คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ในเปเปอร์ อธิบายไว้ว่า วัคซีนที่ไม่ดี หรือ leaky vaccine จะไม่สามารถกระตุ้นให้โฮสต์สร้างภูมิคุ้มกันได้มากพอ จะกำจัดไวรัสให้หมดไปจากร่างกาย แต่มากพอจะคุ้มกันไม่ให้โฮสต์เจ็บป่วย หรือตายเท่านั้น ยังแพร่กระจายเชื้อต่อไปได้ โดยยกตัวอย่างของ Marek Vaccine ในสัตว์ปีก และใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ มาอธิบาย โดยตีพิมพ์ในปี 2015 ในวารสาร PLOS ONE BIOLOGY
เปเปอร์นี้โดน debate ในหลายเรื่องเช่น เรารู้กันว่า แม้จะเป็นวัคซีนที่ดีมาก ก็ไม่ได้กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้อยู่ในระดับสูงได้ทุกคน แต่ภูมิในระดับต่ำ ก็เพียงพอจะลดอันตราย และลดการแพร่เชื้อ เพราะปริมาณไวรัสจะลดลง ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็น โดยเฉพาะในมนุษย์ นักวิจัยที่เชียวชาญในสาขานี้ คนอื่นๆ สรุปประเด็นไว้ว่า
Other researchers say that no general conclusions should be drawn from the paper.
https://science.sciencemag.org/content/349/6247/461
เร็วๆ นี้มีเปเปอร์ ตีพิมพ์เรื่องเดียวกันนี้ แต่ทำเป็นการทดลองโดยใช้ Marek Vaccine ตัวที่ว่า และเก็บข้อมูลดีขึ้นละเอียดมากขึ้น พบข้อสรุปที่ต่างออกไปจากเปเปอร์แรก คือ แม้จะไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ 100% แต่ก็ป้องกันการแพร่กระจายระหว่างกันได้ เพราะปริมาณไวรัสที่แพร่ออกมานั้นน้อยลง
https://journals.plos.org/plosbiology/article?id=10.1371/journal.pbio.3000619
ประเด็นที่นักวิจัยคนแรกคิด และอธิบายด้วยโมเดลคณิตศาสตร์อาจจะไม่เป็นจริง ถ้ามีคนนำข้อมูลอื่นมายืนยันเพิ่มเติมในภายหลัง
ผมไม่ใช่ คนในฟิลด์ ที่จะมีความรู้มากพอจะถกในประเด็นนี้ แต่อาศัยวิธีนี้ดูว่า ผู้เชี่ยวชาญคนอื่น เค้ามองประเด็นนี้อย่างไร และมีคนตีพิมพ์งานวิจัยออกมาคัดค้านหรือไม่
ซึ่งวิธีนี้น่าจะดีกว่าการมาถาม ในบอร์ดสาธารณะซึ่งคนมาตอบ อาจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดๆ หรือเชี่ยวชาญในสาขาที่ไม่เกี่ยวข้อง ก็ได้ครับ
และไม่ต้องเชื่อผม ลองทำดูเอาเองเลยครับ
เปเปอร์นี้โดน debate ในหลายเรื่องเช่น เรารู้กันว่า แม้จะเป็นวัคซีนที่ดีมาก ก็ไม่ได้กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้อยู่ในระดับสูงได้ทุกคน แต่ภูมิในระดับต่ำ ก็เพียงพอจะลดอันตราย และลดการแพร่เชื้อ เพราะปริมาณไวรัสจะลดลง ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็น โดยเฉพาะในมนุษย์ นักวิจัยที่เชียวชาญในสาขานี้ คนอื่นๆ สรุปประเด็นไว้ว่า
Other researchers say that no general conclusions should be drawn from the paper.
https://science.sciencemag.org/content/349/6247/461
เร็วๆ นี้มีเปเปอร์ ตีพิมพ์เรื่องเดียวกันนี้ แต่ทำเป็นการทดลองโดยใช้ Marek Vaccine ตัวที่ว่า และเก็บข้อมูลดีขึ้นละเอียดมากขึ้น พบข้อสรุปที่ต่างออกไปจากเปเปอร์แรก คือ แม้จะไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ 100% แต่ก็ป้องกันการแพร่กระจายระหว่างกันได้ เพราะปริมาณไวรัสที่แพร่ออกมานั้นน้อยลง
https://journals.plos.org/plosbiology/article?id=10.1371/journal.pbio.3000619
ประเด็นที่นักวิจัยคนแรกคิด และอธิบายด้วยโมเดลคณิตศาสตร์อาจจะไม่เป็นจริง ถ้ามีคนนำข้อมูลอื่นมายืนยันเพิ่มเติมในภายหลัง
ผมไม่ใช่ คนในฟิลด์ ที่จะมีความรู้มากพอจะถกในประเด็นนี้ แต่อาศัยวิธีนี้ดูว่า ผู้เชี่ยวชาญคนอื่น เค้ามองประเด็นนี้อย่างไร และมีคนตีพิมพ์งานวิจัยออกมาคัดค้านหรือไม่
ซึ่งวิธีนี้น่าจะดีกว่าการมาถาม ในบอร์ดสาธารณะซึ่งคนมาตอบ อาจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดๆ หรือเชี่ยวชาญในสาขาที่ไม่เกี่ยวข้อง ก็ได้ครับ
และไม่ต้องเชื่อผม ลองทำดูเอาเองเลยครับ
แสดงความคิดเห็น
อ่านเปเปอร์นี้แล้วไม่เข้าใจ ถ้าวัคซีนออกมาแต่ไม่สมบูรณ์แบบจะทำให้ เชื้อแรงขึ้นได้อย่างไรครับ