สับ “เรนนี่”หน้าหนากล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากทรงช้างไม่เป็น อ่าน!

คลิปนี้ ขอ กล่าวถึง .. 
“ช้างสำคัญของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” หน้าไหน? อ้าง .. พระเจ้าตากทรงช้างไม่เป็น 

ส่วนพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี นั้น 
เชื่อว่าทุกๆท่าน คงพอทราบกันบ้าง หรือ หาข้อมูลกันได้ไม่ยาก 
แต่ ที่ถูกบิดเบือนไปจาก “พระราชพงศาวดาร” ที่มีกลุ่มบุคคลสร้างเรื่องราวขึ้นมา 
และเรียกเรื่องราวเหล่านั้นว่า “ประวัติศาสตร์นอกตำรา “อย่างไร้จิตสำนึก ... 

และ ยินดีรับหากทัวร์แฟนคลับนับล้าน ของกลุ่มคนเหล่านี้ จะมาลง หากไม่พอใจ เชิญ! 

ขออนุญาตแปะคลิป 

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


“ช้างพังคีรีบัญชร หรือช้างพัง คีรีกุญชรฉัททันต์” เป็นช้างสำคัญที่ได้จากเมืองนครนายก เมืองนครนายก เป็น
หัวเมืองหน้าด่าน ด้านตะวันออกที่สำคัญมาก แห่ง หนึ่งในสมัยกรุงศรีฯ 
มีร่องรอยทางโบราณคดี ว่ามีคนและสัตว์อาศัยอยู่มานานมากแล้ว ก่อนพุทธกาลเสียอีก
 เช่น  แหล่งโบราณคดี ยุคก่อนประวัติศาสตร์เขาเพิ่ม ยาวจนมาถึง แหล่งโบราณคดียุคประวัติศาสตร์ตอนต้น
 ที่ ดงละคร และมาถึงยุคประวัติศาสตร์ร่วมสมัย กรุงศรีอยุธยา ที่ บ้านนา ถึง อ.เมือง 

ในพระราชพงศาวดาร กรุงธนบุรี จะกล่าวถึง การได้ช้างมา 2 ช่วงเวลาดังนี้(บ้านพรานนก หลักจากชนะพม่า ที่มาจากปราจีนบุรี) 

” ครั้นรุ่งขึ้น ณ วัน จันทร์ เดือนยี่ ขึ้น หก ค่ำ ขุนชำนาญไพรสณฑ์ (ชื่อทินนามไม่ใช่ชื่อคน) แลนายกองช้างสามิภักดิ์เอาช้างมา ถวาย พลาย 5 พัง 1 เข้าเป็น 6 ช้าง แล้วจึงนำเสด็จจนถึงบ้านดง” (บ้านดง อยู่ตรงไหนค่อยว่ากันอีกที)

 ” ครั้น ณ วัน อังคาร เดือนยี่ ขึ้น 7 ค่ำ ปีจออัฐศก จึงเสด็จทรงม้านำพลทหาร 20 ฝ่าเข้าไป ขุนหมื่น พัน ทนาย ชาวบ้านดง มากกว่าพัน ออกต่อสู้ …. แตกกระจักกระจายแหกค่ายหนีไป ได้ช้างพลาย ช้างพัง 7 ช้าง* และได้หิรัญสุวรรณธัญญาหารเป็นอันมาก

” มาตรงจุดนี้ จะเห็นได้ว่าพระเจ้าตาก ได้ช้างศึกรวม 13 เชือกและเหตุการณ์ที่มีการระบุถึงการทรงช้างมีดังนี้ 

1. เหตุการณ์ พบนายกล่ำ “เสด็จทรงช้างพระที่นั่งสรรพเครื่อง สรรพาวุธ ทรงพระแสงปืนต้นรางแดง กับ หมู่พลโยธาหาญ” เหตุการณ์นี้ไม่ปรากฏชื่อช้าง

 2. เหตุการณ์ยึดเมืองระยอง “ตรัสทราบด้วยพระญาณด้วยอาการกิริยา จึงตรัสให้หลวงพรหมเสนา คุมตัวจำไว้ แลสั่งให้ตระเตรียมสรรพอาวุธ 
ผูกช้าง ม้า ปืนใหญ่ ปืนน้อย ตั้งจุกทางไว้ครบ สรรพ” (ผูกช้างในที่นี่ คือ เตรียมแต่งช้างไว้รับศึก) เหตุการณ์นี้ไม่ปรากฏชื่อช้าง 

3. เหตุการณ์ปราบทองอยู่นกเล็ก และ เสด็จเลียบเมือง ” ณ.เมืองชลบุรี ประทับ อยู่ ณ เก๋งจีน แล้ว นายทองอยู่นกเล็ก จึงนำเสด็จทรงช้างพระที่นั่ง
 นายบุญมี มหาดเล็ก เป็นควาญท้าย เสด็จเลียบทอดพระเนตร เมืองชลบุรี ” เหตุการณ์นี้ไม่ปรากฏชื่อ ช้าง

 4. เหตุการณ์ ยึดเมืองจันท์ “จึงเสด็จทรงช้างพระที่นั่ง พังคีรีกุญชรฉัททันต์ เข้าทะลายประตูใหญ่” เหตุการณ์นี้ปรากฏชื่อช้างว่า พังคีรีกุญชรฉัททันต์ 

บางฉบับเขียน พังคีรีบัญชร จริงอยู่ว่า นี้เป็นชื่อที่ปรากฏในพงศาวดาร นั้นแต่อาจเป็น การเสริมมาในชั้นหลังก็ได้

 เพราะเป็นช้างที่สร้างวีรกรรมสำคัญ จึงต้องมีการตั้งชื่อแบบพิเศษด้วย และอีกหลังฐานหนึ่งที่กล่าวถึงช้างที่ได้ระหว่างการเดินทาง คือ

 จดหมายเหตุความทรงจำของกรมนรินทรเทวี กล่าวว่า.... 

” แผ่นดินต้น กับ ไพร่ 500 ไปปะพระเชียงเงิน ให้พลายแหวน กับ พังหมอน *ทรง” พระเชียงเงินนี้ได้ฝ่าวงล้อมมาด้วยกัน 
แต่เรื่องให้ช้างนี้ควรจะเป็นขุนชำนาญฯ มากกว่า ผู้เล่าคงจำผิดคน เหตุการณ์ ต่อมา กล่าวถึง นางพระยาช้างเผือกเมืองฝาง
 ก็ได้พูดถึง 2 ช้างนี้ด้วยเช่นกันว่า ” แล้วเสด็จกลับมาที่ หาดสูง เสด็จทรงพลายแหวนประหาร ชีวิตร ผู้กระทำผิด 
คิดมิชอบเสร็จแล้วให้พลายแหวน เป็น พระยาปราบ พังหมอน (เปน)แม่นมนางพระยา แล้วเสด็จกลับมากรุง”

 *ฉบับพระเจ้าวรวงษ์เธอ 5 พระองค์ ปีมะโรง2459 เรียกว่า “พังม้วน” ดังนั้นจากคำให้การนี้ ทำให้เราทราบถึง

 ช้างที่มีชื่อว่า พลายแหวน กับ พังหมอน 2 ช้างนี้มีความสำคัญอย่างไรถึงได้อยู่ในระดับความทรงจำ 

ปรากฏชื่อ เจ้าพระยาปราบ อีกครั้งหนึ่ง ในพงศาวดาร เมื่อครั้ง นางพระยาล้ม ว่า

 ” ณ.วัน จันทร์ เดือน สิบ แรม 12 ค่ำปีวอก อัฐศก (2319)เพลาบ่าย นางพระยาช้างเผือกล้ม 

จึงดำรัสให้ฝั่งไว้ ณ . วัดสำเพ็ง ที่ฝั่ง ‘เจ้าพระยาปราบไตรจักร’ นั้น” 

เครดิตข้อมูล: ประวัติศาสตร์ -วิกิพีเดีย

 เครดิต เสียง : แหล่พระเจ้าตากสิน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่