พบข้อผิดพลาดในการคำณวนความเร็วรถของรศ.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม ถึง 3 จุด จะนำไปสู่หลักฐานใหม่ในการรื้อฟื้นคดีได้หรือไม่ ?

เมื่อคืนนี้ผมได้มีโอกาสย้อนดูการให้สัมภาษณ์ของร.ศ.สายประสิทธิ์ในรายการตอบโจทย์
ซึ่งมีหลักวิธีคำณวนที่พอสรุปได้ดังนี้



พบว่าหลักวิธีการคำณวนความเร็วรถนายวรยุทธ อยู่วิทยา ของรศ.สายประสิทธิ์มีข้อบกพร่อง/ข้อผิดพลาดถึง 3 จุด
ซึ่งมีผลทำให้ความเร็วรถนายวรยุทธ น้อยกว่าความเป็นจริง และมีผลต่อคดี
โดยข้อบกพร่อง/ข้อผิดพลาดในการคำณวนทั้ง 3 จุดมีดังนี้ครับ.

1.ความยาวของตัวรถ ต้องใช้เส้นแทยงมุมที่เพิ่มมิติความสูงของรถด้วยจึงจะได้ค่าที่ถูกต้อง

ตัวแปรสำคัญที่ใช้คำณวนความเร็วรถในสูตรนี้คือความยาวตัวรถ ซึ่งรศ.สายประสิทธิ์วัดระยะโดยใช้
เส้นแทยงมุม 2 มิติ ที่ใช้เพียงความกว้างและความยาวของตัวรถ

ซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้ต่อเมื่อ..

    -"จุด"อ้างอิงเริ่มต้นและ"จุด"อ้างอิงสุดท้ายต้องเป็น"จุด"อ้างอิงเดียวกันเท่านั้น

แต่ในความเป็นจริง

    -เมื่อรถเริ่มเข้าเฟรมและสัมผัส"เส้น"อ้างอิง(ต้นไม้)ที่จุดแรก
     เป็นคนละจุดบน"เส้น"อ้างอิงเมื่อรถพ้นออกจากเฟรม

โดย
    -จุดเริ่มเข้า     เฟรมที่ 651 รถสัมผัส"เส้น"อ้างอิงในตำแหน่งที่สูงกว่า
    -จุดพ้นออก    เฟรมที่ 675 จุดสัมผัสสุดท้ายบน"เส้น"อ้างอิงก่อนรถพ้นออกจากเฟรมอยู่ในตำแห่งที่ต่ำกว่า




เมื่อจุดเข้ากับจุดออกไม่ใช่จุดเดียวกัน การคำณวนจึงต้องเพิ่มระยะที่เกิดขึ้นบนเส้นอ้างอิงด้วย ซึ่งคือความสูงของรถนั่นเอง




    -ซึ่ง"ระยะที่เพิ่มขึ้น"นี้ส่งผลให้ความเร็วรถเพิ่มมากขึ้น

    -"ระยะที่เพิ่มขึ้น"จะเป็นเท่าไหร่ ยังเกี่ยวพันกับข้อบกพร่อง/ข้อผิดพลาดในการคำณวนข้อ 2 ดังนี้

2.ต้องนำค่าความผันแปรของระยะห่างระหว่างเส้นอ้างอิงกับวัตถุ มาใช้ในการคำณวน เพื่อให้ได้ความเร็วรถตามความเป็นจริง

เนื่องจากเส้นอ้างอิงที่รศ.สายประสิทธิ์ใช้ คือต้นไม้ที่อยู่บนทางเท้านั้นเป็น"วัตถุใกล้สายตา"
แต่รถที่วิ่งจริงบนถนนเลนนอกสุด ที่อยู่ห่างไปหลายเมตรเป็น"วัตถุไกลสายตา"
การใช้ต้นไม้เป็น"เส้นอ้างอิงทางสายตา"นั้น ระยะความสูงที่วัดได้บนเส้นอ้างอิง
เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับวัตถุคือรถที่อยู่ไกลออกไปหลายเมตร
จะต้องคำนึงถึงค่าความผันแปรของระยะห่างระหว่างเส้นอ้างอิงกับวัตถุด้วย
จึงจะได้ค่าความสูงของวัตถุ(รถ)ที่แท้จริง
โดยค่าความผันแปรนี้จะขึ้นอยู่กับมุมสังเกตุและระยะห่างของต้นไม้กับตัวรถ ณ.จุดสังเกตุ
ซึ่งการจะได้ค่ามุมและระยะห่างของวัตถุกับเส้นอ้างอิงที่แท้จริงคงต้องไปวัดจริงที่จุดเกิดเหตุเท่านั้น
นั่นอาจหมายถึงต้องทำการวัดใหม่อีกครั้ง

3.การนำเวลาจาก 2 เฟรม มาหาค่าเฉลี่ยความเร็วรถ เป็นเรื่องที่ค้านหลักความจริงโดยสิ้นเชิง

ในรายการตอบโจทย์รศ.สายประสิทธิ์กล่าวเพียงสั้นๆว่า
เพราะตำแหน่งภาพในเฟรมที่ 675 และ 677 ไม่แตกต่างกันจึงนำเวลาจากทั้ง 2 เฟรมมาหาค่าเฉลี่ยความเร็วรถ
วิธีนี้ค้านหลักความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง
เพราะรถของนายวรยุทธ เคลื่อนที่ต่อเนื่องในแนวเส้นตรง จึงเป็นไปไม่ได้ที่ รถคันนี้จะอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกันใน 2 หน่วยเวลา

ปัญหาเรื่องภาพในคลิปที่รศ.สายประสิทธิ์ใช้ในการคำณวนนั้น เป็นที่ถกเถียงถึงความเที่ยงตรงความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก
เนื่องจากมีการแปลงค่าจากต้นฉบับเดิม
มีสมาชิกพันทิปชื่อ"akeb"อธิบายว่าการแปลงค่าคลิปนี้จะส่งผลให้โปรแกรมบันทึกค่าผิดพลาด
เกิดการบันทึกภาพซ้ำในหลายตำแหน่ง
(ดูรายละเอียดได้จากกระทู้นี้ครับ https://ppantip.com/topic/40094528 )
ซึ่งหากเป็นจริง หลักฐานของรศ.สายประสิทธิ์ก็จะหมดความน่าเชื่อถือทันที
และวิธีพิสูจน์ก็ง่ายมาก เพียงนำเฟรมที่สงสัยเช่น เฟรมที่ 675 และ 677 มาซ้อนทับกัน
หากทั้ง 2 เฟรมซ้อนตรงกันทุกตำแหน่งจนเป็นภาพเดียวกัน
ก็แปลว่าคลิปของรศ.สายประสิทธิ์ มีความผิดพลาด หมดความน่าเชื่อถือทันที
แต่หากตำแหน่งรถในเฟรมที่ 675 และ 677 มีความแตกต่าง
ก็ต้องเลือกเฟรมที่ถูกต้องเพียงเฟรมเดียวมาใช้คำณวนหาความเร็วรถ

อยากขอสรุปสั้นๆอีกครั้งว่า
วิธีคำณวนของรศ.สายประสิทธิ์ มีข้อบกพร่อง/ข้อผิดพลาด มากถึง 3 จุด
ทั้ง 3 จุดล้วนส่งผลให้คำณวนความเร็วรถนายวรยุทธผิดไปจากความเป็นจริง
โดยส่งผลให้ความเร็วลดลงทั้งสิ้น
ซึ่งหากตำรวจและอัยการเห็นว่า
-วิธีคำณวนของรศ.สายประสิทธิ์มีความผิดพลาดไม่ควรนำไปใช้ในสำนวน-ต้องใช้วิธีใหม่
-หรือหากยังจะใช้วิธีของรศ.สายประสิทธิ์ โดยปรับแก้ความคลาดเคลื่อน-ก็ต้องวัดใหม่
ไม่ว่าจะเลือกทางไหนก็เป็นโอกาสในการรื้อคดีโดยใช้หลักฐานใหม่
จุดที่น่าสนใจคือ หากทำการวัดใหม่ ความยาวตัวรถที่เพิ่มขึ้นเพียงไม่กี่มิล
ก็อาจส่งผลให้ความเร็วรถของนายวรยุทธสูงกว่า 80 กม./ชม = ประมาท ทันที

ยังหวังว่าเราจะร่วมกันพิทักษ์ระบบความยุติธรรมไว้ได้ครับ.

ปล,พยายามหารูปมาประกอบคำอธิบายเพิ่ม แต่ยังไม่สำเร็จ ถ้าทำได้แล้วจะเอามาแนบเพิ่มครับ

 # รศ.สายประสิทธิ์  เกิดนิยม                    # ศรีสุวรรณ  จรรยา                   # ตอบโจทย์
 # ดร.สถน  วิจารณ์วรรณลักษณ์               # ส.ส สิระ  เจนจาคะ
 # อ.อ๊อด  วีรชัย  พุทธวงศ์                      # ทนายรณรงค์  แก้วเพชร
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่