คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 22
อย่างที่บอกนั่นแหละครับ "เครื่องกระจายเสียง" เรามีแรงวัตต์ไม่พอเท่าอังกฤษในเรื่องนี้ หากนักการเมืองบางคนออกมาโต้แบบ "หมัดต่อหมัด" อย่างนี้นอกจากจะไม่ช่วยอะไร มันอาจจะลามปรามไปกว่านี้ ถ้าถึงขั้นยกระดับรณรงค์ไม่เข้าร้านอาหารหรือทานอาหารไทยที่มีกะทิไทยมันจะยุ่งไปใหญ่ ซึ่งคลิปที่เห็นก็ปฏิเสธไม่ได้เสียด้วยสิ ผมเชื่อว่าภาครัฐเองก็คงไม่นิ่งดูดายเรื่องนี้
ปี2018 ประเทศไทยส่งผลิตภัณฑ์มะพร้าวออกเป็นดันสองของโลกคือเจ็ดหมื่นตัน/ปีรองจากอินโดเนียเซียคือสองแสนเก้าหมื่นตันต่อปี ในขณะเดียวกัน "เวียดนาม" ก็ตามก้นเรามาติดๆ อยู่อันดับสามคือห้าหมื่นตันต่อปี จากลิงค์ข้างล่างระบุว่าตลาดการค้ามะพร้าวขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 3.5% คิดเป็นมูลค่า $35.6B (ผมเข้าใจว่าคือ 35 ล้านล้านดอลล่าห์??) ซึ่งถ้าหากเราประคับประคองสถานการณ์กรณีลิงเก็บมะพร้าวไม่ดีในตอนนี้ คงกระทบการส่งออกและกิจการร้านอาหารไทยในต่างประเทศ
เป็นที่น่าสนใจว่าประเทศที่ "นำเข้า" มะพร้าวมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลกปี2018 คือประเทศไทยจำนวนสองแสนกว่าตัน! ซึ่งตรงนี้ก็พอจะอ้างอิงได้ว่าการใช้แรงงานลิงในประเทศไทยอยู่ในวงแคบๆ ซึ่งตรงนี้ภาพรัฐสามารถตรวจและยกมาตรฐานการดูแลได้ไม่ยาก เราน่าจะนำเสนอ fact ตรงนี้ด้วยหากต้องการรักษาพื้นที่ทางการค้าจากผลผลิตมะพร้าวเอาไว้
https://www.businesswire.com/news/home/20190919005726/en/World-Coconuts-Market-Analysis-Forecast-Size-Trends#:~:text=Exports%20by%20Country,Viet%20Nam%20(57K%20tonnes)
ปี2018 ประเทศไทยส่งผลิตภัณฑ์มะพร้าวออกเป็นดันสองของโลกคือเจ็ดหมื่นตัน/ปีรองจากอินโดเนียเซียคือสองแสนเก้าหมื่นตันต่อปี ในขณะเดียวกัน "เวียดนาม" ก็ตามก้นเรามาติดๆ อยู่อันดับสามคือห้าหมื่นตันต่อปี จากลิงค์ข้างล่างระบุว่าตลาดการค้ามะพร้าวขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 3.5% คิดเป็นมูลค่า $35.6B (ผมเข้าใจว่าคือ 35 ล้านล้านดอลล่าห์??) ซึ่งถ้าหากเราประคับประคองสถานการณ์กรณีลิงเก็บมะพร้าวไม่ดีในตอนนี้ คงกระทบการส่งออกและกิจการร้านอาหารไทยในต่างประเทศ
เป็นที่น่าสนใจว่าประเทศที่ "นำเข้า" มะพร้าวมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลกปี2018 คือประเทศไทยจำนวนสองแสนกว่าตัน! ซึ่งตรงนี้ก็พอจะอ้างอิงได้ว่าการใช้แรงงานลิงในประเทศไทยอยู่ในวงแคบๆ ซึ่งตรงนี้ภาพรัฐสามารถตรวจและยกมาตรฐานการดูแลได้ไม่ยาก เราน่าจะนำเสนอ fact ตรงนี้ด้วยหากต้องการรักษาพื้นที่ทางการค้าจากผลผลิตมะพร้าวเอาไว้
https://www.businesswire.com/news/home/20190919005726/en/World-Coconuts-Market-Analysis-Forecast-Size-Trends#:~:text=Exports%20by%20Country,Viet%20Nam%20(57K%20tonnes)
แสดงความคิดเห็น
...ลิงเก็บมะพร้าว, ช้างลากซุง .../วชรน
ไทยก็มองตามวิถีของไทย
ผิดถูกวางไว้สักพักก่อน ในเมื่อต่างฝ่ายต่างมีและนยืนยันบนเหตุผลของตนเพื่อที่จะยืนยันว่าสิ่งที่ตนมองนั้นถูกต้อง คนที่มี "เครื่องขยายเสียง" ที่ดีกว่าพูดอะไรเสียงย่อมดังและมีคนขานรับมากกว่า ครั้นจะให้คนอังกฤษหรือ Peta ลงมามองหรือแม้กระทั่งคลุกคลีกับวิถีชีวิตชาวสวนมะพร้าวอีกสักครึ่งชีวิตที่เหลืออาจจะไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง หรืออาจจะรู้สึกต่อต้านรุนแรงขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้
เมื่อ "ลิง" ถูกจุดประกายตรงนี้ขึ้นมาแล้ว คำถามต่อไปจากคนไทยก็น่าจะเป็น "แล้วควายล่ะ?" จะเป็นรายต่อไปอีกใช่ไหม? เพราะคนไทยในชนบทยังใช้ควายไถนาอยู่ และคำถามในทำนองเดียวกันก็สามารถโยนกลับไปถามอังกฤษได้เช่นกันว่า แล้ว "วัว" ที่อังกฤษที่เคยใช้ไถนาล่ะ? "ม้า" ซึ่งเป็นกำลังสำคัญที่ใช้ลากจูงเรือสินค้าในอดีตและสร้างความรุ่งเรืองให้อังกฤษมาจนถึงปัจจุบันล่ะ? ผมเองก็ย้อนถามคนใกล้ตัวดู เธอก็อึกๆ อักๆ ไปเหมือนกัน
แม้เรื่องนี้จะถูกมองได้จากหลากหลายมิติ แต่มิติหลักที่เป็นฮาร์ดคอร์จริงๆ น่าจะเป็นเรื่องคุณธรรม (เมตตาธรรม) และเมื่อตัดมิติอื่นๆ เช่นเรื่อง ปากท้องของคน เรื่องวิถีดั้งเดิม ฯลฯ ออกไปแล้ว เราเองก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า จริงๆ แล้วเราไม่รู้เลยว่าพวกลิงเหล่านั้นมีความสุข และสบายอย่างที่เราเข้าใจไปเอง หรืออย่างที่เราเอาบรรทัดฐานความเป็นมนุษย์ของเราไปวางทาบบรรทัดฐานของลิงหรือเปล่า? พวกมันมีทางเลือกไหม? ซึ่งธรรมชาติของลิงไม่น่าจะซับซ้อนเหมือนอย่างของมนุษย์ เพราะความซับซ้อนของมนุษย์นี่กระมังฝ่ายหนึ่งถึงมองว่าทรมานสัตว์แต่อีกฝ่ายถึงมองว่าพวกมันได้รับการเลี้ยงดูจากมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของ (และก็ต้องถามอีกต่อไปนั่นแหละว่าเราเป็น "เจ้าของ" จริงๆ ไหม?)
หากครั้งหนึ่งเราเคยมองว่า "ช้างลากซุง" นั้นเป็นวิถีของคนไทยมาแต่ไหนแต่ไร แต่ปัจจุบันนี้มุมมองที่ว่านี้ค่อยๆ สวิงกลับไปทิศทางตรงข้ามว่านั่นเป็นการทรมานสัตว์ จากนั้นเราทั้งภาครัฐและเอกชนก็ค่อยๆ เปลี่ยนท่าทีและมุมมองเรื่อง "ช้างลากซุง" เรื่อง "ลิงเก็บมะพร้าว" แม้จะแตกต่างอยู่บ้างกับ "ช้างลากซุง" แต่เรื่องคุณธรรมและการเอาเปรียบสัตว์ก็ไม่น่าจะแตกต่าง
สุดท้าย ขออนุญาตพูดจากประสบการณ์ส่วนตัวในฐานะที่เป็นคนเลี้ยงควายมาตั้งแต่เด็ก ผมจะรู้สึกหดหู่และสงสารควายทุกครั้งที่พ่อบอกให้ไปเอาควายมาขึ้นแอกไถนา รู้สึกผิดที่มันเล็มหญ้าอยู่ดีๆ ผมต้องเอาเชือกไปจูงมันมากลางนาแล้วขึ้นแอกใส่คอ บางครั้งที่มันขัดขืนนิดๆ (เหมือนจะรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น) ผมยิ่งรู้สึกผิด บางที "ไถ" เสร็จก็ต้อง "คราด" ต่อ ตอนที่เอาควาย "คราด" นี่ผมสงสารสุดๆ เพราะพ่อจะกดคราดจมให้ลึกที่สุดเท่าที่จะลึกได้ และควายต้องลากคราดไปมา ครั้งแรกที่ผมเห็น "รถไถ" จากเพื่อนบ้านที่นำมาใช้ ผมดีใจว่า แต่นี้ต่อไปควายจะได้พักผ่อนเสียที และสามารถเลาะเล็มหญ้าได้ทั้งวันจนกว่าจะถูกต้อนเข้าคอก
ถ้าจะเอาวัฒนธรรมและธรรมเนียมมาตัดสิน คงไม่มีใครผิดใครถูก อังกฤษก็มองตามวิถีของอังกฤษ ไทยก็มองตามวิถีของไทยตามที่ผมได้พูดไปแล้ว แต่ถ้าจะเอาหลักพระพุทธศาสนา (ในฐานะที่คนไทยส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิก) มามอง......คุณๆ ท่านๆ มองอย่างไรครับ??