นาย A เป็นเจ้าของทรัพย์ ประกอบด้วย ที่ดิน 1 แปลง มีรั้วรอบ ใน 1 แปลงนี้ ประกอบด้วยหลายโฉนด รวมแล้วน่าจะมากกว่า 6 ไร่
ในที่ดินมีอาคาร 3 หลัง คือ บ้านพักนาย A, อาคารโรงงาน และอาคารที่พักคนงาน + ที่ดินว่างเปล่า ประมาณ 3 ไร่
ซึ่งนาย A ตัดแบ่งให้บริษัทที่เราทำงานอยู่ เช่า (ปีนี้ เช่าเป็นปีที่ 4 แล้ว) สมมุติชื่อ บริษัท ก
ส่วนที่บริษัท ก เช่า คือ อาคารโรงงาน, อาคารที่พักคนงาน และที่ดินเปล่าประมาณ 2 ไร่
(ตอนนี้ ที่ดินว่างเปล่าที่นาย A ไม่ได้ปล่อยเช่า เขาปลูกต้นกล้วยเอาไว้เรียบร้อยแล้ว)
สำนักงานเทศบาล ส่งเอกสาร ภดส 6 แจ้งประเมินภาษี เรียกเก็บจากบริษัท ก ยอดเงินเต็ม 3 หมื่นกว่าบาท หลังจากลดหย่อนตามกฎหมายบรรเทาภาระภาษีแล้ว เหลือ 3 พันกว่าบาท
เราโทรไปถามเทศบาลว่า ทำไมไม่เรียกเก็บจากชื่อเจ้าของ จนท เทศบาลตอบว่า เขาเรียกเก็บภาษีที่ดินจากเจ้าของแล้ว จึงเรียกเก็บภาษีอาคารจากบริษัท ก โดยอ้างว่า "เรียกเก็บตามชื่อที่ปรากฎ" เราถามว่า ชื่อปรากฎที่ไหน ? เขาอึกอัก ก่อนจะบอกว่า "ก็ภาษีป้าย อะไรแบบนี้ ถ้ายังไง คุณก็ไปตกลงกับเจ้าของเองว่า ใครจะจ่าย" คือ เราคิดว่า มันควรเป็นตรงกันข้าม เขาควรเรียกเก็บจากเจ้าของ แล้วเจ้าของ จะเรียกเก็บจากผู้เช่าหรือไม่ ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้เช่า กับผู้ให้เช่า
อีกเรื่องคือ จนท บอกว่า เคยส่งหนังสือประเมินมาเมื่อกุมภาพันธ์ แต่ทางเราไม่ได้รับ สันนิษฐานว่า นาย A น่าจะได้รับ แล้วไปคุยกับเทศบาลมาเรียบร้อยแล้ว
(ยอดเงิน 3 พันกว่าบาท ไม่สูง แต่ถ้าเราจ่าย มันจะกลายเป็นภาระผูกพันที่ต้องจ่ายไปตลอด ซึ่งถ้าไม่ได้ลดหย่อนแล้ว จะเป็นเงินที่สูงพอควร)
ในสัญญาเช่า ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฉบับ คือ เช่าอาคารและเช่าที่ดิน มีระบุไว้ว่า ผู้ให้เช่าเป็นผู้ชำระภาษีโรงเรือน แค่นั้นเอง
คำถามคือ
1. ตามความเข้าใจของเรา หนังสือควรเรียกเก็บตามชื่อเจ้าของ ถูกต้องหรือไม่ หรือสามารถเรียกเก็บจากผู้เช่า ก็ได้
2. เราสามารถอุทธรณ์การออกหนังสือ ให้เขาเปลี่ยนชื่อผู้ชำระภาษี ใน ภดส 6 เป็นชื่อนาย A ได้หรือไม่
3. มีข้อเสนอแนะอื่น ๆ อีกไหมคะ
เรายังไม่ได้คุยกับนาย A เพราะมั่นใจว่า เขาจะไม่จ่ายแน่นอน (แม้กระทั่งภาษีโรงเรือน หรือหัก ณ ที่จ่ายค่าเช่า แรก ๆ เขาก็บ่ายเบี่ยง)
ในความเข้าใจของเราก็คือ บริษัทเราเสียเปรียบตรงที่หนังสือออกมาในนามบริษัทเรา ถ้าไม่จ่าย บริษัท คือผู้รับผิด ไม่ใช่นาย A
ขอความเห็นจากผู้รู้หน่อยค่ะ
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563 เทศบาล ส่งหนังสือเรียกเก็บที่ผู้เช่าแทนการเรียกเก็บจากเจ้าของทรัพย์สิน ถูกต้องหรือไม่
ในที่ดินมีอาคาร 3 หลัง คือ บ้านพักนาย A, อาคารโรงงาน และอาคารที่พักคนงาน + ที่ดินว่างเปล่า ประมาณ 3 ไร่
ซึ่งนาย A ตัดแบ่งให้บริษัทที่เราทำงานอยู่ เช่า (ปีนี้ เช่าเป็นปีที่ 4 แล้ว) สมมุติชื่อ บริษัท ก
ส่วนที่บริษัท ก เช่า คือ อาคารโรงงาน, อาคารที่พักคนงาน และที่ดินเปล่าประมาณ 2 ไร่
(ตอนนี้ ที่ดินว่างเปล่าที่นาย A ไม่ได้ปล่อยเช่า เขาปลูกต้นกล้วยเอาไว้เรียบร้อยแล้ว)
สำนักงานเทศบาล ส่งเอกสาร ภดส 6 แจ้งประเมินภาษี เรียกเก็บจากบริษัท ก ยอดเงินเต็ม 3 หมื่นกว่าบาท หลังจากลดหย่อนตามกฎหมายบรรเทาภาระภาษีแล้ว เหลือ 3 พันกว่าบาท
เราโทรไปถามเทศบาลว่า ทำไมไม่เรียกเก็บจากชื่อเจ้าของ จนท เทศบาลตอบว่า เขาเรียกเก็บภาษีที่ดินจากเจ้าของแล้ว จึงเรียกเก็บภาษีอาคารจากบริษัท ก โดยอ้างว่า "เรียกเก็บตามชื่อที่ปรากฎ" เราถามว่า ชื่อปรากฎที่ไหน ? เขาอึกอัก ก่อนจะบอกว่า "ก็ภาษีป้าย อะไรแบบนี้ ถ้ายังไง คุณก็ไปตกลงกับเจ้าของเองว่า ใครจะจ่าย" คือ เราคิดว่า มันควรเป็นตรงกันข้าม เขาควรเรียกเก็บจากเจ้าของ แล้วเจ้าของ จะเรียกเก็บจากผู้เช่าหรือไม่ ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้เช่า กับผู้ให้เช่า
อีกเรื่องคือ จนท บอกว่า เคยส่งหนังสือประเมินมาเมื่อกุมภาพันธ์ แต่ทางเราไม่ได้รับ สันนิษฐานว่า นาย A น่าจะได้รับ แล้วไปคุยกับเทศบาลมาเรียบร้อยแล้ว
(ยอดเงิน 3 พันกว่าบาท ไม่สูง แต่ถ้าเราจ่าย มันจะกลายเป็นภาระผูกพันที่ต้องจ่ายไปตลอด ซึ่งถ้าไม่ได้ลดหย่อนแล้ว จะเป็นเงินที่สูงพอควร)
ในสัญญาเช่า ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฉบับ คือ เช่าอาคารและเช่าที่ดิน มีระบุไว้ว่า ผู้ให้เช่าเป็นผู้ชำระภาษีโรงเรือน แค่นั้นเอง
คำถามคือ
1. ตามความเข้าใจของเรา หนังสือควรเรียกเก็บตามชื่อเจ้าของ ถูกต้องหรือไม่ หรือสามารถเรียกเก็บจากผู้เช่า ก็ได้
2. เราสามารถอุทธรณ์การออกหนังสือ ให้เขาเปลี่ยนชื่อผู้ชำระภาษี ใน ภดส 6 เป็นชื่อนาย A ได้หรือไม่
3. มีข้อเสนอแนะอื่น ๆ อีกไหมคะ
เรายังไม่ได้คุยกับนาย A เพราะมั่นใจว่า เขาจะไม่จ่ายแน่นอน (แม้กระทั่งภาษีโรงเรือน หรือหัก ณ ที่จ่ายค่าเช่า แรก ๆ เขาก็บ่ายเบี่ยง)
ในความเข้าใจของเราก็คือ บริษัทเราเสียเปรียบตรงที่หนังสือออกมาในนามบริษัทเรา ถ้าไม่จ่าย บริษัท คือผู้รับผิด ไม่ใช่นาย A
ขอความเห็นจากผู้รู้หน่อยค่ะ