ตอบปัญหานักปราชญ์ตะวันตก เกี่ยวกับ "ศีล"
ข้อความนี้ คัดมาจากหนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับขยาย ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) หน้า ๗๑๓-๗๑๘ แล้วตอบคำถามเพิ่มเติมของหลวงพ่อประยุทธ์ ของนักปราชญ์ตะวันตกว่า
"เคยมีปราชญ์ฝ่ายตะวันตบางท่าน เขียนข้อความทำนองตำหนิพระพุทธศาสนาไว้ว่า มีคำสอนมุ่งแต่ในทางปฏิเสธ (negative) คือ สอนให้ละเว้นความชั่วอย่างนั้นอย่างนี้ฝ่ายเีดยว ไม่ได้สอนย้ำชักจูงเร่งรัดพุทธศาสนิกให้ขวนขายทำดี (positive) ไม่ได้แนะนำว่า เมื่อเว้นชั่วนั้นๆ แล้ว จะพึงทำควมดีอย่างไรต่อไป มีคำสอนเป็นสกวิสัย (subjective) เป็นได้เพียงจริยธรรมแห่งความคิด (an ethic of thoughts) เป็นคำสอนแบถอนตัวและเฉื่อยเฉย (passive) ทำให้พุทธศาสนิกชนพอใจแต่เพียงแค่งดเว้นทำความชั่ว คอยระวังเพียงไม่ให้ตนต้องเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับบาป ไม่เอาใจใส่ขวนขวายช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยการลงมือกระทำการปลดเปลื้องความทุกข์ และสร้างเสริมประโยชน์สุขจริงจัง"
ตอบว่า
เราถือว่าเป็นความคิดเห็นของเขา เราไม่ถือเป็นสิ่งไม่ดี เราถือว่าเป็นกลางๆ ถือว่าเป็นข้อคิดของเขา ทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้ ไม่ใช่ว่าใครที่คิดเห็นไม่ตรงกับเรากลายเป็นกล่าวหาเรา ให้ร้ายเรา เป็นการอคติ พระพุทธองค์ไม่เคยสอนอย่างนี้ แต่บางคนกลายเป็นคิดอย่างนี้หมด ใครแตะไม่ได้ ใครแตะเป็นปรปักษ์ เป็นอคติ
บุคคลตะวันตกคนนี้เขายังเข้าใจพระพุทธศาสนาเพียงด้านเดียว เพราะไม่ได้เข้ามาศึกษาอย่างจริงจัง ฉะนั้น แนะนำว่าควรเข้ามาศึกษาอย่างจริงจัง ถึงจะได้รู้ทั้งรอบด้าน สมมติว่ามือมีอยู่ ๕ นิ้ว เขารู้แค่ นิ้วเดียว
"๑. ศีลในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของพุทธธรรม มิใช่เป็นเทวโองการ หรือคำสั่งบังคับสำเร็จรูป ที่กำหนดให้ศาสนิกประพฤติปฏิบัติอย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง สุดแต่เทวประสงค์ ด้วยอาศัยศรัทธาแบบภักดี ซึ่งไม่จำเป็นต้องทราบเหตุผลที่เชื่อมโยงต่อเนื่องมา"
ศีลเป็นการชี้แนะ ไม่ได้บังคับว่าคุณจะทำหรือไม่ทำ คุณทำดีก็ได้รับผลดี คุณไม่ทำดีคุณก็ได้รับผลเสียหาย
สิ่งที่ดียกขึ้นมา ดียังไงก็บอกเขา คุณต้องการคุณไปทำคุณจะได้ดีอะไร คุณไม่ทำคุณจะได้อะไร นี่คือ จริต นิสัย ปรัชญาของพระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้าไม่มีการไปบังคับใครให้ทำ
เพราะว่าพระพุทธเจ้าถึงหลักประกาศชัดเจนเลยว่า "ทางสายกลาง" ถ้าพระพุทธเจ้าไปทำอย่างนั้น ก็จะผิดสายกลาง แต่ถามว่ามีการบังคับไหม? ก็มีเหมือนกัน แต่บังคับล่างๆ ขึ้นมา ตามกติกา ตามภูมิ ตามภาวะกรรม หรือสภาวธรรม
คุณพร้อมแล้ว คุณฟังแล้วคุณดีแล้ว พร้อมแล้วที่จะมาเป็นพระสงฆ์ ก็ต้องเข้ากติกาแล้ว พอเราฟังให้ดีแล้ว เราอยากจะเป็นอุบาสก อุบาสิกาถือศีล ๘ แล้ว เห็นไหม? คุณต้องสมัครใจก่อน พอถึวขั้นนี้แล้วก็จะมีขบวนการว่าจะให้ฝึกสอนยังไงเพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย
พระพุทธเจ้าจะคุยให้ฟังให้เกิดวิชชา ให้สรุปแล้วว่าจะต้องทำอย่างนี้ ถ้าเราบอกว่าจะเอาอย่างนี้เอา พระพุทธเจ้าท่านก็จะบอกว่าขั้นตอนที่ ๑ ถือศีล ๕ ก่อน ตอนที่ ๒ ถือศีล ๘ ขั้นตอนที่ ๓ ถือศีล ๒๒๗ ข้อ เป็นขั้นๆ ตอนไป
ตอบปัญหานักปราชญ์ตะวันตก เกี่ยวกับ "ศีล"
ข้อความนี้ คัดมาจากหนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับขยาย ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) หน้า ๗๑๓-๗๑๘ แล้วตอบคำถามเพิ่มเติมของหลวงพ่อประยุทธ์ ของนักปราชญ์ตะวันตกว่า
"เคยมีปราชญ์ฝ่ายตะวันตบางท่าน เขียนข้อความทำนองตำหนิพระพุทธศาสนาไว้ว่า มีคำสอนมุ่งแต่ในทางปฏิเสธ (negative) คือ สอนให้ละเว้นความชั่วอย่างนั้นอย่างนี้ฝ่ายเีดยว ไม่ได้สอนย้ำชักจูงเร่งรัดพุทธศาสนิกให้ขวนขายทำดี (positive) ไม่ได้แนะนำว่า เมื่อเว้นชั่วนั้นๆ แล้ว จะพึงทำควมดีอย่างไรต่อไป มีคำสอนเป็นสกวิสัย (subjective) เป็นได้เพียงจริยธรรมแห่งความคิด (an ethic of thoughts) เป็นคำสอนแบถอนตัวและเฉื่อยเฉย (passive) ทำให้พุทธศาสนิกชนพอใจแต่เพียงแค่งดเว้นทำความชั่ว คอยระวังเพียงไม่ให้ตนต้องเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับบาป ไม่เอาใจใส่ขวนขวายช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยการลงมือกระทำการปลดเปลื้องความทุกข์ และสร้างเสริมประโยชน์สุขจริงจัง"
ตอบว่า
เราถือว่าเป็นความคิดเห็นของเขา เราไม่ถือเป็นสิ่งไม่ดี เราถือว่าเป็นกลางๆ ถือว่าเป็นข้อคิดของเขา ทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้ ไม่ใช่ว่าใครที่คิดเห็นไม่ตรงกับเรากลายเป็นกล่าวหาเรา ให้ร้ายเรา เป็นการอคติ พระพุทธองค์ไม่เคยสอนอย่างนี้ แต่บางคนกลายเป็นคิดอย่างนี้หมด ใครแตะไม่ได้ ใครแตะเป็นปรปักษ์ เป็นอคติ
บุคคลตะวันตกคนนี้เขายังเข้าใจพระพุทธศาสนาเพียงด้านเดียว เพราะไม่ได้เข้ามาศึกษาอย่างจริงจัง ฉะนั้น แนะนำว่าควรเข้ามาศึกษาอย่างจริงจัง ถึงจะได้รู้ทั้งรอบด้าน สมมติว่ามือมีอยู่ ๕ นิ้ว เขารู้แค่ นิ้วเดียว
"๑. ศีลในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของพุทธธรรม มิใช่เป็นเทวโองการ หรือคำสั่งบังคับสำเร็จรูป ที่กำหนดให้ศาสนิกประพฤติปฏิบัติอย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง สุดแต่เทวประสงค์ ด้วยอาศัยศรัทธาแบบภักดี ซึ่งไม่จำเป็นต้องทราบเหตุผลที่เชื่อมโยงต่อเนื่องมา"
ศีลเป็นการชี้แนะ ไม่ได้บังคับว่าคุณจะทำหรือไม่ทำ คุณทำดีก็ได้รับผลดี คุณไม่ทำดีคุณก็ได้รับผลเสียหาย
สิ่งที่ดียกขึ้นมา ดียังไงก็บอกเขา คุณต้องการคุณไปทำคุณจะได้ดีอะไร คุณไม่ทำคุณจะได้อะไร นี่คือ จริต นิสัย ปรัชญาของพระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้าไม่มีการไปบังคับใครให้ทำ
เพราะว่าพระพุทธเจ้าถึงหลักประกาศชัดเจนเลยว่า "ทางสายกลาง" ถ้าพระพุทธเจ้าไปทำอย่างนั้น ก็จะผิดสายกลาง แต่ถามว่ามีการบังคับไหม? ก็มีเหมือนกัน แต่บังคับล่างๆ ขึ้นมา ตามกติกา ตามภูมิ ตามภาวะกรรม หรือสภาวธรรม
คุณพร้อมแล้ว คุณฟังแล้วคุณดีแล้ว พร้อมแล้วที่จะมาเป็นพระสงฆ์ ก็ต้องเข้ากติกาแล้ว พอเราฟังให้ดีแล้ว เราอยากจะเป็นอุบาสก อุบาสิกาถือศีล ๘ แล้ว เห็นไหม? คุณต้องสมัครใจก่อน พอถึวขั้นนี้แล้วก็จะมีขบวนการว่าจะให้ฝึกสอนยังไงเพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย
พระพุทธเจ้าจะคุยให้ฟังให้เกิดวิชชา ให้สรุปแล้วว่าจะต้องทำอย่างนี้ ถ้าเราบอกว่าจะเอาอย่างนี้เอา พระพุทธเจ้าท่านก็จะบอกว่าขั้นตอนที่ ๑ ถือศีล ๕ ก่อน ตอนที่ ๒ ถือศีล ๘ ขั้นตอนที่ ๓ ถือศีล ๒๒๗ ข้อ เป็นขั้นๆ ตอนไป