สวัสดีครับ
เรื่องราวที่ร้อนแรงเกี่ยวกับการเงินการลงทุนในช่วงสุดสัปดาห์นี้คงหนีไม่พ้นเรื่องนโยบายแบงค์ชาติที่ประกาศห้ามธนาคารพาณิชย์จ่ายเงินปันผม หรือซื้อหุ้นคืน ก่อนอื่นผมขอออกตัวก่อนว่ามีความรู้ด้านนี้น้อยนะครับ จึงมาตั้งคำถามเพื่อขอความรู้ครับ เนื่องจากคำชี้แจงจากทางธนาคารแห่งประเทศไทยตามลิงค์ข้างล่าง ยังไม่ชัดเจน
https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n3363.aspx
ข้อที่หนึ่ง นิยามของคำว่า "การ์ดตก" ของธนาคารพาณิชย์คืออะไร? ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการวัดผล? แล้วเกี่ยวข้องกับระดับเงินกองทุน หรือ "กันชน" ของธนาคารพาณิชย์อย่างไร? เท่าที่ศึกษาดูธนาคารทุกแห่งในประเทศไทยก็ต้องทำตามกฏข้อบังคับของแบงค์ชาติอยู่แล้ว จากคำชี้แจงที่แปะลิงค์ไว้ข้างบน การป้องกันธนาคารพาณิชย์ "การ์ดตก" คือเหตุผลหลักของนโยบายนี้
ข้อที่สอง สิ่งที่แบงค์ชาติประกาศถือเป็นการก้าวก่ายอำนาจของผู้บริหารธนาคารพาณิชย์หรือไม่? หรือถ้าพูดอย่างไม่น่าฟังคือการยึดอำนาจตัดสินใจของธนาคารพาณิชย์ใช่หรือไม่? หรือเป็นเพียงการ "ขอความร่วมมือ" เฉย ๆ แบงค์ใหนจะไม่ร่วมมือก็ได้ใช่ใหมครับ? เพราะหัวข้อที่ประกาศคือ
"ขอให้ธนาคารพาณิชย์ ..."
ข้อสาม นโยบายนี้ถือเป็นการทำลายเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโดยตรงใช่หรือไม่? ยกตัวอย่างเช่น นาย A, B, C ร่วมกันตั้งบริษัท X โดยบริษัทนี้ตั้งอยู่ที่บ้านนาย ก เมื่อบริษัท X มีกำไรก็จะจัดสรรปันผลให้ A, B, C ตามข้อกำหนด แต่วันหนึ่งนาย ก ประกาศว่าห้ามบริษัท X ปันผลกำไรที่ได้ให้กับผู้ถือหุ้นและห้ามซื้อหุ้นคืนจาก A, B, C ด้วย ซึ่งอย่างนี้ในอนาคตก็ไม่มีใครกล้ามาลงทุนที่บ้านนาย ก อีกต่อไปเพราะลงทุนไปก็เหมือนเสียเงินไปเปล่า ๆ ไม่ได้อะไรคืนมา ผมเข้าใจแบบนี้ถูกหรือไม่ครับ
ข้อสี่ นอกจากแบงค์ชาติแล้วหน่วยงานอื่นมีอำนาจแบบเดียวกันหรือเปล่าครับ เช่นกระทรวงอุตสาหกรรมสั่งห้ามบริษัท จำกัดจ่ายเงินปันผล อย่างนี้จะเป็นไปได้ใหมครับ
ข้อห้า จริงหรือไม่ครับที่ประกาศฉบับนี้เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์กันเงินไว้ให้รัฐบาลยืม เนื่องจากรัฐไม่ต้องการไปยืมเงินจากต่างประเทศเพราะกลัวเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่ควบคุมไม่ได้
อยากทราบทุกความเห็นจากทุกคนเพื่อเป็นความรู้ครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
ผมเข้าใจนโยบายแบงค์ชาติแบบนี้ถูกใหมครับ?
เรื่องราวที่ร้อนแรงเกี่ยวกับการเงินการลงทุนในช่วงสุดสัปดาห์นี้คงหนีไม่พ้นเรื่องนโยบายแบงค์ชาติที่ประกาศห้ามธนาคารพาณิชย์จ่ายเงินปันผม หรือซื้อหุ้นคืน ก่อนอื่นผมขอออกตัวก่อนว่ามีความรู้ด้านนี้น้อยนะครับ จึงมาตั้งคำถามเพื่อขอความรู้ครับ เนื่องจากคำชี้แจงจากทางธนาคารแห่งประเทศไทยตามลิงค์ข้างล่าง ยังไม่ชัดเจน
https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n3363.aspx
ข้อที่หนึ่ง นิยามของคำว่า "การ์ดตก" ของธนาคารพาณิชย์คืออะไร? ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการวัดผล? แล้วเกี่ยวข้องกับระดับเงินกองทุน หรือ "กันชน" ของธนาคารพาณิชย์อย่างไร? เท่าที่ศึกษาดูธนาคารทุกแห่งในประเทศไทยก็ต้องทำตามกฏข้อบังคับของแบงค์ชาติอยู่แล้ว จากคำชี้แจงที่แปะลิงค์ไว้ข้างบน การป้องกันธนาคารพาณิชย์ "การ์ดตก" คือเหตุผลหลักของนโยบายนี้
ข้อที่สอง สิ่งที่แบงค์ชาติประกาศถือเป็นการก้าวก่ายอำนาจของผู้บริหารธนาคารพาณิชย์หรือไม่? หรือถ้าพูดอย่างไม่น่าฟังคือการยึดอำนาจตัดสินใจของธนาคารพาณิชย์ใช่หรือไม่? หรือเป็นเพียงการ "ขอความร่วมมือ" เฉย ๆ แบงค์ใหนจะไม่ร่วมมือก็ได้ใช่ใหมครับ? เพราะหัวข้อที่ประกาศคือ "ขอให้ธนาคารพาณิชย์ ..."
ข้อสาม นโยบายนี้ถือเป็นการทำลายเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโดยตรงใช่หรือไม่? ยกตัวอย่างเช่น นาย A, B, C ร่วมกันตั้งบริษัท X โดยบริษัทนี้ตั้งอยู่ที่บ้านนาย ก เมื่อบริษัท X มีกำไรก็จะจัดสรรปันผลให้ A, B, C ตามข้อกำหนด แต่วันหนึ่งนาย ก ประกาศว่าห้ามบริษัท X ปันผลกำไรที่ได้ให้กับผู้ถือหุ้นและห้ามซื้อหุ้นคืนจาก A, B, C ด้วย ซึ่งอย่างนี้ในอนาคตก็ไม่มีใครกล้ามาลงทุนที่บ้านนาย ก อีกต่อไปเพราะลงทุนไปก็เหมือนเสียเงินไปเปล่า ๆ ไม่ได้อะไรคืนมา ผมเข้าใจแบบนี้ถูกหรือไม่ครับ
ข้อสี่ นอกจากแบงค์ชาติแล้วหน่วยงานอื่นมีอำนาจแบบเดียวกันหรือเปล่าครับ เช่นกระทรวงอุตสาหกรรมสั่งห้ามบริษัท จำกัดจ่ายเงินปันผล อย่างนี้จะเป็นไปได้ใหมครับ
ข้อห้า จริงหรือไม่ครับที่ประกาศฉบับนี้เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์กันเงินไว้ให้รัฐบาลยืม เนื่องจากรัฐไม่ต้องการไปยืมเงินจากต่างประเทศเพราะกลัวเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่ควบคุมไม่ได้
อยากทราบทุกความเห็นจากทุกคนเพื่อเป็นความรู้ครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ