ซีพีเอาจริง ตั้งทีมที่ปรึกษา ลุยงานไฮสปีดเชื่อมสนามบิน เร่งพัฒนาแอร์พอร์ตลิงก์

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เหมือนจะเงียบ ๆ ไปพักหนึ่ง ตั้งแต่ช่วงสถานการณ์โควิดระบาด จนต้องมีการโยนหินถามทางผ่านสื่อว่า ซีพีจะทิ้งโครงการซะแล้วหรือ แต่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวคราวออกมาให้อุ่นใจว่า การดำเนินโครงการมีความคืบหน้าไปมากพอสมควร ...
 
โครงการนี้อาจแยกออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง และส่วนการบริหารจัดการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์

 
สำหรับส่วนของรถไฟความเร็วสูง 
-       ขณะนี้หน่วยงานเจ้าของระบบสาธารณูปโภคได้เข้าพื้นที่ เพื่อทำการรื้อย้ายสาธารณูปโภคที่กีดขวางทางก่อสร้าง เช่น ท่อก๊าซ ท่อประปา สายไฟฟ้า 
-       การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังเร่งกระบวนการเคลียร์พื้นที่ เพื่อให้สามารถดำเนินการส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนได้ตามกำหนด 
o   การเวนคืนที่ดิน
o   การผลักดันผู้บุกรุกออกจากพื้นที่ 
o   การยกเลิกสัญญาเช่าที่ดินเดิม
o   การขยายเขตทางเพิ่มเติม 
-       ร.ฟ.ท.มั่นใจว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ส่วนแรกช่วงสุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา ให้เอกชนเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ 100% ภายในเดือน ก.พ. 2564
-       ช่วงสุวรรณภูมิ–ดอนเมือง ติดปัญหาทับซ้อนสายสีแดง จะส่งมอบใน 2 ปี 3 เดือน จะส่งมอบพื้นที่ภายใน 2 ปี 3 เดือน นับจากวันลงนามสัญญา
-       ช่วงพญาไท-ดอนเมือง มีโครงสร้างระบบสาธารณูปโภคมาก ส่งมอบได้เร็วที่สุดเดือน ม.ค. 2565 แต่หากเกิดกรณียืดเยื้อ เช่น ติดรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ผู้บุกรุก และเวนคืน อาจจะส่งมอบได้ในเดือน ต.ค. 2566
-       กำหนดกรอบเวลาเบื้องต้นของการเปิดให้บริการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ในเดือน ม.ค. 2569 
-       ขณะนี้เอกชนอยู่ระหว่างการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยรอบสถานี (TOD) ในส่วนของสถานีช่วงสุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา 
 
ส่วนการบริหารจัดการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
-       บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จํากัด ได้เข้าพื้นที่เพื่อตรวจสอบสถานะด้านเทคนิค และเตรียมความพร้อมในการเดินรถใกล้เสร็จแล้ว 
-       เอกชนมีแผนปรับปรุง
o   ตัวสถานี เช่น ติดไฟ ติดแอร์ พัฒนาลานจอดรถ เพื่อสร้างจุดเชื่อมต่อการเดินทาง
o   การให้บริการผู้โดยสารให้มีเทคโนโลยีรองรับ เพิ่มความสะดวกสบาย 
o   เพิ่มประสิทธิภาพของการเดินรถให้มากขึ้น (อาจเพิ่มขบวนรถให้บริการ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน)
-       เอกชนขอเวลาดำเนินการ 16 เดือน และตั้งเป้าว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ย. 2564 
-       เปิดให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ โฉมใหม่ วันที่ 24 ต.ค. 2564
-       เงื่อนไขในสัญญากำหนดว่า ก่อนเข้าบริหารเดินรถ เอกชนจะต้องจ่ายเงินค่าโอนสิทธิรับบริหารให้ ร.ฟ.ท. วงเงินประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท 
-       ปัจจุบันมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่าง
o   บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จํากัด
o   บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (มีหน้าที่หลักของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัดเป็นเสมือนพี่เลี้ยงในการให้ข้อมูลบริหารงาน)
o   ร.ฟ.ท. 
o   คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) 
-       ขบวนรถไฟฟ้าที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน มี 9 ขบวน จะโอนให้เอกชนนำไปบริหารจัดการ 
o   โดยเอกชนจะติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณแบบใหม่ เพื่อให้รองรับระบบรถไฟความเร็วสูง

 
ในส่วนของเอกชนนั้นได้เร่งเดินหน้างานเต็มที่ แต่ก็ติดปัญหาบางประการ เช่น ทีมที่ปรึกษาจากต่างประเทศอย่างอิตาลี ที่จะต้องเข้ามาสำรวจตรวจสอบและวางแผนพัฒนา ไม่สามารถเดินทางเข้ามาประเทศไทยได้ เนื่องจากติดปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 จึงต้องใช้ช่องทางอีเมล์ในการติดต่อสื่อสารแทน
 
มีรายงานข่าวว่า ทางกลุ่มซีพีไม่เพียงให้ความสำคัญกับงานสร้างรถไฟเท่านั้น แต่ยังจริงจังกับงานด้านความยั่งยืน ที่สอดคล้องกับนโยบายด้านความยั่งยืนขององค์กร เพื่อให้โครงการรถไฟฯ ไม่เพียงเป็นโครงการที่สร้างประสบการณ์การเดินทางที่ดี หรือเป็นเครื่องมือกระจายความเจริญ เชื่อมต่อพื้นที่ต่าง ๆ และช่วยขับเคลื่อนโครงการในอีอีซี แต่ยังต้องสร้างความสมดุลในทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไปพร้อม ๆ กัน จึงได้จัดตั้งทีมงานที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน ที่เป็นการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม ประกอบด้วยนักวิชาการ และผู้นำที่ขับเคลื่อนงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีการประชุมร่วมกันไปแล้วหลายครั้ง และมีคำแนะนำที่เป็นประโยชน์หลายอย่าง บางอย่างสามารถดำเนินการได้เลย บางอย่างยังต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนอื่น ๆ แต่ที่สำคัญ งานหลายอย่างตรงกับแผนงานที่ทางซีพีวางไว้อยู่แล้ว เช่น การออกแบบการใช้งานแบบ Universal Design ที่ทุกคนสามารถใช้งานร่วมกันได้ (เช่น ผู้พิการ) การสนับสนุนเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs และการสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากชุมชน เป็นต้น 

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่