อธิบายคำว่าเศรษฐกิจนอกระบบ ( Informal Economy ) ก่อนนะครับ เศรษฐกิจนอกระบบคือกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้เกิดมูลค่าเป็นตัวเงิน แต่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษีเงินได้ ซึ่งจะเป็นกิจกรรมที่ถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมายก็ได้ เช่น
- ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย ถ้าค้าขายในจุดผ่อนผันคือถูกกฎหมาย ถ้านอกจุดผ่อนผันก็ผิดกฎหมาย
- คนขับรถรับจ้างส่งคน ถ้าเป็นรถป้ายเหลืองและคนขับมีใบขับขี่สาธารณะคือถูกกฎหมาย แต่ถ้าเป็นรถป้ายขาวและมีแค่ใบขับขี่ธรรมดาก็ผิดกฎหมาย
- เกษตรกร ถ้าทำเกษตรในที่ดินตัวเอง ที่ดินเช่า หรือที่ดินที่รัฐให้ทำประโยชน์ ( เช่น สปก. ) คือถูกกฎหมาย แต่ถ้าไปบุกรุกป่า บุกรุกที่สาธารณะ อันนี้ผิดกฎหมาย
แต่กลุ่มคนที่ยกตัวอย่างมานี้ในประเทศไทยล้วนไม่อยู่ในระบบภาษีเงินได้ ซึ่งหลายคนอาจจะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์จ่ายภาษี แต่อีกหลายคนก็มีรายได้ถึงเกณฑ์แต่ด้วยความที่ไม่เข้าระบบทำให้ไม่ต้องจ่าย เราๆ ท่านๆ เลยได้ยินเรื่องราวของคนรวยเงียบ หรือที่สำนวนไทยว่า "ผ้าขี้ริ้วห่อทอง" อยู่เนืองๆ เช่น แม่ค้าแผงลอยรถเข็นหรือชาวไร่ชาวนาแต่งตัวปอนๆ แต่มีเงินส่งลูกเรียน ม.เอกชน มีเงินไปเที่ยว ตปท. ปีละครั้งสองครั้ง มีเงินออกรถเก๋ง-รถกระบะ หรือแท็กซี่บางคนก็เล่าว่าช่วงเศรษฐกิจดีๆ หักโน่นหักนี่แล้วแต่ละวันมีรายได้เฉลี่ย 1,000 บาทขึ้นไป
สิ่งเหล่านี้ทำให้คนไทยที่เป็นชาวตลาดบน ( หมายถึงคนที่มีฐานะปานกลางค่อนไปทางสูง ) ไม่ค่อยพอใจเมื่อรัฐบาลจะมีนโยบายเอื้อต่อชาวตลาดล่าง ( หมายถึงคนที่มีฐานะปานกลางค่อนไปทางล่าง ) เพราะพวกตัวเองเสียภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วยแต่เหมือนถูกละเลย ในขณะที่คนอีกกลุ่มแค่ทำตัวจนๆ หน่อยนอกจากจะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้แล้วรัฐยังอุ้มชูส่งเสริมอีกต่างหาก
( ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าความขัดแย้งทางการเมืองหลายปีที่ผ่านมาเรื่องนี้ก็เป็นปัจจัยด้วย )
สงสัยว่าในต่างประเทศที่เจริญแล้ว เขากวาดคนส่วนใหญ่เข้าระบบภาษีเงินได้ได้อย่างไรครับ
ปล.ถ้าดูสัดส่วนแรงงานไทย 38 ล้านคน เรามีแรงงานในเศรษฐกิจนอกระบบถึง 21 ล้านคน ส่วนแรงงานในระบบอยู่ที่ 17 ล้านคน
TonyMao_NK51 ( ใช้แทนอมยิ้มที่ถูกแบน )
ในประเทศที่เจริญแล้วเขาแก้ปัญหา"รวยเงียบ-ผ้าขี้ริ้วห่อทอง"เศรษฐกิจนอกระบบเนียนหลบภาษียังไงคร้บ?
- ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย ถ้าค้าขายในจุดผ่อนผันคือถูกกฎหมาย ถ้านอกจุดผ่อนผันก็ผิดกฎหมาย
- คนขับรถรับจ้างส่งคน ถ้าเป็นรถป้ายเหลืองและคนขับมีใบขับขี่สาธารณะคือถูกกฎหมาย แต่ถ้าเป็นรถป้ายขาวและมีแค่ใบขับขี่ธรรมดาก็ผิดกฎหมาย
- เกษตรกร ถ้าทำเกษตรในที่ดินตัวเอง ที่ดินเช่า หรือที่ดินที่รัฐให้ทำประโยชน์ ( เช่น สปก. ) คือถูกกฎหมาย แต่ถ้าไปบุกรุกป่า บุกรุกที่สาธารณะ อันนี้ผิดกฎหมาย
แต่กลุ่มคนที่ยกตัวอย่างมานี้ในประเทศไทยล้วนไม่อยู่ในระบบภาษีเงินได้ ซึ่งหลายคนอาจจะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์จ่ายภาษี แต่อีกหลายคนก็มีรายได้ถึงเกณฑ์แต่ด้วยความที่ไม่เข้าระบบทำให้ไม่ต้องจ่าย เราๆ ท่านๆ เลยได้ยินเรื่องราวของคนรวยเงียบ หรือที่สำนวนไทยว่า "ผ้าขี้ริ้วห่อทอง" อยู่เนืองๆ เช่น แม่ค้าแผงลอยรถเข็นหรือชาวไร่ชาวนาแต่งตัวปอนๆ แต่มีเงินส่งลูกเรียน ม.เอกชน มีเงินไปเที่ยว ตปท. ปีละครั้งสองครั้ง มีเงินออกรถเก๋ง-รถกระบะ หรือแท็กซี่บางคนก็เล่าว่าช่วงเศรษฐกิจดีๆ หักโน่นหักนี่แล้วแต่ละวันมีรายได้เฉลี่ย 1,000 บาทขึ้นไป
สิ่งเหล่านี้ทำให้คนไทยที่เป็นชาวตลาดบน ( หมายถึงคนที่มีฐานะปานกลางค่อนไปทางสูง ) ไม่ค่อยพอใจเมื่อรัฐบาลจะมีนโยบายเอื้อต่อชาวตลาดล่าง ( หมายถึงคนที่มีฐานะปานกลางค่อนไปทางล่าง ) เพราะพวกตัวเองเสียภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วยแต่เหมือนถูกละเลย ในขณะที่คนอีกกลุ่มแค่ทำตัวจนๆ หน่อยนอกจากจะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้แล้วรัฐยังอุ้มชูส่งเสริมอีกต่างหาก
( ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าความขัดแย้งทางการเมืองหลายปีที่ผ่านมาเรื่องนี้ก็เป็นปัจจัยด้วย )
สงสัยว่าในต่างประเทศที่เจริญแล้ว เขากวาดคนส่วนใหญ่เข้าระบบภาษีเงินได้ได้อย่างไรครับ
ปล.ถ้าดูสัดส่วนแรงงานไทย 38 ล้านคน เรามีแรงงานในเศรษฐกิจนอกระบบถึง 21 ล้านคน ส่วนแรงงานในระบบอยู่ที่ 17 ล้านคน
TonyMao_NK51 ( ใช้แทนอมยิ้มที่ถูกแบน )