กระทู้นี้ ขอบอกก่อนว่าทำเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่มีเจตนาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในเวลานี้ ดังนั้นจะไม่พูดคุยกันเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องนะครับ
เรื่องราววันนี้ นำเสนอการประท้วงอินโดนีเซียในปี 1998 หรือ 2541 ซึ่งเป็นช่วงยุคปลายของซูฮาร์โตแล้ว หลังจากที่ผ่านมาหลายยุคสมัยมาถึง 30 ปี
ช่วงเวลาดังกล่าว ทั่วเอเชียฟากตะวันออกกำลังมีปัญหาทางเศรษฐกิจ รวมถึงเมืองไทยช่วงนั้นที่คิดว่าพ่อแม่หรือท่านๆ หลายๆ คน กำลังเผชิญปัญหา
ในอินโดนีเซีย ซูฮาร์โตได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกสมัย แต่มันไม่ได้เหมือนครั้งก่อนด้วยความเจริญก้าวหน้าทางข่าวสารข้อมูลเทคโนโลยีใหม่
ก่อนหน้านั้น รัฐบาลอินโดนีเซียของซูฮาร์โตแสดงท่าทีคุกคามพรรค PDI ของเมกาวตี ลูกสาวของซูการ์โน ด้วยเหตุผลว่าเธอคืออุปสรรคใหญ่รัฐบาล
การประท้วงเริ่มต้นขึ้นที่เมืองเมดัน (Medan) หลังจากที่มีประกาศขึ้นน้ำมันเบนซิน 70% นักศึกษาจากวิทยาลัยครูได้รวมตัวกันประท้วงจากเหตุผลนี้
กลุ่มทหารได้ปิดล้อมวิทยาลัยและยังทำการปาระเบิดขวดใส่กลุ่มผู้ประท้วง และยังกีดกันไม่ให้ผู้ประท้วงได้ออกไปจากวิทยาลัยตลอดทั้งคืนในวันนั้น
วันต่อมา มีการชุมนุมกันที่สถานีตำรวจ ทว่าเมื่อกองกำลังเริ่มมาถึง ผู้ประท้วงกลับทำลายสถานีตำรวจ ทั้งยังเดินขบวนไปชุมนุมกันที่ตลาดย่านตัมบุง
พวกเขาฉวยโอกาสทำลายรถยนต์และเผาบ้านเรือนในแถวนั้น ทั้งยังพ่นสเปรย์ใส่ร้านค้าของคนเชื้อสายจีนว่า มิลิก์ ปริบูมี หรือ ยึดคืนโดยคนพื้นเมือง
ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้คนในทั่วเมืองเมดัน เข้าก่อจราจลและมีการปราบปรามขึ้น มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 100 กว่าคน หลังจากที่เหตุการณ์ได้สงบลง
หลังจากการประท้วงที่เมดันสงบลง ซูฮาร์โตได้เดินทางไปประชุม G15 โดยก่อนไปได้กล่าวว่า "ผมตัดสินว่าถ้าเราทำแบบนี้ต่อไปมันจะไม่ก้าวหน้า"
อย่างไรก็ตาม วันที่ 12 พฤษภาคม นักศึกษามหาวิทยาลัยตรีซะก์ติ (ตรีศักดิ) ได้ทำการประท้วงขึ้นและจะเดินขบวนไปยังอาคารรัฐสภาทางตอนใต้
อย่างไรก็ตาม กองกำลังรักษาความปลอดภัยกั้นขวางไม่ให้พวกเขาเดินไป ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นเมื่อกลุ่มนักศึกษาใช้ความรุนแรงตอบโต้ตำรวจ
เมื่อตำรวจหมดความอดทน จึงใช้ปืนกราดยิงกลุ่มนักศึกษา มีผู้เสียชีวิต 4 คนจากการกราดยิง และได้ทำให้เหตุการณ์เริ่มลุกลามไปทั่วกรุงจาการ์ต้า
เหตุการณ์ซ้ำขึ้นอีก ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าถูกผู้ประท้วงเผาและทำลาย ว่ากันว่าเจ้าของกิจการบางรายถึงกับจ้างนักเลงท้องถิ่นให้คุ้มครองกันเลย
หลังจากเหตุการณ์ที่จาการ์ต้าสงบลงในวันที่ 14 พฤษภาคม วันเดียวกันที่เมืองสุรการ์ต้า ก็เกิดการประท้วงขึ้นอีกครั้งของกลุ่มนักศึกษาในวันเดียวกัน
ผู้ประท้วงอาศัยการชุมนุมดังกล่าว ก่อความรุนแรงขึ้นทั่วเมือง ขณะที่มีการปราบปรามขึ้นจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากทั้งกระสุนปืนและแก๊สน้ำตาในวันนั้น
ในช่วงดังกล่าวนั้น มีรายงานการทำร้ายทรัพย์สิน ทำลายร้านค้าและธุรกิจของคนเชื้อสายจีน รวมไปถึงการประท้วงขนาดย่อมๆ เกิดขึ้นไปทั่วประเทศ
ผลจากการประท้วงดังกล่าว ทำให้ซูฮาร์โตต้องลาออกไปในเวลาต่อมา พร้อมทั้งได้ให้รองประธานาธิบดี บี.เจ.ฮาบิบี เข้ามารับตำแหน่งสืบต่อจากตน
ทว่า ปัญหาทางการเมืองของอินโดนีเซียก็ยังมีอยู่ จนกระทั่งมีการเลือกตั้งขึ้นในปี 2004 พร้อมกับการคว้าชัยชนะของยูโดยูโน อดีตนายพลในยุคนั้น
มีรายงานที่น่าตกใจว่า ระหว่างการประท้วงครั้งนั้น มีการข่มขืนคนเชื้อสายจีนกันด้วย รวมไปถึงการทำร้ายและฆาตกรรมคนเชื้อสายจีนในช่วงเวลานั้น
สาเหตุที่ทำให้คนเชื้อสายจีนตกเป็นเป้าหมายไปด้วยนั้น เนื่องจากเชื่อว่าคนเชื้อสายจีนให้การหนุนหลังรัฐบาลและเป็นตัวการทำให้เศรษฐกิจแย่ลง
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นไปเมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่แล้ว หรือหากเทียบกับบ้านเราก็คือเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬไปไม่กี่ปีนี้เท่านั้นเอง
การประท้วงครั้งนั้น แม้สามารถทำให้ซูฮาร์โตหลุดพ้นจากตำแหน่งไปได้ แต่มันก็แลกด้วยความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างหนักในตอนนั้น
และแน่นอนว่ามันคือฝันร้ายสำหรับคนอินโดนีเซียในยุคนั้นที่พบเจอกับเหตุการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะกับคนเชื้อสายจีนที่ต้องพบเจอกับเหตุการณ์นั้น
การประท้วงอินโดนีเซีย 1998 (2541)
เรื่องราววันนี้ นำเสนอการประท้วงอินโดนีเซียในปี 1998 หรือ 2541 ซึ่งเป็นช่วงยุคปลายของซูฮาร์โตแล้ว หลังจากที่ผ่านมาหลายยุคสมัยมาถึง 30 ปี
ช่วงเวลาดังกล่าว ทั่วเอเชียฟากตะวันออกกำลังมีปัญหาทางเศรษฐกิจ รวมถึงเมืองไทยช่วงนั้นที่คิดว่าพ่อแม่หรือท่านๆ หลายๆ คน กำลังเผชิญปัญหา
ในอินโดนีเซีย ซูฮาร์โตได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกสมัย แต่มันไม่ได้เหมือนครั้งก่อนด้วยความเจริญก้าวหน้าทางข่าวสารข้อมูลเทคโนโลยีใหม่
ก่อนหน้านั้น รัฐบาลอินโดนีเซียของซูฮาร์โตแสดงท่าทีคุกคามพรรค PDI ของเมกาวตี ลูกสาวของซูการ์โน ด้วยเหตุผลว่าเธอคืออุปสรรคใหญ่รัฐบาล
การประท้วงเริ่มต้นขึ้นที่เมืองเมดัน (Medan) หลังจากที่มีประกาศขึ้นน้ำมันเบนซิน 70% นักศึกษาจากวิทยาลัยครูได้รวมตัวกันประท้วงจากเหตุผลนี้
กลุ่มทหารได้ปิดล้อมวิทยาลัยและยังทำการปาระเบิดขวดใส่กลุ่มผู้ประท้วง และยังกีดกันไม่ให้ผู้ประท้วงได้ออกไปจากวิทยาลัยตลอดทั้งคืนในวันนั้น
วันต่อมา มีการชุมนุมกันที่สถานีตำรวจ ทว่าเมื่อกองกำลังเริ่มมาถึง ผู้ประท้วงกลับทำลายสถานีตำรวจ ทั้งยังเดินขบวนไปชุมนุมกันที่ตลาดย่านตัมบุง
พวกเขาฉวยโอกาสทำลายรถยนต์และเผาบ้านเรือนในแถวนั้น ทั้งยังพ่นสเปรย์ใส่ร้านค้าของคนเชื้อสายจีนว่า มิลิก์ ปริบูมี หรือ ยึดคืนโดยคนพื้นเมือง
ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้คนในทั่วเมืองเมดัน เข้าก่อจราจลและมีการปราบปรามขึ้น มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 100 กว่าคน หลังจากที่เหตุการณ์ได้สงบลง
หลังจากการประท้วงที่เมดันสงบลง ซูฮาร์โตได้เดินทางไปประชุม G15 โดยก่อนไปได้กล่าวว่า "ผมตัดสินว่าถ้าเราทำแบบนี้ต่อไปมันจะไม่ก้าวหน้า"
อย่างไรก็ตาม วันที่ 12 พฤษภาคม นักศึกษามหาวิทยาลัยตรีซะก์ติ (ตรีศักดิ) ได้ทำการประท้วงขึ้นและจะเดินขบวนไปยังอาคารรัฐสภาทางตอนใต้
อย่างไรก็ตาม กองกำลังรักษาความปลอดภัยกั้นขวางไม่ให้พวกเขาเดินไป ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นเมื่อกลุ่มนักศึกษาใช้ความรุนแรงตอบโต้ตำรวจ
เมื่อตำรวจหมดความอดทน จึงใช้ปืนกราดยิงกลุ่มนักศึกษา มีผู้เสียชีวิต 4 คนจากการกราดยิง และได้ทำให้เหตุการณ์เริ่มลุกลามไปทั่วกรุงจาการ์ต้า
เหตุการณ์ซ้ำขึ้นอีก ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าถูกผู้ประท้วงเผาและทำลาย ว่ากันว่าเจ้าของกิจการบางรายถึงกับจ้างนักเลงท้องถิ่นให้คุ้มครองกันเลย
หลังจากเหตุการณ์ที่จาการ์ต้าสงบลงในวันที่ 14 พฤษภาคม วันเดียวกันที่เมืองสุรการ์ต้า ก็เกิดการประท้วงขึ้นอีกครั้งของกลุ่มนักศึกษาในวันเดียวกัน
ผู้ประท้วงอาศัยการชุมนุมดังกล่าว ก่อความรุนแรงขึ้นทั่วเมือง ขณะที่มีการปราบปรามขึ้นจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากทั้งกระสุนปืนและแก๊สน้ำตาในวันนั้น
ในช่วงดังกล่าวนั้น มีรายงานการทำร้ายทรัพย์สิน ทำลายร้านค้าและธุรกิจของคนเชื้อสายจีน รวมไปถึงการประท้วงขนาดย่อมๆ เกิดขึ้นไปทั่วประเทศ
ผลจากการประท้วงดังกล่าว ทำให้ซูฮาร์โตต้องลาออกไปในเวลาต่อมา พร้อมทั้งได้ให้รองประธานาธิบดี บี.เจ.ฮาบิบี เข้ามารับตำแหน่งสืบต่อจากตน
ทว่า ปัญหาทางการเมืองของอินโดนีเซียก็ยังมีอยู่ จนกระทั่งมีการเลือกตั้งขึ้นในปี 2004 พร้อมกับการคว้าชัยชนะของยูโดยูโน อดีตนายพลในยุคนั้น
มีรายงานที่น่าตกใจว่า ระหว่างการประท้วงครั้งนั้น มีการข่มขืนคนเชื้อสายจีนกันด้วย รวมไปถึงการทำร้ายและฆาตกรรมคนเชื้อสายจีนในช่วงเวลานั้น
สาเหตุที่ทำให้คนเชื้อสายจีนตกเป็นเป้าหมายไปด้วยนั้น เนื่องจากเชื่อว่าคนเชื้อสายจีนให้การหนุนหลังรัฐบาลและเป็นตัวการทำให้เศรษฐกิจแย่ลง
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นไปเมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่แล้ว หรือหากเทียบกับบ้านเราก็คือเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬไปไม่กี่ปีนี้เท่านั้นเอง
การประท้วงครั้งนั้น แม้สามารถทำให้ซูฮาร์โตหลุดพ้นจากตำแหน่งไปได้ แต่มันก็แลกด้วยความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างหนักในตอนนั้น
และแน่นอนว่ามันคือฝันร้ายสำหรับคนอินโดนีเซียในยุคนั้นที่พบเจอกับเหตุการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะกับคนเชื้อสายจีนที่ต้องพบเจอกับเหตุการณ์นั้น