก็ไม่ได้เชื่อผลการทดลองมากนะ แต่มาเชื่อเพราะพิสูจน์ด้วยตัวเองหลายครั้ง)
และเทคนิคที่ผมยังใช้อยู่ประจำที่ได้จากหนังสสือเล่มนี้ก็ตามในรูปภาพเลยครับ เป็นการอ่าน 3 ครั้ง คือ
ครั้งแรก : ผมจะอ่านสารบัญก่อน ถ้ามีข้อย่อย ๆ ก็จะดูแบบนี้ คือ อ่านหัวข้อหลักให้ครบ แล้วหลังจากนั้นมาอ่านหัวข้อหลักเรื่องที่จะอ่านอีกครั้งจึงมาดูข้อย่อยของเรื่องนั้น เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของสิ่งที่เราจะอ่าน แล้วจะเริ่มอ่านเนื้อหาแบบ Scan คร่าว ๆ ผมหมายถึง คร่าว ๆ แบบแค่ผ่านตาจริง ๆ เราจะได้พอห็นว่า หัวข้อย่อยนั้น ๆ พูดเรื่องอะไร มาตาราง มีกราฟ มีรูปภาพ มีการยกตัวอย่างตรงไหนบ้าง
ครั้งสอง : อ่านเนื้อหาพร้อม High Light ไว้ ตรงไหนอ่านไม่เข้าใจจริง ๆ จะทำเครื่องหมายเอาไว้ค่อยกลับมาอ่านอีกครั้ง
ครั้งสุดท้าย : อ่านหัวข้อ อ่านที่ High Light และอ่านที่ทำเครืองหมายว่าไม่เข้าใจ อ่านเสร็จแล้วลองทบทวนกับตัวเองว่า เข้าใจแค่ไหน จำได้บ้างไหม เห็นภาพไหม เพราะถ้าเราเข้าใจ สิ่งสำคัญ ๆ จะผุดออกมาตอนอ่านหัวข้อ ทีนี้ถ้าเราจำหัวข้อพอได้แล้ว เราจะพอที่จะจำเนื้อหาได้บ้าง
ครั้งเพิ่มเติม : อ่านแบบ Scan ผ่านตากว่าครั้งแรกเพื่อเก็บตกที่เราลืม
ทั้งหมดนี้บางครั้งจะทำโดยเหมือนสอนตัวเองหรือเหมือนสอนคนอื่นอยู่ทั้ง ๆ ที่มีแค่ตัวเราเอง
ที่ไม่ได้ทำการพูดสอนทุกครั้งเพราะ บางครั้งอยู่ในที่ที่ไม่ได้สะดวกใช้เสียงมาก เช่น อยู่ข้างนอก อยู่ในห้าง อยู่บนรถเมย์ หรือบางครั้งก็เขิลคนที่บ้าน
แต่สิ่งสำคัญคือ วิธีนี้จะใช้พลังงานค่อนข้างมาก เหนื่อยเร็วพอสมควร จึงต้องฝึกอ่านในใจบ่อย ๆ จะได้ใช้พลังงานน้อยลง (แต่ถ้าท่าเหมือนการสอนยังอยู่นะ แค่ไม่มีเสียง ฮ่า ๆ )
ถ้าถามว่าผมใช้การอ่านแบบ 4 รอบทุกครั้งไหม ตอบเลยว่า "ไม่"
เพราะขึ้นอยู่กับ
1. หนังสือที่เราอ่าน : เขียนดี เขียนไม่ดี เขียนอ่านยาก หรืออ่านง่าย เขียนวกไปวนมา หรือเรียบเรียงเป็นขั้นเป็นตอน ฯลฯ ก็จะมีวิธีรับมือกับหนังสือแต่ละแบบต่างกันไป เช่น ถ้าอ่านยากก็จะใช้แค่ประกอบการอ่านแบบ "คร่าว ๆ ผ่านตา" และหาเล่มอ่านง่ายแทน และถ้าไม่มีเวลาก็ทิ้งเล่มนี้ไปอ่านเล่มที่เข้าใจง่ายกว่าแทน
2. เวลาที่มี : ถ้าเวลามีน้อยก็อาจจะอ่านเร็วมาก ๆ ซึ่งอาจจะตกหล่นสิ่งสำคัญบางอย่างไป หรือบางเรื่องก็รู้ตัวนะว่าจำไม่ได้เพราะยาก แต่ก็ต้องทิ้งไปก่อนเผื่อไปอ่านเรื่องอื่น หากมีเวลาจะกลับมาอ่านให้เข้าใจใหม่ ไม่งั้นจะเสียเวลาได้
3. อารมณ์ : ถ้าไม่ค่อยมีอารมณ์ในการอ่านจริงจัง ก็จะทำแค่ อ่านครั้งแรก อย่างเดียว เพื่อไปอ่านแบบจริงจังต่อไป
(สำหรับสายกฎหมาย ส่วนตัวผมเคยเจอชีทของ ohm's law ของเพื่อน ดีมาก ๆ ดีจนสามารถสร้าง Mind Map ไว้ในหัวได้เลย แต่ด้วยราคาที่รู้สึกค่อนข้างแพงจึงไม่ได้ซื้อมาอ่าน ก็เลยต้องไปสมัครคำบรรยายเนติของที่ถูกกว่าแทน ซึ่งคำบรรยายเนติเนี้ย อ่านยากมากกกก บางครั้งอ่านวกไปวนมาขึ้นอยู่กับอาจารย์ที่สอนแต่ละวิชาด้วย แถมเยอะอีกต่างหาก คิดในใจเหมือนกันนะว่า เนติมีมานานมากแล้ว เป็นองค์กรที่ก็ไม่ได้ดูเล็ก ทำไมทำสู้ของ ohm's law ไม่ได้เลย อาจจะเพราะด้วยราคาถูกละมั้งทำให้ไม่มีแรงจูงใจ ก็ตามราคา ตามสภาพครับ แต่ของ ohm's law ดีจริง ๆ นะ จากที่เคยอ่านอะ ใครมีกำลังแนะนำว่า ohm's law น่าจะดีกว่าครับสำหรับสายกฎหมาย ยังคิดอยู่เลยว่าระดับป.ตรีก็อ่านได้นะ คือ มันอ่านง่ายมาก ๆ ทำให้เห็นภาพมาก นี่ไม่ได้ค่าโฆษณานะ แต่ถ้า ohm's law มาเห็นจะให้ฟรีก็ยินดีรับด้วยความเต็มใจครับ 555)
.
.
.
จบแล้วสำหรับของผม แล้วเพื่อน ๆ ละครับมีวิธีอ่านหนังสือกันยังไงบ้าง ช่วยแชร์กันหน่อยครับ หากใครมีวิธีทำให้อยากอ่านหนังสือจะดีมากเลย ช่วงนี้ขี้เกียจและอ่านวิแพ่งไม่ทันจนคิดจะเทวิชานี้เป็นครั้งแรกในชีวิตแล้ว 555
(วิชาวิแพ่งเป็นยาขมและแผลเก่าสำหรับผมตั้งแต่ป.ตรีแล้ว เป็นวิชาที่สอบไม่ผ่านครั้งแรกในชีวิต)
.
.
.
ส่วนตัวที่ทำให้อยากอ่านหนังสือมากขึ้น คือ ตอนได้ลองทำงาน เพราะ มันต้องอ่าน 555 และจะเข้าใจ จำได้ดีกว่าอ่านไปเรื่อย ๆ มาก ๆ เพราะ ได้ปฏิบัติจริง และอีกสถานการณ์นึง คือ คนที่รู้จักถูกโกงแล้วมาปรึกษา 555