โดยพื้นฐานผมเป็นคนที่ชอบวาดรูปอยู่แล้ว บวกกับชอบอ่านมังงะ ดูอนิเมะเลยได้เเรงบัลดาลใจอยากลองวาดมังงะของตัวเอง จำได้ว่าตอนนั้นเราก็มั่นใจในฝีมือตัวเองระดับนึงเลย อาจจะเพราะว่าสมัยเรียนในห้องเรามักถูกยกว่าเป็นคนวาดรูปเก่งที่สุด(ฮา) ซึ่งตอนแรกแค่กะจะวาดแค่ขำๆไม่ได้รู้จักการจัดวางองค์ประกอปแต่ละช่อง ไม่รู้จักเส้นสปีด ถมดำยังไงให้ภาพเราไม่ตัดเกินไป หรือการปรับมุมกล้อง เป็นต้นครับ
อยากพูดถึงจุดที่หลายๆคนเป็นตอนวาดมังงะใหม่ๆครับ(บางคนถ้าไม่ได้ซีเรื่องนี้ก็ไม่ผิดครับ แค่วาดไปเรื่อยๆ อย่างผมเองก็ใช้แค่ดินสอกับกระดาษ ยางลบไม้บรรทัด ไม่ได้ตัดเส้น ทำสตอรี่บอร์ด ใช้ปากกาหมึกขนาดนั้น) แต่การวาดโดยอ้างอิงตามหลักมังงะส่วนใหญ่ก็ทำให้ผลงานดูดี น่าสนใจยิ่งขึ้นครับ อีกจุดปรสงค์นึงคืออยากให้คนที่ไม่ได้วาดได้รู้จักในแง่มุมต่างๆมากขึ้น เพราะมันไม่ใช่แค่วาดสวยแล้วจะสามารถวาดมังงะแบบตามที่เราเห็นได้ครับ ต้องใช้หลายๆอย่างเลยทีเดียว
ซึ่งตัวผมก็เป็นคนที่วาดมังงะเป็นงานอดิเรกมากน่าจะ10ปีได้แล้ว ไม่ได้เก่งมากแต่ก็เรียนรู้เองหลายๆอย่างจากการอ่านบ่อยๆและสังเกต เลยอยากแชร์ประสบการณ์ให้เพื่อนๆฟังครับ
1.
ใส่ทุกอย่างที่เราชอบลงไปในเรื่องของเรา ตอนวาดมังงะเรื่องแรก คือเราจะใส่ทุกอย่างที่เราชอบลงไปในเรื่องของเรา จนบางทีมันกลายเป็นลอกมาทั้งดุ้นเลย อย่างของผมช่วงนั้นก็อินกับนารูโตะมากๆ ก็มีการเอากระสุนวงจักรมา มีเนตรวงเเหวน บางตัวคล้ายซาซึเกะ ถ้าบางช่วงอินกับบลีชก็มีตัวละครบลีชเข้ามา พระเอกจากใช้ไฟอยู่ก็มาถือดาบยมทูฑมีพลังแฝงฮอลโล่ ตอนนั้นคือเอามายำมั่วหมด อยู่ที่ว่าเราอินกับเรื่องไรอยู่ กลับไปอ่านตอนนี้ก็ขำตัวเอง555 ตัวผมเองก็พึ่งจะมาตื่นตัวว่าควรจะมีเอกลักษณ์ของตัวเองมันรู้สึกโอเคกว่าครับ
2. การประติดประต่อของเนื้อเรื่อง คือจะต้องเป็นคนละเอียดระดับนึงครับ ต้องจำชื่อตัวละคร ลายละเอียด ลักษณะนิสัยต่างๆ ไม่ให้ออกคาแรคเตอร์ รวมไปถึงเสื้อผ้าสถานที่ด้วย อย่างช่องแรกใส่เสื้อกล้าม ทั้งเหตุการณ์นั้นก็ต้องใส่ไปตลอด เรียกง่ายๆต้องมีความต่อเนื่องกันนั้นเอง
3.การจัดองค์ประกอปของช่องและแถวแนวนอน ปกติแล้วการดีไซน์แถวและช่องก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการนำเสนออะไร ถ้าเป็นเหตุการณ์สำคัญก็ใช้ช่องใหญ่ๆ ถ้าเริ่มวาดใหม่ๆจะพยายามแบ่งช่องให้เท่าๆกัน ขนาดของแถวแต่ละแถวก็พอๆกัน(วาดใส่เอ4 กลัวเปลืองกระดาษ) ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดแต่ผมมองว่ามันทำให้เรื่องน่าสนใจน้อยลง แถมยังทำให้เราวาดบางฉากที่สำคัญๆได้ไม่เต็มที่อีกด้วย ถ้าแนะนำก็ลองวดใส่กระดาษสมุดลองเชิงก็ได้ครับ ถ้าใส่เอ4 ไม่ควรมีเกิน4แถว แถวละไม่เกิน4ช่อง(อ้างอิงจากมังงะหลายๆเรื่อง เช่น นารุโตะ กินทามะ) ทั้งนี้แล้วแต่ความชอบครับ
4.
การจัดองค์ประกอปภายในช่อง ผมมองว่าส่วนนี้เป็นอีกส่วนนึงที่ยากสำหรับการวาดมังงะ ถือว่าเป็นการวัดระดับฝีมืออย่างเเท้จริง(พอผมมาถึงตรงนี้ ทำให้เข้าใจเลยว่าอาจารย์ที่ดังๆหลายคน เก่งมากๆ แค่วาดรูปสวยอาจจะไม่พอครับ) เป็นการใช้หลายๆเทคนิคมาผสมกัน วาดสวย การวาดanatomy(สัดส่วนการโพสท่าต่างๆ ถ้าวาดแต่มุมเดิมจะดูไม่น่าเบื่อ ลองนึกว่าทั้งหน้ามีแต่มุมหน้าตรงทั้งหน้าดูครับ) การวาดตำแหน่งคน ฉากหลังช่องคำพูด ไม่ให้ดูแน่นเกินไป
ถือว่าเป็นส่วนที่ท้าทายที่สุดสำหรับผม ปัจจุบันกำลังฝึกวาดหลายๆมุมอยู่ครับ ซึ่งจริงๆฉากต่อสู้ก็ใช้ทักษะพวกนี้เช่นกัน ยิ่งวาดการ์ตูนบู๊ จำเป็นต้องวาดanatomyได้ระดับนึงเลยครับ
5.
ต้องหัดอดทนครับ การวาดมังงะคือการอดทนอย่างนึง เพราะไม่ใช่ทุกฉากที่เราอยากวาด แต่เพื่อให้เรื่องมันเดินแบบที่ควรจะเป็นก็ต้องอดทนกันบ้าง จะให้เปิดมาโงกุนแปลงเป็นซุปเปอร์ไซย่าเลยก็ไม่ได้ ต้องผ่านด้านนู้นด่านนี้มาก่อน ต้องปูที่มาที่ไปก่อน เก็บลายละเอียดวาดฉากหลังต่างๆ ก็อารมณ์เดียวกับคนดูหนังแหละครับอยากให้ถึงฉากไคลแม็กไวๆ คนวาดเองก็ตื่นเต้นที่จะวาดเหมือนกัน
6.ไม่ไหวอย่าฝืน ผมเคยคิดจะวาดมังงะทุกวันครับ แต่เอาเข้าจริงๆก็ทำไม่ได้ในระยะยาว มันจะมีจุดนึงที่เราอาจจะตันกับการคิดเนื้อเรื่องให้มันไปต่อยังไง บางทีวาดฉากนึงแล้วเกิดเละไม่เหมือนที่คิด ก็แอบเซ็งๆเหมือนกัน ฟีลแบบอยากวาดต่ออยากรู้ว่างข้างหน้าเนื้อเรื่องจะเป็นอย่างไร แต่หัวก็ตันแล้ว คำแนะนำคืออย่าฝืนทำต่อครับไม่งั้นจะมีแต่งานยิ่งแย่ ให้ออกไปหาอย่างอื่นทำ ไว้เรารู้สึกอยากวาดจริงๆค่อยมาวาดต่อ
ไม่ต้องยึดติดกับการวาดต่อขนาดนั้น
สรุปโดยรวมก็ประมาณนี้ครับ ผมจะย้ำตั้งแต่ต้นว่าถ้าเราอยากวาดไม่จำเป็นต้องซีเรียสเรื่องหลักพวกนี้เลยก็ได้ แค่วาดแบบที่คุณอยากวาดก็พอ ผมก็เริ่มจากจุดนั้นมา พอถึงจุดนึงที่คุณไม่พอใจ อยากเข้าใกล้มังงะที่มันดูสมบูรณ์มากขึ้นค่อยคิดถึงหลักพวกนี้ก็ได้ครับ วาดไปเถอะครับตราบใดที่ทำให้เรามีความสุขไม่มีผิดถูก ความพยายามไม่เคยทำร้ายใคร(คุ้นๆนะ) ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการวาดนะครับ
แชร์ประสบการณ์>>>สำหรับอยากคนวาดมังงะ เป็นงานอดิเรกครับ
อยากพูดถึงจุดที่หลายๆคนเป็นตอนวาดมังงะใหม่ๆครับ(บางคนถ้าไม่ได้ซีเรื่องนี้ก็ไม่ผิดครับ แค่วาดไปเรื่อยๆ อย่างผมเองก็ใช้แค่ดินสอกับกระดาษ ยางลบไม้บรรทัด ไม่ได้ตัดเส้น ทำสตอรี่บอร์ด ใช้ปากกาหมึกขนาดนั้น) แต่การวาดโดยอ้างอิงตามหลักมังงะส่วนใหญ่ก็ทำให้ผลงานดูดี น่าสนใจยิ่งขึ้นครับ อีกจุดปรสงค์นึงคืออยากให้คนที่ไม่ได้วาดได้รู้จักในแง่มุมต่างๆมากขึ้น เพราะมันไม่ใช่แค่วาดสวยแล้วจะสามารถวาดมังงะแบบตามที่เราเห็นได้ครับ ต้องใช้หลายๆอย่างเลยทีเดียว
ซึ่งตัวผมก็เป็นคนที่วาดมังงะเป็นงานอดิเรกมากน่าจะ10ปีได้แล้ว ไม่ได้เก่งมากแต่ก็เรียนรู้เองหลายๆอย่างจากการอ่านบ่อยๆและสังเกต เลยอยากแชร์ประสบการณ์ให้เพื่อนๆฟังครับ
1. ใส่ทุกอย่างที่เราชอบลงไปในเรื่องของเรา ตอนวาดมังงะเรื่องแรก คือเราจะใส่ทุกอย่างที่เราชอบลงไปในเรื่องของเรา จนบางทีมันกลายเป็นลอกมาทั้งดุ้นเลย อย่างของผมช่วงนั้นก็อินกับนารูโตะมากๆ ก็มีการเอากระสุนวงจักรมา มีเนตรวงเเหวน บางตัวคล้ายซาซึเกะ ถ้าบางช่วงอินกับบลีชก็มีตัวละครบลีชเข้ามา พระเอกจากใช้ไฟอยู่ก็มาถือดาบยมทูฑมีพลังแฝงฮอลโล่ ตอนนั้นคือเอามายำมั่วหมด อยู่ที่ว่าเราอินกับเรื่องไรอยู่ กลับไปอ่านตอนนี้ก็ขำตัวเอง555 ตัวผมเองก็พึ่งจะมาตื่นตัวว่าควรจะมีเอกลักษณ์ของตัวเองมันรู้สึกโอเคกว่าครับ
2. การประติดประต่อของเนื้อเรื่อง คือจะต้องเป็นคนละเอียดระดับนึงครับ ต้องจำชื่อตัวละคร ลายละเอียด ลักษณะนิสัยต่างๆ ไม่ให้ออกคาแรคเตอร์ รวมไปถึงเสื้อผ้าสถานที่ด้วย อย่างช่องแรกใส่เสื้อกล้าม ทั้งเหตุการณ์นั้นก็ต้องใส่ไปตลอด เรียกง่ายๆต้องมีความต่อเนื่องกันนั้นเอง
3.การจัดองค์ประกอปของช่องและแถวแนวนอน ปกติแล้วการดีไซน์แถวและช่องก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการนำเสนออะไร ถ้าเป็นเหตุการณ์สำคัญก็ใช้ช่องใหญ่ๆ ถ้าเริ่มวาดใหม่ๆจะพยายามแบ่งช่องให้เท่าๆกัน ขนาดของแถวแต่ละแถวก็พอๆกัน(วาดใส่เอ4 กลัวเปลืองกระดาษ) ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดแต่ผมมองว่ามันทำให้เรื่องน่าสนใจน้อยลง แถมยังทำให้เราวาดบางฉากที่สำคัญๆได้ไม่เต็มที่อีกด้วย ถ้าแนะนำก็ลองวดใส่กระดาษสมุดลองเชิงก็ได้ครับ ถ้าใส่เอ4 ไม่ควรมีเกิน4แถว แถวละไม่เกิน4ช่อง(อ้างอิงจากมังงะหลายๆเรื่อง เช่น นารุโตะ กินทามะ) ทั้งนี้แล้วแต่ความชอบครับ
4.การจัดองค์ประกอปภายในช่อง ผมมองว่าส่วนนี้เป็นอีกส่วนนึงที่ยากสำหรับการวาดมังงะ ถือว่าเป็นการวัดระดับฝีมืออย่างเเท้จริง(พอผมมาถึงตรงนี้ ทำให้เข้าใจเลยว่าอาจารย์ที่ดังๆหลายคน เก่งมากๆ แค่วาดรูปสวยอาจจะไม่พอครับ) เป็นการใช้หลายๆเทคนิคมาผสมกัน วาดสวย การวาดanatomy(สัดส่วนการโพสท่าต่างๆ ถ้าวาดแต่มุมเดิมจะดูไม่น่าเบื่อ ลองนึกว่าทั้งหน้ามีแต่มุมหน้าตรงทั้งหน้าดูครับ) การวาดตำแหน่งคน ฉากหลังช่องคำพูด ไม่ให้ดูแน่นเกินไป
ถือว่าเป็นส่วนที่ท้าทายที่สุดสำหรับผม ปัจจุบันกำลังฝึกวาดหลายๆมุมอยู่ครับ ซึ่งจริงๆฉากต่อสู้ก็ใช้ทักษะพวกนี้เช่นกัน ยิ่งวาดการ์ตูนบู๊ จำเป็นต้องวาดanatomyได้ระดับนึงเลยครับ
5.ต้องหัดอดทนครับ การวาดมังงะคือการอดทนอย่างนึง เพราะไม่ใช่ทุกฉากที่เราอยากวาด แต่เพื่อให้เรื่องมันเดินแบบที่ควรจะเป็นก็ต้องอดทนกันบ้าง จะให้เปิดมาโงกุนแปลงเป็นซุปเปอร์ไซย่าเลยก็ไม่ได้ ต้องผ่านด้านนู้นด่านนี้มาก่อน ต้องปูที่มาที่ไปก่อน เก็บลายละเอียดวาดฉากหลังต่างๆ ก็อารมณ์เดียวกับคนดูหนังแหละครับอยากให้ถึงฉากไคลแม็กไวๆ คนวาดเองก็ตื่นเต้นที่จะวาดเหมือนกัน
6.ไม่ไหวอย่าฝืน ผมเคยคิดจะวาดมังงะทุกวันครับ แต่เอาเข้าจริงๆก็ทำไม่ได้ในระยะยาว มันจะมีจุดนึงที่เราอาจจะตันกับการคิดเนื้อเรื่องให้มันไปต่อยังไง บางทีวาดฉากนึงแล้วเกิดเละไม่เหมือนที่คิด ก็แอบเซ็งๆเหมือนกัน ฟีลแบบอยากวาดต่ออยากรู้ว่างข้างหน้าเนื้อเรื่องจะเป็นอย่างไร แต่หัวก็ตันแล้ว คำแนะนำคืออย่าฝืนทำต่อครับไม่งั้นจะมีแต่งานยิ่งแย่ ให้ออกไปหาอย่างอื่นทำ ไว้เรารู้สึกอยากวาดจริงๆค่อยมาวาดต่อ ไม่ต้องยึดติดกับการวาดต่อขนาดนั้น
สรุปโดยรวมก็ประมาณนี้ครับ ผมจะย้ำตั้งแต่ต้นว่าถ้าเราอยากวาดไม่จำเป็นต้องซีเรียสเรื่องหลักพวกนี้เลยก็ได้ แค่วาดแบบที่คุณอยากวาดก็พอ ผมก็เริ่มจากจุดนั้นมา พอถึงจุดนึงที่คุณไม่พอใจ อยากเข้าใกล้มังงะที่มันดูสมบูรณ์มากขึ้นค่อยคิดถึงหลักพวกนี้ก็ได้ครับ วาดไปเถอะครับตราบใดที่ทำให้เรามีความสุขไม่มีผิดถูก ความพยายามไม่เคยทำร้ายใคร(คุ้นๆนะ) ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการวาดนะครับ