กระแสที่กลายเป็นหัวข้อให้ถูกพูดถึงและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางทีเดียว จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่ารัฐบาลเตรียมจะพิจารณาเข้าร่วม CPTPP แล้ว CPTPP คืออะไร ทำไมเสียงค้านเข้าร่วมถึงดังไปทั่วทั้งสังคม เพื่อให้เข้าใจในเรื่องนี้ได้มากขึ้น ลองมาไล่อ่านบทสรุปตามหัวข้อด้านล่างนี้ที่ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เคยเผยแพร่มาแล้วเมื่อปี 2561 หรือเมื่อ 2 ปีก่อน ถึงความหมายของ CPTPP
CPTPP คืออะไร?
CPTPP มีชื่อเต็มว่า Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership คือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก โดยเป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุน เพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ
ความจริงแล้ว ความตกลงนี้ริเริ่มกันมาตั้งแต่ปี 2549 (2006) มีชื่อเดิมว่า TPP (Trans-Pacific Partnership) และมีสมาชิกทั้งหมด 12 ประเทศ แต่หลังจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่ในตอนนั้นถอนตัวออกไปเมื่อต้นปี 2550 (2017) ประเทศสมาชิกที่เหลือก็ตัดสินใจเดินหน้าความตกลงต่อโดยใช้ชื่อใหม่ว่า CPTPP
ปัจจุบันสมาชิก CPTPP มีทั้งหมด 11 ประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วย
ญี่ปุ่น
แคนาดา
เม็กซิโก
เปรู
ชิลี
ออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์
สิงคโปร์
มาเลเซีย
บรูไน
เวียดนาม
โดยสรุปแล้ว CPTPP ก็คือ TPP ที่ไม่มีสหรัฐอเมริกา มีขนาดเศรษฐกิจและการค้าเล็กลง แต่มีกฎเกณฑ์ที่ผ่อนคลายมากขึ้น สำหรับประเทศไทยในฐานะที่เป็นชาติการค้าที่มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกและนำเข้าค่อนข้างสูงราว 123% ของ GDP ประเทศไทยก็ประกาศเตรียมพร้อมจะเข้าร่วม CPTPP ไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และมีเป้าหมายจะเจรจาเข้าร่วมให้ได้ภายในปีนี้
จึงเป็นสาเหตุถึงที่มากระแสวิจารณ์ทั้งเห็นต่างและเห็นด้วยที่หลากหลาย จนกลายมาเกิดเป็นข้อสงสัยต่าง เช่น อุตสาหกรรมเกษตร จากประเด็นการเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อปลูกต่อ ในข้อบัญญัติให้ประเทศสมาชิกต้องเข้าร่วมในอนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV 1991 (International Union for the Protection of New Varieties of Plants) ที่จะเปิดโอกาสให้ต่างชาติสามารถนำพันธุ์พืชพื้นเมืองไทยไปทำการวิจัยเพื่อสร้างพันธุ์พืชใหม่แล้วจดสิทธิบัตรได้ ข้อนี้ส่งผลเสียต่อเกษตรกรไทยโดยตรง เพราะถ้านำพันธุ์พืชใหม่นี้มาปลูกแล้วจะไม่สามารถเก็บเมล็ดไปปลูกต่อได้เหมือนเมื่อก่อน ต้องซื้อเมล็ดใหม่เท่านั้น ทำให้ต้นทุนการเกษตรยิ่งสูงขึ้น เราจึงรวบรวมคำถามยอดฮิต มาตอบข้อสงสัยหลักเกณฑ์การคุ้มครองพันธุ์พืช (UPOV1991) ภายใต้ข้อตกลง CPTPP เพื่อคลายยยยยย จากประเด็นนี้กัน
----------------------------------------------------
CR. สำนักข่าวต่างๆ และ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ข้อสงสัยคุ้มครองพันธุ์พืชภายใต้ CPTPP
CPTPP คืออะไร?
CPTPP มีชื่อเต็มว่า Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership คือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก โดยเป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุน เพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ
ความจริงแล้ว ความตกลงนี้ริเริ่มกันมาตั้งแต่ปี 2549 (2006) มีชื่อเดิมว่า TPP (Trans-Pacific Partnership) และมีสมาชิกทั้งหมด 12 ประเทศ แต่หลังจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่ในตอนนั้นถอนตัวออกไปเมื่อต้นปี 2550 (2017) ประเทศสมาชิกที่เหลือก็ตัดสินใจเดินหน้าความตกลงต่อโดยใช้ชื่อใหม่ว่า CPTPP
ปัจจุบันสมาชิก CPTPP มีทั้งหมด 11 ประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วย
ญี่ปุ่น
แคนาดา
เม็กซิโก
เปรู
ชิลี
ออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์
สิงคโปร์
มาเลเซีย
บรูไน
เวียดนาม
โดยสรุปแล้ว CPTPP ก็คือ TPP ที่ไม่มีสหรัฐอเมริกา มีขนาดเศรษฐกิจและการค้าเล็กลง แต่มีกฎเกณฑ์ที่ผ่อนคลายมากขึ้น สำหรับประเทศไทยในฐานะที่เป็นชาติการค้าที่มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกและนำเข้าค่อนข้างสูงราว 123% ของ GDP ประเทศไทยก็ประกาศเตรียมพร้อมจะเข้าร่วม CPTPP ไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และมีเป้าหมายจะเจรจาเข้าร่วมให้ได้ภายในปีนี้
จึงเป็นสาเหตุถึงที่มากระแสวิจารณ์ทั้งเห็นต่างและเห็นด้วยที่หลากหลาย จนกลายมาเกิดเป็นข้อสงสัยต่าง เช่น อุตสาหกรรมเกษตร จากประเด็นการเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อปลูกต่อ ในข้อบัญญัติให้ประเทศสมาชิกต้องเข้าร่วมในอนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV 1991 (International Union for the Protection of New Varieties of Plants) ที่จะเปิดโอกาสให้ต่างชาติสามารถนำพันธุ์พืชพื้นเมืองไทยไปทำการวิจัยเพื่อสร้างพันธุ์พืชใหม่แล้วจดสิทธิบัตรได้ ข้อนี้ส่งผลเสียต่อเกษตรกรไทยโดยตรง เพราะถ้านำพันธุ์พืชใหม่นี้มาปลูกแล้วจะไม่สามารถเก็บเมล็ดไปปลูกต่อได้เหมือนเมื่อก่อน ต้องซื้อเมล็ดใหม่เท่านั้น ทำให้ต้นทุนการเกษตรยิ่งสูงขึ้น เราจึงรวบรวมคำถามยอดฮิต มาตอบข้อสงสัยหลักเกณฑ์การคุ้มครองพันธุ์พืช (UPOV1991) ภายใต้ข้อตกลง CPTPP เพื่อคลายยยยยย จากประเด็นนี้กัน