พนักงานสัญญาจ้างรายวัน ได้ค่าแรงวันหยุดนักขัตฤกษ์ไหมคะ

เราเป็นพนักงานสัญญาจ้าง 4 เดือน คิดค่าจ้างเป็นรายวันค่ะ ซึ่งในสัญญาระบุใจความสำคัญไว้ประมาณนี้
----------------

วันหยุดคือวันเสาร์-อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ค่ะ
บริษัทแจ้งว่าคิดเงินตาม manday ที่เราทำจริงเท่านั้น

แต่เราได้ไปหาข้อมูลเจอกฎหมายข้อนี้
      มาตรา 29 กำหนดให้นายจ้างมีประกาศวันหยุดตามประเพณี ปีละไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยพิจารณาจากวันหยุดราชการ วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น และต้องรวมวันแรงงานแห่งชาติ
       วันหยุดตามนิยามมาตรา 5 มี 3 ประเภท คือ วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี
       และนิยามค่าจ้าง หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน
       ซึ่งมาตรา 56 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุด ทั้งสามประเภท  ดังนี้
       (1) วันหยุดประจำสัปดาห์  ยกเว้นลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงาน
       (2) วันหยุดตามประเพณี
       (3) วันหยุดพักผ่อนประจำปี

อยากสอบถามว่าตามเนื้อหาในสัญญา
วันนักขัตฤกษ์ที่เราไม่ได้ไปทำงานเรายังได้ค่าแรงไหมคะ?
เพราะเราโทรไปถามกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (เบอร์กลาง) เค้าแจ้งว่าเราต้องได้และให้โทรไปที่เขตบริษัทนี้อยู่
เราจึงโทรไปที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตที่บริษัทตั้งอยู่ เค้าแจ้งมาว่าถ้าหยุดก็ไม่ได้ค่าแรง
เราเลยสับสนค่ะว่าตกลงต้องได้หรือไม่ได้ รบกวนทีค่ะ ขอบคุณค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ลูกจ้างรายวัน มีความแตกต่างในเรื่องการจ่ายค่าจ้างกับลูกจ้างรายเดือนเพียงสองอย่าง คือ

1. ลูกจ้างรายวันไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ ตามมาตรา 56(1)
2. ลูกจ้างรายวัน จะได้รับค่าทำงานในวันหยุดในอัตรา 2 เท่า (แตกต่างจากรายเดือนที่ได้เพียง 1 เท่า) ตามมาตรา  62(2)

นอกเหนือไปจากสองข้อนี้ ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือแม้แต่วันลาต่างๆ กฎหมายให้สิทธิลูกจ้างรายวันและรายเดือน เท่าเทียมกันทุกประการ

ดังนั้น ต่อคำถามของท่านเจ้าของกระทู้ วันหยุดตามประเพณีที่นายจ้างประกาศในวันหยุด ลูกจ้างรายวันหรือรายเดือนก็จะต้องได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดนี้ตามมาตรา 56(2) เนื่องจากกฎหมายไม่ได้จำกัดสิทธิการได้รับของลูกจ้างแยกต่างออกไปครับ เพราะลูกจ้างรายวันหรือรายเดือน กฎหมายเรียกรวมกันหมดด้วยคำว่า "ลูกจ้าง"

แต่พิจารณาจากเนื้อหาสัญญาในบางส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษ เข้าใจว่านายจ้างต้องการทำสัญญาจ้างนี้ให้เป็นการจ้างงานประเภทอื่นที่ไม่ใช่ลักษณะการจ้างแรงงาน แต่อย่างไรก็ตาม จะเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากเนื้อหาสัญญา และข้อเท็จจริงในการทำงาน ประกอบกันไป จึงจะบอกได้ว่า เป็นการจ้างแรงงานหรือไม่ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่