[วิเคราะห์/ตีความ] ภาพยนตร์ "Burning (2018)" หนังที่สร้างการเล่าเรื่องความขัดแย้งทางเพศและสังคมได้อย่างมีศิลปะ

กระทู้สนทนา
 
    วิเคราะห์ออกมาตามความคิดของผม(ไม่รู้คิดถูกมั้ย) ซึ่งคิดว่าเป็นหนังที่มีการเล่าเรื่องได้ล้ำลึกที่สุดเรื่องหนึ่ง เท่าที่เคยดูมา (ดูมาน้อยมาก 555 ) ซึ่งถ้าวิเคราะห์ตามบท ในแต่ละฉากนั้นแฝงด้วยนัยยะซ้อนเร้นไว้ตลอดทั้งเรื่อง  เลยอยากเเชร์ และสรุปรายละเอียดของหนังเรื่องนี้  โดยจะอธิบายเป็นลิสต์ๆในแต่ละฉากนะครับ
     ปล.กระฑู้เเรกของผมเลยนะนิ^^ เขียนไม่เข้าใจก็ขออภัยด้วยนะครับ
    
 เริ่ม! 
 
คำเตือน! จะมีการสปอยล์เกิดขึ้น!!!
     
      Burning (2018) เป็นหนังที่มีแนวคิดในการวางบทภาพยนตร์ได้อย่างสวยงาม ทั้งด้านบทแสดง บทเล่าเรื่อง การแฝงนัยยะที่ล้ำลึก และสะท้อนความขัดแย้งของการแบ่งแยกทางสังคมได้อย่างแยบยล ซึ่งทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์กันตลอดทั้งเรื่อง   จากการตีความตามทัศนะของผม  แนวคิดหลักของเรื่องคือ การพยายามเล่าเรื่องให้สะท้อนถึงมุมมองที่มีต่อเพศที่สามที่แฝงนัยยะของการแบ่งชนชั้นระหว่างคนรวยและคนจนไปในตัว โดยถ่ายทอดผ่านสามตัวละครหลัก ได้แก่ หนึ่งชายหนุ่มผู้มีความขัดแย้งทางเพศ หนึ่งเพศที่สาม และหนึ่งหญิงสาวที่ถูกนำมาเป็นสื่อกลางระหว่างเพศ .......ทำไมผมถึงคิดอย่างนี้ มาดูกันเลยครับ 
 
จะขอวิเคราะห์ และสรุปรายละเอียดของตัวละครดังนี้ 
 
1. ลี จอง-ซู (Lee Jong-su) ชายหนุ่มโสด ผู้มีความสับสนทางเพศ
    - เพิ่งจบจากมหาวิทยาลัย ในด้านงานเขียนเชิงสร้างสรรค์ มีความสามารถด้านงานเขียน
    - ฐานะค่อนข้างยากจน
    - โลกส่วนตัวสูง จินตนาการสูง และค่อนข้างเก็บกด (จากอดีตวัยเด็ก)
    - ว่างงาน และอยู่คนเดียว (อาจเป็นการสะท้อนถึงสาเหตุของความเก็บกดของคนในสังคมส่วนนี้) 
    - ครอบครัวแตกแยก พ่อขึ้นศาล (อาจเป็นเหตุผลของความเก็บกดเช่นกัน)
    - มีความสับสน และมีความคิดที่ขัดเเย้งทางเพศ (มีการปูประเด็นถึงความเป็นเพศที่สามลึกๆของตัวเอกตั้งแต่เด็ก แต่ต้องปิดบังไว้ไม่ให้เเสดงออกมา)
 
2. เบ็น (Ben) ชาย(รึเปล่า?) หนุ่มไฮโซ  Gatsby ผู้ลึกลับ
    - ไม่เปิดเผยว่าทำงานอะไร แต่มีฐานะร่ำรวย (อาจเป็นการเสียดสีการคอรัปชั่น)
    - ฐานะร่ำรวย งานอดิเรกมากมาย (โดยเฉพาะ"เผาเรือนเพาะชำ")
    - ภายในจิตใจนั้นมีความเป็นผู้หญิง (เกี่ยวเนื่องกับการเผาเรือนเพาะชำ และการมีเครื่องสำอางผู้หญิงในห้องน้ำ )
    - มีครอบครัวที่ร่ำรวย และกลุ่มเพื่อนที่มีฐานะ 
    - มีความพยายามเปิดเผยจุดยืนเรื่องเพศที่สามแบบทิ้งไว้เป็นนัยยะในบางฉาก 
 
 3. ชิน แฮ-มี่(Shin Hae-mi)หญิงสาวผู้เป็นกระจกสะท้อนตัวตนของจอง-ซู
    - เพื่อนสาววัยเด็กของ จอง-ซู ในอดีต
    - เป็นตัวละครที่สื่อถึงจิตใจที่เป็นผู้หญิงของ จอง-ซู ที่ซ่อนไว้ (เป็นไปได้ว่าจอง-ซู แต่งเติมจินตนาการเองทั้งหมด ผ่านงานเขียนของตน)
    - ฐานะเดียวกันกับจองซู แต่พยามสื่อให้เห็นว่ามีความพยามยามที่จะใช้เงินแบบคนรวย (เป็นหนี้บัตรเครดิต แต่ยังไปเที่ยวต่างประเทศ)
    - ได้รับการศัลยกรรม (สะท้อนค่านิยมของผู้หญิงเกาหลี )
    - เป็นตัวละครที่เป็นสื่อกลางของบทสนทนาระหว่าง จอง-ซู และ เบ็น (จองซูเมื่อสนทนากับเบ็น ให้สังเกตุที่คำพูดของแฮ-มี)
 
*** การวิเคราะห์ตัวละครนี้ มาจากการวิเคราะห์บทแสดง และคำพูดของตัวละคร ในมุมมองของผมนะครับ****
 
วิเคราะห์ และตีความบท สรุปดังนี้
    
        - เริ่มแรกจอง-ซู แบกเสื้อเข้าร้านเสื้อผ้าลดราคา แสดงให้เห็นว่า จอง-ซู ทำงานพาร์ทไทม์ที่ร้านนี้ เห็นได้จากมีการตรวจเช็คกับพนักงานหน้า 
           ร้าน           
        - จอง-ซูพบกับแฮ-มี ซึ่งบังเอิญทำงานที่เดียวกัน โดยบทจะเล่าให้เหมือนกับเรื่องบังเอิญจริงๆ แต่จริงๆเเล้ว คือการค่อยๆเเง้มประเด็นเกี่ยวกับ
           งานเขียนของจอง-ซู และสะท้อนตัวละคร แฮ-มี มาเป็นกระจกสะท้อนจิตใจของจองซู(เรื่องรสนิยมทางเพศ)

        - ฉากร้านอาหาร บทต้องการพยายามบอกใบ้ต่อผู้ชมว่า แฮ-มี นั้นไม่มีตัวตนอยู่จริง จากคำพูดที่ว่า "นีคือละครใบ้นะ" "แทนที่จะคิดว่ามีส้มอยู่
          จริงๆ นายต้องลืมไปว่ามันไม่มี" และยังเป็นการตอกย้ำจินตนาการภายในจิตใจของ จอง-ซู 
        - จังหวะยกแก้วดื่มนั้น คือจังหวะ เดียวกันเป๊ะๆ เหมือนส่องกระจก
        - ฉากจ่ายตังค์หน้าเคาท์เตอร์ ค่อยๆแง้มประเด็นของ แฮ-มี เรื่องหนี้บัตรเครดิตร และการไปเที่ยวแอฟริกา ซึ่งนั่นพยายามสะท้อนถึงตัวจอง-ซู เอง
        - ฉากให้อาหารเเมวที่ห้องแฮ-มี่ สื่อถึงจินตนาการในห้องของ จอง-ซู เอง เรื่องแมวสะท้อนให้เห็นว่า จง-ซู อยากเลี้ยงแมวแต่ต้องจินตนาการเอา
          (ตอนสุดท้ายก็สมหวัง เพราะมีแมวอยู่ที่บ้านเบ็น ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยเล็กๆ)      
        - ฉากมีเซ็กส์ ที่ค่อยๆบอกเป็นนัยว่า จอง-ซู จิตนาการไปเองว่ามีเซ็กส์จริงๆ เห็นได้จากฉากช่วยตัวเอง เเล้วมองรูปของแฮ-มี สลับกับมองออกไป
          นอกหน้าต่าง ซึ่งสะท้อนว่า จอง-ซู แสดงความต้องการทางเพศที่ถูกจำกัดกรอบว่าต้องเป็นผู้ชายที่ชอบผู้หญิง แต่จริงๆเเล้วจง-ซูต้องการอะไรบาง
          อย่างภายนอก (รสนิยมทางเพศในจิตสำนึก)
  
          - การกลับมาจากแอฟริกาของแฮ-มี่  อาจเป็นการกลับมาจากทริปของจอง-ซู และเพื่อนคนใหม่ชื่อว่าเบ็น (เป็นการอุปมาบทแสดง)
          - การสนทนาระหว่าง แฮ-มี และเบ็น ก็คือบทพูดเชิงอุปมาในใจลึกๆ จอง-ซู ที่ต้องการสื่อกับเบ็น สะท้อนให้เห็นของสังคมว่าเพศที่สามยังไม่เป็นที่ 
            ยอมรับ รวมถึงตัวจอง-ซูเอง ก็เริ่มรู้สึกถึงความต้องการบางอย่างข้างใน 
          - ฉากระหว่างขับรถ เบ็นนั่งอยู่ข้างหลังแล้วคุยโทรศัพท์เสียงดัง อุปมาคล้ายกับว่า จอง-ซู เป็นดั่งคนขับรถที่มีฐานะแตกต่างจากนายจ้าง ซึ่งจะเห็น 
            ถึงความรู้สึกไม่พอใจของจอง-ซู  สะท้อนถึงฐานะทางสังคม  รวมถึงการถือเรื่องมารยาทการนั่งเบาะข้างคนขับ
          - บทพูดระหว่างเบ็น และ แฮ-มี่ ถึงเรื่องหยิบก้อนหินออกจากหัวใจ เป็นการบอกโดยนัยระหว่าง จอง-ซู และเบ็น ถึงเรื่องข้อจำกัด
            ทางความคิดเรื่องความรักของเพศที่สาม ซึ่งทำให้ จอง-ซู เริ่มรู้สึกเปิดใจ แล้วไปที่บ้านของเบ็นต่อ
          - ฉากจอง-ซู ขอเข้าห้องน้ำในบ้านเบ็น ไม่ได้ขอเบ็น แต่บอกต่อแฮ-มี่ อาจหมายถึงความเกรงใจที่มีต่อชนชั้น หรือ อาจเป็นบทที่พยายามบอกเป็น
            นัยว่า แฮ-มี่ เป็นเพียงบทสนทนาในใจระหว่าง จอง-ซู ที่มีต่อเบ็น     
          - ฉากเจอเครื่องสำอางผู้หญิงในห้องน้ำ เป็นการแฝงว่าเบ็นอาจเป็นเกย์ จองซูจึงตะหงิดใจเล็กๆ
          - ฉากยืนสูบบุหรี่คุยกันเรื่อง Gatsby อาจเป็นการพยายามเสียดสีบุคคลที่เกี่ยวกับการคอรัปต์ชัน และธุรกิจมืดในเกาหลี
          - ฉากปาร์ตี้กับเพื่อนๆของเบ็น เเสดงถึงความเข้ากันไม่ได้ระหว่างจอง-ซู เละเพื่อนของเบ็น ซึ่งจอง-ซู ได้เพียงจำลองตนเองผ่าน แฮ-มี่ ที่เข้าได้กับ
            เพื่อนของเบ็น  สื่อให้เห็นถึงตนต้องการเเสดงออกทางเพศในใจลึกๆ รวมถึงการไม่เข้ากันของคนจน และคนรวย
          - ฉากหาว แล้วหันมายิ้มของเบ็น สื่อถึงว่า เขาไม่ได้สนใจในเรื่องของผู้หญิง แต่เขาสนใจคนที่เขายิ้มให้(จอง-ซู)
 
 
               
               (ในฉากนี้ลองเอามือปิดตัวละคร แฮ-มี่ จะเหมือนกับว่าเป็นเพียงการพูดคุยจอง จอง-ซู และเบ็น)
       
 
  
            - เรื่องบ่อน้ำของ แฮ-มี่ ซึ่งอาจอุปมาได้ว่า คือการมีความคิดความเป็นเพศที่สามในวัยเด็กของจอง-ซู แต่เขาได้พยายามลืมมันเนื่องจากถูก
              ต่อต้านโดยพ่อของเขา(จากการเปิดใจกับเบ็นหลังดูดปุ๊นว่า พ่อเขาให้เขาเผาเสื้อผ้าของแม่ ที่อาจเป็นนัยยะของความต้องการให้ลืมความเป็น
              หญิง)
            - ฉากที่แม่บอกว่ามีบ่อน้ำแน่ๆ สื่อถึงเพศลึกๆของลูกในอดีตที่ถูกปิดบังไว้ มีเเค่แม่เข้าใจเรื่องนี้ของลูก
            - การร่ายรำ แก้ผ้าของแฮ-มี่ คือ จินตนาการถึงความรู้สึกของจอง-ซู หลังจากดูดปุ๊น เป็นนัยยะที่เเสดงออกทางอารมณ์ที่กำลังเคลิบเคลิ้ม
            - การ "เผาเรือนเพาะชำ" อาจเป็นนัยยะที่เปรียบเปรยถึง การปฏิเสธผู้หญิง แล้วหันมาคบเพศเดียวกัน (เรือนเพาะชำเปรียบเหมือนผู้หญิง
              ผู้ให้กำเนิด) ซึ่งเบ็นพยายามจะบอกแก่ จอง-ซู ว่าตัวเขานั้นเป็นเกย์นะ
           - จอง-ซู เริ่มวิ่งตามหาเรือนเพาะชำที่จะถูกเผา ผนวกกับการหายไปของ แฮ-มี คือการอุปมาถึง จิตใจของ จอง-ซู ที่เริ่มมีความสับสนทางเพศที่
             ขัดแย้งในตัวเอง (ใจนึงก็ถูกปลูกฝังให้ชอบผู้หญิง แต่ความต้องการที่แท้จริง คือชอบผู้ชาย) เเละครุ่นคิดถึงความรู้สึกดีลึกๆต่อเบ็น
           - ฉากเด็ก ยืนอยู่หน้าเรือนเพาะจำถูกเผา สื่อถึงการค้นพบตัวเองตั้งแต่เด็กของ จอง-ซู
           - ฉากจอง-ซู ลองจุดไฟเผาเรือนเพาะชำ แต่สุดท้ายก็ละเลิก พยายามสื่อถึง การกลับมาของเพศที่ตนอยากเป็น แต่สุดท้ายก็ต้องกลับมาเป็นเพศทึ่
             ตนถูกปลูกฝังมาให้เป็น (จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความเจ็บปวด จนกลายเป็นแรงปะทุทางอารมณ์ในตอนจบ)
           - การมาของผู้หญิงคนใหม่ที่มาแทนที่ แฮ-มี่ สื่อความหมายถึงจินตนาการของ จอง-ซู ในรูปแบบที่มีฐานะ ความร่ำรวยที่เหมาะสมกับเบ็น
           - ฉาก จอง-ซู แอบติดตามเบ็น แสดงให้เห็นว่า จอง-ซู เริ่มมีความสนใจในตัวเบ็นแล้วโดยไม่รู้ตัว 
           - ฉากจอง-ซู แอบมองเบ็นยืนดูวิวทิวทัศน์ เป็นการเล่นภาพระหว่าง ฐานะของคนรวย และคนจน ซึงเป็นความต่ำต้อยใจว่าตนคงไม่เหมาะสมกับ
              การคบคนรวย
           - การกลับมาบ้านของเบ็นอีกครั้ง แต่ไม่มีแฮ-มี่ มีเพียงเบ็น กับจอง-ซู สื่อว่าจอง-ซุ มาด้วยใจที่ไม่มีความสนใจในผู้หญิง แตามาหาเบ็นโดยเฉพาะ
           - แต่เเล้ว!!!  การขอเข้าห้องน้ำที่บ้านเน็นอีกครั้ง พร้อมเปิดไปเจอเครื่องประดับผู้หญิง แต่คราวนี้มีนาฬิกาของ แฮ-มี่  เป็นการแฝงนัยยะทางวัตถุ
             ว่า เครื่องประดับนี้เหมาะสมกับผู้หญิง(เหมือนที่แฮ-มี่ ได้กล่าวไว้ต้นเรื่องว่า นาฬิกานี้เป็นของผู้หญิงนะ) เป็นการสื่อว่า จอง-ซู เริ่มฉุกคิดมาอย่าง
             อัตโนมัติได้ว่าตนต้องเป็นผู้ชาย ที่ชอบผู้หญิง ตามการปลูกฝังที่เข้มงวดในวัยเด็ก
           - ความขัดแย้งในใจ ยิ่งร้อนระอุเพิ่มขึ้น หลังจากงานปาร์ตี้กับเพื่อนๆของเบ็น ที่สื่อถึงความแบ่งแยกทางฐานะสังคมอีครั้ง จน จอง-ซู ทนไม่ไหว
              จึงเดินออกมาจากงาน แต่เบ็นก็นังลงมาลาด้วยบทพูดที่ยิ่งเพิ่มจุดขัดแย้งในใจของจอง-ซู เข้าไปในใจที่พร้อมจะปะทุ
           - ฉากตัดสินจำคุกพ่อท้ายเรื่อง แสดงให้เห็นว่า จอง-ซู รู้สึกผิดหวังที่ช่วยพ่อไม่ได้ (พ่อซึ่งปลูกฝังให้ลูกมีความเป็นชายอย่างเต็มเปี่ยม)
              และ พร้อมที่จะกลับมาเป็นผู้ชาย เพื่อทดแทนความสำนึกผิดที่มีต่อพ่อ
           - ฉากที่จอง -ซู นอนให้แฮ-มี่ ช่วยบำบัดความใคร่ เป็นเพียงจินตนาการหลอกๆว่า ตนมีความรู้สึกกับเพศหญิงแต่ที่จริงๆได้หมดไปแล้ว
             (สังเกตุจากการนอน อยู่เฉยๆโดยไม่ใช้มือช่วยตนเองเหมือนที่ผ่านมา)
           - ฉาก จอง-ซู กำลังพิมพ์งานเขียนในห้องของ แฮ-มี่ ตอนสุดท้าย คือ บทเฉลยว่า แฮ-มี่ นั้นเป็นเพียงตัวละครที่ จอง-ซู นำมาเขียนในเรื่องเขียน
             ชีวิตของตน
           - ฉากเบ็นหยิบเครื่องแต่งหน้ามาเเต่งหน้าให้ผู้หญิง เป็นบทเฉลยว่า เป็นกระจกสะท้อนความคิดของเบ็น ที่ทำได้เพียงเซตผม และใส่คอนเเทคเลน
             หน้ากระจก (สรุปคือเป็นเกย์)
         
 สุดท้าย ความกดดันในหลายๆเรื่องของ จอง-ซู  โดยเฉพาะเรื่องเพศที่ขัดแย้งในตน  ทำให้ตนกลายเป็นคนเกลียดชังเพศที่สาม(เพศที่ตนอยากจะเป็นแต่ดันมาทำลายเพศที่ตนถูกปลูกฝัง)   นำไปสู่เเรงไฟในใจ ซึ่งนำไปสู่การฆ่าเบ็นในตอนสุดท้ายในที่สุด เหมือนพยายามแสดงมุมมองของบุคคลที่ชังเพศที่สาม
                       
      สรุป  เป็นหนังที่พยายามแฝงนัยยะมุมมองเรื่องเพศที่สามของสังคมเกาหลีได้อย่างเเนบเนียน แฝงด้วยแตกต่างทางฐานะสังคม ผ่านการแสดงของ
              ตัวละครที่ดูเหมือนว่าไม่มีอะไรแฝงอยู่ แต่เเสดงออกผ่านบทพูดที่ล้ำลึก หนัง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่