ชาวมายาโบราณที่รุ่งเรืองอยู่ในป่าฝนของทวีปอเมริกากลางแถบประเทศเม็กซิโกและกัวเตมาลา เป็นหนึ่งในชนเผ่าที่มีระบบการเขียนที่ซับซ้อน พวกเขาเป็นนักดาราศาสตร์ที่เก่งกาจ รู้จักการคำนวณหาคาบดิถีของดวงดาวต่างๆ บนท้องฟ้า จนได้ตัวเลขออกมาอย่างแม่นยำ หลักฐานที่ทำให้นักโบราณคดีทราบเกี่ยวกับความสามารถอันน่าทึ่งของชาวมายาโบราณก็คือ จารึกในอักขระเฮียโรกลิฟฟิคที่ดูซับซ้อนและเข้าใจยาก ที่ชาวมายาโบราณนิยมสลักเอาไว้บนผนังวิหารในรูปทรงของตารางหมากรุก ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ถึงอย่างนั้นนักมายันวิทยาก็ยังไม่สามารถอ่านอักขระเหล่านี้ได้ครบถ้วนทั้งหมดแต่อย่างใด
แต่อักขระที่บันทึกเกี่ยวกับการคำนวณและดาราศาสตร์อันซับซ้อน รวมทั้งพิธีกรรมของชาวมายาโบราณก็ไม่ได้ปรากฏเพียงแค่บนผนังวิหารหรือสุสานเท่านั้น ไม่ต่างจากชาวอียิปต์โบราณที่มีการจดบันทึกลงบนกระดาษปาปิรัส ชาวมายาโบราณก็มีกระดาษที่ทำมาจากเปลือกไม้
ในตอนแรกนักมายันวิทยาเสนอว่า ชาวมายาโบราณใช้เส้นใยจากต้นมาเกย์ (Maguey) ซึ่งเป็นพืชอวบน้ำตระกูลเดียวกับว่านหางจระเข้มาผลิตเป็นกระดาษ แต่เมื่อทำการวิเคราะห์เพิ่มเติมด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์แล้วพบว่า กระดาษที่ใช้เขียน “คัมภีร์” ของชาวมายาโบราณนั้น ส่วนใหญ่ผลิตขึ้นมาจากเปลือกไม้ของต้นมะเดื่อ (Fig) หลังจากนั้นก็จะมีการเคลือบปูนขาวไว้ที่ผิวไม้ก่อนที่จะลงมือเขียนด้วยหมึกสีต่างๆ โดยเฉพาะสีดำที่ผลิตจากเขม่าและสีแดงจากแร่เฮมาไทต์ (Hematite) นอกจากนั้นยังมีการใช้สีที่สดใสอื่นๆ อย่างเช่นสีฟ้า สีเขียวและสีเหลืองในคัมภีร์ก็มาจากเปลือกไม้ของชาวมายาด้วยเช่นกัน
ต้นมาเกย์ (Maguey)
คัมภีร์ของชาวมายาถูกเรียกว่า “โคเด็กซ์” (Codex) มาจากภาษาลาตินว่า “caudex” หมายความถึงลำต้นของต้นไม้ ซึ่งก็คือ วัสดุตั้งต้นที่ใช้ผลิตกระดาษ ในอดีต ชาวมายาโบราณจดบันทึกองค์ความรู้ต่างๆ ลงไปในคัมภีร์เปลือกไม้เช่นนี้จำนวนมาก แต่นักมายันวิทยาพบว่า มีคัมภีร์ที่เหลือรอดหลังจากที่อาณาจักรมายาโบราณล่มสลายลงไปเพียงแค่ 4 ฉบับเท่านั้น
ผู้ที่ทำลายคัมภีร์ของชาวมายาโบราณก็คือ ชาวสเปนที่บุกเข้าไปในช่วงของการล่าอาณานิคม เมื่อพวกเขาได้เห็นชาวมายาโบราณศรัทธาในศาสตร์นอกรีต จึงได้นำคัมภีร์ที่เก็บงำองค์ความรู้มหาศาลของชาวมายาโบราณมาเผาทิ้งจนเกือบหมด (แต่คัมภีร์ยังคงหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน 4 ฉบับ)
เมื่อนักมายันวิทยาตรวจสอบคัมภีร์ 4 ฉบับเท่าที่เหลือก็พบว่า คัมภีร์ของชาวมายาโบราณนั้น เขียนบนกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง สูงประมาณ
23 เซนติเมตร กว้าง 10 เซนติเมตร พับทบกันไปมาเป็นชั้นๆ ในรูปแบบที่คล้ายกับหีบเพลง คัมภีร์บางฉบับเมื่อคลี่ออกมาแล้วมีความยาวกว่า 3 เมตร
ด้านในปรากฏอักขระมายาโบราณและภาพประกอบที่บางภาพลงสีไว้อย่างสวยงาม นอกจากนั้นยังมีตัวเลขและปฏิทินตามแบบฉบับของชาวมายาโบราณปรากฏอยู่ด้วย คัมภีร์ 4 ฉบับที่ยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันมีดังนี้
1.คัมภีร์เดรสเดิน (Dresden Codex)
(ส่วนหนึ่งของคัมภีร์เดรสเดินแสดงภาพของตัวเลข ปฏิทิน และเทพเจ้าตามความเชื่อของชาวมายาโบราณ)
เป็นคัมภีร์ที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดในบรรดาคัมภีร์ทั้ง 4 ฉบับที่ยังคงหลงเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบัน คัมภีร์ฉบับนี้ปรากฏที่ห้องสมุดของเมืองเดรสเดิน ประเทศเยอรมนี เมื่อปี ค.ศ. 1739 มันถูกซื้อต่อมาจากนักสะสมท่านหนึ่งในเวียนนา คัมภีร์ฉบับนี้มีทั้งหมด 39 หน้า พับทบกันไปมาคล้ายหีบเพลง เมื่อคลี่ออกมาก็พบว่า มันมีความยาวถึง 3.5 เมตร
นักมายันวิทยาตรวจสอบคัมภีร์เดรสเดิน พบว่าอาลักษณ์ที่แสดงลายมือเขียนอักขระมายาโบราณลงไปบนคัมภีร์นี้มีด้วยกันทั้งหมด 8 ท่าน คัมภีร์นี้น่าจะมีความเก่าแก่อยู่ในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1000 ถึง ค.ศ. 1200 หรือในช่วงยุคหลังคลาสสิก (Post-Classic Period) ของชาวมายาโบราณ
เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ โดยเฉพาะวันและปฏิทินที่แสดงให้เห็นถึงวันที่เหมาะสมในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ อีกทั้งยังพูดถึงศาสตร์ของการเยียวยารักษาอีกด้วย
Dresden Codex มีการระบุตำแหน่งขึ้นและตกของดาวศุกร์ไว้อย่างละเอียด แต่จากการวิจัยครั้งใหม่โดย Gerardo Aldana นักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ได้วิเคราะห์อักษรภาพและตารางตำแหน่งดาวศุกร์ในเอกสาร Dresden Codex อย่างละเอียดได้ข้อสรุปว่า
มีนักดาราศาสตร์ชาวมายันผู้หนึ่งได้จัดทำแบบจำลองเพื่อใช้บอกตำแหน่งของดาวศุกร์ในตอนกลางคืนได้เป็นเวลาหลายร้อยปี โดยนักดาราศาสตร์ที่ไม่ทราบชื่อผู้นี้ทำงานด้วยความพยายามเป็นเวลา 25 ปี ในระหว่างช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 10 ที่เมืองชีเชนอิตซา ประเทศเม็กซิโก
นอกจากนี้ตารางตำแหน่งดาวศุกร์ยังตรงกันกับการวัดตำแหน่งดาวศุกร์อีกชุดหนึ่งที่พบในเอกสารจากอารยธรรมมายาโบราณที่เรียกว่า Copán ซึ่งในตอนนี้คือประเทศฮอนดูรัส เอกสารนี้ถูกเขียนขึ้น 200 กว่าปีก่อน
2.คัมภีร์ปารีส (Paris Codex)
(สองหน้าสุดท้ายของ Paris Codex แสดง "ราศี" Cr.ภาพ en.wikipedia.org/wiki/Paris_Codex)
ค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1859 ในมุมที่เต็มไปด้วยฝุ่นของห้องสมุดเมืองปารีส นักมายันวิทยาพบว่า คัมภีร์ฉบับนี้ไม่ได้ครบถ้วนสมบูรณ์เหมือนคัมภีร์เดรสเดิน เท่าที่ค้นพบมีเนื้อหาอยู่ทั้งหมด 11 แผ่น โดยมีอักขระมายาโบราณจารึกเอาไว้ทั้งสองด้าน
นักมายันวิทยายังไม่แน่ใจว่าคัมภีร์ฉบับนี้จะมีความเก่าแก่ย้อนกลับไปได้ถึงสมัยไหน บ้างก็เสนอว่าอาจจะเก่าแก่ถึงช่วงยุคคลาสสิก (Classic Period) ซึ่งก็คือเก่าแก่กว่าปี ค.ศ. 900 แต่บางท่านก็เสนอว่า อาจจะเก่าแก่แค่ในยุคหลังคลาสสิก ก็คือ อาจจะร่วมสมัยกับคัมภีร์เดรสเดิน
เนื้อหาที่บันทึกเอาไว้ในคัมภีร์เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ พิธีกรรมและงานเฉลิมฉลอง วันที่ ปฏิทิน และยังมีบันทึกถึงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ รวมถึงตำนานที่เกี่ยวกับเทพเจ้าของชาวมายาโบราณด้วย
3.คัมภีร์มาดริด (Madrid Codex)
(ส่วนหนึ่งของคัมภีร์มาดริดแสดงภาพเทพเจ้าและสัตว์หน้าตาแปลกประหลาดลงสีสันสวยงาม)
ประมาณว่าเอกสารนี้ผลิตระหว่างศตวรรษที่ 13 และ 15 เมื่อชาวสเปนเดินทางมาถึงคาบสมุทรยูคาทาน มันจะรอดพ้นจากการถูกทำลายและถูกพาไปยังยุโรปอย่างน่าอัศจรรย์ Codex ประกอบด้วยสองส่วนที่แตกต่างกันซึ่งได้มาจากเจ้าของสองคนในตอนท้ายของศตวรรษที่ 19 codex นี้ไม่ได้เขียนด้วยลายมือใด ๆ แต่เนื้อหาทั้งหมดจะถูกนำเสนออย่างสวยงามผ่านภาพวาดที่มีสีสันและแต่ละภาพเหล่านี้สื่อถึงข้อความที่ชัดเจนมาก
ตอนแรกนักวิชาการคิดว่า มันอาจจะเป็นคัมภีร์คนละฉบับกันสุดท้ายในปี ค.ศ. 1888 ได้ถูกนำมารวมเป็นฉบับเดียวกัน ประกอบด้วย 56 แผ่น คัมภีร์ฉบับนี้ถูกระบุอายุได้ในช่วงยุคหลังคลาสสิก ประมาณปี ค.ศ. 1400 หรืออาจจะใหม่กว่านั้น
ข้อมูลจากคัมภีร์พอจะทำให้ทราบว่า มีอาลักษณ์ถึง 9 คนที่จดบันทึกข้อมูล เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ เทพเจ้า นอกจากนั้นยังพูดถึงพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวันปีใหม่ของชาวมายาโบราณ
Madrid Codex ยังเป็นที่รู้จักกันอีกชื่อว่า Tro-Cortesianus Codex ในคัมภีร์มีภาพวาดบางส่วนที่มีความคล้ายคลึงกับภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พบใน Chichen Itza
4.คัมภีร์โกรเลียร์ (The Grolier Codex)
เนื้อหาของคัมภีร์โกรเลียร์เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ โดยเฉพาะการเคลื่อนที่ของดาวศุกร์ที่ชาวมายาโบราณใช้แทนสัญลักษณ์ในการลั่นกลองรบ คัมภีร์ฉบับนี้เคยถูกเสนอว่า อาจจะเป็นของปลอมที่เพิ่งถูกทำขึ้นมาใหม่ แต่ล่าสุดได้รับการตรวจสอบและยืนยันแล้วว่า คัมภีร์โกรเลียร์เป็นของแท้ที่ชาวมายาโบราณเป็นผู้รังสรรค์ขึ้นมาเอง เมื่อหลายร้อยปีก่อนที่เขียนด้วยลายมือที่เก่าแก่ที่สุด เชื่อกันว่าถูกเขียนขึ้นระหว่างปี 900 และ ค.ศ. 1250 Codex นี้ถูกพบในปี 1971 ในถ้ำในเม็กซิโกในมือของนักสะสม
เขียนโดย life
Cr.
https://topmanman.blogspot.com/2017/11/4.html
Cr.
https://atlantis2509.blogspot.com/2019/12/blog-post.html
Cr.
https://theconversation.com/grolier-codex-ruled-genuine-what-the-oldest-manuscript-to-survive-spanish-conquest-reveals-67941
Cr.
https://themathematicaltourist.wordpress.com/2012/11/11/the-tro-cortesianus-codex/
Cr.
http://www.mayantourismguide.com/the-madrid-codex/
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
Codex คัมภีร์โบราณอาณาจักรมายาที่หลงเหลืออยู่
แต่อักขระที่บันทึกเกี่ยวกับการคำนวณและดาราศาสตร์อันซับซ้อน รวมทั้งพิธีกรรมของชาวมายาโบราณก็ไม่ได้ปรากฏเพียงแค่บนผนังวิหารหรือสุสานเท่านั้น ไม่ต่างจากชาวอียิปต์โบราณที่มีการจดบันทึกลงบนกระดาษปาปิรัส ชาวมายาโบราณก็มีกระดาษที่ทำมาจากเปลือกไม้
ในตอนแรกนักมายันวิทยาเสนอว่า ชาวมายาโบราณใช้เส้นใยจากต้นมาเกย์ (Maguey) ซึ่งเป็นพืชอวบน้ำตระกูลเดียวกับว่านหางจระเข้มาผลิตเป็นกระดาษ แต่เมื่อทำการวิเคราะห์เพิ่มเติมด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์แล้วพบว่า กระดาษที่ใช้เขียน “คัมภีร์” ของชาวมายาโบราณนั้น ส่วนใหญ่ผลิตขึ้นมาจากเปลือกไม้ของต้นมะเดื่อ (Fig) หลังจากนั้นก็จะมีการเคลือบปูนขาวไว้ที่ผิวไม้ก่อนที่จะลงมือเขียนด้วยหมึกสีต่างๆ โดยเฉพาะสีดำที่ผลิตจากเขม่าและสีแดงจากแร่เฮมาไทต์ (Hematite) นอกจากนั้นยังมีการใช้สีที่สดใสอื่นๆ อย่างเช่นสีฟ้า สีเขียวและสีเหลืองในคัมภีร์ก็มาจากเปลือกไม้ของชาวมายาด้วยเช่นกัน
คัมภีร์ของชาวมายาถูกเรียกว่า “โคเด็กซ์” (Codex) มาจากภาษาลาตินว่า “caudex” หมายความถึงลำต้นของต้นไม้ ซึ่งก็คือ วัสดุตั้งต้นที่ใช้ผลิตกระดาษ ในอดีต ชาวมายาโบราณจดบันทึกองค์ความรู้ต่างๆ ลงไปในคัมภีร์เปลือกไม้เช่นนี้จำนวนมาก แต่นักมายันวิทยาพบว่า มีคัมภีร์ที่เหลือรอดหลังจากที่อาณาจักรมายาโบราณล่มสลายลงไปเพียงแค่ 4 ฉบับเท่านั้น
ผู้ที่ทำลายคัมภีร์ของชาวมายาโบราณก็คือ ชาวสเปนที่บุกเข้าไปในช่วงของการล่าอาณานิคม เมื่อพวกเขาได้เห็นชาวมายาโบราณศรัทธาในศาสตร์นอกรีต จึงได้นำคัมภีร์ที่เก็บงำองค์ความรู้มหาศาลของชาวมายาโบราณมาเผาทิ้งจนเกือบหมด (แต่คัมภีร์ยังคงหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน 4 ฉบับ)
เมื่อนักมายันวิทยาตรวจสอบคัมภีร์ 4 ฉบับเท่าที่เหลือก็พบว่า คัมภีร์ของชาวมายาโบราณนั้น เขียนบนกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง สูงประมาณ
23 เซนติเมตร กว้าง 10 เซนติเมตร พับทบกันไปมาเป็นชั้นๆ ในรูปแบบที่คล้ายกับหีบเพลง คัมภีร์บางฉบับเมื่อคลี่ออกมาแล้วมีความยาวกว่า 3 เมตร
ด้านในปรากฏอักขระมายาโบราณและภาพประกอบที่บางภาพลงสีไว้อย่างสวยงาม นอกจากนั้นยังมีตัวเลขและปฏิทินตามแบบฉบับของชาวมายาโบราณปรากฏอยู่ด้วย คัมภีร์ 4 ฉบับที่ยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันมีดังนี้
นักมายันวิทยาตรวจสอบคัมภีร์เดรสเดิน พบว่าอาลักษณ์ที่แสดงลายมือเขียนอักขระมายาโบราณลงไปบนคัมภีร์นี้มีด้วยกันทั้งหมด 8 ท่าน คัมภีร์นี้น่าจะมีความเก่าแก่อยู่ในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1000 ถึง ค.ศ. 1200 หรือในช่วงยุคหลังคลาสสิก (Post-Classic Period) ของชาวมายาโบราณ
เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ โดยเฉพาะวันและปฏิทินที่แสดงให้เห็นถึงวันที่เหมาะสมในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ อีกทั้งยังพูดถึงศาสตร์ของการเยียวยารักษาอีกด้วย
Dresden Codex มีการระบุตำแหน่งขึ้นและตกของดาวศุกร์ไว้อย่างละเอียด แต่จากการวิจัยครั้งใหม่โดย Gerardo Aldana นักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ได้วิเคราะห์อักษรภาพและตารางตำแหน่งดาวศุกร์ในเอกสาร Dresden Codex อย่างละเอียดได้ข้อสรุปว่า
มีนักดาราศาสตร์ชาวมายันผู้หนึ่งได้จัดทำแบบจำลองเพื่อใช้บอกตำแหน่งของดาวศุกร์ในตอนกลางคืนได้เป็นเวลาหลายร้อยปี โดยนักดาราศาสตร์ที่ไม่ทราบชื่อผู้นี้ทำงานด้วยความพยายามเป็นเวลา 25 ปี ในระหว่างช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 10 ที่เมืองชีเชนอิตซา ประเทศเม็กซิโก
Cr.https://atlantis2509.blogspot.com/2019/12/blog-post.html
Cr.https://theconversation.com/grolier-codex-ruled-genuine-what-the-oldest-manuscript-to-survive-spanish-conquest-reveals-67941
Cr.https://themathematicaltourist.wordpress.com/2012/11/11/the-tro-cortesianus-codex/
Cr.http://www.mayantourismguide.com/the-madrid-codex/
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)