ประจวบคีรีขันธ์ - ผู้ว่าราชการประจวบฯได้ฤกษ์นัดสื่อแฉคดีลูกจ้างสำนักงานจังหวัดโกง 33.9 ล้านบาท ตำรวจยันหมดหวังตามเงินคืน
จากกรณี น.ส.ขนิษฐา หอยทอง อายุ 28 ปี พนักงานราชการ สำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถูกดำเนินคดีในข้อหายักยอกทรัพย์ ปลอมเอกสารทางราชการ และใช้เอกสารปลอม นำเงินงบประมาณของทางราชการ 33.9 ล้านบาท จากการโอนเงินผ่านระบบการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ GFMIS โอนเข้าบัญชีส่วนตัว พบการกระทำความผิดสร้างข้อมูลหลักฐานเท็จ จำนวน 53 ครั้ง ขณะนี้ถูกควบคุมตัวจากการฝากขังผลัดแรกในเรือนจำ จ.ประจวบคีรีขันธ์
ล่าสุด วันนี้ (29 มิ.ย.) นายพิทยา คล้ายจำแลง ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากนายพัลลภ สิงหเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เชิญสื่อมวลชนแถลงข้อเท็จจริงคดีดังกล่าวที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัด ถนนสวนสน-อ่าวน้อย ในวันนี้ตั้งแต่เวลา 17.00 น.เป็นต้นไป โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด 3 คน เจ้าหน้าที่จากสำนักงานจังหวัดที่เกี่ยวข้องตอบข้อซักถาม พร้อมทั้งขณะแถลงข่าวอนุญาตให้มีการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กเพื่อประชาชนที่สนใจรับทราบข้อมูลได้
สำหรับปัญหาการแถลงข่าวล่าช้านานกว่า 1 สัปดาห์ หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ ตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดได้ลาป่วยล่วงหน้า หลังแพทย์นัดผ่าตัดต้อหินที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน กทม.
ด้านแหล่งข่าวผู้บริหารระดับสูง จ.ประจวบคีรีขันธ์ กรรมการสอบข้อเท็จจริง ระบุว่า การยักยอกงบประมาณแผ่นดิน 33,929,645 ล้านบาท ผ่านระบบการเงินการคลังภาครัฐ GFMIS ประกอบด้วยบัญชีภัยแล้ง 23,265,700 ล้านบาท บัญชีงบแผนพัฒนาจังหวัดปี 2563 จำนวน 3,274,550 ล้านบาท บัญชีเงินฝากคลัง 7,389,395 ล้านบาท พบพิรุธการโกงเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2563 จากการตรวจบัญชีการเงิน ข้อมูลการเบิกเช็คทั้งหมดของสำนักงานจังหวัดผ่านธนาคารกรุงไทย
โดยมีการปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 จากนั้นผู้ต้องหาโอนเงินสดเข้าบัญชี น.ส.สายพิณ ดิบดีคุ้ม มารดาที่เปิดบัญชีธนาคาร ธ.ก.ส. สาขาประจวบฯ เพื่อให้เป็นตัวแทนในระบบหลักผู้ขาย จากนั้นมีการกรอกข้อมูลผ่านแบบขออนุมัติข้อมูลหลัก มีการปลอมลายมือชื่อของผู้มีอำนาจ เพื่อนำไปสร้างข้อมูลหลัก และสั่งจ่ายเงินตรงเข้าบัญชีที่กรอกไว้ตามแบบอนุมัติข้อมูลหลัก
ด้านจ่าเอกเสกสรรค์ จันทร แกนนำเครือข่ายต่อต้านการทุจริต จ.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนเจ้าของภาษี ต้องการทราบว่าลูกจ้างชั่วคราวมีขั้นตอนการโกงอย่างไรนานหลายเดือน รวมทั้งสาเหตุที่ตรวจสอบไม่พบ สำหรับการแถลงข่าวหัวหน้าสำนักงานจังหวัด หัวหน้ากลุ่มงานที่ควบคุมงานการเงิน หัวหน้างานการเงิน และรองผู้ว่าราชการจังหวัดรายหนึ่งที่รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัดในการควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณทั้งหมด ต้องบอกให้ชัดเจนว่าจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร หากไม่ได้เงินสด 33.9 ล้านบาทกลับคืนในระบบ และยืนยันว่าในฐานะที่เคยเป่านกหวีดต้านโกง เมื่อพบการทุจริตจะไม่ปล่อยให้เงียบเหมือนที่ผ่านมา หลังจากยื่นร้องเรียน ป.ป.ช. เพื่อให้สอบสวนรองผู้ว่าราชการจังหวัด 1 ราย ข้าราชการอำนวยการสูง 1 ราย และอีก 2 รายในสำนักงานจังหวัด เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อ ทำให้ราชการได้รับความเสียหาย
ขณะที่ทีมพนักงานสอบสวนตำรวจภูธร จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระบุว่า ขณะนี้พบการโอนเงินเข้าบัญชีญาติอีกหลายรายและกระจายเงินไปมากกว่า 100 บัญชี เพื่อฟอกเงินในเว็บพนันออนไลน์ สำหรับการโอนเงินไปให้เว็บพนันออนไลน์ครั้งเดียว 26 ล้านบาท ในลักษณะการฟอกเงิน เพื่อถอนเงินสดจากบัญชีอื่นในภายหลัง ยอมรับว่าการติดตามเงินสดกลับคืนทำได้ยากมาก เนื่องจากหลังมีการโอนให้เว็บการพนัน ผู้เกี่ยวข้องจะมีการว่าจ้างบุคคลอื่นเปิดบัญชีเงินฝากต่อเนื่องอีกหลายทอด
ข่าวจาก : MGR Online
https://mgronline.com/local/detail/9630000066539
ตำรวจประจวบฯ เผยหมดหวังตามเงินคืน 33.9 ล้านบาทเข้าหลวง
จากกรณี น.ส.ขนิษฐา หอยทอง อายุ 28 ปี พนักงานราชการ สำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถูกดำเนินคดีในข้อหายักยอกทรัพย์ ปลอมเอกสารทางราชการ และใช้เอกสารปลอม นำเงินงบประมาณของทางราชการ 33.9 ล้านบาท จากการโอนเงินผ่านระบบการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ GFMIS โอนเข้าบัญชีส่วนตัว พบการกระทำความผิดสร้างข้อมูลหลักฐานเท็จ จำนวน 53 ครั้ง ขณะนี้ถูกควบคุมตัวจากการฝากขังผลัดแรกในเรือนจำ จ.ประจวบคีรีขันธ์
ล่าสุด วันนี้ (29 มิ.ย.) นายพิทยา คล้ายจำแลง ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากนายพัลลภ สิงหเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เชิญสื่อมวลชนแถลงข้อเท็จจริงคดีดังกล่าวที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัด ถนนสวนสน-อ่าวน้อย ในวันนี้ตั้งแต่เวลา 17.00 น.เป็นต้นไป โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด 3 คน เจ้าหน้าที่จากสำนักงานจังหวัดที่เกี่ยวข้องตอบข้อซักถาม พร้อมทั้งขณะแถลงข่าวอนุญาตให้มีการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กเพื่อประชาชนที่สนใจรับทราบข้อมูลได้
สำหรับปัญหาการแถลงข่าวล่าช้านานกว่า 1 สัปดาห์ หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ ตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดได้ลาป่วยล่วงหน้า หลังแพทย์นัดผ่าตัดต้อหินที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน กทม.
ด้านแหล่งข่าวผู้บริหารระดับสูง จ.ประจวบคีรีขันธ์ กรรมการสอบข้อเท็จจริง ระบุว่า การยักยอกงบประมาณแผ่นดิน 33,929,645 ล้านบาท ผ่านระบบการเงินการคลังภาครัฐ GFMIS ประกอบด้วยบัญชีภัยแล้ง 23,265,700 ล้านบาท บัญชีงบแผนพัฒนาจังหวัดปี 2563 จำนวน 3,274,550 ล้านบาท บัญชีเงินฝากคลัง 7,389,395 ล้านบาท พบพิรุธการโกงเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2563 จากการตรวจบัญชีการเงิน ข้อมูลการเบิกเช็คทั้งหมดของสำนักงานจังหวัดผ่านธนาคารกรุงไทย
โดยมีการปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 จากนั้นผู้ต้องหาโอนเงินสดเข้าบัญชี น.ส.สายพิณ ดิบดีคุ้ม มารดาที่เปิดบัญชีธนาคาร ธ.ก.ส. สาขาประจวบฯ เพื่อให้เป็นตัวแทนในระบบหลักผู้ขาย จากนั้นมีการกรอกข้อมูลผ่านแบบขออนุมัติข้อมูลหลัก มีการปลอมลายมือชื่อของผู้มีอำนาจ เพื่อนำไปสร้างข้อมูลหลัก และสั่งจ่ายเงินตรงเข้าบัญชีที่กรอกไว้ตามแบบอนุมัติข้อมูลหลัก
ด้านจ่าเอกเสกสรรค์ จันทร แกนนำเครือข่ายต่อต้านการทุจริต จ.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนเจ้าของภาษี ต้องการทราบว่าลูกจ้างชั่วคราวมีขั้นตอนการโกงอย่างไรนานหลายเดือน รวมทั้งสาเหตุที่ตรวจสอบไม่พบ สำหรับการแถลงข่าวหัวหน้าสำนักงานจังหวัด หัวหน้ากลุ่มงานที่ควบคุมงานการเงิน หัวหน้างานการเงิน และรองผู้ว่าราชการจังหวัดรายหนึ่งที่รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัดในการควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณทั้งหมด ต้องบอกให้ชัดเจนว่าจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร หากไม่ได้เงินสด 33.9 ล้านบาทกลับคืนในระบบ และยืนยันว่าในฐานะที่เคยเป่านกหวีดต้านโกง เมื่อพบการทุจริตจะไม่ปล่อยให้เงียบเหมือนที่ผ่านมา หลังจากยื่นร้องเรียน ป.ป.ช. เพื่อให้สอบสวนรองผู้ว่าราชการจังหวัด 1 ราย ข้าราชการอำนวยการสูง 1 ราย และอีก 2 รายในสำนักงานจังหวัด เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อ ทำให้ราชการได้รับความเสียหาย
ขณะที่ทีมพนักงานสอบสวนตำรวจภูธร จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระบุว่า ขณะนี้พบการโอนเงินเข้าบัญชีญาติอีกหลายรายและกระจายเงินไปมากกว่า 100 บัญชี เพื่อฟอกเงินในเว็บพนันออนไลน์ สำหรับการโอนเงินไปให้เว็บพนันออนไลน์ครั้งเดียว 26 ล้านบาท ในลักษณะการฟอกเงิน เพื่อถอนเงินสดจากบัญชีอื่นในภายหลัง ยอมรับว่าการติดตามเงินสดกลับคืนทำได้ยากมาก เนื่องจากหลังมีการโอนให้เว็บการพนัน ผู้เกี่ยวข้องจะมีการว่าจ้างบุคคลอื่นเปิดบัญชีเงินฝากต่อเนื่องอีกหลายทอด
ข่าวจาก : MGR Online
https://mgronline.com/local/detail/9630000066539