เหตุการณ์การจลาจลวันที่ 12-15 พฤษภาคม 1998
วันที่ 13 พฤษภาคม 1998 ที่มหาวิทยาลัยตรีศักติได้เป็นศูนย์กลางของการแสดงความไว้อาลัยแก่บรรดานักศึกษามหาวิทยาลัยตรีศักติที่ถูกยิงเสียชีวิต มีผู้นำทางการเมืองอย่างนางเมกาวตี และอามีน ราอีส, ผู้นำทหาร, กลุ่มปัญญาชน เข้าร่วมในการแถลงการณ์ประณามการใช้ความรุนแรงที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย นอกจากนี้ก็มีการไว้อาลัยให้แก่นักศึกษาทั้งสี่ทั่วกรุงจาการ์ตา มีการอ่านแถลงการณ์สมานฉันท์, ลดธงลงครึ่งเสา, ในมหาวิทยาลัยบางแห่งอธิการบดีสั่งให้หยุดพักการเรียนเพื่อเป็นการไว้อาลัยให้แก่นักศึกษาที่เสียชีวิตทั้งสี่ด้วย ปฏิกิริยาตอบสนองจากนานาประเทศต่อเหตุการณ์ตรีศักติที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อมวลชนเป็นไปในทางลบอย่างมาก รองนายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย Tim Fisher และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐอเมริกานาง Madeline Albright ได้ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในภาคธุรกิจทั้งตลาดหุ้นและตลาดเงินก็ทรุดตัวลงอย่างรุนแรงหลังจากที่ตกต่ำอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามีนักลงทุนถอนตัวจากการลงทุนในอินโดนีเซียหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ตรีศักติ [7]
พวกชนชั้นล่างที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจจากการที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคพุ่งสูงและถูกกักตุนโดยพ่อค้าแม่ค้านั้น ได้ก่อการจลาจลขึ้น ในวันที่ 12 พฤษภาคม 1998 ที่ถนนใหญ่สายบันดุง-จิเรอบน เมืองจาติวังงี่ (Jatiwangi) ในขณะที่มวลชนทำการชุมนุมพวกเขาได้ตะโกนคำว่า “ลดราคา!” พร้อม ๆ กับทำลายร้านค้าตั้งแต่ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าไปจนถึงร้านขายสมุนไพร และตามด้วยการเผาทำลาย และเกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้ในที่อื่น ๆ ด้วยเช่นที่ชวาตะวันตกได้แก่ ปามานูกัน (Pamanukan), เจียเซิม (Ciasem), เลอมาห์ อาบัง (Lemah Abang), เปรียงงัน (Priangan), เปิงงาเลิงงัน (Pengalengan), จิจาเลิงกา (Cicalengka), จิมินดี (Cimindi), ที่ชวากลางได้แก่ โลซารี (Losari), โบโตตซารี บันยูมัส (Bototsari Banyumas), ที่นูซา เติงการา บารัต คือที่ Lombok Tengah, ที่สุลาเวสีใต้ได้แก่ที่อูจุงปันดัง [8] ด้วยภาวะเช่นนี้แม้ไม่ต้องมีการชี้นำหรือรอให้กลุ่มนักศึกษาปัญญาชนนำการเคลื่อนไหว กลุ่มชนชั้นล่างก็พร้อมที่จะทำการเคลื่อนไหวเพื่อปากท้องของตัวเอง แม้แต่ในหมู่ของนักศึกษาเองมีจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเช่นกัน ตั้งแต่ค่าครองชีพที่สูงขึ้น, ราคาอุปกรณ์การเรียนที่เพิ่มขึ้น, รวมถึงค่าเล่าเรียนก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ที่สุราบายานักศึกษาจำนวน 500 คนจากทั้งหมด 1,100 คนขอผัดผ่อนการจ่ายค่าหน่วยกิต [9] สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นทั่วไปแม้แต่ในเมืองใหญ่ ๆ ก็ไม่เว้น
สถานการณ์ดังกล่าวดำเนินไปด้วยความตึงเครียดอย่างยิ่ง ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์การสังหารนักศึกษามหาวิทยาลัยตรีศักติ 4 คน จึงเป็นเหมือนสลักระเบิดที่ถูกดึงออก กระแสความต้องการให้ประธานาธิบดีซูฮาร์โตลาออกจากตำแหน่งรุนแรงมากขึ้น จนขยายไปทั่วประเทศ ระเบิดขึ้นเป็นการจลาจลที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีประชาชนเข้าร่วมมากมายไม่จำกัดเฉพาะนักศึกษาเท่านั้น เกิดการจลาจล, ปล้นสดมภ์และเผาบ้านเรือน ห้างร้านต่างๆ ขึ้นทั่วจาการ์ตา ในย่านที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะร้านค้าของที่เป็นของนักธุรกิจของชาวจีน มีผู้หญิงจีนเป็นจำนวนมากถูกกระทำทารุณกรรมและข่มขืนเกิดการปล้นฆ่านับร้อย คนจีนกลายเป็นเป้าของการฆ่า ปล้น และข่มขืน มีรายงานตัวเลขว่าผู้หญิงอย่างน้อย 50 กว่ารายถูกข่มขืนจากเหตุจลาจลดังกล่าว และที่ยังไม่กล้ามาแจ้งความอีกไม่ทราบจำนวน
ความโกรธแค้นที่มี่ต่อคนจีนในอินโดนีเซียนั้นมีรากเหง้ามายาวนาน เนื่องจากสภาพความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่ดำรงอยู่มานานหลายทศวรรษ ทำให้คนจีนกลายเป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่มีความเป็นอยู่อย่างอภิสิทธิ์ มีบ้านหลังใหญ่กลางใจเมือง จับจ่ายซื้อของในห้างสรรพสินค้าหรูกลางกรุง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีเพียงกลุ่มคนจีนเพียงกลุ่มเดียวที่ร่ำรวยและมีชีวิตสะดวกสบาย หากแต่ว่ารูปลักษณ์กายภาพภายนอกของคนจีนนั้นบ่งบอกถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนจากคนกลุ่มอื่นๆ จึงกลายเป็นเป้าของการก่อเหตุมากกว่าคนกลุ่มอื่นๆ
คนในจาการ์ตาที่เป็นคนต่างชาติและคนจีนอพยพออกนอกจาการ์ตาประมาณ 150,000 คน ในจาการ์ตาพบศพ 250 ถูกเผา, ที่ตังเกอรัง (Tangerang) 119 ศพและที่เบอกาซี่ (Bekasi) 90 ศพ สิ่งก่อสร้างถูกเผาทำลายอย่างน้อยที่สุด 4,939 หลัง รถยนต์ถูกเผา 1,119 คัน, รถโดยสารให้บริการถูกเผา 66 คัน และรถจักรยานยนต์ถกถูกเผาและทำลาย 821 คัน [10] ก่อนที่การจลาจลจะยุติลงคนอินโดนีเซียเสียชีวิตกว่า 1,000 คน บ้านและร้านค้าถูกเผาทำลายไปเป็นจำนวนมาก พร้อมๆ กับการเกิดการจลาจลดังกล่าวความรู้สึกต่อต้านซูฮาร์โตและกองทัพถูกแสดงออกอย่างรุนแรงโดยหมู่ชนที่คลุ้มคลั่ง ประชาชนร้องตะโกน “ต่อต้านซูฮาร์โต, ต่อต้านกองทัพ” [11]
แม้ว่าจะเกิดการจลาจลจนบ้านเมืองลุกเป็นไฟ แต่ซูฮาร์โตยังพยายามจะแก้ไขสถานการณ์ด้วยการเชิญนักการเมือง, ผู้นำศาสนา, ปัญญาชน และกองทัพเข้าหารือ และสัญญากับประชาชนว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีให้ปลอดจากการคอรัปชั่นและเป็นคนที่ไม่ใช่พวกพ้องของตนเอง
แต่อย่างไรก็ตามหลังจากพยายามยื้อเวลาเก้าอี้ประธานาธิบดีไว้ให้นานที่สุด ซูฮาร์โตก็ต้านแรงกดดันและเรียกร้องให้ลาออกจากกลุ่มนักศึกษาและฝ่ายต่างๆ ทางการเมืองอย่างหนักหน่วงไม่ได้ ในที่สุดซูฮาร์โตได้กล่าวแถลงการณ์ประกาศลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 1998 ปิดฉากยุคระเบียบใหม่ที่ดำเนินมา 32 ปี
โศกนาฏกรรมในอินโดนีเซียครั้งนั้นทำลายภาพ “เอกภาพท่ามกลางความหลากลาย” ซึ่งเป็นคำขวัญของประเทศอินโดนีเซีย ชาวจีนในอินโดนีเซียต้องอยู่อย่างอกสั่นขวัญแขวน ต้องระมัดระวังตัวและระแวงระวังเนื่องจากภาพการเผาบ้านเรือนและปล้น ฆ่า ข่มขืนคนจีนเป็นภาพที่น่าสะพรึงกลัวยิ่งสำหรับพวกเขา แม้ว่าเหตุการณ์ฝันร้ายเหล่านั้นได้ผ่านไปแล้ว อินโดนีเซียได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยจนได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศที่มีพัฒนาการด้านประชาธิปไตยดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ลึกๆ ในใจของคนจีนจำนวนหนึ่งยังไม่ลืมภาพเหตุการณ์โศกนาฏกรรมปี 1998 ซึ่งสายลมแห่งประวัติศาสตร์อาจกลับหวนกลับมาอีกเมื่อใดไม่มีใครรู้ หากว่าความเหลื่อมล้ำทางสังคมยังดำรงอยู่ ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนยังไม่ถูกถมให้มันแคบลงดังเช่นทุกวันนี้ กองน้ำมันที่ราดรดอยู่ทั่วไป อาจรอคอยเพียงแค่ไม้ขีดก้านเล็กๆ มาจุดมัน
........................
ย้อนรอยอดีต ปี 1998 อยากให้ลองอ่านเหตุจราจลใน อินโดนีเซีย 1998 ตอนนั้นชาวจีนอินโดอพยพออกนอกประเทศ
วันที่ 13 พฤษภาคม 1998 ที่มหาวิทยาลัยตรีศักติได้เป็นศูนย์กลางของการแสดงความไว้อาลัยแก่บรรดานักศึกษามหาวิทยาลัยตรีศักติที่ถูกยิงเสียชีวิต มีผู้นำทางการเมืองอย่างนางเมกาวตี และอามีน ราอีส, ผู้นำทหาร, กลุ่มปัญญาชน เข้าร่วมในการแถลงการณ์ประณามการใช้ความรุนแรงที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย นอกจากนี้ก็มีการไว้อาลัยให้แก่นักศึกษาทั้งสี่ทั่วกรุงจาการ์ตา มีการอ่านแถลงการณ์สมานฉันท์, ลดธงลงครึ่งเสา, ในมหาวิทยาลัยบางแห่งอธิการบดีสั่งให้หยุดพักการเรียนเพื่อเป็นการไว้อาลัยให้แก่นักศึกษาที่เสียชีวิตทั้งสี่ด้วย ปฏิกิริยาตอบสนองจากนานาประเทศต่อเหตุการณ์ตรีศักติที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อมวลชนเป็นไปในทางลบอย่างมาก รองนายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย Tim Fisher และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐอเมริกานาง Madeline Albright ได้ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในภาคธุรกิจทั้งตลาดหุ้นและตลาดเงินก็ทรุดตัวลงอย่างรุนแรงหลังจากที่ตกต่ำอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามีนักลงทุนถอนตัวจากการลงทุนในอินโดนีเซียหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ตรีศักติ [7]
พวกชนชั้นล่างที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจจากการที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคพุ่งสูงและถูกกักตุนโดยพ่อค้าแม่ค้านั้น ได้ก่อการจลาจลขึ้น ในวันที่ 12 พฤษภาคม 1998 ที่ถนนใหญ่สายบันดุง-จิเรอบน เมืองจาติวังงี่ (Jatiwangi) ในขณะที่มวลชนทำการชุมนุมพวกเขาได้ตะโกนคำว่า “ลดราคา!” พร้อม ๆ กับทำลายร้านค้าตั้งแต่ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าไปจนถึงร้านขายสมุนไพร และตามด้วยการเผาทำลาย และเกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้ในที่อื่น ๆ ด้วยเช่นที่ชวาตะวันตกได้แก่ ปามานูกัน (Pamanukan), เจียเซิม (Ciasem), เลอมาห์ อาบัง (Lemah Abang), เปรียงงัน (Priangan), เปิงงาเลิงงัน (Pengalengan), จิจาเลิงกา (Cicalengka), จิมินดี (Cimindi), ที่ชวากลางได้แก่ โลซารี (Losari), โบโตตซารี บันยูมัส (Bototsari Banyumas), ที่นูซา เติงการา บารัต คือที่ Lombok Tengah, ที่สุลาเวสีใต้ได้แก่ที่อูจุงปันดัง [8] ด้วยภาวะเช่นนี้แม้ไม่ต้องมีการชี้นำหรือรอให้กลุ่มนักศึกษาปัญญาชนนำการเคลื่อนไหว กลุ่มชนชั้นล่างก็พร้อมที่จะทำการเคลื่อนไหวเพื่อปากท้องของตัวเอง แม้แต่ในหมู่ของนักศึกษาเองมีจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเช่นกัน ตั้งแต่ค่าครองชีพที่สูงขึ้น, ราคาอุปกรณ์การเรียนที่เพิ่มขึ้น, รวมถึงค่าเล่าเรียนก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ที่สุราบายานักศึกษาจำนวน 500 คนจากทั้งหมด 1,100 คนขอผัดผ่อนการจ่ายค่าหน่วยกิต [9] สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นทั่วไปแม้แต่ในเมืองใหญ่ ๆ ก็ไม่เว้น
สถานการณ์ดังกล่าวดำเนินไปด้วยความตึงเครียดอย่างยิ่ง ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์การสังหารนักศึกษามหาวิทยาลัยตรีศักติ 4 คน จึงเป็นเหมือนสลักระเบิดที่ถูกดึงออก กระแสความต้องการให้ประธานาธิบดีซูฮาร์โตลาออกจากตำแหน่งรุนแรงมากขึ้น จนขยายไปทั่วประเทศ ระเบิดขึ้นเป็นการจลาจลที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีประชาชนเข้าร่วมมากมายไม่จำกัดเฉพาะนักศึกษาเท่านั้น เกิดการจลาจล, ปล้นสดมภ์และเผาบ้านเรือน ห้างร้านต่างๆ ขึ้นทั่วจาการ์ตา ในย่านที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะร้านค้าของที่เป็นของนักธุรกิจของชาวจีน มีผู้หญิงจีนเป็นจำนวนมากถูกกระทำทารุณกรรมและข่มขืนเกิดการปล้นฆ่านับร้อย คนจีนกลายเป็นเป้าของการฆ่า ปล้น และข่มขืน มีรายงานตัวเลขว่าผู้หญิงอย่างน้อย 50 กว่ารายถูกข่มขืนจากเหตุจลาจลดังกล่าว และที่ยังไม่กล้ามาแจ้งความอีกไม่ทราบจำนวน
ความโกรธแค้นที่มี่ต่อคนจีนในอินโดนีเซียนั้นมีรากเหง้ามายาวนาน เนื่องจากสภาพความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่ดำรงอยู่มานานหลายทศวรรษ ทำให้คนจีนกลายเป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่มีความเป็นอยู่อย่างอภิสิทธิ์ มีบ้านหลังใหญ่กลางใจเมือง จับจ่ายซื้อของในห้างสรรพสินค้าหรูกลางกรุง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีเพียงกลุ่มคนจีนเพียงกลุ่มเดียวที่ร่ำรวยและมีชีวิตสะดวกสบาย หากแต่ว่ารูปลักษณ์กายภาพภายนอกของคนจีนนั้นบ่งบอกถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนจากคนกลุ่มอื่นๆ จึงกลายเป็นเป้าของการก่อเหตุมากกว่าคนกลุ่มอื่นๆ
คนในจาการ์ตาที่เป็นคนต่างชาติและคนจีนอพยพออกนอกจาการ์ตาประมาณ 150,000 คน ในจาการ์ตาพบศพ 250 ถูกเผา, ที่ตังเกอรัง (Tangerang) 119 ศพและที่เบอกาซี่ (Bekasi) 90 ศพ สิ่งก่อสร้างถูกเผาทำลายอย่างน้อยที่สุด 4,939 หลัง รถยนต์ถูกเผา 1,119 คัน, รถโดยสารให้บริการถูกเผา 66 คัน และรถจักรยานยนต์ถกถูกเผาและทำลาย 821 คัน [10] ก่อนที่การจลาจลจะยุติลงคนอินโดนีเซียเสียชีวิตกว่า 1,000 คน บ้านและร้านค้าถูกเผาทำลายไปเป็นจำนวนมาก พร้อมๆ กับการเกิดการจลาจลดังกล่าวความรู้สึกต่อต้านซูฮาร์โตและกองทัพถูกแสดงออกอย่างรุนแรงโดยหมู่ชนที่คลุ้มคลั่ง ประชาชนร้องตะโกน “ต่อต้านซูฮาร์โต, ต่อต้านกองทัพ” [11]
แม้ว่าจะเกิดการจลาจลจนบ้านเมืองลุกเป็นไฟ แต่ซูฮาร์โตยังพยายามจะแก้ไขสถานการณ์ด้วยการเชิญนักการเมือง, ผู้นำศาสนา, ปัญญาชน และกองทัพเข้าหารือ และสัญญากับประชาชนว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีให้ปลอดจากการคอรัปชั่นและเป็นคนที่ไม่ใช่พวกพ้องของตนเอง
แต่อย่างไรก็ตามหลังจากพยายามยื้อเวลาเก้าอี้ประธานาธิบดีไว้ให้นานที่สุด ซูฮาร์โตก็ต้านแรงกดดันและเรียกร้องให้ลาออกจากกลุ่มนักศึกษาและฝ่ายต่างๆ ทางการเมืองอย่างหนักหน่วงไม่ได้ ในที่สุดซูฮาร์โตได้กล่าวแถลงการณ์ประกาศลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 1998 ปิดฉากยุคระเบียบใหม่ที่ดำเนินมา 32 ปี
โศกนาฏกรรมในอินโดนีเซียครั้งนั้นทำลายภาพ “เอกภาพท่ามกลางความหลากลาย” ซึ่งเป็นคำขวัญของประเทศอินโดนีเซีย ชาวจีนในอินโดนีเซียต้องอยู่อย่างอกสั่นขวัญแขวน ต้องระมัดระวังตัวและระแวงระวังเนื่องจากภาพการเผาบ้านเรือนและปล้น ฆ่า ข่มขืนคนจีนเป็นภาพที่น่าสะพรึงกลัวยิ่งสำหรับพวกเขา แม้ว่าเหตุการณ์ฝันร้ายเหล่านั้นได้ผ่านไปแล้ว อินโดนีเซียได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยจนได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศที่มีพัฒนาการด้านประชาธิปไตยดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ลึกๆ ในใจของคนจีนจำนวนหนึ่งยังไม่ลืมภาพเหตุการณ์โศกนาฏกรรมปี 1998 ซึ่งสายลมแห่งประวัติศาสตร์อาจกลับหวนกลับมาอีกเมื่อใดไม่มีใครรู้ หากว่าความเหลื่อมล้ำทางสังคมยังดำรงอยู่ ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนยังไม่ถูกถมให้มันแคบลงดังเช่นทุกวันนี้ กองน้ำมันที่ราดรดอยู่ทั่วไป อาจรอคอยเพียงแค่ไม้ขีดก้านเล็กๆ มาจุดมัน
........................