+น้ำพระทัยพระเจ้า Vs น้ำใจเสรีของมนุษย์+
เคยมีมุกตลกอันหนึ่งว่า "ถ้าอยากให้พระเจ้าหัวเราะ ให้เล่าแผนชีวิตของคุณให้พระองค์ฟัง"
การพยายามเข้าใจในปรัชญาศาสนาที่เชื่อพระเจ้าสูงสุดองค์เดียว คือศาสนาศาสตร์หรือเทวศาสตร์สำคัญ 2 เรื่อง ที่เป็นข้อถกเถียงโต้แย้งมาตั้งแต่พระธรรมเดิมหลายพันปีมาจนถึงยุคกลาง คือ การลิขิตของพระเจ้า(Holy Providence) กับ น้ำใจเสรีในการเลือกทำหรือไม่ทำ(Free Will)ของมนุษย์ มีจริงหรือไม่ และถ้ามี มีแบบไร และถ้ามีทั้งสองอย่างทั้งสองจะสามารถขัดแย้งกันได้หรือไม่
ในยุคกลางของคริสตศาสนาได้มีการพัฒนาความคิดความเข้าใจและคำสอนเรื่องคุณสมบัติที่สำคัญที่ทำให้พระเจ้าคือพระเจ้าอย่างเฟื่องฟูมาก จนมีการสร้างสัญลักษณ์คือ ดวงตาของพระเจ้า(เป็นดวงตาที่ลอยอยู่ในสวรรค์มองดูทั้งสวรรค์โลกและจักรวาลที่ทรงสร้างทั้งหมด) คือ เรื่องของ(Providence) หรือที่คำคาทอลิกเก่าใช้ว่า "พระญาณสอดส่อง" (ปัจจุบันใช้คำว่า "พระญาณเอื้ออาทร") หรือแปลเป็นศัพท์แบบไทยๆก็คือความเป็นสัพพัญญูของพระเจ้า หรืออธิบายแบบบ้านๆให้เข้าใจง่ายคือ การรู้สิ้นทุกสิ่งของพระเจ้า และทรงกำหนดทุกสิ่งให้เป็นไปตามการลิขิตของพระองค์
โดยหลักความเชื่อเรื่อง พระเจ้าทรงเป็นองค์ความดีสูงสุด ทรงมองเห็นและรู้ทุกอย่าง และมีฤทธิ์อำนาจในการทำให้พระประสงค์สำเร็จไปนั้น ถูกโต้แย้งตั้งคำถามโดย หลักศาสนศาสตร์2ข้อคือ 1.ทำไมยังมีความชั่วร้ายในโลก 2.มนุษย์มีเสรีภาพหรืออำเภอใจของตนไม่ใช่หรือ
ในการตอบคำถามเรื่องทำไม เมื่อมีพระเจ้าที่เห็นทุกสิ่ง ทำได้ทุกอย่าง พระองค์ยังปล่อยให้มีเรื่องชั่วร้ายหรือเจ็บปวดเกิดขึ้น
ในพระคัมภีร์เอง บันทึกไว้ว่ามีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นมากมาย โดยพระเจ้าปล่อยให้มันเกิดไปจนจบหลังจากนั้นจึงกลับมาฟื้นฟูมันทีหลัง นั่นจึงเป็นคำตอบว่า ความเลวร้ายเป็นสิ่งที่พระเจ้ารู้จักดี และมันถูกปล่อยให้มีเพื่อนำไปสู่ความดีที่สูงส่งกว่าในภายหน้า น.ออกัสตินยังอธิบายด้วยว่า ความชั่วร้ายไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง มันคือการขาดความดี เพราะพระเจ้าทรงสมบูรณ์สูงสุดจึงไม่สามารถสร้างสิ่งที่สมบูรณ์กว่าพระองค์เองได้ สิ่งสร้างจึงไม่ได้สมบูรณ์แบบเท่าพระผู้สร้าง จึงยังมีข้อบกพร่อง(ขาดความดี) แต่พระเจ้าทรงมีแผนการนำทุกสิ่งสู่พระองค์(องค์ความดี) ดังนั้นในฐานะมนุษย์ที่มีข้อจำกัดเราไม่รู้ว่าแผนการณ์นั้นทั้งจักรวาลคืออะไร การปล่อยให้ความไม่ดีเกิดขึ้นก็เพื่อแก้ไขให้กลายเป็นสิ่งที่ดีกว่าในอนาคตซึ่งอาจไกลกว่าอายุขัยเรา เราจึงไม่อาจจะรู้ได้หมด ดังที่ความบาปของอาดัมและเอวา ใช้เวลายาวนานหลายชั่วอายุคนกว่าจะมาถึงการกำเนิดพระเยซูเพื่อไถ่บาปนั้น โดยเหล่าประกาศล้วนตายไปก่อนได้เห็นการทรงไถ่หรือจะรู้ว่าได้ว่าไถ่กู้แบบไหนอย่างไร
แต่เรื่องที่น่าสนใจและใกล้ตัวเราและเราอาจจะถามมันบ่อยกว่าคือ นำใจเสรีของมนุษย์ที่ศาสนาคริสต์สอนว่ามีอยู่จริงแน่นอนนั้น เรามีสิทธิ์ปฏิเสธแผนของพระเจ้าหรือไม่ ถ้าไม่ มันจะเสรีได้อย่างไร
คำถามนี้อยู่ที่เราเข้าใจ ฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าในลักษณะไหน แต่ถ้าให้ตอบแบบรวบรัดเข้าใจง่ายก็คือ น้ำใจเสรีของมนุษย์มีจริงแต่ไม่ยิ่งใหญ่ไปกว่าแผนงานของพระเจ้า
เราอาจใช้เรื่องโยนาห์ผู้หนีพระเจ้าในการถูกสั่งให้ไปนีนะเวห์ พระเจ้ารู้ล่วงหน้าว่าโยนาห์จะตอบอย่างไร พระเจ้ารู้ด้วยว่าจะหนี และจะหนีทางไหน ไปไหน อย่างไร แต่เมื่อพระเจ้าทรงดำริสิ่งใดทั้งจักรวาลจะรับใช้พระประสงค์นั้น สิ่งสร้างทั้งหมด ทั้งภูมิอากาศและสัตว์ล้วนพากันนำเขากลับไปที่นีนะเวห์ จึงอาจสรุปคำตอบง่ายๆดังนี้
-พระประสงค์ที่จะช่วยนีนะเวห์จะสำเร็จไปอย่างแน่นอน
-การลงโทษนีนะเวห์มีอยู่จริงแต่ทรงกำหนดไว้ว่ามันต้องไม่เกิด
-ทรงรู้ล่วงหน้าว่าโยนาห์จะหนี และรู้ล่วงหน้าว่า ถ้าชาวนีนะเวห์ได้ีรับการเตือนพวกเขาจะกลับใจแน่นอน
-ทรงรู้ว่าจะทำยังไงให้โยนาห์เปลี่ยนใจซึ่งการเปลี่ยนใจของเขาก็มาจากตัวเขาเอง
-ถ้าโยนาห์ตอบรับดีๆ เขาอาจไปถึงนีนะเวห์แบบชิวๆ แต่การที่เขาหนีและสุดท้ายกลับไปทีหลังแบบสะบักสะบอม ก็เกิดสิ่งที่ดีขึ้น คือการเปลี่ยนแปลงทัศนคติการเกลียดชังคนต่างชาติของชาวยิวแบบโยนาห์อย่างลึกซึ้ง จึงเท่ากับว่ามีความดีเกิดสองอย่างคือ ไม่เพียงนีนะเวห์กลับใจโยนาห์ก็กลับใจด้วย โดยการกลับใจของโยนาห์ พระเจ้าอุบไว้ไม่บอกโยนาห์ก่อนแต่อย่างใด
หรือถ้าเราจะเปรียบให้ใกล้ตัวขึ้นอีก เมื่อพ่อแม่จะส่งลูกไปเข้าโรงเรียนครั้งแรก ลูกบางคนจะโยเยมาก เขาอาจจะรู้สึกโกรธพ่อแม่ รู้สึกพ่อแม่จับเขามาทิ้ง แต่พ่อแม่ทุกคนย่อมไม่ยอมให้ลูกทำตามใจโดยไม่ต้องเข้าเรียนปล่อยเป็นเด็กไม่มีการศึกษา พ่อแม่จะสรรหาวิธีการให้ลูกยอมไปเรียน ทั้งแบบเบาแบบหนัก โดยแผนการของพ่อแม่ที่จะส่งลูกเข้าเรียนจะไม่เปลี่ยนตามใจลูกที่อยากนอนเล่นอยู่บ้านตลอดไปอย่างแน่นอน
ดังนั้นน้ำใจเสรีของมนุษย์มีอยู่จริง และเป็นของที่พระเจ้าประทานให้ แต่มันจะไม่อยู่เหนือไปกว่าแผนการหรือน้ำพระทัยของพระเจ้าได้อย่างแน่นอน หากพระเจ้าทรงพระประสงค์สิ่งใด ทั้งจักรวาล ตั้งแต่ทูตสวรรค์ถึงสิ่งสร้างทั้งหมดบนโลกจะพร้อมใจกันทำให้สำเร็จ แม้มนุษย์บางคนที่อยู่ในแผนจะปฏิเสธ จะกลัว จะไม่อยาก จะทำให้มันช้าออกไปแต่อย่างไร มันจะถูกนำมาสู่เส้นทางที่กำหนดไว้ได้
(ฮาบากุก2:3) เพราะว่านิมิตนั้นยังรอเวลาที่กำหนดไว้ ...ถ้าดูช้าไป ก็จงคอยสักหน่อย มันจะบังเกิดขึ้นเป็นแน่
เราไม่อาจเปลี่ยนแผนการของพระเจ้าตามใจของเรา เราอาจขอการบรรเทา ขอพระเมตตา ให้เวลาหดสั้น หรือยาวออกไปจนเราพร้อม
เราพบแบบอย่างและคำอธิบายเรื่องนี้อย่างครบครันในประโยคสำคัญของการอธิษฐานภาวนาของพระเยซูในสวนมะกอกก่อนถูกจับไปทรมานและตรึงกางเขน
"ข้าแต่พระบิดา ถ้าพระองค์พอพระทัย ขอให้ถ้วยนี้เลื่อนพ้นไปจากข้าพเจ้า แต่อย่างไรก็ดี อย่าให้เป็นไปตามใจข้าพเจ้า แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์"
หลายๆครั้ง เราคิดว่าการที่พระเจ้าไม่ให้ตามที่เราขอ คือการไม่ตอบคำอธิษฐาน แต่ที่จริง พระเจ้าทรงตอบทุกคำอธิษฐาน โดยทรงตอบได้หลายแบบ บางครั้งพระองค์ก็ตอบว่า ไม่ได้ บางครั้งพระองค์ก็อาจตอบว่าได้ แต่ต้องรอ หรือได้ แต่ต้องพยายามหน่อย หรือแม้แต่ทรงวางสิ่งที่เราอยากได้ไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่เราต้องออกไปแสวงหามันมากกว่านี้หรืออาจตอบว่า จะให้สิ่งที่ดีกว่านี้อีก เปิดใจอีกหน่อยสิ ฯลฯ
แต่ในชีวิตจริงเราอาจมีคำถามว่าแล้วฉันจะรู้น้ำพระทัยของพระเจ้าต่อฉันได้อย่างไรว่าคืออะไร
ไม่มีใครช่วยตอบเราได้ นอกจากเราจะเปิดใจ อธิษฐานภาวนา และการวางใจว่า พระเจ้าทรงรักเรา ทรงเป็นองค์ความดี มีแผนการที่ดีสำหรับเรา และจะทรงให้สิ่งสร้างทั้งจักรวาลนำเราสู่แผนการนั้น แม้มันจะไม่ตรงกับสิ่งที่เราอยากได้เราอาจไม่ชอบหรือคิดว่าดีในตอนนี้ แต่เราวางใจได้ว่าพระองค์จะนำสิ่งที่ดีมาให้เราอย่างแน่นอน
(ยรม.29:11) พระเจ้าตรัสว่า เพราะเรารู้แผนงานที่เรามีไว้สำหรับเจ้า เป็นแผนงานเพื่อสวัสดิภาพ ไม่ใช่เพื่อทุกขภาพเพื่อจะให้อนาคตและความหวังใจแก่เจ้า
----------------------------------
ขอพระประสงค์ของพระองค์จงสำเร็จไปในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์ อาแมน
CR. :
https://www.facebook.com/100000534736435/posts/2004022656292206/?d=n
+น้ำพระทัยพระเจ้า Vs น้ำใจเสรีของมนุษย์+
เคยมีมุกตลกอันหนึ่งว่า "ถ้าอยากให้พระเจ้าหัวเราะ ให้เล่าแผนชีวิตของคุณให้พระองค์ฟัง"
การพยายามเข้าใจในปรัชญาศาสนาที่เชื่อพระเจ้าสูงสุดองค์เดียว คือศาสนาศาสตร์หรือเทวศาสตร์สำคัญ 2 เรื่อง ที่เป็นข้อถกเถียงโต้แย้งมาตั้งแต่พระธรรมเดิมหลายพันปีมาจนถึงยุคกลาง คือ การลิขิตของพระเจ้า(Holy Providence) กับ น้ำใจเสรีในการเลือกทำหรือไม่ทำ(Free Will)ของมนุษย์ มีจริงหรือไม่ และถ้ามี มีแบบไร และถ้ามีทั้งสองอย่างทั้งสองจะสามารถขัดแย้งกันได้หรือไม่
ในยุคกลางของคริสตศาสนาได้มีการพัฒนาความคิดความเข้าใจและคำสอนเรื่องคุณสมบัติที่สำคัญที่ทำให้พระเจ้าคือพระเจ้าอย่างเฟื่องฟูมาก จนมีการสร้างสัญลักษณ์คือ ดวงตาของพระเจ้า(เป็นดวงตาที่ลอยอยู่ในสวรรค์มองดูทั้งสวรรค์โลกและจักรวาลที่ทรงสร้างทั้งหมด) คือ เรื่องของ(Providence) หรือที่คำคาทอลิกเก่าใช้ว่า "พระญาณสอดส่อง" (ปัจจุบันใช้คำว่า "พระญาณเอื้ออาทร") หรือแปลเป็นศัพท์แบบไทยๆก็คือความเป็นสัพพัญญูของพระเจ้า หรืออธิบายแบบบ้านๆให้เข้าใจง่ายคือ การรู้สิ้นทุกสิ่งของพระเจ้า และทรงกำหนดทุกสิ่งให้เป็นไปตามการลิขิตของพระองค์
โดยหลักความเชื่อเรื่อง พระเจ้าทรงเป็นองค์ความดีสูงสุด ทรงมองเห็นและรู้ทุกอย่าง และมีฤทธิ์อำนาจในการทำให้พระประสงค์สำเร็จไปนั้น ถูกโต้แย้งตั้งคำถามโดย หลักศาสนศาสตร์2ข้อคือ 1.ทำไมยังมีความชั่วร้ายในโลก 2.มนุษย์มีเสรีภาพหรืออำเภอใจของตนไม่ใช่หรือ
ในการตอบคำถามเรื่องทำไม เมื่อมีพระเจ้าที่เห็นทุกสิ่ง ทำได้ทุกอย่าง พระองค์ยังปล่อยให้มีเรื่องชั่วร้ายหรือเจ็บปวดเกิดขึ้น
ในพระคัมภีร์เอง บันทึกไว้ว่ามีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นมากมาย โดยพระเจ้าปล่อยให้มันเกิดไปจนจบหลังจากนั้นจึงกลับมาฟื้นฟูมันทีหลัง นั่นจึงเป็นคำตอบว่า ความเลวร้ายเป็นสิ่งที่พระเจ้ารู้จักดี และมันถูกปล่อยให้มีเพื่อนำไปสู่ความดีที่สูงส่งกว่าในภายหน้า น.ออกัสตินยังอธิบายด้วยว่า ความชั่วร้ายไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง มันคือการขาดความดี เพราะพระเจ้าทรงสมบูรณ์สูงสุดจึงไม่สามารถสร้างสิ่งที่สมบูรณ์กว่าพระองค์เองได้ สิ่งสร้างจึงไม่ได้สมบูรณ์แบบเท่าพระผู้สร้าง จึงยังมีข้อบกพร่อง(ขาดความดี) แต่พระเจ้าทรงมีแผนการนำทุกสิ่งสู่พระองค์(องค์ความดี) ดังนั้นในฐานะมนุษย์ที่มีข้อจำกัดเราไม่รู้ว่าแผนการณ์นั้นทั้งจักรวาลคืออะไร การปล่อยให้ความไม่ดีเกิดขึ้นก็เพื่อแก้ไขให้กลายเป็นสิ่งที่ดีกว่าในอนาคตซึ่งอาจไกลกว่าอายุขัยเรา เราจึงไม่อาจจะรู้ได้หมด ดังที่ความบาปของอาดัมและเอวา ใช้เวลายาวนานหลายชั่วอายุคนกว่าจะมาถึงการกำเนิดพระเยซูเพื่อไถ่บาปนั้น โดยเหล่าประกาศล้วนตายไปก่อนได้เห็นการทรงไถ่หรือจะรู้ว่าได้ว่าไถ่กู้แบบไหนอย่างไร
แต่เรื่องที่น่าสนใจและใกล้ตัวเราและเราอาจจะถามมันบ่อยกว่าคือ นำใจเสรีของมนุษย์ที่ศาสนาคริสต์สอนว่ามีอยู่จริงแน่นอนนั้น เรามีสิทธิ์ปฏิเสธแผนของพระเจ้าหรือไม่ ถ้าไม่ มันจะเสรีได้อย่างไร
คำถามนี้อยู่ที่เราเข้าใจ ฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าในลักษณะไหน แต่ถ้าให้ตอบแบบรวบรัดเข้าใจง่ายก็คือ น้ำใจเสรีของมนุษย์มีจริงแต่ไม่ยิ่งใหญ่ไปกว่าแผนงานของพระเจ้า
เราอาจใช้เรื่องโยนาห์ผู้หนีพระเจ้าในการถูกสั่งให้ไปนีนะเวห์ พระเจ้ารู้ล่วงหน้าว่าโยนาห์จะตอบอย่างไร พระเจ้ารู้ด้วยว่าจะหนี และจะหนีทางไหน ไปไหน อย่างไร แต่เมื่อพระเจ้าทรงดำริสิ่งใดทั้งจักรวาลจะรับใช้พระประสงค์นั้น สิ่งสร้างทั้งหมด ทั้งภูมิอากาศและสัตว์ล้วนพากันนำเขากลับไปที่นีนะเวห์ จึงอาจสรุปคำตอบง่ายๆดังนี้
-พระประสงค์ที่จะช่วยนีนะเวห์จะสำเร็จไปอย่างแน่นอน
-การลงโทษนีนะเวห์มีอยู่จริงแต่ทรงกำหนดไว้ว่ามันต้องไม่เกิด
-ทรงรู้ล่วงหน้าว่าโยนาห์จะหนี และรู้ล่วงหน้าว่า ถ้าชาวนีนะเวห์ได้ีรับการเตือนพวกเขาจะกลับใจแน่นอน
-ทรงรู้ว่าจะทำยังไงให้โยนาห์เปลี่ยนใจซึ่งการเปลี่ยนใจของเขาก็มาจากตัวเขาเอง
-ถ้าโยนาห์ตอบรับดีๆ เขาอาจไปถึงนีนะเวห์แบบชิวๆ แต่การที่เขาหนีและสุดท้ายกลับไปทีหลังแบบสะบักสะบอม ก็เกิดสิ่งที่ดีขึ้น คือการเปลี่ยนแปลงทัศนคติการเกลียดชังคนต่างชาติของชาวยิวแบบโยนาห์อย่างลึกซึ้ง จึงเท่ากับว่ามีความดีเกิดสองอย่างคือ ไม่เพียงนีนะเวห์กลับใจโยนาห์ก็กลับใจด้วย โดยการกลับใจของโยนาห์ พระเจ้าอุบไว้ไม่บอกโยนาห์ก่อนแต่อย่างใด
หรือถ้าเราจะเปรียบให้ใกล้ตัวขึ้นอีก เมื่อพ่อแม่จะส่งลูกไปเข้าโรงเรียนครั้งแรก ลูกบางคนจะโยเยมาก เขาอาจจะรู้สึกโกรธพ่อแม่ รู้สึกพ่อแม่จับเขามาทิ้ง แต่พ่อแม่ทุกคนย่อมไม่ยอมให้ลูกทำตามใจโดยไม่ต้องเข้าเรียนปล่อยเป็นเด็กไม่มีการศึกษา พ่อแม่จะสรรหาวิธีการให้ลูกยอมไปเรียน ทั้งแบบเบาแบบหนัก โดยแผนการของพ่อแม่ที่จะส่งลูกเข้าเรียนจะไม่เปลี่ยนตามใจลูกที่อยากนอนเล่นอยู่บ้านตลอดไปอย่างแน่นอน
ดังนั้นน้ำใจเสรีของมนุษย์มีอยู่จริง และเป็นของที่พระเจ้าประทานให้ แต่มันจะไม่อยู่เหนือไปกว่าแผนการหรือน้ำพระทัยของพระเจ้าได้อย่างแน่นอน หากพระเจ้าทรงพระประสงค์สิ่งใด ทั้งจักรวาล ตั้งแต่ทูตสวรรค์ถึงสิ่งสร้างทั้งหมดบนโลกจะพร้อมใจกันทำให้สำเร็จ แม้มนุษย์บางคนที่อยู่ในแผนจะปฏิเสธ จะกลัว จะไม่อยาก จะทำให้มันช้าออกไปแต่อย่างไร มันจะถูกนำมาสู่เส้นทางที่กำหนดไว้ได้
(ฮาบากุก2:3) เพราะว่านิมิตนั้นยังรอเวลาที่กำหนดไว้ ...ถ้าดูช้าไป ก็จงคอยสักหน่อย มันจะบังเกิดขึ้นเป็นแน่
เราไม่อาจเปลี่ยนแผนการของพระเจ้าตามใจของเรา เราอาจขอการบรรเทา ขอพระเมตตา ให้เวลาหดสั้น หรือยาวออกไปจนเราพร้อม
เราพบแบบอย่างและคำอธิบายเรื่องนี้อย่างครบครันในประโยคสำคัญของการอธิษฐานภาวนาของพระเยซูในสวนมะกอกก่อนถูกจับไปทรมานและตรึงกางเขน
"ข้าแต่พระบิดา ถ้าพระองค์พอพระทัย ขอให้ถ้วยนี้เลื่อนพ้นไปจากข้าพเจ้า แต่อย่างไรก็ดี อย่าให้เป็นไปตามใจข้าพเจ้า แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์"
หลายๆครั้ง เราคิดว่าการที่พระเจ้าไม่ให้ตามที่เราขอ คือการไม่ตอบคำอธิษฐาน แต่ที่จริง พระเจ้าทรงตอบทุกคำอธิษฐาน โดยทรงตอบได้หลายแบบ บางครั้งพระองค์ก็ตอบว่า ไม่ได้ บางครั้งพระองค์ก็อาจตอบว่าได้ แต่ต้องรอ หรือได้ แต่ต้องพยายามหน่อย หรือแม้แต่ทรงวางสิ่งที่เราอยากได้ไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่เราต้องออกไปแสวงหามันมากกว่านี้หรืออาจตอบว่า จะให้สิ่งที่ดีกว่านี้อีก เปิดใจอีกหน่อยสิ ฯลฯ
แต่ในชีวิตจริงเราอาจมีคำถามว่าแล้วฉันจะรู้น้ำพระทัยของพระเจ้าต่อฉันได้อย่างไรว่าคืออะไร
ไม่มีใครช่วยตอบเราได้ นอกจากเราจะเปิดใจ อธิษฐานภาวนา และการวางใจว่า พระเจ้าทรงรักเรา ทรงเป็นองค์ความดี มีแผนการที่ดีสำหรับเรา และจะทรงให้สิ่งสร้างทั้งจักรวาลนำเราสู่แผนการนั้น แม้มันจะไม่ตรงกับสิ่งที่เราอยากได้เราอาจไม่ชอบหรือคิดว่าดีในตอนนี้ แต่เราวางใจได้ว่าพระองค์จะนำสิ่งที่ดีมาให้เราอย่างแน่นอน
(ยรม.29:11) พระเจ้าตรัสว่า เพราะเรารู้แผนงานที่เรามีไว้สำหรับเจ้า เป็นแผนงานเพื่อสวัสดิภาพ ไม่ใช่เพื่อทุกขภาพเพื่อจะให้อนาคตและความหวังใจแก่เจ้า
----------------------------------
ขอพระประสงค์ของพระองค์จงสำเร็จไปในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์ อาแมน
CR. : https://www.facebook.com/100000534736435/posts/2004022656292206/?d=n