ศิลปะท่อระบายน้ำญี่ปุ่น
หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวในญี่ปุ่นอยู่ที่พื้นทางเท้าทั่วประเทศ โดยแต่ละเมืองจะทาสีฝาท่อระบายน้ำด้วยสีสันที่สวยงามตามแต่จินตนาการ การออกแบบมีตั้งแต่ภาพประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม พืชและสัตว์ สถานที่สำคัญและเทศกาลท้องถิ่น จนถึงภาพจินตนาการที่ฝันถึงในวัยเด็ก
การเริ่มต้นมีขึ้นในปี 1980 เมื่อญี่ปุ่นต้องการสร้างมาตรฐานระบบระบายน้ำทิ้ง ก่อนหน้านั้นประเทศญี่ปุ่นใช้ท่อระบายน้ำรูปทรงเรขาคณิตปกติคล้ายกับที่ใช้ในประเทศอื่น ๆ ในขณะที่ชุมชนนอกเมืองใหญ่ของญี่ปุ่นถูกกำหนดให้รับระบบท่อน้ำทิ้งใหม่ แต่โครงการสาธารณะนี้มีการต่อต้าน ต่อมามีข้าราชการคนหนึ่งที่ทุ่มเทแก้ปัญหานี้โดยอนุญาตให้ชาวเมืองเลือกออกแบบท่อระบายน้ำของพวกเขาเองได้ ทุกวันนี้เกือบ 95 เปอร์เซ็นต์ของเทศบาล 1,780 แห่งในญี่ปุ่นมีฝาปิดท่อระบายน้ำที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
ตอนนี้ศิลปะฝาปิดท่อระบายน้ำได้มาถึงจุดที่ครอบงำจิตใจของประเทศญี่ปุ่นแล้ว โดยมีหน่วยงานเทศบาลหลายแห่งทำการแข่งขันกันเองเพื่อแสวงหาฝาปิดท่อระบายน้ำที่สมบูรณ์แบบ การออกแบบผลิตโดยโรงหล่อของเทศบาล เมืองหรือสภาจะส่งแนวคิดและสัญลักษณ์ของทางเลือกให้กับโรงหล่อและนักออกแบบภายในของพวกเขาจะสร้างการออกแบบตามข้อกำหนดเหล่านี้กลับไปมาจนกว่าการออกแบบจะได้รับอนุมัติ
จากนั้นโรงหล่อจะทำการสร้างต้นแบบก่อนที่จะทำการจำลองขั้นสุดท้าย ฝาปิดท่อระบายน้ำเหล่านี้ทำจากโลหะซึ่งตรงข้ามกับฝาปิดท่อระบายน้ำยุโรปซึ่งโดยปกติจะสร้างด้วยคอนกรีตหล่อสำเร็จรูป ต้นแบบที่ถูกสร้างจากไม้แกะสลักจะถูกบันทึกไว้ในห้องสมุดกลางหลังจากที่ได้รับการหล่อแล้ว
หนึ่งในหนังสือเล่มแรกที่แสดงรูปศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์นี้คือ Drainspotting ที่ Remo Camerota ที่เขียนไว้เป็นหนังสือภาษาอังกฤษและตีพิมพ์เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา พร้อมรายละเอียดประวัติของฝาปิดท่อเหล่านี้กับภาพหลายภาพของการออกแบบที่ดีที่สุดบางส่วน
Cr.ภาพ boingboing.ne
Cr.
https://www.amusingplanet.com/2012/07/art-of-japanese-manhole-covers.html / โดยKaushik Patowary
ศิลปะถังเก็บก๊าซ
(นิทานพื้นบ้าน ตำนานและหัวข้อประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมสำหรับงานศิลปะถังก๊าซในญี่ปุ่น)
ญี่ปุ่นมีบางสิ่งที่พิเศษมากโดยเฉพาะด้านวัฒนธรรมของประเทศนั้นโดดเด่นด้วยความหลงใหลในการ์ตูนและสีสันที่เกี่ยวข้องกับทุกด้าน บริษัทก๊าซหลายแห่งจะตกแต่งถังเก็บก๊าซทรงกลมของพวกเขาด้วยกราไฟท์สีสันการ์ตูนและศิลปะพื้นบ้านดั้งเดิม ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของสังคม บางอย่างได้รับการตกแต่งด้วยเหตุผลเฉพาะเช่นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ แต่ส่วนใหญ่ที่ได้รับการตกแต่งจะไม่มีข้อความใดที่เป็นพิเศษ
ถังก๊าซเหล่านี้พบเห็นได้ทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยได้เปลี่ยนลูกบอลโลหะเก็บก๊าซที่น่าเบื่อให้กลายเป็นงานศิลปะที่สวยงาม
Cr.
https://www.amusingplanet.com/2012/07/decorated-gas-tanks-of-japan.html / โดยKaushik Patowary
ศิลปะบานหน้าต่าง
(Windows ของปอร์โต, โปรตุเกส)
André Vicente Gonçalves ช่างภาพชาวโปรตุเกส ออกเดินทางเพื่อถ่ายภาพในคอลเล็กชันของเขา ที่เรียกว่า “ Windows of the World” เป็นภาพที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวโน้มทางสถาปัตยกรรมในการออกแบบหน้าต่างในส่วนต่างๆของโลก
ในระหว่างการเดินเขาค้นพบว่า ตัวอาคารในแต่ละเมืองไม่เพียงแต่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเท่านั้น ยังมีความสวยงามในการออกแบบด้วยเช่นกัน ความแตกต่างดังกล่าวแสดงได้ที่ดีที่สุดผ่านหน้าต่างของเมือง ทำให้ Gonçalves แสดงภาพหน้าต่างของเมืองในคอลเล็กชันของเขา โดยถ่ายภาพหน้าต่างในแต่ละประเทศแล้วนำมาเรียงร้อยต่อกันเป็นภาพคอลลาจ แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของแต่ละเมืองและแต่ละประเทศ
Windows ของภูเก็ตประเทศไทย
Windows ของลอนดอนประเทศอังกฤษ
Windows ของบูคาเรสต์โรมาเนีย
ตั้งแต่โปรตุเกส, ฝรั่งเศส, อิตาลี, สเปน, อังกฤษ, เนเธอร์แลนด์, เบลเยี่ยม, เยอรมนี ไปจนถึงไทยแลนด์ของเรา ซึ่งเป็นประเทศในเอเชียเพียงแห่งเดียวที่รวมอยู่ในภาพชุดนี้ เป็นการปิดท้ายที่งดงามน่าประทับใจ
Cr.
https://www.poppaganda.net/2018/06/25/photography-windows-world-andre-vicente-goncalves/
ศิลปะจากภาพ X-Rays
ความมหัศจรรย์ของโบสถ์แห่งนี้ด้วยรูปภาพ X-Rays รีไซเคิลกว่า 1000 ชิ้น ที่ถูกนำมาสร้างเป็นโครงสร้างหน้าต่างของโบสถ์ด้วยเทคนิคแบบ glass-making หน้าต่างกระจกเหล่านี้ถูกออกแบบให้มีสีสันสวยงามและมีแสงสะท้อน ซึ่งถือเป็นจุดดึงดูดผู้คนได้เป็นอย่างดีแม้ว่ารูปภาพบนหน้าต่างจะถูกสร้างจากภาพ X-Rays ที่ไม่น่ามองสักเท่าไหร่
Wim Delvoye ศิลปินชื่อดัง ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่ชอบนำวัสดุแปลกๆ วัสดุที่ไม่เหมือนใครมาสร้างเป็นผลงานศิลปะที่สวยงามได้อย่างน่าทึ่ง แต่ในครั้งนี้อาจจะดูน่ากลัวสักหน่อยกับผลงานภาพชุดบนหน้าต่างของโบสถ์แห่งนี้ ที่นำเอาภาพ X-Rays รีไซเคิลมาประกอบกับตัวเหล็กตกแต่งที่ผ่านการตัดให้เป็นลวดลายด้วยเลเซอร์ ซึ่งรูปแบบการทำเช่นนี้ถือเป็นรูปแบบเดียวกับโบสถ์ Flemish Baroque ในช่วงศตวรรษที่ 17
อีกหนึ่งจุดเด่นที่ดูเป็นผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์และน่าขนลุกในเวลาเดียวกันคือ รูปภาพโครงกระดูก 2 โครง ที่กำลังแสดงความรักต่อกันด้วยการกอดและจูบ ภาพนี้จะติดอยู่ในแผงกรอบของหน้าต่าง โดยภาพบนหน้าต่างจะมาจากการนำชิ้นส่วนรูปภาพ X-Rays แต่ละภาพมาประกอบรวมกันเป็นรูปใหญ่ภายในกรอบของหน้าต่าง และจะมีเพียงภาพของโซ่ยาวที่มีลักษณะเหมือนเป็นตัวเชื่อมชิ้นส่วนของภาพแต่ละภาพเข้าด้วยกัน
สำหรับรูปภาพ X-Rays บนหน้าต่าง เมื่อมีแสงสอดส่องเข้ามาจะสว่างขึ้นทันทีและเกิดเป็นภาพศิลปะที่งดงาม โดยวิธีการทำแบบนี้ถือเป็นวิธีการของคนยุคโบราณที่ Wim Delvoye เลือกนำมาสร้างผลงานชิ้นนี้ และสามารถเปลี่ยนภาพ X-Rays ที่ดูน่ากลัวให้กลายเป็นผลงานศิลปะที่ดูสวยงามได้เป็นอย่างดี
ข้อมูลจาก buildernews.in.th
Cr.ภาพ inhabitat.com/
Cr.
http://www.designerhub.in.th/Content/News/ออกแบบศิลปะ_หน้าต่างกระจกหลากสี
Earth Kilometer
ที่ Friedrichsplatz Park ในคัสเซิลประเทศเยอรมนีมีงานศิลปะสาธารณะติดตั้งไว้อย่างยิ่งใหญ่ แต่คุณมองไม่เห็น สิ่งเดียวที่เห็นได้ชัดเจนคือแผ่นทองเหลืองขนาดเล็กกว้างสองนิ้วฝังอยู่ในแผ่นหินทรายสีแดงสองคูณสองเมตร แผ่นทองเหลืองที่เรียบง่ายนั้นจริง ๆ แล้วปลายด้านบนของแท่งที่ยาวหนึ่งกิโลเมตรแทรกในแนวตั้งลงในพื้นดิน
ชิ้นงานศิลปะแปลก ๆ ได้รับการติดตั้งในปี 1977 โดยศิลปินชาวอเมริกัน Walter De Maria ผู้มีชื่อเสียงด้านงานประติมากรรมและการติดตั้งที่รวมเอาความเรียบง่ายและความหลากหลายไว้ด้วยกัน ก่อนหน้านี้วอลเตอร์ได้สร้าง “The Lightning Field” ในนิวเม็กซิโกซึ่งประกอบด้วยเสาเหล็กกล้าไร้สนิม 400 เสาที่เรียงกันเป็นแนวยาว 1 mile × 1 kilometer อีกหนึ่งผลงานของวอลเตอร์ก็คือ “ The Broken Kilometer” ประกอบด้วยแท่งทองเหลืองยาวสองเมตร แต่ละเส้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางห้าเซนติเมตร เรียงตัวกันเป็นห้าแถวๆละ หนึ่งร้อยแท่งซึ่งตั้งอยู่ในนิวยอร์กซิตี้
(Photo cr. unknown / mytechnologyworld9.blogspot.in)
สำหรับการตั้ง Earth Kilometer ลงในพ้นดิน วอลเตอร์จ้างแท่นขุดเจาะจากเท็กซัสเพื่อเจาะเพลาที่ผ่านชั้นทางธรณีวิทยาหกชั้น และใช้เวลาเจ็ดสิบเก้าวันในการเข้าถึงความลึกที่แม่นยำ แท่งโลหะถูกวางต่อเนื่องกัน 167 แท่งขนาด 20 ฟุตโดยแต่ละอันถูกขันจนแน่น โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากเอกชนมีค่าใช้จ่าย DM 750,000 ซึ่งเป็นเงินจำนวนมากในปี 1977 มีเสียงการวิจารณ์จากประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะผลงานศิลปะชิ้นนี้ไม่มีความพิเศษใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลับทำให้ชาวบ้านในระแวกนั้นและบริเวณใกล้เคียงต้องทนกับเสียงของการขุดเจาะเป็นเวลาเกือบสามเดือน
ที่มา www.diaart.org / contemporarybenefactors.com / Spiegel / After Modern Art 1945-2000 by David Hopkins
Cr.
https://www.diaart.org/visit/visit-our-locations-sites/walter-de-maria-the-lightning-field
Cr.
https://www.diaart.org/visit/visit-our-locations-sites/walter-de-maria-the-broken-kilometer-new-york-united-states
Cr.
https://www.amusingplanet.com/2016/02/vertical-earth-kilometer-in-kassel.html / โดยKaushik Patowary
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
ศิลปะที่มีความเป็นเอกลักษณ์
หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวในญี่ปุ่นอยู่ที่พื้นทางเท้าทั่วประเทศ โดยแต่ละเมืองจะทาสีฝาท่อระบายน้ำด้วยสีสันที่สวยงามตามแต่จินตนาการ การออกแบบมีตั้งแต่ภาพประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม พืชและสัตว์ สถานที่สำคัญและเทศกาลท้องถิ่น จนถึงภาพจินตนาการที่ฝันถึงในวัยเด็ก
การเริ่มต้นมีขึ้นในปี 1980 เมื่อญี่ปุ่นต้องการสร้างมาตรฐานระบบระบายน้ำทิ้ง ก่อนหน้านั้นประเทศญี่ปุ่นใช้ท่อระบายน้ำรูปทรงเรขาคณิตปกติคล้ายกับที่ใช้ในประเทศอื่น ๆ ในขณะที่ชุมชนนอกเมืองใหญ่ของญี่ปุ่นถูกกำหนดให้รับระบบท่อน้ำทิ้งใหม่ แต่โครงการสาธารณะนี้มีการต่อต้าน ต่อมามีข้าราชการคนหนึ่งที่ทุ่มเทแก้ปัญหานี้โดยอนุญาตให้ชาวเมืองเลือกออกแบบท่อระบายน้ำของพวกเขาเองได้ ทุกวันนี้เกือบ 95 เปอร์เซ็นต์ของเทศบาล 1,780 แห่งในญี่ปุ่นมีฝาปิดท่อระบายน้ำที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
ตอนนี้ศิลปะฝาปิดท่อระบายน้ำได้มาถึงจุดที่ครอบงำจิตใจของประเทศญี่ปุ่นแล้ว โดยมีหน่วยงานเทศบาลหลายแห่งทำการแข่งขันกันเองเพื่อแสวงหาฝาปิดท่อระบายน้ำที่สมบูรณ์แบบ การออกแบบผลิตโดยโรงหล่อของเทศบาล เมืองหรือสภาจะส่งแนวคิดและสัญลักษณ์ของทางเลือกให้กับโรงหล่อและนักออกแบบภายในของพวกเขาจะสร้างการออกแบบตามข้อกำหนดเหล่านี้กลับไปมาจนกว่าการออกแบบจะได้รับอนุมัติ
จากนั้นโรงหล่อจะทำการสร้างต้นแบบก่อนที่จะทำการจำลองขั้นสุดท้าย ฝาปิดท่อระบายน้ำเหล่านี้ทำจากโลหะซึ่งตรงข้ามกับฝาปิดท่อระบายน้ำยุโรปซึ่งโดยปกติจะสร้างด้วยคอนกรีตหล่อสำเร็จรูป ต้นแบบที่ถูกสร้างจากไม้แกะสลักจะถูกบันทึกไว้ในห้องสมุดกลางหลังจากที่ได้รับการหล่อแล้ว
หนึ่งในหนังสือเล่มแรกที่แสดงรูปศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์นี้คือ Drainspotting ที่ Remo Camerota ที่เขียนไว้เป็นหนังสือภาษาอังกฤษและตีพิมพ์เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา พร้อมรายละเอียดประวัติของฝาปิดท่อเหล่านี้กับภาพหลายภาพของการออกแบบที่ดีที่สุดบางส่วน
Cr.ภาพ boingboing.ne
Cr.https://www.amusingplanet.com/2012/07/art-of-japanese-manhole-covers.html / โดยKaushik Patowary
ศิลปะถังเก็บก๊าซ
(นิทานพื้นบ้าน ตำนานและหัวข้อประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมสำหรับงานศิลปะถังก๊าซในญี่ปุ่น)
ญี่ปุ่นมีบางสิ่งที่พิเศษมากโดยเฉพาะด้านวัฒนธรรมของประเทศนั้นโดดเด่นด้วยความหลงใหลในการ์ตูนและสีสันที่เกี่ยวข้องกับทุกด้าน บริษัทก๊าซหลายแห่งจะตกแต่งถังเก็บก๊าซทรงกลมของพวกเขาด้วยกราไฟท์สีสันการ์ตูนและศิลปะพื้นบ้านดั้งเดิม ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของสังคม บางอย่างได้รับการตกแต่งด้วยเหตุผลเฉพาะเช่นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ แต่ส่วนใหญ่ที่ได้รับการตกแต่งจะไม่มีข้อความใดที่เป็นพิเศษ
ถังก๊าซเหล่านี้พบเห็นได้ทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยได้เปลี่ยนลูกบอลโลหะเก็บก๊าซที่น่าเบื่อให้กลายเป็นงานศิลปะที่สวยงาม
Cr.https://www.amusingplanet.com/2012/07/decorated-gas-tanks-of-japan.html / โดยKaushik Patowary
ศิลปะบานหน้าต่าง
(Windows ของปอร์โต, โปรตุเกส)
André Vicente Gonçalves ช่างภาพชาวโปรตุเกส ออกเดินทางเพื่อถ่ายภาพในคอลเล็กชันของเขา ที่เรียกว่า “ Windows of the World” เป็นภาพที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวโน้มทางสถาปัตยกรรมในการออกแบบหน้าต่างในส่วนต่างๆของโลก
ในระหว่างการเดินเขาค้นพบว่า ตัวอาคารในแต่ละเมืองไม่เพียงแต่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเท่านั้น ยังมีความสวยงามในการออกแบบด้วยเช่นกัน ความแตกต่างดังกล่าวแสดงได้ที่ดีที่สุดผ่านหน้าต่างของเมือง ทำให้ Gonçalves แสดงภาพหน้าต่างของเมืองในคอลเล็กชันของเขา โดยถ่ายภาพหน้าต่างในแต่ละประเทศแล้วนำมาเรียงร้อยต่อกันเป็นภาพคอลลาจ แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของแต่ละเมืองและแต่ละประเทศ
Windows ของภูเก็ตประเทศไทย
Windows ของลอนดอนประเทศอังกฤษ
Windows ของบูคาเรสต์โรมาเนีย
ตั้งแต่โปรตุเกส, ฝรั่งเศส, อิตาลี, สเปน, อังกฤษ, เนเธอร์แลนด์, เบลเยี่ยม, เยอรมนี ไปจนถึงไทยแลนด์ของเรา ซึ่งเป็นประเทศในเอเชียเพียงแห่งเดียวที่รวมอยู่ในภาพชุดนี้ เป็นการปิดท้ายที่งดงามน่าประทับใจ
Cr.https://www.poppaganda.net/2018/06/25/photography-windows-world-andre-vicente-goncalves/
ศิลปะจากภาพ X-Rays
ความมหัศจรรย์ของโบสถ์แห่งนี้ด้วยรูปภาพ X-Rays รีไซเคิลกว่า 1000 ชิ้น ที่ถูกนำมาสร้างเป็นโครงสร้างหน้าต่างของโบสถ์ด้วยเทคนิคแบบ glass-making หน้าต่างกระจกเหล่านี้ถูกออกแบบให้มีสีสันสวยงามและมีแสงสะท้อน ซึ่งถือเป็นจุดดึงดูดผู้คนได้เป็นอย่างดีแม้ว่ารูปภาพบนหน้าต่างจะถูกสร้างจากภาพ X-Rays ที่ไม่น่ามองสักเท่าไหร่
Wim Delvoye ศิลปินชื่อดัง ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่ชอบนำวัสดุแปลกๆ วัสดุที่ไม่เหมือนใครมาสร้างเป็นผลงานศิลปะที่สวยงามได้อย่างน่าทึ่ง แต่ในครั้งนี้อาจจะดูน่ากลัวสักหน่อยกับผลงานภาพชุดบนหน้าต่างของโบสถ์แห่งนี้ ที่นำเอาภาพ X-Rays รีไซเคิลมาประกอบกับตัวเหล็กตกแต่งที่ผ่านการตัดให้เป็นลวดลายด้วยเลเซอร์ ซึ่งรูปแบบการทำเช่นนี้ถือเป็นรูปแบบเดียวกับโบสถ์ Flemish Baroque ในช่วงศตวรรษที่ 17
อีกหนึ่งจุดเด่นที่ดูเป็นผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์และน่าขนลุกในเวลาเดียวกันคือ รูปภาพโครงกระดูก 2 โครง ที่กำลังแสดงความรักต่อกันด้วยการกอดและจูบ ภาพนี้จะติดอยู่ในแผงกรอบของหน้าต่าง โดยภาพบนหน้าต่างจะมาจากการนำชิ้นส่วนรูปภาพ X-Rays แต่ละภาพมาประกอบรวมกันเป็นรูปใหญ่ภายในกรอบของหน้าต่าง และจะมีเพียงภาพของโซ่ยาวที่มีลักษณะเหมือนเป็นตัวเชื่อมชิ้นส่วนของภาพแต่ละภาพเข้าด้วยกัน
สำหรับรูปภาพ X-Rays บนหน้าต่าง เมื่อมีแสงสอดส่องเข้ามาจะสว่างขึ้นทันทีและเกิดเป็นภาพศิลปะที่งดงาม โดยวิธีการทำแบบนี้ถือเป็นวิธีการของคนยุคโบราณที่ Wim Delvoye เลือกนำมาสร้างผลงานชิ้นนี้ และสามารถเปลี่ยนภาพ X-Rays ที่ดูน่ากลัวให้กลายเป็นผลงานศิลปะที่ดูสวยงามได้เป็นอย่างดี
ข้อมูลจาก buildernews.in.th
Cr.ภาพ inhabitat.com/
Cr.http://www.designerhub.in.th/Content/News/ออกแบบศิลปะ_หน้าต่างกระจกหลากสี
Earth Kilometer
ที่ Friedrichsplatz Park ในคัสเซิลประเทศเยอรมนีมีงานศิลปะสาธารณะติดตั้งไว้อย่างยิ่งใหญ่ แต่คุณมองไม่เห็น สิ่งเดียวที่เห็นได้ชัดเจนคือแผ่นทองเหลืองขนาดเล็กกว้างสองนิ้วฝังอยู่ในแผ่นหินทรายสีแดงสองคูณสองเมตร แผ่นทองเหลืองที่เรียบง่ายนั้นจริง ๆ แล้วปลายด้านบนของแท่งที่ยาวหนึ่งกิโลเมตรแทรกในแนวตั้งลงในพื้นดิน
ชิ้นงานศิลปะแปลก ๆ ได้รับการติดตั้งในปี 1977 โดยศิลปินชาวอเมริกัน Walter De Maria ผู้มีชื่อเสียงด้านงานประติมากรรมและการติดตั้งที่รวมเอาความเรียบง่ายและความหลากหลายไว้ด้วยกัน ก่อนหน้านี้วอลเตอร์ได้สร้าง “The Lightning Field” ในนิวเม็กซิโกซึ่งประกอบด้วยเสาเหล็กกล้าไร้สนิม 400 เสาที่เรียงกันเป็นแนวยาว 1 mile × 1 kilometer อีกหนึ่งผลงานของวอลเตอร์ก็คือ “ The Broken Kilometer” ประกอบด้วยแท่งทองเหลืองยาวสองเมตร แต่ละเส้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางห้าเซนติเมตร เรียงตัวกันเป็นห้าแถวๆละ หนึ่งร้อยแท่งซึ่งตั้งอยู่ในนิวยอร์กซิตี้
(Photo cr. unknown / mytechnologyworld9.blogspot.in)
สำหรับการตั้ง Earth Kilometer ลงในพ้นดิน วอลเตอร์จ้างแท่นขุดเจาะจากเท็กซัสเพื่อเจาะเพลาที่ผ่านชั้นทางธรณีวิทยาหกชั้น และใช้เวลาเจ็ดสิบเก้าวันในการเข้าถึงความลึกที่แม่นยำ แท่งโลหะถูกวางต่อเนื่องกัน 167 แท่งขนาด 20 ฟุตโดยแต่ละอันถูกขันจนแน่น โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากเอกชนมีค่าใช้จ่าย DM 750,000 ซึ่งเป็นเงินจำนวนมากในปี 1977 มีเสียงการวิจารณ์จากประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะผลงานศิลปะชิ้นนี้ไม่มีความพิเศษใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลับทำให้ชาวบ้านในระแวกนั้นและบริเวณใกล้เคียงต้องทนกับเสียงของการขุดเจาะเป็นเวลาเกือบสามเดือน
ที่มา www.diaart.org / contemporarybenefactors.com / Spiegel / After Modern Art 1945-2000 by David Hopkins
Cr.https://www.diaart.org/visit/visit-our-locations-sites/walter-de-maria-the-lightning-field
Cr. https://www.diaart.org/visit/visit-our-locations-sites/walter-de-maria-the-broken-kilometer-new-york-united-states
Cr.https://www.amusingplanet.com/2016/02/vertical-earth-kilometer-in-kassel.html / โดยKaushik Patowary
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)