ในกระทู้นี้ผมได้แย้งประเด็นเรื่องระยะทางไว้แล้ว
https://ppantip.com/topic/40094849
โปรแกรมสามมิติจำลองเหตุการณ์ (แสดงผลบนเวบ)
https://simmer.io/@rbffppna/carsimulation
อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นเรื่อง จำนวนภาพต่อวินาที หรือ frame/sec ของวีดีโอที่ ดร สายประสิทธิ์ ใช้
หลายคน ตั้งข้อสงสัยว่าเป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้การคำนวณผิดพลาดหรือไม่?
วีดีโอประกอบด้วยภาพนิ่งที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆตามเวลา
จำนวนภาพนิ่งต่อวินาทีนี้ เราเรียกว่า frame/sec
หรือจำนวนเฟรมต่อวินาที
การที่ ดร สายประสิทธิ์ ใช้วีดีโอที่เป็น slow motion นั้นสามารถทำได้
frame/sec ก็จะมากกว่า version อื่นๆ
แต่!!! หนึ่งวินาทีในวีดีโอ จะไม่เท่ากับ หนึ่งวินาทีในเหตุการณ์จริง
ปัญหาคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่า หนึ่งวินาทีในเหตุการณ์จริง ใช้กี่เฟรม?
วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การดูจากเลขวินาทีด้านบนของวีดีโอ
เช่น 2012/09/03 05:34:17 (วันที่ 3 กันยายน 2012(2555) เวลาตีห้า 34 นาที 17 วินาที)
เราสามารถนับได้ว่า จำนวนเฟรมที่มีเลข 2012/09/03 05:34:17 มีจำนวนกี่เฟรม
เพื่อดูว่าหนึ่งวินาทีในเหตุการณ์จริง ใช้กี่เฟรม
ไม่ว่าจะเลือกวินาทีใดในวีดีโอควรจะได้ค่าใกล้เคียงกัน สามารถตรวจสอบที่
https://drive.google.com/drive/folders/1NYpnMeikeULTTJeI_T8ula3rbAGkHbNR?usp=sharing
หมายเหตุ วิธีนี้ในแง่หลักฐาน อยู่บนสมมติฐานว่า วีดีโอไม่ได้ถูกตัดต่อภาพเวลา และนาฬิกาของกล้องถูกต้อง
นั่นคือเราเชื่อว่าเลข 2012/09/03 05:34:17 เป็นเลขเวลาจริงของเหตุการณ์
สรุป
1. การคำนวณเวลาควรใช้ จำนวนเฟรมต่อหนึ่งวินาทีในเหตุการณ์จริง
ไม่ใช่ frame/sec ที่แต่ละวีดีโออาจเปลี่ยนไป
2. จากการที่ผมลองคำนวณเวลาที่ ดร สายประสิทธิ์ ใช้ระหว่างเฟรม 651 และ 675
เป็น 0.24 วินาทีในเหตุการณ์จริง ถูกต้องแล้ว
แต่ข้อสรุปเรื่องระยะทางจะผิดไปเกือบ 2 เท่า
ระยะทางระหว่างเฟรม 651 และ 675 รถเฟอร์รารี่ควรเคลื่อนที่ไปประมาณ 10 เมตรไม่ใช่ 5.2
3. นอกจากผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเครื่องกล, ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์
ควรมีผู้เชี่ยวชาญด้าน computer/ image processing/ simulation
มาช่วยร่วมสอบข้อเท็จจริงในเรื่องความเร็วนี้ด้วย
ประเด็นเรื่อง จำนวนภาพต่อวินาที ในวีดีโอรถเฟอร์รารี่คดีกระทิงแดง
https://ppantip.com/topic/40094849
โปรแกรมสามมิติจำลองเหตุการณ์ (แสดงผลบนเวบ)
https://simmer.io/@rbffppna/carsimulation
อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นเรื่อง จำนวนภาพต่อวินาที หรือ frame/sec ของวีดีโอที่ ดร สายประสิทธิ์ ใช้
หลายคน ตั้งข้อสงสัยว่าเป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้การคำนวณผิดพลาดหรือไม่?
วีดีโอประกอบด้วยภาพนิ่งที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆตามเวลา
จำนวนภาพนิ่งต่อวินาทีนี้ เราเรียกว่า frame/sec
หรือจำนวนเฟรมต่อวินาที
การที่ ดร สายประสิทธิ์ ใช้วีดีโอที่เป็น slow motion นั้นสามารถทำได้
frame/sec ก็จะมากกว่า version อื่นๆ
แต่!!! หนึ่งวินาทีในวีดีโอ จะไม่เท่ากับ หนึ่งวินาทีในเหตุการณ์จริง
ปัญหาคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่า หนึ่งวินาทีในเหตุการณ์จริง ใช้กี่เฟรม?
วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การดูจากเลขวินาทีด้านบนของวีดีโอ
เช่น 2012/09/03 05:34:17 (วันที่ 3 กันยายน 2012(2555) เวลาตีห้า 34 นาที 17 วินาที)
เราสามารถนับได้ว่า จำนวนเฟรมที่มีเลข 2012/09/03 05:34:17 มีจำนวนกี่เฟรม
เพื่อดูว่าหนึ่งวินาทีในเหตุการณ์จริง ใช้กี่เฟรม
ไม่ว่าจะเลือกวินาทีใดในวีดีโอควรจะได้ค่าใกล้เคียงกัน สามารถตรวจสอบที่
https://drive.google.com/drive/folders/1NYpnMeikeULTTJeI_T8ula3rbAGkHbNR?usp=sharing
หมายเหตุ วิธีนี้ในแง่หลักฐาน อยู่บนสมมติฐานว่า วีดีโอไม่ได้ถูกตัดต่อภาพเวลา และนาฬิกาของกล้องถูกต้อง
นั่นคือเราเชื่อว่าเลข 2012/09/03 05:34:17 เป็นเลขเวลาจริงของเหตุการณ์
สรุป
1. การคำนวณเวลาควรใช้ จำนวนเฟรมต่อหนึ่งวินาทีในเหตุการณ์จริง
ไม่ใช่ frame/sec ที่แต่ละวีดีโออาจเปลี่ยนไป
2. จากการที่ผมลองคำนวณเวลาที่ ดร สายประสิทธิ์ ใช้ระหว่างเฟรม 651 และ 675
เป็น 0.24 วินาทีในเหตุการณ์จริง ถูกต้องแล้ว
แต่ข้อสรุปเรื่องระยะทางจะผิดไปเกือบ 2 เท่า
ระยะทางระหว่างเฟรม 651 และ 675 รถเฟอร์รารี่ควรเคลื่อนที่ไปประมาณ 10 เมตรไม่ใช่ 5.2
3. นอกจากผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเครื่องกล, ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์
ควรมีผู้เชี่ยวชาญด้าน computer/ image processing/ simulation
มาช่วยร่วมสอบข้อเท็จจริงในเรื่องความเร็วนี้ด้วย