ไทสุเกะ โอโนะ (Taisuke Ono) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Donut Robotics กำลังสวมหน้ากากแปลภาษา c-mask
ลืมแอปพลิเคชันแปลภาษาไปได้เลย เพราะนี่คือหน้ากากที่สามารถแปลงคำพูดของผู้สวมให้เป็น 9 ภาษารวมภาษาไทย ขณะนี้หน้ากากยังอยู่ในขั้นตอนระดมทุนเพื่อให้สามารถเปิดตลาดได้ในช่วงกันยายน 63
สตาร์ทอัปผู้พัฒนาหน้ากากอัจฉริยะนี้คือบริษัทโดนัทโรโบติกส์ (Donut Robotics) สัญชาติญี่ปุ่น แนวคิดพัฒนาหน้ากากอัจฉริยะนี้คือการแปลการสนทนาผ่านบลูทูธ โดยหน้ากากนี้สามารถบันทึกคำพูด แล้วถอดความเป็นข้อความได้ผ่านบลูทูธ จากนั้นจึงแปลเป็น 9 ภาษา ได้แก่ ญี่ปุ่น อังกฤษ จีน ฝรั่งเศส เกาหลี ไทย อินโดนีเซีย สเปน และเวียดนาม
หน้ากากนี้ถูกตั้งชื่อว่า c-mask ย่อมาจาก connected face mask ซึ่งสะท้อนความสามารถในการเชื่อมต่อของหน้ากาก โดยหน้ากาก connected' face mask สามารถโทร จดบันทึกการประชุม และขยายเสียงของผู้สวมได้ ปัจจุบัน บริษัทเปิดระดมทุนได้แล้ว 28 ล้านเยน (ประมาณ 8 ล้านบาท) บนแพลตฟอร์มระดมทุนระดมทุนของญี่ปุ่นชื่อ Fundinno คาดว่าจะสามารถผลิตหน้ากากอัจฉริยะนี้ได้เต็มรูปแบบในเร็ววัน
ไทสุเกะ โอโนะ (Taisuke Ono) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Donut Robotics ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์สญี่ปุ่น ว่าบริษัทได้ใช้เวลาหลายปีพัฒนาหุ่นยนต์ และบริษัทได้ตัดสินใจนำเทคโนโลยีบางส่วนมาทำประโยชน์ในโลกยุคหลังโควิด-19 เบื้องต้นคาดว่าบริษัทจะสามารถเปิดตัวหน้ากากอัจฉริยะสู่ตลาดได้ในเดือนกันยายน 2563
นอกจากนี้ บริษัทยังวางแผนอัปเกรดเทคโนโลยีให้หน้ากากนี้ในเฟสต่อไป เช่นการเพิ่มคุณสมบัติ AR และ VR ในอนาคต
หน้ากาก connected face mask สามารถโทร จดบันทึกการประชุม และขยายเสียงของผู้สวมได้ สนนราคายังไม่เปิดเผย
หน้ากากอัจฉริยะ เทียบกับหน้ากากอนามัยกระดาษ
ลักษณะการใช้งานหน้ากากอัจฉริยะในธุรกิจ
ภาพร่างต้นแบบของ c-mask หรือ connected face mask
เครดิตคลิปจาก ドーナッツ ロボティクス
ข่าวจาก : MGR Online
ชมโฉม “หน้ากากอนามัยแปลภาษา” รองรับ 9 ชาติรวมไทย
สตาร์ทอัปผู้พัฒนาหน้ากากอัจฉริยะนี้คือบริษัทโดนัทโรโบติกส์ (Donut Robotics) สัญชาติญี่ปุ่น แนวคิดพัฒนาหน้ากากอัจฉริยะนี้คือการแปลการสนทนาผ่านบลูทูธ โดยหน้ากากนี้สามารถบันทึกคำพูด แล้วถอดความเป็นข้อความได้ผ่านบลูทูธ จากนั้นจึงแปลเป็น 9 ภาษา ได้แก่ ญี่ปุ่น อังกฤษ จีน ฝรั่งเศส เกาหลี ไทย อินโดนีเซีย สเปน และเวียดนาม
หน้ากากนี้ถูกตั้งชื่อว่า c-mask ย่อมาจาก connected face mask ซึ่งสะท้อนความสามารถในการเชื่อมต่อของหน้ากาก โดยหน้ากาก connected' face mask สามารถโทร จดบันทึกการประชุม และขยายเสียงของผู้สวมได้ ปัจจุบัน บริษัทเปิดระดมทุนได้แล้ว 28 ล้านเยน (ประมาณ 8 ล้านบาท) บนแพลตฟอร์มระดมทุนระดมทุนของญี่ปุ่นชื่อ Fundinno คาดว่าจะสามารถผลิตหน้ากากอัจฉริยะนี้ได้เต็มรูปแบบในเร็ววัน
ไทสุเกะ โอโนะ (Taisuke Ono) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Donut Robotics ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์สญี่ปุ่น ว่าบริษัทได้ใช้เวลาหลายปีพัฒนาหุ่นยนต์ และบริษัทได้ตัดสินใจนำเทคโนโลยีบางส่วนมาทำประโยชน์ในโลกยุคหลังโควิด-19 เบื้องต้นคาดว่าบริษัทจะสามารถเปิดตัวหน้ากากอัจฉริยะสู่ตลาดได้ในเดือนกันยายน 2563
นอกจากนี้ บริษัทยังวางแผนอัปเกรดเทคโนโลยีให้หน้ากากนี้ในเฟสต่อไป เช่นการเพิ่มคุณสมบัติ AR และ VR ในอนาคต
ลักษณะการใช้งานหน้ากากอัจฉริยะในธุรกิจ
ภาพร่างต้นแบบของ c-mask หรือ connected face mask