ใครเคยมีอาการอยู่ดี ๆ ก็รู้สึกใจสั่นบ้างไหมครับ...
อาการใจสั่น หรือใจเต้นไม่สม่ำเสมอ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ออกกำลังกายหนักเกิน มีความเครียด หรือแม้กระทั่งผลข้างเคียงจากยาบางชนิด จนบางครั้งหลายคนเริ่มสงสัยว่า อาการใจสั่น เป็นเรื่องธรรมดาหรือเป็นโรคหัวใจกันแน่ ศูนย์หัวใจวิชัยเวช รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการใจสั่น หรือใจสั่นหวิวมาฝากกันครับ
.
อาการใจสั่น เกิดจากการที่หัวใจมีการเต้นผิดจังหวะ เป็นความผิดปกติของระบบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทำให้หัวใจ เต้นเบาเกินไป หรือแรงเกินไป เร็วเกินไปหรือช้าเกินไป อาการใจสั่น อาการนี้เกิดขึ้นไม่นาน หัวใจก็สามารถกลับมาเต้นเป็นปกติได้ ทั่วไปอาการใจสั่นอาจไม่อันตราย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้งนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ โดยเฉพาะ ภาวะแทรกซ้อนของอาการใจสั่น ที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งเป็นสัญญาณอันตราย
.
กลุ่มเสี่ยงหลัก ๆ ที่อาจจะมีอาการใจสั่น และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง คือ
1. ผู้ป่วยโรคหัวใจ เช่น ผู้ที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
3. ผู้สูงอายุ
4. ผู้ที่มีการนำไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติ
5. ผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ
.
สาเหตุของอาการใจสั่น สามารถเกิดขึ้นได้หลายกรณีครับ ทั้งรุนแรงและไม่รุนแรง เช่น นอนหลับไม่เพียงพอ ,ออกกำลังกายที่ต้องใช้กำลังมาก, รับประทานอาหารปริมาณมากหรือมีรสเผ็ด, ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชาและกาแฟ, ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, มีความเครียดหรือกังวล, รู้สึกกลัว ตื่นเต้น หรืออาจเกิดจากการใช้ยาบางกลุ่ม เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ,ยาพ่นรักษาหอบหืดบางชนิด ,ยาแก้ไอหรือยาแก้หวัดบางชนิด , ยาแก้แพ้ ฯลฯ หรืออาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างที่มีประจำเดือน , ระหว่างตั้งครรถ์ หรืออยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน
หรือสาเหตุอาจเกิดจากภาวะทางหัวใจอื่น ๆ ลิ้นหัวใจมีปัญหา เช่น
-ลิ้นหัวใจยาว (Mitral Valve Prolapse)
-โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดที่มีกล้ามเนื้อหนากว่าปกติ (Hypertrophic Cardiomyopathy)
-โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)
-หัวใจวาย ซึ่งเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ
อาการใจสั่น ที่สามารถสังเกตุได้ คือ รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วหรือแรงกว่าปกติ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือหากเริ่มมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เป็นสัญญาณที่บอกว่ากำลังเกิดภาวะทางหัวใจที่อันตราย เช่น เจ็บแน่นหน้าอก , หายใจลำบาก ,เวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม ควรรีบไปพบแพทย์นะครับ
.
เบื้องต้นคุณหมอจะทำการการวินิจฉัย โดยการซักประวัติผู้ป่วย เช่น กิจวัตรประจำวัน ระดับความเครียด และยารักษาโรคที่กำลังใช้อยู่ จากนั้นคุณหมอจะตรวจร่างกายและอาจให้ทำการตรวจเพิ่มเติ่ม เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG or EKG) ช่วยตรวจการทำงานของหัวใจ เป็นการวินิจฉัยเบื้องต้นว่าผู้ป่วยมีโรคหัวใจหรือภาวะทางหัวใจอื่น ๆ หรือไม่ ,การใช้อุปกรณ์บันทึกจังหวะการเต้นของหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Monitor) เป็นอุปกรณ์พกพาที่ใช้เพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งจะช่วยหาความผิดปกติจังหวะการเต้นของหัวใจและการทำงานของหัวใจ,การตรวจด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology Study) เป็นการตรวจการทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อหาจุดกำเนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถพิจารณาได้ว่าควรใช้ยาหรือวิธีใดในการรักษา
.
หากแพทย์พบว่าสาเหตุของใจสั่นมาจากภาวะทางร่างกายหรือโรคประจำตัว แพทย์ก็จะรักษาและแก้ไขภาวะหรือโรคนั้น ๆ รวมไปถึงขั้นตอนที่ใช้รักษาจุดที่เกิดปัญหาในหัวใจโดยตรง เช่น
.
1. การใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ
2. การช็อตไฟฟ้าปรับการเต้นของหัวใจ
3. การใช้สายสวนจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ
4. การฟังเครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือกระตุกหัวใจให้เต้นตามอัตราที่กำหนด
.
โรคหัวใจ รู้ทัน..ป้องกันได้ หากพบอาการผิดปกติเกี่ยวกับโรคหัวใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์ครับ
.
ใจสั่นหวิว เรื่องธรรมดา หรือโรคหัวใจถามหา
หรือสาเหตุอาจเกิดจากภาวะทางหัวใจอื่น ๆ ลิ้นหัวใจมีปัญหา เช่น
-ลิ้นหัวใจยาว (Mitral Valve Prolapse)
-โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดที่มีกล้ามเนื้อหนากว่าปกติ (Hypertrophic Cardiomyopathy)
-โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)
-หัวใจวาย ซึ่งเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ
อาการใจสั่น ที่สามารถสังเกตุได้ คือ รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วหรือแรงกว่าปกติ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือหากเริ่มมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เป็นสัญญาณที่บอกว่ากำลังเกิดภาวะทางหัวใจที่อันตราย เช่น เจ็บแน่นหน้าอก , หายใจลำบาก ,เวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม ควรรีบไปพบแพทย์นะครับ
.
เบื้องต้นคุณหมอจะทำการการวินิจฉัย โดยการซักประวัติผู้ป่วย เช่น กิจวัตรประจำวัน ระดับความเครียด และยารักษาโรคที่กำลังใช้อยู่ จากนั้นคุณหมอจะตรวจร่างกายและอาจให้ทำการตรวจเพิ่มเติ่ม เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG or EKG) ช่วยตรวจการทำงานของหัวใจ เป็นการวินิจฉัยเบื้องต้นว่าผู้ป่วยมีโรคหัวใจหรือภาวะทางหัวใจอื่น ๆ หรือไม่ ,การใช้อุปกรณ์บันทึกจังหวะการเต้นของหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Monitor) เป็นอุปกรณ์พกพาที่ใช้เพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งจะช่วยหาความผิดปกติจังหวะการเต้นของหัวใจและการทำงานของหัวใจ,การตรวจด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology Study) เป็นการตรวจการทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อหาจุดกำเนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถพิจารณาได้ว่าควรใช้ยาหรือวิธีใดในการรักษา
.
หากแพทย์พบว่าสาเหตุของใจสั่นมาจากภาวะทางร่างกายหรือโรคประจำตัว แพทย์ก็จะรักษาและแก้ไขภาวะหรือโรคนั้น ๆ รวมไปถึงขั้นตอนที่ใช้รักษาจุดที่เกิดปัญหาในหัวใจโดยตรง เช่น
.
1. การใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ
2. การช็อตไฟฟ้าปรับการเต้นของหัวใจ
3. การใช้สายสวนจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ
4. การฟังเครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือกระตุกหัวใจให้เต้นตามอัตราที่กำหนด
.