ดูไปก็คิดถึงพ่อของเราไป ส่วนหนึ่งเพราะ ไท่ เป่า ผู้รับบทเป็นคุณลุง “ปาร์ค” นั้นมีรูปร่างหน้าตาชวนให้คิดถึงพ่อมาก และอีกส่วนหนึ่งก็เพราะตัวหนังเองพูดถึงชีวิตอีกด้านของคนเป็นพ่อ ที่ลูกๆ หรือคนในครอบครัวไม่มีทางได้รับรู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคิดมานานแล้วว่า ลูกๆ อย่างพวกเราไม่มีทางได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของพ่อแม่ได้หรอก เมื่อพ่อแม่เดินออกประตูบ้านไป พวกเค้าจะไปที่ไหน ทำอะไรกับใคร ใช้ชีวิตแบบใด หรือเป็นใครอีกคน ... เราไม่มีทางรู้
.
ปาร์ค เป็นคุณตาวัย 70 ปีที่ลูกๆ โตจนแต่งงานย้ายออกไปมีครอบครัวของตัวเองกันหมดแล้ว เหลือเพียงเค้ากับภรรยาที่ครองคู่กันมายาวนาน แล้ววันหนึ่งปาร์คก็ได้ทำความรู้จักกับ ฮอย คุณปู่วัย 65 ปีที่หย่าร้างกับภรรยาและยังพักอาศัยอยู่กับลูกชายที่แต่งงานมีลูกมีเมียแล้วเรียบร้อย บนความสัมพันธ์ที่ค่อยๆ พัฒนาไปจากเรื่องเซ็กส์ สู่ชีวิตด้านอื่นๆ แต่อนาคตในความสัมพันธ์ของพวกเค้าช่างเลือนรางเหลือเกิน
.
เซอร์ไพรส์ที่ผลงานการกำกับของ เรย์ หยาง เรื่องนี้ลดความเอะอะมะเทิ่งและฉูดฉาดลงจากงานก่อนๆ อย่าง Cut Sleeves Boy (2006) และ Front Cover (2015) แบบเห็นได้ชัด ซึ่งมันก็เข้ากับบรรยากาศและเรื่องราวที่เล่าดีมากๆ ในขณะที่เราบ่นอยู่เสมอว่า ประเด็นการ Come Out ของตัวละคร LGBT ในหนังหลายเรื่องนั้นเป็นอะไรที่น่าเบื่อซ้ำซากเกินไปแล้ว ในตอนนี้ Suk Suk กลับนำเสนอเรื่อง Come Out ในบริบทใหม่ที่แม้มันจะพูดเรื่องความยากลำบากของการเปิดเผยตัวเองเหมือนกับหนังอีกหลายเรื่อง แต่ก็มีหลายอย่างที่แปลกใหม่แตกต่าง แล้วก็ช่างเป็นความอึดอัด กดดัน สับสน ที่เราเองก็ไม่รู้จะหาทางออกให้กับตัวละครได้อย่างไรเหมือนกัน
.
แล้วนอกจากความสัมพันธ์ของเกย์วัยเกษียณที่ต่างฝ่ายต่างมีพันธะ (ในรูปแบบที่ต่างกัน) Suk Suk ยังซ่อนประเด็นอันหลากหลายไว้ในหนังความยาวหนึ่งชั่วโมงครึ่งไว้มากมาย ทั้งเกย์ที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวตอนแก่เฒ่า บ้านพักคนชราของชาวเกย์จำเป็นต้องมีหรือไม่ พื้นที่การรวมตัวกันของชาวเกย์อย่างซาวน่า (ที่ไม่ได้เอาไว้หาเซ็กส์ชั่วครู่ยามเพียงเท่านั้น) การต่อต้านชาวเกย์ในเกาะฮ่องกง ไปจนถึงการแฝงประเด็นจีนแผ่นดินใหญ่-ฮ่องกง-ไต้หวันไว้ในหนังอย่างแนบเนียนก็ช่างน่าทึ่งมาก!
.
ชอบมากที่สุดก็ตรงที่ Suk Suk นำเสนอภาพและชีวิตของตัวละครอย่างสมจริงในทุกรายละเอียด จนหลายช่วงแทบจะเหมือนเป็นหนังสารคดีเลยด้วยซ้ำ และสิ่งที่ตัวละครทั้งหลายเลือกหรือตัดสินใจมันก็มีเหตุผลรองรับแบบที่เราไม่อาจจะต่อต้านสิ่งที่ตัวละครทำลงไปได้เลย มันเป็นความสุขที่แสนเศร้า และเป็นความเศร้าที่หน่วงอยู่ในหัวใจ เพราะในวัยเช่นพวกเค้า ความหวังในชีวิตที่มีอยู่มันช่างเลือนราง และน่าตลกที่เราพบว่าประโยคที่ตัวละครพูดปลอบใจลุงปาร์คว่า “เค้าว่ากันว่า ชีวิตจะเหมือนเกิดใหม่อีกครั้งตอนเกษียณ” มันอาจจะไม่มีทางเป็นจริง...
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
[CR] [Review] Suk Suk (2019)
ดูไปก็คิดถึงพ่อของเราไป ส่วนหนึ่งเพราะ ไท่ เป่า ผู้รับบทเป็นคุณลุง “ปาร์ค” นั้นมีรูปร่างหน้าตาชวนให้คิดถึงพ่อมาก และอีกส่วนหนึ่งก็เพราะตัวหนังเองพูดถึงชีวิตอีกด้านของคนเป็นพ่อ ที่ลูกๆ หรือคนในครอบครัวไม่มีทางได้รับรู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคิดมานานแล้วว่า ลูกๆ อย่างพวกเราไม่มีทางได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของพ่อแม่ได้หรอก เมื่อพ่อแม่เดินออกประตูบ้านไป พวกเค้าจะไปที่ไหน ทำอะไรกับใคร ใช้ชีวิตแบบใด หรือเป็นใครอีกคน ... เราไม่มีทางรู้
.
ปาร์ค เป็นคุณตาวัย 70 ปีที่ลูกๆ โตจนแต่งงานย้ายออกไปมีครอบครัวของตัวเองกันหมดแล้ว เหลือเพียงเค้ากับภรรยาที่ครองคู่กันมายาวนาน แล้ววันหนึ่งปาร์คก็ได้ทำความรู้จักกับ ฮอย คุณปู่วัย 65 ปีที่หย่าร้างกับภรรยาและยังพักอาศัยอยู่กับลูกชายที่แต่งงานมีลูกมีเมียแล้วเรียบร้อย บนความสัมพันธ์ที่ค่อยๆ พัฒนาไปจากเรื่องเซ็กส์ สู่ชีวิตด้านอื่นๆ แต่อนาคตในความสัมพันธ์ของพวกเค้าช่างเลือนรางเหลือเกิน
.
เซอร์ไพรส์ที่ผลงานการกำกับของ เรย์ หยาง เรื่องนี้ลดความเอะอะมะเทิ่งและฉูดฉาดลงจากงานก่อนๆ อย่าง Cut Sleeves Boy (2006) และ Front Cover (2015) แบบเห็นได้ชัด ซึ่งมันก็เข้ากับบรรยากาศและเรื่องราวที่เล่าดีมากๆ ในขณะที่เราบ่นอยู่เสมอว่า ประเด็นการ Come Out ของตัวละคร LGBT ในหนังหลายเรื่องนั้นเป็นอะไรที่น่าเบื่อซ้ำซากเกินไปแล้ว ในตอนนี้ Suk Suk กลับนำเสนอเรื่อง Come Out ในบริบทใหม่ที่แม้มันจะพูดเรื่องความยากลำบากของการเปิดเผยตัวเองเหมือนกับหนังอีกหลายเรื่อง แต่ก็มีหลายอย่างที่แปลกใหม่แตกต่าง แล้วก็ช่างเป็นความอึดอัด กดดัน สับสน ที่เราเองก็ไม่รู้จะหาทางออกให้กับตัวละครได้อย่างไรเหมือนกัน
.
แล้วนอกจากความสัมพันธ์ของเกย์วัยเกษียณที่ต่างฝ่ายต่างมีพันธะ (ในรูปแบบที่ต่างกัน) Suk Suk ยังซ่อนประเด็นอันหลากหลายไว้ในหนังความยาวหนึ่งชั่วโมงครึ่งไว้มากมาย ทั้งเกย์ที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวตอนแก่เฒ่า บ้านพักคนชราของชาวเกย์จำเป็นต้องมีหรือไม่ พื้นที่การรวมตัวกันของชาวเกย์อย่างซาวน่า (ที่ไม่ได้เอาไว้หาเซ็กส์ชั่วครู่ยามเพียงเท่านั้น) การต่อต้านชาวเกย์ในเกาะฮ่องกง ไปจนถึงการแฝงประเด็นจีนแผ่นดินใหญ่-ฮ่องกง-ไต้หวันไว้ในหนังอย่างแนบเนียนก็ช่างน่าทึ่งมาก!
.
ชอบมากที่สุดก็ตรงที่ Suk Suk นำเสนอภาพและชีวิตของตัวละครอย่างสมจริงในทุกรายละเอียด จนหลายช่วงแทบจะเหมือนเป็นหนังสารคดีเลยด้วยซ้ำ และสิ่งที่ตัวละครทั้งหลายเลือกหรือตัดสินใจมันก็มีเหตุผลรองรับแบบที่เราไม่อาจจะต่อต้านสิ่งที่ตัวละครทำลงไปได้เลย มันเป็นความสุขที่แสนเศร้า และเป็นความเศร้าที่หน่วงอยู่ในหัวใจ เพราะในวัยเช่นพวกเค้า ความหวังในชีวิตที่มีอยู่มันช่างเลือนราง และน่าตลกที่เราพบว่าประโยคที่ตัวละครพูดปลอบใจลุงปาร์คว่า “เค้าว่ากันว่า ชีวิตจะเหมือนเกิดใหม่อีกครั้งตอนเกษียณ” มันอาจจะไม่มีทางเป็นจริง...
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้