คนไทยรู้จักแต่ ม.นาลันทา(มหายาน) หารู้จัก ม.วัลภี(เถรวาท)ไม่
วลภี เป็นมหาวิทยาลัยฝ่ายหินยาน ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของอินเดีย คือ ใกล้เมืองภวนคร หรือเมืองสุราษฎร์โบราณ แคว้นคุชราดในปัจจุบัน เจ้าหญิงทัดดาเป็นปนัดดาของพระเจ้าธรุวเสนาได้สร้างวิหารหลังแรกของวิหารวลภีขึ้นเรียกว่า "วิหารมณฑล"
วลภี เป็นมหาวิทยาลัยฝ่ายหินยาน ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของอินเดีย คือ ใกล้เมืองภวนคร หรือเมืองสุราษฎร์โบราณ แคว้นคุชราดในปัจจุบัน เจ้าหญิงทัดดาเป็นปนัดดาของพระเจ้าธรุวเสนาได้สร้างวิหารหลังแรกของวิหารวลภีขึ้นเรียกว่า "วิหารมณฑล" ต่อมาพระนางได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีที่มหาวิหารวลภี ภายหลังวิหารหลายแห่งก็ถูกสร้างเพิ่มเติม เช่นวิหารยักษาสุระ โคหกวิหาร และวัดมิมมา นอกจากนั้นวัดโดยรอลวลภีก็ถูกสร้างขึ้น ๑๒ วัดคือ ๑.ภตารกวิหาร ๒.โคหกวิหาร ๓.อภยันตริกวิหาร ๔.กักกวิหาร ๕.พุทธทาสวิหาร ๖.วิมลคุปตวิหาร ๑๒.ยธวกวิหาร
จุดประสงค์ของการสร้างวัดถูกเขียนไว้ในจารึกของวัดว่าเพื่อ
๑. เป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ผู้มาจากทิศต่าง ๆ ทั้ง ๑๘ นิกาย
๒.เพื่อเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า
๓. เพื่อเป็นที่เก็บและรักษาตำรา
ในบันทึกของพระถังซัมจั๋งเรียกวลภีว่า ฟา-ลา-ปี ท่านกล่าวว่า "ถัดจากแคว้นกัจฉะไป ๑,๐๐๐ ลี้ก็ถึงแคว้นวลภี แคว้นนี้มีอาราม ๑๐๐ แห่ง พระภิกษุสงฆ์ ๖,๐๐๐ รูป ล้วนสังกัดลัทธิสัมมติยะแห่งนิกายหินยาน ที่นี่พระเจ้าอโศกได้สร้างสถูปไว้เป็นอนุสรณ์ พระราชาเป็นวรรณกษัตริย์เป็นชามาดา (ลูกเขย) ของพระเจ้าหรรษวรรธนะ ทรงนามว่า ธรุวัฏฏะทรงเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ทุกปีจะนิมนต์พระสงฆ์ทั่วแคว้นมาถวายภัตตาหาร เสนาสนะ สบง จีวร เภสัช เป็นต้น" พระเถระที่มีชื่อเสียงในมหาวิทยาลัยวลภีคือ พระสิถิรมติ (Sthiramati) และ พระคุณมติ (Gunamati) ซึ่งท่านทั้งสองเป็นศิษย์รุ่นต่อมาของพระวสุพันธุ ส่วนอารามที่มีชื่อเสียงที่มหาวิทยาลัยวลภี เมืองวลภี คือ
๑.พุทธทาสวิหาร สร้างโดยพระอาจารย์ภทันตะพุทธทาส
๒.อัพยันตริกาวิหาร สร้างโดยอุบาสิกามิมมา
๓.กากะวิหาร สร้างโดยพ่อค้าชื่อว่า กากะ
๔.โคหกะวิหาร สร้างโดยเศรษฐีโคหกะ
๕. วิมาลาคุปตะวิหาร สร้างโดยพระเถระชื่อว่าวิมาลาคุปตะ
๖. สถิรวิหาร สร้างโดยพระเถระสถิระ เป็นต้น
วลภีมาเจริญรุ่งเรือง อย่างมากในสมัยพระเจ้าไมตรกะ ราว พ.ศ.๑๐๙๘ พระองค์อุปถัมภ์เต็มความสามารถจนใหญ่โตเหมือนนาลันทา เป็นป้อมปราการอันสำคัญของพุทธศาสนาหินยานหรือเถรวาท
ท่านสถิรมติพระเถระชื่อดังจากมหาวิทยาลัยนาลันทา ได้สร้างวิหารหลังหนึ่งที่วลภีเช่นกัน มหาวิทยาลัยวลภีนอกจากจะศึกษาทางด้านพุทธศาสนาทุกนิกายแล้ว ยังศึกษาทางโลกเช่น จริยศาสตร์ แพทยศาสตร์อีกด้วย เนื่องจากชัยภูมิอยู่ใกล้ปากีสถาน และอีหร่าน เมื่อกองทัพมุสลิมรุกรานราว พ.ศ. ๑๔๐๐ วลภีจึงทำลายลงอย่างยับเยิน พระสงฆ์และพุทธบริษัทที่รอดตายต่างอพยพเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารกษัตริย์แคว้นมคธ
พ.ศ.๒๔๐๔ นายพันเอกทอด (Colonel Tod) นายทหารชาวอังกฤษได้เป็นผู้ค้นพบซากโบราณมหาวิทยาลัยนี้ ปัจจุบันซากโบราณสถานยังพอหลงเหลืออยู่ในเมืองวลภีนคร เมืองอาเมดาบาด รัฐคุชราต
cr;
http://www.dhammathai.org/buddhism/india/chapter06_3.php
เถรวาท 18 นิกาย
0.เถรวาท แยกเป็น
1.นิกายมหิสาสกวาท แยกเป็น
2.นิกายสัพพัตถิกวาท แยกเป็น
-3.นิกายกัสสปิกวาท
-4.นิกายสังกันติกวาท
-5.นิกายสุตตวาท
-6.นิกายธรรมคุตตวาท
7.นิกายวัชชีปุตวาท แยกเป็น
-8.นิกายธัมมตตริกวาท
-9.นิกายภัทรยานิกวาท
-10.นิกายฉันนาคาริกวาท
-11.นิกายสมิติยวาท
12.นิกายมหาสังฆิกะ แยกเป็น
-13.นิกายเอกัพโยหาริกวาท แยกเป็น
-14.นิกายพหุสสุติกวาท
-15.นิกายปัญญัติกวาท
-16.นิกายโคกุลิกวาท
-17.นิกายเจติยวาท
ลักษณะเฉพาะแต่ละนิกายมีดังนี้
1.นิกายมหิสาสกวาทีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากนิกายอื่นๆ หลายประการ เช่น ไม่มีอันตรภพ ผู้สำเร็จอรหันต์แล้วไม่เสื่อมแต่พระโสดาบันเสื่อมได้ การบูชาสถูปเจดีย์ได้บุญน้อย การถวายทานให้คณะสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานมีผลมากกว่าถวายทานต่อพระพุทธเจ้าองค์เดียว เป็นต้น
2.นิกายสัพพัตถิกวาท
หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับเถรวาท แต่ต่างกันที่ว่านิกายนี้ถือว่า ขันธ์ห้าเป็นของมีอยู่จริง พระอรหันต์เสื่อมได้ สิ่งทั้งหลายมีอยู่และเป็นอยู่ในลักษณะสืบต่อ ความจริงมีสองระดับคือสมมติสัจจะ เป็นความจริงโดยสมมติ เป็นความจริงของชาวโลก จัดเป็นสังขตธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัย ความจริงอีกระดับหนึ่งคือปรมัตถสัจจะ เป็นสิ่งสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่น เรียกว่าอสังขตธรรม ได้แก่ พระนิพพาน นิกายนี้ถือตามอภิธรรมมหาวิภาษาที่เป็นอรรถกถาของอภิธรรมชญานปริสถานเป็นหลัก[1] คัมภีร์ของนิกายนี้มีผู้แปลเป็นภาษาจีนและภาษาทิเบตไว้มาก พระภิกษุในทิเบตปัจจุบันถือวินัยของนิกายนี้
3.นิกายกัสสปิกวาท
เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ซึ่งแยกตัวออกมาจากนิกายสรวาสติวาทราว พ.ศ. 200 หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายธรรมคุปต์ เชื่อว่ากรรมที่ทำในอดีตให้ผลในอดีตแล้วหยุดเท่านั้น ไม่ตามมาให้ผลในปัจจุบันและอนาคตอีก มีพระไตรปิฎกเป็นของตนเอง
4.นิกายสังกันติกวาทนับถือพระอภิธรรมปิฎกมากขึ้น แต่มีบางส่วนเห็นแย้งว่าพระสุตตันตปิฎกสำคัญกว่า กลุ่มนี้จึงแยกมาตั้งนิกายใหม่ นิกายทั้ง 2 (4 และ 5) นี้ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง จนมีกล่าวโต้แย้งปรัชญาซึ่งกันและกัน นิกายนี้แพร่หลายอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย
5.นิกายสุตตวาท เห็นว่าพระสุตันตปิฎกสำคัญกว่าอภิธรรมปิฎก ปรัชญาของนิกายนี้เชื่อว่าความจริงมีสองอย่างคือวัตถุกับจิตใจ เน้นเรื่องอนิจจัง ทุกอย่างไม่เที่ยงทั้งภาวะและอภาวะ ชีวิตเป็นเพียงลำดับของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความรู้ทั้งหลายจะรู้ได้เฉพาะอนุมานประมาณเท่านั้น เพราะจิตไม่อาจยึดความจริงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ นิกายนี้ถือว่าเฉพาะวิญญาณขันธ์ในขันธ์ห้าเท่านั้นที่ไปเกิดใหม่ได้ ซึ่งขัดแย้งกับนิกายสางมิตียะ เชื่อว่าทุกคนมีธาตุแห่งพุทธะอยู่ในตัวเช่นเดียวกับความเชื่อของฝ่ายมหายาน
6.ธรรมคุปต์หรือ ธรรมคุปตวาท แยกมาจากนิกายม
ศาสกะ ในเวลาใกล้เคียงกับนิกายสรวาสติวาท โดยแตกต่างจากนิกายแม่ที่เรื่องการถวายทาน นิกายนี้เห็นว่าทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้าหรือแม้แต่สถูปเจดีย์มีผลมากกว่าถวายต่อสงฆ์ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายมหาสังฆิกะ
7.นิกายวัชชีปุตวาท เป็นนิกายที่แยกออกมาจากเถรวาทเมื่อครั้งการสังคายนาครั้งที่ 2 นิกายนี้ได้แพร่หลายจากมคธไปสู่อินเดียภาคตะวันตกและภาคใต้ ไม่มีปกรณ์ของนิกายนี้เหลืออยู่เลยในปัจจุบัน หลักธรรมเท่าที่มีหลักฐานเหลืออยู่คือนิกายนี้ยอมรับว่ามีอาตมันหรืออัตตาจึงถูกโจมตีจากนิกายอื่น เช่น นิกายมหาสังฆิกะ เถรวาทและนิกายเสาตรันติกวาท
8-10 ไม่ปรากฎข้อมูลหลงเหลือ
8.นิกายธัมมตตริกวาท n/a
9.นิกายภัทรยานิกวาท n/a
10.นิกายฉันนาคาริกวาท n/a
11.นิกายสมิติยวาทเป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่แยกมาจากนิกายวาตสีปุตรียะ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายแม่ คือรับรองว่ามีอาตมันหรือบุคคล รุ่งเรืองในอินเดียจนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 แต่หลักฐานเหลือมาถึงปัจจุบันไม่มากนัก
12.นิกายมหาสังฆิกะมหาสังฆิกะ[1] (สันสกฤต: महासांघिकmahāsāṃghika) เป็นนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่แยกออกมาจากคณะสงฆ์ดั้งเดิมหรือฝ่ายเถรวาทเมื่อครั้งสังคายนาครั้งที่ 2 โดยแยกตัวออกไปทำสังคายนาต่างหาก ในระยะแรกนิกายนี้ไม่ได้รุ่งเรืองมาก เนื่องจากมีความขัดแย้งกับฝ่ายเถรวาทอย่างรุนแรง ต่อมาจึงมีอิทธิพลที่เมืองปาฏลีบุตร เวสาลี แคว้นมคธ ไปจนถึงอินเดียใต้ มีนิกายที่แยกออกไป 5 นิกาย คือ นิกายโคกุลิกวาท นิกายเอกัพโยหาริกวาท นิกายปัญญตติกวาท นิกายพหุสสุติกวาท และนิกายเจติยวาท และถือเป็นต้นกำเนิดของมหายานในปัจจุบัน
หลักธรรมโดยทั่วไปนิกายมหาสังฆิกะยอมรับหลักธรรมสำคัญของพุทธศาสนา เช่น อริยสัจ 4 กฎแห่งกรรม ปฏิจสมุปบาท เช่นเดียวกับเถรวาท ส่วนที่ต่างออกไปคือ
พระพุทธเจ้า นิกายนี้ถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตระ ประกอบด้วยตรีกายคือ ธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมาณกาย มีการนับถือพระโพธิสัตว์โดยถือว่าเป็นโลกุตตระแบบเดียวกับพระพุทธเจ้า
พระอรหันต์
นิกายนี้ถือว่าพระอรหันต์อาจถูกมารยั่วยวนในความฝันจนอสุจิเคลื่อนได้ พระอรหันต์มีอัญญาณได้ มีกังขาได้ พระอรหันต์จะรู้ตัวว่าตนบรรลุมรรคผลเมื่อได้รับการพยากรณ์จากผู้อื่น มรรคผลจะปรากฏเมื่อผู้บำเพ็ญเพียรเปล่งคำว่า ทุกข์หนอ ๆ
หลักธรรมอื่น ๆนิกายนี้ถือว่าธรรมชาติของจิตเดิมแท้ผ่องใสแต่มัวหมองเพราะกิเลสจรมา ซึ่งใกล้เคียงกับแนวคิดของปรัชญาจิตนิยมของนิกายโยคาจารที่เกิดขึ้นภายหลัง ปฏิเสธอันตรภพ ถือว่าพระโสดาบันอาจเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ เป็นต้น
13.นิกายเอกัพยาวหาริกะ หรือ นิกายเอกวยหาริกวาท เป็นนิกายที่แยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะหลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายมหาสางฆิกะ ที่ต่างไปคือถือว่าไม่มีสภาวธรรมที่แท้จริง ทั้งทางโลกียะและโลกุตระ เป็นแต่บัญญัติโวหารเท่านั้น
14.นิกายพหุสสุติกวาทแยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะหรือนิกายโคกุลิกะ นิกายใดนิกายหนึ่ง ตามประวัติของนิกายนี้กล่าวว่าพระอรหันต์รูปหนึ่งเข้าฌานสมาบัติเป็นเวลานานจน พ.ศ. 200 จึงจาริกมาสู่แคว้นอังคุตตระ เห็นว่าหลักธรรมของฝ่ายมหาสังฆิกะยังไม่สมบูรณ์ จึงแสดงข้อธรรมเพิ่มเติมลงไป ภายหลังศิษย์จึงแยกมาตั้งนิกายใหม่ต่างหาก โดยหลักธรรมที่เพิ่มเติมนั้น มีลัทธิมหายานเจือปนอยู่ด้วย นิกายนี้ถือว่าเฉพาะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สุญญตาและนิพพานเท่านั้นที่เป็นโลกุตตระ ในขณะที่ฝ่ายมหาสังฆิกะถือว่าพระพุทธพจน์ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ
พหุสสุติก หรือ พหุศรุติย มาจากคำว่า พหูสูต แปลว่าผู้ที่ได้ยินได้ฟังมาก หมายถึงผู้ที่เรียนรู้มาอย่างดี
15.นิกายปัญญัติกวาทเป็นนิกายฝ่ายอาจริยวาท ซึ่งแยกมาจากนิกายเอกัพยาวหาริกะตามหลักฐานฝ่ายบาลี ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะ หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายมหาสางฆิกะ ที่ต่างไปคือ ถือว่าทุกข์ไม่มี ขันธ์ อายตนะ 12 เป็นมายา ไม่มีอกาล บุญกุศลเป็นเหตุปัจจัยให้ได้บรรลุอริยมรรค
16.นิกายโคกุลิกวาทเป็นนิกายที่แยกตัวออกมาจากนิกายมหาสังฆิกะ หลักธรรมโดยทั่วไปเหมือนกับนิกายมหาสังฆิกะ แต่ที่แยกตัวออกมาเพราะนิกายนี้ถือพระอภิธรรมปิฎกเป็นพิเศษ ไม่เคร่งครัดในพระวินัย ถือว่าการปฏิบัติให้พ้นกิเลสตัณหาโดยเร็วสำคัญกว่าการรักษาสิกขาบท
17.นิกายเจติยวาท เป็นนิกายฝ่ายอาจริยวาท ตั้งขึ้นโดยอาจารย์มหาเทวะ แยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะ หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายมหาสังฆิกะ ที่ต่างไปคือถือว่าการสร้างและการตกแต่งสถูปเจดีย์ได้บุญมาก พระนิพพานเป็นสภาวะที่มีอยู่ เป็นอมตธาตุ
คนไทยรู้จักแต่ ม.นาลันทา(มหายาน) หารู้จัก ม.วัลภี(เถรวาท)ไม่
วลภี เป็นมหาวิทยาลัยฝ่ายหินยาน ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของอินเดีย คือ ใกล้เมืองภวนคร หรือเมืองสุราษฎร์โบราณ แคว้นคุชราดในปัจจุบัน เจ้าหญิงทัดดาเป็นปนัดดาของพระเจ้าธรุวเสนาได้สร้างวิหารหลังแรกของวิหารวลภีขึ้นเรียกว่า "วิหารมณฑล"
วลภี เป็นมหาวิทยาลัยฝ่ายหินยาน ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของอินเดีย คือ ใกล้เมืองภวนคร หรือเมืองสุราษฎร์โบราณ แคว้นคุชราดในปัจจุบัน เจ้าหญิงทัดดาเป็นปนัดดาของพระเจ้าธรุวเสนาได้สร้างวิหารหลังแรกของวิหารวลภีขึ้นเรียกว่า "วิหารมณฑล" ต่อมาพระนางได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีที่มหาวิหารวลภี ภายหลังวิหารหลายแห่งก็ถูกสร้างเพิ่มเติม เช่นวิหารยักษาสุระ โคหกวิหาร และวัดมิมมา นอกจากนั้นวัดโดยรอลวลภีก็ถูกสร้างขึ้น ๑๒ วัดคือ ๑.ภตารกวิหาร ๒.โคหกวิหาร ๓.อภยันตริกวิหาร ๔.กักกวิหาร ๕.พุทธทาสวิหาร ๖.วิมลคุปตวิหาร ๑๒.ยธวกวิหาร
จุดประสงค์ของการสร้างวัดถูกเขียนไว้ในจารึกของวัดว่าเพื่อ
๑. เป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ผู้มาจากทิศต่าง ๆ ทั้ง ๑๘ นิกาย
๒.เพื่อเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า
๓. เพื่อเป็นที่เก็บและรักษาตำรา
ในบันทึกของพระถังซัมจั๋งเรียกวลภีว่า ฟา-ลา-ปี ท่านกล่าวว่า "ถัดจากแคว้นกัจฉะไป ๑,๐๐๐ ลี้ก็ถึงแคว้นวลภี แคว้นนี้มีอาราม ๑๐๐ แห่ง พระภิกษุสงฆ์ ๖,๐๐๐ รูป ล้วนสังกัดลัทธิสัมมติยะแห่งนิกายหินยาน ที่นี่พระเจ้าอโศกได้สร้างสถูปไว้เป็นอนุสรณ์ พระราชาเป็นวรรณกษัตริย์เป็นชามาดา (ลูกเขย) ของพระเจ้าหรรษวรรธนะ ทรงนามว่า ธรุวัฏฏะทรงเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ทุกปีจะนิมนต์พระสงฆ์ทั่วแคว้นมาถวายภัตตาหาร เสนาสนะ สบง จีวร เภสัช เป็นต้น" พระเถระที่มีชื่อเสียงในมหาวิทยาลัยวลภีคือ พระสิถิรมติ (Sthiramati) และ พระคุณมติ (Gunamati) ซึ่งท่านทั้งสองเป็นศิษย์รุ่นต่อมาของพระวสุพันธุ ส่วนอารามที่มีชื่อเสียงที่มหาวิทยาลัยวลภี เมืองวลภี คือ
๑.พุทธทาสวิหาร สร้างโดยพระอาจารย์ภทันตะพุทธทาส
๒.อัพยันตริกาวิหาร สร้างโดยอุบาสิกามิมมา
๓.กากะวิหาร สร้างโดยพ่อค้าชื่อว่า กากะ
๔.โคหกะวิหาร สร้างโดยเศรษฐีโคหกะ
๕. วิมาลาคุปตะวิหาร สร้างโดยพระเถระชื่อว่าวิมาลาคุปตะ
๖. สถิรวิหาร สร้างโดยพระเถระสถิระ เป็นต้น
วลภีมาเจริญรุ่งเรือง อย่างมากในสมัยพระเจ้าไมตรกะ ราว พ.ศ.๑๐๙๘ พระองค์อุปถัมภ์เต็มความสามารถจนใหญ่โตเหมือนนาลันทา เป็นป้อมปราการอันสำคัญของพุทธศาสนาหินยานหรือเถรวาท
ท่านสถิรมติพระเถระชื่อดังจากมหาวิทยาลัยนาลันทา ได้สร้างวิหารหลังหนึ่งที่วลภีเช่นกัน มหาวิทยาลัยวลภีนอกจากจะศึกษาทางด้านพุทธศาสนาทุกนิกายแล้ว ยังศึกษาทางโลกเช่น จริยศาสตร์ แพทยศาสตร์อีกด้วย เนื่องจากชัยภูมิอยู่ใกล้ปากีสถาน และอีหร่าน เมื่อกองทัพมุสลิมรุกรานราว พ.ศ. ๑๔๐๐ วลภีจึงทำลายลงอย่างยับเยิน พระสงฆ์และพุทธบริษัทที่รอดตายต่างอพยพเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารกษัตริย์แคว้นมคธ
พ.ศ.๒๔๐๔ นายพันเอกทอด (Colonel Tod) นายทหารชาวอังกฤษได้เป็นผู้ค้นพบซากโบราณมหาวิทยาลัยนี้ ปัจจุบันซากโบราณสถานยังพอหลงเหลืออยู่ในเมืองวลภีนคร เมืองอาเมดาบาด รัฐคุชราต
cr; http://www.dhammathai.org/buddhism/india/chapter06_3.php
1.นิกายมหิสาสกวาท แยกเป็น
2.นิกายสัพพัตถิกวาท แยกเป็น
-3.นิกายกัสสปิกวาท
-4.นิกายสังกันติกวาท
-5.นิกายสุตตวาท
-6.นิกายธรรมคุตตวาท
7.นิกายวัชชีปุตวาท แยกเป็น
-8.นิกายธัมมตตริกวาท
-9.นิกายภัทรยานิกวาท
-10.นิกายฉันนาคาริกวาท
-11.นิกายสมิติยวาท
12.นิกายมหาสังฆิกะ แยกเป็น
-13.นิกายเอกัพโยหาริกวาท แยกเป็น
-14.นิกายพหุสสุติกวาท
-15.นิกายปัญญัติกวาท
-16.นิกายโคกุลิกวาท
-17.นิกายเจติยวาท
ลักษณะเฉพาะแต่ละนิกายมีดังนี้
1.นิกายมหิสาสกวาทีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากนิกายอื่นๆ หลายประการ เช่น ไม่มีอันตรภพ ผู้สำเร็จอรหันต์แล้วไม่เสื่อมแต่พระโสดาบันเสื่อมได้ การบูชาสถูปเจดีย์ได้บุญน้อย การถวายทานให้คณะสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานมีผลมากกว่าถวายทานต่อพระพุทธเจ้าองค์เดียว เป็นต้น
2.นิกายสัพพัตถิกวาท
หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับเถรวาท แต่ต่างกันที่ว่านิกายนี้ถือว่า ขันธ์ห้าเป็นของมีอยู่จริง พระอรหันต์เสื่อมได้ สิ่งทั้งหลายมีอยู่และเป็นอยู่ในลักษณะสืบต่อ ความจริงมีสองระดับคือสมมติสัจจะ เป็นความจริงโดยสมมติ เป็นความจริงของชาวโลก จัดเป็นสังขตธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัย ความจริงอีกระดับหนึ่งคือปรมัตถสัจจะ เป็นสิ่งสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่น เรียกว่าอสังขตธรรม ได้แก่ พระนิพพาน นิกายนี้ถือตามอภิธรรมมหาวิภาษาที่เป็นอรรถกถาของอภิธรรมชญานปริสถานเป็นหลัก[1] คัมภีร์ของนิกายนี้มีผู้แปลเป็นภาษาจีนและภาษาทิเบตไว้มาก พระภิกษุในทิเบตปัจจุบันถือวินัยของนิกายนี้
3.นิกายกัสสปิกวาท
เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ซึ่งแยกตัวออกมาจากนิกายสรวาสติวาทราว พ.ศ. 200 หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายธรรมคุปต์ เชื่อว่ากรรมที่ทำในอดีตให้ผลในอดีตแล้วหยุดเท่านั้น ไม่ตามมาให้ผลในปัจจุบันและอนาคตอีก มีพระไตรปิฎกเป็นของตนเอง
4.นิกายสังกันติกวาทนับถือพระอภิธรรมปิฎกมากขึ้น แต่มีบางส่วนเห็นแย้งว่าพระสุตตันตปิฎกสำคัญกว่า กลุ่มนี้จึงแยกมาตั้งนิกายใหม่ นิกายทั้ง 2 (4 และ 5) นี้ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง จนมีกล่าวโต้แย้งปรัชญาซึ่งกันและกัน นิกายนี้แพร่หลายอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย
5.นิกายสุตตวาท เห็นว่าพระสุตันตปิฎกสำคัญกว่าอภิธรรมปิฎก ปรัชญาของนิกายนี้เชื่อว่าความจริงมีสองอย่างคือวัตถุกับจิตใจ เน้นเรื่องอนิจจัง ทุกอย่างไม่เที่ยงทั้งภาวะและอภาวะ ชีวิตเป็นเพียงลำดับของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความรู้ทั้งหลายจะรู้ได้เฉพาะอนุมานประมาณเท่านั้น เพราะจิตไม่อาจยึดความจริงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ นิกายนี้ถือว่าเฉพาะวิญญาณขันธ์ในขันธ์ห้าเท่านั้นที่ไปเกิดใหม่ได้ ซึ่งขัดแย้งกับนิกายสางมิตียะ เชื่อว่าทุกคนมีธาตุแห่งพุทธะอยู่ในตัวเช่นเดียวกับความเชื่อของฝ่ายมหายาน
6.ธรรมคุปต์หรือ ธรรมคุปตวาท แยกมาจากนิกายมศาสกะ ในเวลาใกล้เคียงกับนิกายสรวาสติวาท โดยแตกต่างจากนิกายแม่ที่เรื่องการถวายทาน นิกายนี้เห็นว่าทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้าหรือแม้แต่สถูปเจดีย์มีผลมากกว่าถวายต่อสงฆ์ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายมหาสังฆิกะ
7.นิกายวัชชีปุตวาท เป็นนิกายที่แยกออกมาจากเถรวาทเมื่อครั้งการสังคายนาครั้งที่ 2 นิกายนี้ได้แพร่หลายจากมคธไปสู่อินเดียภาคตะวันตกและภาคใต้ ไม่มีปกรณ์ของนิกายนี้เหลืออยู่เลยในปัจจุบัน หลักธรรมเท่าที่มีหลักฐานเหลืออยู่คือนิกายนี้ยอมรับว่ามีอาตมันหรืออัตตาจึงถูกโจมตีจากนิกายอื่น เช่น นิกายมหาสังฆิกะ เถรวาทและนิกายเสาตรันติกวาท
8-10 ไม่ปรากฎข้อมูลหลงเหลือ
8.นิกายธัมมตตริกวาท n/a
9.นิกายภัทรยานิกวาท n/a
10.นิกายฉันนาคาริกวาท n/a
11.นิกายสมิติยวาทเป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่แยกมาจากนิกายวาตสีปุตรียะ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายแม่ คือรับรองว่ามีอาตมันหรือบุคคล รุ่งเรืองในอินเดียจนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 แต่หลักฐานเหลือมาถึงปัจจุบันไม่มากนัก
12.นิกายมหาสังฆิกะมหาสังฆิกะ[1] (สันสกฤต: महासांघिकmahāsāṃghika) เป็นนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่แยกออกมาจากคณะสงฆ์ดั้งเดิมหรือฝ่ายเถรวาทเมื่อครั้งสังคายนาครั้งที่ 2 โดยแยกตัวออกไปทำสังคายนาต่างหาก ในระยะแรกนิกายนี้ไม่ได้รุ่งเรืองมาก เนื่องจากมีความขัดแย้งกับฝ่ายเถรวาทอย่างรุนแรง ต่อมาจึงมีอิทธิพลที่เมืองปาฏลีบุตร เวสาลี แคว้นมคธ ไปจนถึงอินเดียใต้ มีนิกายที่แยกออกไป 5 นิกาย คือ นิกายโคกุลิกวาท นิกายเอกัพโยหาริกวาท นิกายปัญญตติกวาท นิกายพหุสสุติกวาท และนิกายเจติยวาท และถือเป็นต้นกำเนิดของมหายานในปัจจุบัน
หลักธรรมโดยทั่วไปนิกายมหาสังฆิกะยอมรับหลักธรรมสำคัญของพุทธศาสนา เช่น อริยสัจ 4 กฎแห่งกรรม ปฏิจสมุปบาท เช่นเดียวกับเถรวาท ส่วนที่ต่างออกไปคือ
พระพุทธเจ้า นิกายนี้ถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตระ ประกอบด้วยตรีกายคือ ธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมาณกาย มีการนับถือพระโพธิสัตว์โดยถือว่าเป็นโลกุตตระแบบเดียวกับพระพุทธเจ้า
พระอรหันต์
นิกายนี้ถือว่าพระอรหันต์อาจถูกมารยั่วยวนในความฝันจนอสุจิเคลื่อนได้ พระอรหันต์มีอัญญาณได้ มีกังขาได้ พระอรหันต์จะรู้ตัวว่าตนบรรลุมรรคผลเมื่อได้รับการพยากรณ์จากผู้อื่น มรรคผลจะปรากฏเมื่อผู้บำเพ็ญเพียรเปล่งคำว่า ทุกข์หนอ ๆ
หลักธรรมอื่น ๆนิกายนี้ถือว่าธรรมชาติของจิตเดิมแท้ผ่องใสแต่มัวหมองเพราะกิเลสจรมา ซึ่งใกล้เคียงกับแนวคิดของปรัชญาจิตนิยมของนิกายโยคาจารที่เกิดขึ้นภายหลัง ปฏิเสธอันตรภพ ถือว่าพระโสดาบันอาจเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ เป็นต้น
13.นิกายเอกัพยาวหาริกะ หรือ นิกายเอกวยหาริกวาท เป็นนิกายที่แยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะหลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายมหาสางฆิกะ ที่ต่างไปคือถือว่าไม่มีสภาวธรรมที่แท้จริง ทั้งทางโลกียะและโลกุตระ เป็นแต่บัญญัติโวหารเท่านั้น
14.นิกายพหุสสุติกวาทแยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะหรือนิกายโคกุลิกะ นิกายใดนิกายหนึ่ง ตามประวัติของนิกายนี้กล่าวว่าพระอรหันต์รูปหนึ่งเข้าฌานสมาบัติเป็นเวลานานจน พ.ศ. 200 จึงจาริกมาสู่แคว้นอังคุตตระ เห็นว่าหลักธรรมของฝ่ายมหาสังฆิกะยังไม่สมบูรณ์ จึงแสดงข้อธรรมเพิ่มเติมลงไป ภายหลังศิษย์จึงแยกมาตั้งนิกายใหม่ต่างหาก โดยหลักธรรมที่เพิ่มเติมนั้น มีลัทธิมหายานเจือปนอยู่ด้วย นิกายนี้ถือว่าเฉพาะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สุญญตาและนิพพานเท่านั้นที่เป็นโลกุตตระ ในขณะที่ฝ่ายมหาสังฆิกะถือว่าพระพุทธพจน์ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ
พหุสสุติก หรือ พหุศรุติย มาจากคำว่า พหูสูต แปลว่าผู้ที่ได้ยินได้ฟังมาก หมายถึงผู้ที่เรียนรู้มาอย่างดี
15.นิกายปัญญัติกวาทเป็นนิกายฝ่ายอาจริยวาท ซึ่งแยกมาจากนิกายเอกัพยาวหาริกะตามหลักฐานฝ่ายบาลี ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะ หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายมหาสางฆิกะ ที่ต่างไปคือ ถือว่าทุกข์ไม่มี ขันธ์ อายตนะ 12 เป็นมายา ไม่มีอกาล บุญกุศลเป็นเหตุปัจจัยให้ได้บรรลุอริยมรรค
16.นิกายโคกุลิกวาทเป็นนิกายที่แยกตัวออกมาจากนิกายมหาสังฆิกะ หลักธรรมโดยทั่วไปเหมือนกับนิกายมหาสังฆิกะ แต่ที่แยกตัวออกมาเพราะนิกายนี้ถือพระอภิธรรมปิฎกเป็นพิเศษ ไม่เคร่งครัดในพระวินัย ถือว่าการปฏิบัติให้พ้นกิเลสตัณหาโดยเร็วสำคัญกว่าการรักษาสิกขาบท
17.นิกายเจติยวาท เป็นนิกายฝ่ายอาจริยวาท ตั้งขึ้นโดยอาจารย์มหาเทวะ แยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะ หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายมหาสังฆิกะ ที่ต่างไปคือถือว่าการสร้างและการตกแต่งสถูปเจดีย์ได้บุญมาก พระนิพพานเป็นสภาวะที่มีอยู่ เป็นอมตธาตุ