คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ขอยกความคิดเห็นที่ 58 ของคุณศรีสรรเพชญ์ จากกระทู้ https://ppantip.com/topic/39186545 มาเลยละกันครับ
เรื่องพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทุมาศ (เจิม) ที่ชำระใน พ.ศ. ๒๓๓๘ สมัยรัชกาลที่ ๑ ซึ่งเป็นฉบับเก่าที่สุดที่พบเนื้อหาเรื่องนี้ ระบุว่า
"ครั้นเถิงฝั่งแม่น้ำสะโตง ก็ให้เที่ยวเก็บเรือ หาไม้ผูก พ่วงแพเร่งข้ามครอบครัวรี้พลช้างม้าทั้งปวงเถิงฟากทั้งสิ้นแล้ว ก็ให้เผาเรือทำลายแพเสีย ครั้นพระเจ้าหงสาวดีแจ้ง จึงให้พระมหาอุปราชาถือพล ๑๐๐,๐๐๐ ให้สุระกำมาเป็นกองหน้า ตามมาเถิงแม่น้ำสะโตงฟากหนึ่ง สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ให้นายทัพนายกองนำพระมหาเถรคันฉองกับครอบครัวรีบไปก่อน แต่พระองค์กับทหารลำลอง ๑๕,๐๐๐ นั้นยังรออยู่ริมฝั่ง จึงทอดพระเนตรไปเห็นสุระกำมากองหน้า ใส่เสื้อแดงขี่ช้างยืนอยู่ริมฟากน้ำ ตรัสให้ทหารเอาปืนหามแล่น และปืนนกสับคาบชุดยิงระดมไปเป็นอัน มากก็ไม่เถิง จึงสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็ทรงพระแสงปืนนกสับยาวกว่าคืบ ยิงไปต้องสุระกำมาตกจากคอช้างตาย รี้พลรามัญทั้งนั้นเห็นอัศจรรย์ ด้วยแม่น้ำนั้นกว้างเหลือกำลังปืน ก็กลัวพระเดชเดชานุภาพ และพระมหาอุปราชามิอาจจะตามมาได้ ก็เลิกทัพกลับไป"
พระราชนิพลพงษาวดาร ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อยังทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐ มีเนื้อหาใกล้เคียงกันว่า
"ครั้นถึ่งฝังแม่น้ำสะโตงก็ให้เทยี่วเกบเรือ หาไม้ผูกพว่งแพเร่งข้ามครัวรีพลช้างม้าทั้งปวงถึ่งผ์่ากสิ้นแล้ว ก็ให้เผาเรือทำลายแพเสีย ภ่อพระเจ้าหงษาวดีแจ้งก็ให้พระมหาอุปราชาถือพลแสนหนึ่ง สุระกำมาเปนกองหน้าตามถึ่งแม่น้ำสะโตงผ์่ากหนึ่ง สมเดจ์พระนะเรศวรเปนเจ้าทอดพระเนตร์เหนดังนั้น ก็ให้นายทับนายกองนำพระมหาเถรคั่นฉ่องกับครอบครัวรีบยกไปก่อน แต่พระองค์กับทหารลำลองหมื่นห้าพันนั้นยังร่ออยู่รีมฝัง จึ่งทอดพระเนตร์ไปเหนสุระกำมากองหน้า ไส่เสื้อแดงยืนชางอยู่รีมฝัง ตรัษให้ทหารเอาปืนหามแล้นแลนกสับคาบชุดยิงระดมไปเปนอันมากก็หมีได้ถึ่ง จึ่งสมเดจ์พระนะเรศวรเปนเจ้า ก็ทรงพระแสงปืนยาวเก้าคืบยีงต้องสุระกำมาตายตกจากฅ่อช้างรีพลมอญทังนั้น เหนอัศจรรด้วยแม่น้ำนั้นกว่างเหลือกำลังปืนกลัวพระเดชเดชานุภาพแลพระมหาอุปราชาหมีอาจ์จตามมาก็เลีกทับกลับไป"
พงศาวดารฉบับชำระครั้งหลังๆ มีเนื้อหาไม่ต่างกัน และเรียกพระแสงปืนนี้ว่า "พระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ"
ส่วนหลักฐานฝั่งพม่า หลายท่านอ้างว่ามีบันทึกเรื่องสุระกำมาในบันทึกพม่า แต่ผมลองตรวจสอบกับมหาราชวงษ์พงษาวดารพม่าของนายต่อ ซึ่งแปลมาจาก มหาราชวงศ์หอแก้ว (မှန်နန်း မဟာ ရာဇဝင်တော်ကြီ) ของพม่า กับมหาราชวงศ์ฉบับหอแก้วฉบับแปลภาษาอังกฤษของพระไพรสณฑ์สาลารักษ์ (อองเทียน สุพินทุ) ไม่มีบันทึกว่าฝั่งอยุทธยายิงแม่ทัพพม่าตายแต่อย่างใด มีแต่ระบุว่าพระนเรศอาศัยจังหวะที่พระเจ้าหงสาวดีไปรบกับอังวะเข้าโจมตีกรุงหงสาวดีที่พระมหาอุปราชารักษาอยู่ พอได้ข่าวว่าพระเจ้าหงสาวดีกำลังเสด็จกลับมาจึงถอยทัพไปทางเมืองเมาะตะมะและกวาดต้อนราษฎรทางฝั่งตะวันออกของหงสาวดีไปจำนวนมาก ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีทรงทราบจึงให้ทรงกองทัพมาจากอังวะยกตามไป เมื่อเสด็จกลับมาถึงหงสาวดีจึงให้พระมหาอุปราชายกทัพไปเพิ่มแต่ถูกตีแตกกลับมา ซึ่งในรายชื่อแม่ทัพนายกองที่คุกทัพตามก็ไม่ปรากฏชื่อ สุระกำมา หรือ สุรกรรมา ในบทความของ มิคกี้ ฮาร์ท (Myin Hsan Heart) นักประวัติศาสตร์อิสระชาวพม่าที่กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ ก็ไม่ได้ระบุว่ามีชื่อสุระกำมาในพงศาวดารพม่าเช่นเดียวกัน
(ในพงศาวดารพม่ามีตำแหน่งนายทหารพม่าชื่อ สูรกมฺมา [สูรกรรมา] จริง แต่ไม่ได้ปรากฏชื่อว่าได้ตามพระนเรศมาในครั้งนี้ ถ้าตามมาจริงก็คงไม่ได้เป็นแม่ทัพคนสำคัญนักจึงไม่ปรากฏนาม)
ส่วนหลักฐานของฝรั่ง ไม่เคยกล่าวถึงเหตุการณ์นี้เลย ก็ไม่ทราบว่าหลายท่านอ้างอิงจากหลักฐานใดครับ
สำหรับเนื้อหาในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรนั้น มีร่องรอยว่าน่าจะถูกชำระเพิ่มเติมในสมัยหลังอยู่หลายส่วน เพราะเนื้อหาหลายตอนมีการยอพระเกียรติและมีอภินิหารเจือปนมาก มีบทสนทนา (dialogue) อย่างการใช้โวหารอุปมาอุปมัยในการยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวร และลดทอนพระเกียรติพระเจ้าหงสาวดี ผิดจากพระราชพงศาวดารฉบับเก่าๆ หรือเนื้อหาตอนอื่นที่เน้นบรรยายเหตุการณ์ทั่วไป จึงเป็นไปได้ว่าความตอนนี้อาจถูกชำระเพิ่มเติมในสมัยหลังเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวร (มากกว่าจะชำระเพิ่มเติมเพื่อให้ 'รักชาติ' ตามแนวคิดรัฐชาติสมัยใหม่ที่ยังไม่ปรากฏในสมัยโบราณ)
เนื้อหาเกี่ยวกับการยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงยังมีข้อชวนสงสัยอยู่ คือ พงศาวดารระบุว่าพระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงเป็น "ปืนนกสับ" ซึ่งหมายถึงปืน flintlock แต่มีการศึกษาพบว่า ใน พ.ศ. ๒๑๒๗ ที่เกิดเหตุการนี้ ยังไม่มีการประดิษฐ์ปืนนกสับเกิดขึ้นบนโลก แต่ปืนที่ใช้กันทั่วไปในยุคนั้นคือ "ปืนคาบชุด" หรือ matchlock
เมื่อตรวจสอบกับ "ตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยา" ที่แต่งขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๒๖ ซึ่งกล่าวถึงพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร กล่าวว่าพระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นหนึ่งในพระแสงศัสตราวุธสำหรับประกอบพระราชพิธี และเรียกพระแสงนี้ว่า "พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่น้ำสะโตง" ตรงกับลักษณะของพระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงองค์จำลองที่สร้างในรัชกาลที่ ๑ ที่เป็นปืนคาบชุด (matchlock) เช่นเดียวกัน
ดังนั้นถ้าสมเด็จพระนเรศวรทรงพระแสงปืนยิงสุระกำมาจริง ปืนนั้นควรเป็นปืนคาบชุดมากกว่าปืนนกสับ จึงเห็นได้ว่าพงศาวดารสมัยหลังชำระคลาดเคลื่อนได้
ส่วนประเด็นที่ว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงยิงพระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงสังหารสุระกำมาได้จริงหรือไม่นั้นคงตอบได้ยาก แต่พิจารณาจากการที่พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่น้ำสะโตงถูกจัดเป็นพระแสงสำคัญในตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยา จึงอนุมานได้ว่าอย่างน้อยคนในราชสำนักกรุงศรีอยุทธยาตอนปลายมี "ความเชื่อ" ว่าเรื่องนี้เคยเกิดขึ้นจริง
หากวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ ท่านมุ้ยเคยให้ทดลองสร้างปืนไฟยาวเก้าคืบ พบว่าถ้าอัดดินดำถูกสัดส่วนจะสามารถยิงได้ไกลกว่า ๘๐๐ เมตร มากกว่าความกว้างของแม่น้ำสะโตงจุดที่ท่านมุ้ยคาดว่าน่าจะเป็นจุดที่สมเด็จพระนเรศวรข้ามน้ำคือ ๖๒๐ เมตร ดังนั้นการยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นไปได้ ตาม คห.ที่ 53 ของกระทู้นี้ http://topicstock.ppantip.com/chalermthai/topicstock/2011/03/A10360546/A10360546.html
แต่ว่าปืนคาบชุดในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ยังไม่มีเกลียวลำกล้องปืน มีความแม่นยำในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปืนไฟในยุคหลังๆ ระยะหวังผลสั้นมาก ดังนั้นแม้จะยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงที่ระยะทาง ๖๒๐ เมตรได้จริง แต่โอกาสที่จะยิงโดนเป้านั้นเป็นไปได้น้อยมาก แต่หากพระแสงปืนนั้นยาวถึงเก้าคืบ และใช้ขาหยั่งปืนร่วมด้วย ก็อาจจะเพิ่มความแม่นยำได้ในระดับหนึ่ง แต่ส่วนตัวแล้วคิดว่าโอกาสยิงโดนก็ยังน้อยอยู่มาก
หากสันนิษฐานว่าใน พ.ศ. ๒๑๒๗ แม่น้ำสะโตงยังไม่ได้โดนกัดเซาะจนกว้างมากเท่าปัจจุบัน และช่วงที่เสด็จไปเมืองแครงตามพงศาวดารคือเดือน ๖ (เดือนพฤษภาคม) ซึ่งยังอยู่ในฤดูแล้ง และบริเวณที่ทำแพข้ามน้ำควรเป็นบริเวณที่แคบที่สุด ถ้าแม่น้ำแคบพอก็มีโอกาสที่สมเด็จพระนเรศวรจะยิงปืนข้ามแม่น้ำโดนสุระกำมาได้ หากเป็นเช่นนี้อาจจะทรงยิงปืนโดนสุระกำมาด้วยพระองค์เองจริงตามที่บันทึกไว้ก็ได้ และก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องทรงยิงเพียงนัดเดียว พระองค์อาจจะยิงหลายนัดก็ได้ (อย่างไรก็ตามในประเด็นนี้ มิคกี้ ฮาร์ท วิเคราะห์ว่าสมเด็จพระนเรศวรน่าจะทรงเลือกข้ามแม่น้ำสะโตงบริเวณปากแม่น้ำซึ่งกว้างกว่าแต่เชี่ยวน้อยกว่า ด้วยการสร้างสะพานแพซึ่งมั่นคงปลอดภัยกว่าการใช้เรือแพ และน่าจะทรงสร้างตั้งแต่ขาไป)
ในขณะเดียวกันไม่อาจตัดความเป็นไปได้ที่ทหารฝั่งอยุทธยาคนอื่นๆ จะยิงปืนข้ามแม่น้ำโดนสุระกำมาได้เช่นเดียวกัน ในกรณีเช่นนี้หากฝ่ายอยุทธยาช่วยกันระดมยิงก็ตอบได้ยากว่าสุระกำมาตายจากกระสุนของใคร บางทีอาจเป็นอย่างที่หลายๆ ท่านวิเคราะห์คือ สมเด็จพระนเรศวรอาจไม่ได้ทรงยิงปืนพระองค์เดียว แต่พงศาวดารอาจยกให้พระเกียรติยศนี้ให้สมเด็จพระนเรศวรพระองค์เดียวก็ได้
ทั้งนี้ควรพิจารณาด้วยว่าพงศาวดารเป็นเอกสารที่บันทึกเรื่องราวของกษัตริย์ การมีเนื้อหาเฉลิมพระเกียรติเป็นสิ่งปกติ โดยเฉพาะพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีเนื้อหาเฉลิมพระเกียรติอย่างพิสดารอยู่มาก จึงอาจจะมีการชำระเกินเลยจากข้อเท็จจริงไปได้ครับ
เรื่องพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทุมาศ (เจิม) ที่ชำระใน พ.ศ. ๒๓๓๘ สมัยรัชกาลที่ ๑ ซึ่งเป็นฉบับเก่าที่สุดที่พบเนื้อหาเรื่องนี้ ระบุว่า
"ครั้นเถิงฝั่งแม่น้ำสะโตง ก็ให้เที่ยวเก็บเรือ หาไม้ผูก พ่วงแพเร่งข้ามครอบครัวรี้พลช้างม้าทั้งปวงเถิงฟากทั้งสิ้นแล้ว ก็ให้เผาเรือทำลายแพเสีย ครั้นพระเจ้าหงสาวดีแจ้ง จึงให้พระมหาอุปราชาถือพล ๑๐๐,๐๐๐ ให้สุระกำมาเป็นกองหน้า ตามมาเถิงแม่น้ำสะโตงฟากหนึ่ง สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ให้นายทัพนายกองนำพระมหาเถรคันฉองกับครอบครัวรีบไปก่อน แต่พระองค์กับทหารลำลอง ๑๕,๐๐๐ นั้นยังรออยู่ริมฝั่ง จึงทอดพระเนตรไปเห็นสุระกำมากองหน้า ใส่เสื้อแดงขี่ช้างยืนอยู่ริมฟากน้ำ ตรัสให้ทหารเอาปืนหามแล่น และปืนนกสับคาบชุดยิงระดมไปเป็นอัน มากก็ไม่เถิง จึงสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็ทรงพระแสงปืนนกสับยาวกว่าคืบ ยิงไปต้องสุระกำมาตกจากคอช้างตาย รี้พลรามัญทั้งนั้นเห็นอัศจรรย์ ด้วยแม่น้ำนั้นกว้างเหลือกำลังปืน ก็กลัวพระเดชเดชานุภาพ และพระมหาอุปราชามิอาจจะตามมาได้ ก็เลิกทัพกลับไป"
พระราชนิพลพงษาวดาร ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อยังทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐ มีเนื้อหาใกล้เคียงกันว่า
"ครั้นถึ่งฝังแม่น้ำสะโตงก็ให้เทยี่วเกบเรือ หาไม้ผูกพว่งแพเร่งข้ามครัวรีพลช้างม้าทั้งปวงถึ่งผ์่ากสิ้นแล้ว ก็ให้เผาเรือทำลายแพเสีย ภ่อพระเจ้าหงษาวดีแจ้งก็ให้พระมหาอุปราชาถือพลแสนหนึ่ง สุระกำมาเปนกองหน้าตามถึ่งแม่น้ำสะโตงผ์่ากหนึ่ง สมเดจ์พระนะเรศวรเปนเจ้าทอดพระเนตร์เหนดังนั้น ก็ให้นายทับนายกองนำพระมหาเถรคั่นฉ่องกับครอบครัวรีบยกไปก่อน แต่พระองค์กับทหารลำลองหมื่นห้าพันนั้นยังร่ออยู่รีมฝัง จึ่งทอดพระเนตร์ไปเหนสุระกำมากองหน้า ไส่เสื้อแดงยืนชางอยู่รีมฝัง ตรัษให้ทหารเอาปืนหามแล้นแลนกสับคาบชุดยิงระดมไปเปนอันมากก็หมีได้ถึ่ง จึ่งสมเดจ์พระนะเรศวรเปนเจ้า ก็ทรงพระแสงปืนยาวเก้าคืบยีงต้องสุระกำมาตายตกจากฅ่อช้างรีพลมอญทังนั้น เหนอัศจรรด้วยแม่น้ำนั้นกว่างเหลือกำลังปืนกลัวพระเดชเดชานุภาพแลพระมหาอุปราชาหมีอาจ์จตามมาก็เลีกทับกลับไป"
พงศาวดารฉบับชำระครั้งหลังๆ มีเนื้อหาไม่ต่างกัน และเรียกพระแสงปืนนี้ว่า "พระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ"
ส่วนหลักฐานฝั่งพม่า หลายท่านอ้างว่ามีบันทึกเรื่องสุระกำมาในบันทึกพม่า แต่ผมลองตรวจสอบกับมหาราชวงษ์พงษาวดารพม่าของนายต่อ ซึ่งแปลมาจาก มหาราชวงศ์หอแก้ว (မှန်နန်း မဟာ ရာဇဝင်တော်ကြီ) ของพม่า กับมหาราชวงศ์ฉบับหอแก้วฉบับแปลภาษาอังกฤษของพระไพรสณฑ์สาลารักษ์ (อองเทียน สุพินทุ) ไม่มีบันทึกว่าฝั่งอยุทธยายิงแม่ทัพพม่าตายแต่อย่างใด มีแต่ระบุว่าพระนเรศอาศัยจังหวะที่พระเจ้าหงสาวดีไปรบกับอังวะเข้าโจมตีกรุงหงสาวดีที่พระมหาอุปราชารักษาอยู่ พอได้ข่าวว่าพระเจ้าหงสาวดีกำลังเสด็จกลับมาจึงถอยทัพไปทางเมืองเมาะตะมะและกวาดต้อนราษฎรทางฝั่งตะวันออกของหงสาวดีไปจำนวนมาก ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีทรงทราบจึงให้ทรงกองทัพมาจากอังวะยกตามไป เมื่อเสด็จกลับมาถึงหงสาวดีจึงให้พระมหาอุปราชายกทัพไปเพิ่มแต่ถูกตีแตกกลับมา ซึ่งในรายชื่อแม่ทัพนายกองที่คุกทัพตามก็ไม่ปรากฏชื่อ สุระกำมา หรือ สุรกรรมา ในบทความของ มิคกี้ ฮาร์ท (Myin Hsan Heart) นักประวัติศาสตร์อิสระชาวพม่าที่กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ ก็ไม่ได้ระบุว่ามีชื่อสุระกำมาในพงศาวดารพม่าเช่นเดียวกัน
(ในพงศาวดารพม่ามีตำแหน่งนายทหารพม่าชื่อ สูรกมฺมา [สูรกรรมา] จริง แต่ไม่ได้ปรากฏชื่อว่าได้ตามพระนเรศมาในครั้งนี้ ถ้าตามมาจริงก็คงไม่ได้เป็นแม่ทัพคนสำคัญนักจึงไม่ปรากฏนาม)
ส่วนหลักฐานของฝรั่ง ไม่เคยกล่าวถึงเหตุการณ์นี้เลย ก็ไม่ทราบว่าหลายท่านอ้างอิงจากหลักฐานใดครับ
สำหรับเนื้อหาในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรนั้น มีร่องรอยว่าน่าจะถูกชำระเพิ่มเติมในสมัยหลังอยู่หลายส่วน เพราะเนื้อหาหลายตอนมีการยอพระเกียรติและมีอภินิหารเจือปนมาก มีบทสนทนา (dialogue) อย่างการใช้โวหารอุปมาอุปมัยในการยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวร และลดทอนพระเกียรติพระเจ้าหงสาวดี ผิดจากพระราชพงศาวดารฉบับเก่าๆ หรือเนื้อหาตอนอื่นที่เน้นบรรยายเหตุการณ์ทั่วไป จึงเป็นไปได้ว่าความตอนนี้อาจถูกชำระเพิ่มเติมในสมัยหลังเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวร (มากกว่าจะชำระเพิ่มเติมเพื่อให้ 'รักชาติ' ตามแนวคิดรัฐชาติสมัยใหม่ที่ยังไม่ปรากฏในสมัยโบราณ)
เนื้อหาเกี่ยวกับการยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงยังมีข้อชวนสงสัยอยู่ คือ พงศาวดารระบุว่าพระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงเป็น "ปืนนกสับ" ซึ่งหมายถึงปืน flintlock แต่มีการศึกษาพบว่า ใน พ.ศ. ๒๑๒๗ ที่เกิดเหตุการนี้ ยังไม่มีการประดิษฐ์ปืนนกสับเกิดขึ้นบนโลก แต่ปืนที่ใช้กันทั่วไปในยุคนั้นคือ "ปืนคาบชุด" หรือ matchlock
เมื่อตรวจสอบกับ "ตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยา" ที่แต่งขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๒๖ ซึ่งกล่าวถึงพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร กล่าวว่าพระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นหนึ่งในพระแสงศัสตราวุธสำหรับประกอบพระราชพิธี และเรียกพระแสงนี้ว่า "พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่น้ำสะโตง" ตรงกับลักษณะของพระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงองค์จำลองที่สร้างในรัชกาลที่ ๑ ที่เป็นปืนคาบชุด (matchlock) เช่นเดียวกัน
ดังนั้นถ้าสมเด็จพระนเรศวรทรงพระแสงปืนยิงสุระกำมาจริง ปืนนั้นควรเป็นปืนคาบชุดมากกว่าปืนนกสับ จึงเห็นได้ว่าพงศาวดารสมัยหลังชำระคลาดเคลื่อนได้
ส่วนประเด็นที่ว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงยิงพระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงสังหารสุระกำมาได้จริงหรือไม่นั้นคงตอบได้ยาก แต่พิจารณาจากการที่พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่น้ำสะโตงถูกจัดเป็นพระแสงสำคัญในตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยา จึงอนุมานได้ว่าอย่างน้อยคนในราชสำนักกรุงศรีอยุทธยาตอนปลายมี "ความเชื่อ" ว่าเรื่องนี้เคยเกิดขึ้นจริง
หากวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ ท่านมุ้ยเคยให้ทดลองสร้างปืนไฟยาวเก้าคืบ พบว่าถ้าอัดดินดำถูกสัดส่วนจะสามารถยิงได้ไกลกว่า ๘๐๐ เมตร มากกว่าความกว้างของแม่น้ำสะโตงจุดที่ท่านมุ้ยคาดว่าน่าจะเป็นจุดที่สมเด็จพระนเรศวรข้ามน้ำคือ ๖๒๐ เมตร ดังนั้นการยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นไปได้ ตาม คห.ที่ 53 ของกระทู้นี้ http://topicstock.ppantip.com/chalermthai/topicstock/2011/03/A10360546/A10360546.html
แต่ว่าปืนคาบชุดในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ยังไม่มีเกลียวลำกล้องปืน มีความแม่นยำในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปืนไฟในยุคหลังๆ ระยะหวังผลสั้นมาก ดังนั้นแม้จะยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงที่ระยะทาง ๖๒๐ เมตรได้จริง แต่โอกาสที่จะยิงโดนเป้านั้นเป็นไปได้น้อยมาก แต่หากพระแสงปืนนั้นยาวถึงเก้าคืบ และใช้ขาหยั่งปืนร่วมด้วย ก็อาจจะเพิ่มความแม่นยำได้ในระดับหนึ่ง แต่ส่วนตัวแล้วคิดว่าโอกาสยิงโดนก็ยังน้อยอยู่มาก
หากสันนิษฐานว่าใน พ.ศ. ๒๑๒๗ แม่น้ำสะโตงยังไม่ได้โดนกัดเซาะจนกว้างมากเท่าปัจจุบัน และช่วงที่เสด็จไปเมืองแครงตามพงศาวดารคือเดือน ๖ (เดือนพฤษภาคม) ซึ่งยังอยู่ในฤดูแล้ง และบริเวณที่ทำแพข้ามน้ำควรเป็นบริเวณที่แคบที่สุด ถ้าแม่น้ำแคบพอก็มีโอกาสที่สมเด็จพระนเรศวรจะยิงปืนข้ามแม่น้ำโดนสุระกำมาได้ หากเป็นเช่นนี้อาจจะทรงยิงปืนโดนสุระกำมาด้วยพระองค์เองจริงตามที่บันทึกไว้ก็ได้ และก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องทรงยิงเพียงนัดเดียว พระองค์อาจจะยิงหลายนัดก็ได้ (อย่างไรก็ตามในประเด็นนี้ มิคกี้ ฮาร์ท วิเคราะห์ว่าสมเด็จพระนเรศวรน่าจะทรงเลือกข้ามแม่น้ำสะโตงบริเวณปากแม่น้ำซึ่งกว้างกว่าแต่เชี่ยวน้อยกว่า ด้วยการสร้างสะพานแพซึ่งมั่นคงปลอดภัยกว่าการใช้เรือแพ และน่าจะทรงสร้างตั้งแต่ขาไป)
ในขณะเดียวกันไม่อาจตัดความเป็นไปได้ที่ทหารฝั่งอยุทธยาคนอื่นๆ จะยิงปืนข้ามแม่น้ำโดนสุระกำมาได้เช่นเดียวกัน ในกรณีเช่นนี้หากฝ่ายอยุทธยาช่วยกันระดมยิงก็ตอบได้ยากว่าสุระกำมาตายจากกระสุนของใคร บางทีอาจเป็นอย่างที่หลายๆ ท่านวิเคราะห์คือ สมเด็จพระนเรศวรอาจไม่ได้ทรงยิงปืนพระองค์เดียว แต่พงศาวดารอาจยกให้พระเกียรติยศนี้ให้สมเด็จพระนเรศวรพระองค์เดียวก็ได้
ทั้งนี้ควรพิจารณาด้วยว่าพงศาวดารเป็นเอกสารที่บันทึกเรื่องราวของกษัตริย์ การมีเนื้อหาเฉลิมพระเกียรติเป็นสิ่งปกติ โดยเฉพาะพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีเนื้อหาเฉลิมพระเกียรติอย่างพิสดารอยู่มาก จึงอาจจะมีการชำระเกินเลยจากข้อเท็จจริงไปได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
สมเด็จพระนเนศวรมหาราชยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง