สืบเนื่องมาจาก กระทู้นี้
https://ppantip.com/topic/39831755 ที่ผมได้เขียนเกี่ยวกับสิ่งที่ควรรู้หรือสกิลที่ต้องมีในการวาดมังงะ ในส่วนภาพไปแล้ว ว่าไม่ใช่แค่วาดสวยจะสามารถวาดได้(หมายถึงในมาตราฐานมืออาชีพนะครับ) ยังต้องอาศัยปัจจัยต่างๆด้วย ทั้งดีไซน์มุมกล้อง การวาดสัดส่วน
วันนี้จะมาแชร์เกี่ยวกับข้อจำกัดต่างๆในการเรียบเรียงบทเนื้อเรื่องครับ(จะเรียกว่าบ่นก็ได้555) ออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้เป็นมืออาชีพ แต่เป็นคนที่สนใจและวาดมังงะเป็นงานอดิเรกหลายปี มาจากประสปการณ์ส่วนตัวล้วนๆ โดยอ้างอิงจากมังงะเป็นหลักครับ
1.
ตัวละครต้องมีคาแรคเตอร์ที่ชัดเจน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้จดจำได้ง่ายและมีมิติ ใส่ปม ใส่อดีตไปบ้าง ในช่วงแรกที่ผมวาดมังงะ วาดพระเอกที่เก่ง เท่ ทำได้ทุกอย่าง เรียกได้ว่าperfect manเลย พยายามเดินเรื่องไปข้างหน้าอย่างเดียว แต่สุดท้ายกลับไม่ได้ลงดีเทลตัวละครซักตัว ว่ามันเป็นมายังไง แต่พอวันนึงที่มีความรู้มากพอไปย้อนดูผลงานก่อนๆ ถึงรู้ว่ามันไม่มีเสน่ห์เอาซะเลย ดูไม่มีมิติ ความยากของมันคือเราต้องkeep carecterให้ได้ตลอดทั้งเรื่อง พยายามคิดแทนว่า ถ้าเป็นตัวละครตัวนี้จะแสดงออกหรือทำอย่างไร ซึ่งมันยากมากๆ ถ้าไม่ได้เขียนต่อเนื่อง(แม้จะจดไว้ก็ตาม)
2.
ความสมเหตุสมผล
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ก็ต่อเนื่องมาจากข้อแรก คือถ้าตัวเอกเป็นคนเรียบร้อย แต่ตอนสู้นี้กลายเป็นสไตล์โชเน็นสู้โหวกเหวก หรือการตัดสินใจบางอย่าง ที่ในความจริง คนที่นิสัยแบบนี้ไม่มีทางทำแบบนี้แน่ หรือการที่เราsettingโลกไว้แบบไหน มีกฏ หรือข้อจำกัดอะไร แน่นอนครับ ถ้าเราทำแบบด้นสดไม่ได้วางแผนเนื้อเรื่องมาก่อนจะเกิดเหตุการ์ณแบบนี้ขึ้นแน่ๆ วิธีแก้ก็มาเติมที่หลังหรือแถนั้นเอง(ซึ่งต้องเข้าใจว่า บางทีผู้เขียนอาจตั้งใจให้เป็นปริศนาในตอนแรกอยู่แล้ว)
3.
แรงจูงใจตัวละครก็เป็นเรื่องสำคัญ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อย่างน้อยๆคือเรา ต้องตอบให้ได้ว่า ทำไมตัวละครมันทำแบบนี้เพราะอะไร มันกลายเป็นคนที่ชั่วร้าย เพราะอะไร พยายามอย่าใช้เหตุผลที่มันครีเช่ หรือที่มันโหลเช่น ต้องการปกครองโลกอะไรแบบนี้จะดีมาก ที่สำคัญที่สุดคือต้องเล่าออกมา ว่าทำไมตัวละครถึงทำแบบนี้ๆ ทำไมจิไรยะถึงช่วยนารูโตะ ซาซึเกะทำไมออกจากโคโนฮะ ทำไมแสงอุษาถึงเลว ทุกอย่างมีที่มาที่ไปหมด
4. อย่าใจร้อนครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้คือบางทีเราเข้าเนื้อเรื่องarcใหม่แล้ว แต่พอเขียนๆไปดันเบื่อขึ้นมาก็ตัดจบมันซะดื้อๆหรือทำตอบจบแบบลวกๆเพราะเบื่อ อย่าทำเด็ดขาด แนะนำให้ไปทำอย่างอื่น(เพราะผมก็เคย) แล้วค่อยกลับมาครับ ทางแก้อีกอย่างง่ายๆ คือการเล่าแบบ2-3event แบบสลับไปมา เป็นเทคนิคที่เห็นได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็นวันพีช นารูโตะ บลีช ทำให้คนอ่านและคนเขียนไม่เบื่อเกินไป
จริงๆควรตั้งทู้ว่า วิธีไม่ให้เกิดพลอตโฮลมากกว่าแฮะ555 ซึ่งหลักการทั้งหมดก็เหมือนกับหนัง อนิเมะ นิยาย เพราะทั้ง4ข้อจริงๆมันก็คือซับเซตที่นำไปสู่พลอตโฮลหมดเลย บ
างคนอาจสงสัยว่าต้องจับกฎยุบยับแบบนี้เลยหรอ จะบอกว่า การเขียนมังงะเป็นงานอดิเรกไม่จำเป็นต้องทำตามนี้ก็ได้ครับ จริงๆทำในแบบที่ตัวเองสนุกไปกับมันได้ก็พอ จะเขียนสนองneedตัวเอง ตามใจตัวเองก็ได้ แต่ผมเองพอทำแบบนั้นนานๆ(เขียนแบบตามใจตัวเอง) ผมเริ่มอยากยกระดับผลงานตัวเอง ให้มันมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งพอเขียนออกมาเราก็ภูมิใจ
สรุปแล้วก็เขียนแบบที่ตัวเองพอใจดีกว่าครับ แต่ถ้าต้องการเขียนแบบให้มีอะไรมากขึ้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ ถ้าผิดพลาดตรงไหนขออภัยด้วยครับ
ปัญหาของการ "เขียนมังงะ" ที่ประสบด้วยตัวเอง
วันนี้จะมาแชร์เกี่ยวกับข้อจำกัดต่างๆในการเรียบเรียงบทเนื้อเรื่องครับ(จะเรียกว่าบ่นก็ได้555) ออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้เป็นมืออาชีพ แต่เป็นคนที่สนใจและวาดมังงะเป็นงานอดิเรกหลายปี มาจากประสปการณ์ส่วนตัวล้วนๆ โดยอ้างอิงจากมังงะเป็นหลักครับ
1.ตัวละครต้องมีคาแรคเตอร์ที่ชัดเจน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2.ความสมเหตุสมผล
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. แรงจูงใจตัวละครก็เป็นเรื่องสำคัญ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4. อย่าใจร้อนครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จริงๆควรตั้งทู้ว่า วิธีไม่ให้เกิดพลอตโฮลมากกว่าแฮะ555 ซึ่งหลักการทั้งหมดก็เหมือนกับหนัง อนิเมะ นิยาย เพราะทั้ง4ข้อจริงๆมันก็คือซับเซตที่นำไปสู่พลอตโฮลหมดเลย บางคนอาจสงสัยว่าต้องจับกฎยุบยับแบบนี้เลยหรอ จะบอกว่า การเขียนมังงะเป็นงานอดิเรกไม่จำเป็นต้องทำตามนี้ก็ได้ครับ จริงๆทำในแบบที่ตัวเองสนุกไปกับมันได้ก็พอ จะเขียนสนองneedตัวเอง ตามใจตัวเองก็ได้ แต่ผมเองพอทำแบบนั้นนานๆ(เขียนแบบตามใจตัวเอง) ผมเริ่มอยากยกระดับผลงานตัวเอง ให้มันมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งพอเขียนออกมาเราก็ภูมิใจ
สรุปแล้วก็เขียนแบบที่ตัวเองพอใจดีกว่าครับ แต่ถ้าต้องการเขียนแบบให้มีอะไรมากขึ้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ ถ้าผิดพลาดตรงไหนขออภัยด้วยครับ