เดี๋ยวนี้ทดสอบตาบอดสีใบขับขี่ยังใช้กระดาษจิ้มอยู่หรอคะ?

เพิ่งสอบวันนี้เจอแต่ที่มีแต่กระดาษจิ้ม ครั้งแรกสอบ ใบขับขี่ชั่วคราว 2 ปี เกือบไม่ผ่านครั้งแรก เพราะ ทดสอบตาบอดสี ถึงผ่านครั้งที่ 2  พอหมดอายุขับขี่ชั่วคราว ต่อเป็น 5 ปี ก็มาตกม้าตายทดสอบตาบอดสี อีก ครั้งที่ 2 ถึงจะผ่าน (ที่ผ่านมาต้องอาศัยท่องจำอีก บางทีต้องเหลือกตา เอนหลังบ้าง เอนหน้าบ้าง) เป็นอะไรที่แบบว่ากดดันมาก รู้สึกเหมือนปมด้อย แถมคนอื่นมามองอีก รู้สึกอายมาก แทนที่จะทำแยกส่วนตัวเลยทำแบบทดสอบตาบอดสี แล้วที่นี้คนมาต่อคิวอีกเลยไม่อยากให้เสียเวลาคนอื่นรอ เราเลยต้องรีบตอบทำให้ต้องมานั่งพักตอบใหม่ (ผู้ใหญ่ หรือพวกคุณตา คุณป้า เหมือนพี่พนักงานจะเอาอันง่ายๆมาตอบเร็วมาก ที่คิวเรา ชี้ให้ตอบนานไม่รู้ว่าจงใจอะไรหรือเปล่า น่าจะเสร็จๆตั้งแต่ 3 สีแรกแล้ว บางทีก็นอยด์เหมือนกันค่ะ) น่าจะปรับเปลี่ยนให้เป็นไฟจราจรไปเลยมันตรงกับชีวิตจริงมาก แล้วก็ใช้เป็นประจำวัน ไม่เข้าใจเหมือนทำไมถึงยังมีอยู่แบบจิ้มๆเอา สีไฟจราจรก็ไม่ได้เหมือนในที่จิ้มเลย ถ้าตาบอดสีจริงป่านนี้คงชนตายตั้งนานแล้ว ส่วนตัวก็สายตาสั้น+สานตาเอียงอีก(พี่พนักงานบอก "ให้ตัดแว่นได้แล้ว" เลยตอบว่าตัดมา 2000 บาทค่ะ เหมือนประชดอ้อมหรือเปล่าก็ไม่รู้) ที่จริงอยากให้ทำแบบตลอดชีพไปเลย(เคยได้ยินว่าสมัยก่อนมี) ไม่อยากมารอให้เสียเวลาค่ะ ไม่ต้องมากดดัน ไม่ต้องประหม่ำ

ปล.เอาจริงๆนะคะ สีแดง กับ สีเขียว มันจะคล้ายกันหรือกลมกลืนมาก สีเขียวนึกว่าผสมกับสีส้มแดงอ่อนๆ เหมือนไม่ใช่เขียวแก่นแท้100% ถ้ามองอยู่ไกลนะคะ ถ้ามองใกล้ก็แยกได้
ปล.ทำแต่มอเตอร์ไซค์ค่ะ รถยนตร์ยังขับไม่เป็นค่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
การดันทุรังเถียงว่า "บางที่ก็ไม่ได้มาตรฐาน บางที่ก็แสงไม่พอ" มันตลกครับ
เพราะคนที่ตาไม่บอดสี ไม่ว่าทดสอบด้วยวิธีไหน จะไม่ลำบากเลย
ไม่ว่ามองใกล้ มองไกล แสงสว่างน้อย สว่างมาก
ต่อให้ต้องจิ้มกระดาษร้อยครั้ง ก็ถูกทั้งร้อยครั้ง
สีแดงกับสีเขียว คือคู่สีตรงข้ามกัน ไม่มีทางคล้ายกันหรือกลมกลืนกันเด็ดขาด

อย่ายกประเด็นว่า ถ้าตาบอดสีจริง คงขับรถชนคนตายไปแล้ว
มันคนล่ะเรื่องครับ เพื่อนผมสองคน ที่ตาบอดสี ก็มองไฟเขียวไฟแดงรู้เรื่อง
เค้าไม่ได้รู้ว่าสีเขียวหรือสีแดงแท้ ๆ เป็นยังไง
แค่เค้าจำได้ว่าถ้าโทนสีแบบนี้คือสีเขียวนะ หรือคือสีแดงนะ

เปลี่ยนวิธีคิดเถอะครับ เพราะอีกห้าปีคุณต้องไปต่อใบขับขี่ใหม่
เริ่มจากยอมรับว่า ตัวเองอาจจะตาบอดสีนะ
จะบอดน้อย บอดมาก บอดสีไหน นั่นอีกเรื่อง
ไปตรวจให้เรียบร้อย ปรึกษาหมอ หาวิธีแก้
เพราะถึงวันนั้นในอีก 5ปี สภาพสายตาอาจจะแย่ลงอีก
ครั้งหน้า ต่อให้ท่องจำ เหลือกตา เอนหลังบ้าง เอนหน้า ก็อาจจะไม่ผ่านแล้ว


แล้วก็เรื่องการทำครั้งเดียวใช้ได้ตลอดชีวิต
มันไม่ดีเลยครับ เพราะเรื่องนี้ไง สภาพร่างกาย สายตา ความทุพพลภาพบางอย่าง
มันส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขับรถ เขาจึงต้องมีการตรวจสอบใหม่ทุก 5 ปี
ความคิดเห็นที่ 27
ขอขอบคุณ รูปภาพและคำธิบายประกอบ จาก https://www.rutningimbel.com/2018/th/conditions/detail.47.1.0.html

แบบทดสอบตาบอดสี





ตาปกติ และตาบอดสี จะอ่านได้หมายเลขเดียวกันคือ 12




ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 29
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข70
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้




ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 3
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 5
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้




ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 74
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 21
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้



ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 45
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้




ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 7
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้




ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 73
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้




ตาปกติจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 45
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้




ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 42



ตาปกติจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้
ตาบอดสีแดง-เขียว จะสามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้
ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้



ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีส้มจาก X ไป X ได้
ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง




ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีม่วง ต่อกับสีส้ม จาก X ไป X ได้
ตาบอดสีแดง-เขียวจะลากเส้นตามสีม่วง ต่อกับสีฟ้า-เขียว จาก X ไป X ได้
ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง



จากที่นั่งหาข้อมูล copy และนำมาลงในกระทู้นี้ ผมอายุเข้า 50 ปี แล้ว ยังอ่านได้ดูตาทั้งคู่ ซ้าย(สั้น 400) ขวา(ปกติ)
ซึ่งปกติผมไม่ค่อยจะเข้ามาตอบกระทู้ประเภทเถียงคำไม่ตกฟาก  เท่าไรนัก ได้แต่เพียงหวังว่า จะพัฒนาตัวเอง หาวิธีการปรับปรุง หรือหาข้อมูลอะไร ที่จะมาช่วยเหลือข้อบกพร่องดังกล่าว  ที่นำมาลง ก็เอาไว้เป็นที่ทดสอบสายตา(บอดสี) ใน pantip ก็แล้วกัน


*** Is Me ***
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่