สวนพฤกษศาสตร์แนวศิลปะ

The Lost Gardens of Heligan


 เป็นสวนที่เก่าแก่ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก มีมาตั้งแต่ยุคกลาง  ตั้งแต่ยุคปี ค.ศ.1200 และก็รุ่งเรืองสุดๆในยุคปี 1800 – 1900 ต้นๆ สวนแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นในกลางศตวรรษที่ 18 โดยสมาชิก ของครอบครัวตระกูล Cornish Tremayne จนถึงช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อเกิดสงครามโลก 2 ครั้ง The Lost Gardens of Heligan ก็หายสาบสูญไปจากการรับรู้ของผู้คน

(ช่วงปี ค.ศ.1914 – 1990) กลายเป็นที่รกร้างและไม่มีใครสนใจ จนปี 1990 จึงถูกบูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่ จนปัจจุบันก็กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อแห่งหนึ่งของอังกฤษ ผู้คนไปเที่ยวและโพสต์รูป เทพธิดา นางฟ้าที่ทำจากดินปกคลุมด้วยมอส ที่มีสีเปลี่ยนแปลงไปตามอายุของหญ้ามอสที่ขึ้นปกคลุม  

The Lost Gardens of Heligan (เป็นภาษาCornish: Lowarth Helygen, น่าจะแปลว่า สวนต้นหลิว willow tree garden) อยู่ใกล้ Mevagissey ในเมือง Cornwall นับเป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่ขึ้นชื่อที่สุดแห่งหนึ่งในอังกฤษ



สไตล์ของสวนในยุคศตวรรษที่ 19 (Gardenesque style) แบ่งสวนเป็นลักษณะต่างๆ ตามสไตล์การออกแบบ ทั้ง ป่าแบบเขตร้อน สวนแบบอิตาลี สวนแบบวิคตอเรีย สวนญี่ปุ่น และยังมีสวนผัก และดอกไม้ อีกมากมาย 
ภาพและข้อมูลจาก http://www.iurban.in.th
Cr.http://ruamruengplaekjissy.blogspot.com/2013/05/blog-post_6.html / เขียนโดย jissy 

Montreal Botanical Garden


สวนพฤกษศาสตร์มอนทรีออล เป็นสวนดอกไม้ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองมอนทรีออลในเขตการปกครองของรัฐควิเบก ประเทศแคนาดา มีพื้นที่ประมาณ 190 เอเคอร์ประกอบไปด้วยสวนที่ตกแต่งเป็นรูปต่างๆ แปลกตาและเรือนกระจกที่ใช้สำหรับปลูกและเพาะพันธุ์ต้นไม้

 สวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติแคนาดา ในปี ค.ศ. 2008 และเป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่มีความสำคัญมากระดับโลกเนื่องจากเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชมากมายรวมทั้งการตกแต่งสถานที่ให้สวยงามอย่างต่อเนื่องอีกด้วย สวนพฤกษศาสตร์มอนทรีออลตั้งอยู่บนถนน Sherbrooke 4101 ฝั่งตะวันออก

ภายในสวนมีแปลงเพาะปลูกเรือนกระจกที่ใช้สำหรับเพาะปลูกพืชพันธุ์นานาชนิดจากทั่วทุกมุมโลก และยังมีสวนกลางแจ้งที่ตัดแต่งและตกแต่งในธีมต่างๆ ไม่ซ้ำกัน สวนที่อยู่กลางแจ้งจะถูกปกคลุมไปด้วยหิมะตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงเมษายน แต่เรือนกระจกเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมตลอดทั้งปี 

ซึ่งที่สวนจะจัดงานนิทรรศการ Butterflies Go Free หรืองานนิทรรศการแสดงผีเสื้อที่มีชีวิตโดยปล่อยให้ผีเสื้อเหล่านี้บินอยู่ในเรือนกระจก  เหล่าผีเสื้อที่นำมาจากที่ต่างๆ บินเกาะใบไม้และดอกไม้ภายในเรือนกระจกเพื่อสร้างความเพลิดเพลิน

สวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในปี  ค.ศ. 1931 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เกิดในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ผู้ที่ริเริ่มก่อสร้างสวนแห่งนี้ขึ้นก็ คมิลเลียน เฮาด์ ร่วมกับมารี-วิตอริน คีรวคสมาชิกชาวแคนาดาของ Brothers of the Christian School และนักพฤกษศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่รณรงค์ให้สวนแห่งนี้เป็นที่รู้จัก ผู้ที่ออกแบบพื้นของสวนคือ Henry Teuscher สถาปนิกที่เชี่ยวชาญด้านภูมิสถาปัตย์



ส่วนอาคารส่วนงานบริหารสวนนั้นถูกออกแบบแนวอาร์ตเดโค (Art Deco) โดย Lucien F. Kéroack ซึ่งจะเป็นสถาปัตยกรรมแนวหรูหราและสมัยใหม่นิยมกันอย่างสูงสุดในยุโรปและสหรัฐอเมริกา สวนพฤกษศาสตร์มอนทรีออลเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับการปลูกพืชในสวนหรือเรือนกระจกสำหรับนักเรียนและนักศึกษา อีกทั้งยังเป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์อีกด้วย สวนพฤกษศาสตร์มอนทรีออลจึงเป็นสวนที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานและเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญมากแห่งหนึ่งในแคนาดา
Cr.ภาพ wrvo.org
ที่มา en.wikipedia.org
Cr.https://travel.thaiza.com/foreign/470887/

Etretat Gardens


นักแสดงหญิงชาวฝรั่งเศส Madame Thébault ที่อาศัยในปารีสได้ตัดสินใจเปลี่ยนที่ดินว่างเปล่าของเธอเป็นสวน ต้นไม้ต้นแรกถูกปลูกที่พื้นที่นี้ในปี ค.ศ. 1903 ซึ่งเธอได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสวนนี้จากศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ ซึ่งเป็นศิลปะที่มีต้นแบบมาจากป็นจิตรกรลัทธิประทับใจที่ชื่อ โกลด มอแน ชาวฝรั่งเศสที่หลงใหลในศิลปะแนวประทับใจ

ในปี ค.ศ. 2016 Alexandre Grivko ได้บูรณะสวนแห่งนี้ให้กลายเป็นสวนที่มีชีวิตนั่นคือ สวน Etretat สวนแห่งนี้ได้กลายเป็นสวนสาธารณะที่มีรูปปั้นต่างๆ ดูแปลกตาที่ถูกแกะสลักโดยศิลปินต่างชาติ การผสมผสานด้วยรูปปั้นแกะสลักที่นำมาไว้ในสวนนั้นกลายเป็นสิ่งที่เหมาะเจาะและรวมอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว ซึ่งเข้ากันกับสวนที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานแสดงถึงสถาปัตยกรรมที่มีแนวคิดสุนทรียศาสตร์

ต่อมาสวนนี้ได้มีแนวคิดใหม่ให้ปรับปรุงเพื่อให้ดียิ่งขึ้น จึงได้สร้างสวนสาธิตขึ้นมาและใช้หลักการทางสถาปัตยกรรมซึ่งใช้เทคโลโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการออกแบบสวนเพิ่มเติม ทำให้เกิดเป็น "ประติมากรรมที่มีชีวิต" ทำให้แนวคิดและความเชื่อจากสวนคลาสสิคทั่วไปเปลี่ยนเป็นสวนที่ใช้การออกแบบจากความรู้ทางสถาปัตยกรรม



 Alexandre Grivko เป็นสถาปนิกที่มีความรู้ทางด้านภูมิสถาปัตยกรรม และ บริษัท IL Nature ได้ทำการออกแบบและสร้างสวนแห่งนี้ขึ้นมาใหม่ ซึ่งเข้าได้นำประสบการณ์และแรงบันดาลใจมาจากสวนหลายๆ ที่แต่แนวคิดที่ใช้ในการออกแบบสวนนี้หลักๆ จะเป็นแบบนีโอ-ฟิวเจอร์ริสม์ (Neo-futurism) เป็นกระแสเคลื่อนไหวทางศิลปะและสังคมแบบหัวก้าวหน้าหรืออาวอง-การ์ด (avant-garde) และรูปแบบของสวน Les Jardins d’Etretat ได้สะท้อนถึงการรวมเป็นหนึ่งของมนุษย์และธรรมชาติซึ่งได้มีการพัฒนาและอยู่ในขอบเขตที่เคารพซึ่งกันและกัน
Cr.ภาพ adrianasassoon.me/
ที่มา landezine.com
Cr.https://travel.thaiza.com/foreign/470080/

Kew Gardens


Kew Gardens (คิว การ์เด้น) คือ สวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายทางพฤกษศาสตร์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงลอนดอน ตั้งแต่ปี1840 พื้นที่ 1.21 ตารางกิโลเมตร เป็นพิพิธภัณฑ์พืชที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่รวบรวมพันธุ์พืชกว่า 7ล้านชนิด และยังมีภาพถ่าย ภาพวาดอีกกว่า 175,000 ชิ้น
เป็นสถานที่สถานที่ท่องเที่ยวอันดับต้นๆของกรุงลอนดอน และเป็นมรดกโลกด้วยการสนับสนุนจากกรมสิ่งแวดล้อม อาหาร และกิจการชนบท ถูกบริหารโดย Royal Botanic Gardens หรือเรียกสั้นๆว่า “Kew” ซึ่งเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่วิจัยและศึกษาพันธุ์พืช

Kew Park ถูกสร้างขึ้นในปี 1759 โดยลอร์ด Capel John แห่ง Tewkesbury เป็นสวนและเรือนกระจกพฤษศาสตร์ ภายในพื้นที่มีงานสถาปัตยกรรมและสิ่งปลูกสร้างหลายแห่งที่ถูกจัดวางบน landscape อย่างสวยงาม นอกจากนี้ Kew Gardens ยังเป็นสวนที่มีกำลังตำรวจเป็นของตัวเองเรียกว่า “Kew Constabulary” ตั้งขึ้นเมื่อปี 1847 และว่ากันว่า Kew Gardens กำลังจะเป็นศูนย์กลางของสถาปัตยกรรมร่วมสมัยในไม่ช้า  นอกจากนั้นภายใน Kew Gardens ยังมีงานสถาปัตยกรรมอีกหลายแห่ง ได้แก่

The Hive


งานสถาปัตยกรรมที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับรังผึ้งขนาดใหญ่นี้ เป็นหนึ่งในไฮไลต์ของ Kew Gardens มันถูกเรียกว่า The Hive ที่แปลว่ารังผึ้ง และถูกออกแบบโดย Wolfgang Buttress เพื่อแสดงในงาน Milan Expo ปี 2015 จากนั้นถูกส่งมายัง Kew Gardens และเปิดตัวในปี 2016

The Hive มีลักษณะเหมือนรังผึ้งและศาลาโลหะอันหรูหราที่มีโดมแสงสว่างที่ตรงกลาง วัสดุหลักในการก่อสร้าง คือ อะลูมิเนียมและเหล็ก 169,300 ชิ้น เรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบจนกลายเป็นโครงสร้างที่สวยงามสมบูรณ์แบบ และมีน้ำหนักถึง 40 ตัน The Hive ยังเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่ต้องการให้ผู้เข้าชมสวนตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องผึ้ง และการคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของเมือง

Treetop walkway


ถูกออกแบบโดย Marks Barfield เป็นทางเดินยาว 200 เมตร ที่พาผู้เข้าชมเดินอยู่เหนือพื้นดิน 18 เมตร ท่ามกลางดงป่าไม้ พื้นทางเดินและโครงสร้างทางเดินเป็นโลหะเจาะรูและเน้นการตกแต่งไม้ เหล็กรองรับทางเดินตั้งใจให้มีสนิมเพื่อให้ดูกลมกลืนไปกับต้นไม้และสภาพแวดล้อม

ฐานของโครสร้างและทางเดินทั้งหมดเป็นเสาคอนกรีตลึก 12-18 เมตร ซึ่งการขุดเพื่อตั้งเสาทุกต้นถูกดำเนินการอย่างระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงรากไม้ การก่อสร้างจึงไม่มีการทำลายต้นไม้เลยแม้แต่น้อย Treetop walkway มีทางขึ้น-ลง 2ทาง คือ บันไดและลิฟต์ มันถูกเปิดตัวในปี 2008

Sackler Crossing 


ถูกออกแบบโดย Buro Happold และ John Pawson เป็นสะพานที่ข้ามทะเลสาบ และเชื่อมแกลลอรี่ 2แห่ง ทำจากหินแกรนิตและโลหะผสม (บรอนซ์) ซึ่งชื่อของสะพานแห่งนี้ก็ถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติกับ Dr. Mortimer และ Theresa Sackler (ผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม)

สะพานสไตล์มินิมอลแห่งนี้ถูกออกแบบให้เป็นเส้นโค้งคู่กับหินแกรนิตสีดำ ด้านข้างของสะพานสร้างขึ้นจากเสาบรอนซ์ ซึ่งให้ความรู้สึกและมุมมองต่างกันออกไป หากมองจากภายนอกมันจะดูเหมือนกำแพงทึบที่แข็งแรง แต่อีกมุมหนึ่ง คนที่อยู่บนสะพานจะสามารถมองทะลุลงไปเห็นทะเลสาบได้อย่างชัดเจน ผลงานออกแบบชิ้นนี้จึงคว้ารางวัล Royal Institute of British Architects ในปี 2008


ภาพวาด Sir Joseph  Banks 
   

ภาพวาด  เรือ  HMS Endeavour
ที่มา   
Website: http://www.kew.org/
https://www.kew.org/
https://www.dezeen.com/2008/05/27/kew-tree-top-walkway-by-marks-barfield-architects/
Cr.http://ravendesignnews.com/travel/kew-gardens-สวนสวย-สถาปัตยกรรมเ/ By Raven Design
Cr.https://www.itv.com/news/london/topic/kew-gardens/
Cr.http://oknation.nationtv.tv/blog/mokara/2008/05/25/entry-1 / บทความของคุณ ชนินทร แห่งบ้านดอกไม้

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่