พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
[ฉบับมหาจุฬาฯ]
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาตพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
[ฉบับมหาจุฬาฯ]
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๔. อัคคัปปสาทสูตร
ว่าด้วยความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
[๓๔] ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้
ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตามมีรูปหรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเรากล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
๒. ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์ ๘ เรากล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในอริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
๓. ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งหรือธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด วิราคะ (ความคลายกำหนัด) คือ ความสร่างความเมาความดับความกระหาย ความถอนอาลัย ความตัดวัฏฏะ ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ นิพพานเรากล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในวิราคธรรม ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
๔. หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด พระสงฆ์สาวกของตถาคต ได้แก่ พระอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก เรากล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในสงฆ์ ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้แล
บุญที่เลิศ คือ อายุ วรรณะ
ยศ เกียรติ สุข และพละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้เลื่อมใส
ผู้รู้ธรรมที่เลิศโดยความเป็นธรรมที่เลิศ
ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ
ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม
ผู้เลื่อมใสในพระธรรมที่เลิศ
อันเป็นที่คลายความกำหนัด
เป็นที่สงบระงับ นำสุขมาให้
ผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ
ซึ่งเป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ให้ทานในท่านผู้เลิศ
นักปราชญ์ผู้ตั้งมั่นในธรรมที่เลิศ
ให้ทานแก่ท่านผู้เลิศ
เกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่
อัคคัปปสาทสูตรที่ ๔ จบ
https://youtu.be/evoKIaV6aro
[๓๔] จตฺตาโรเม ภิกฺขเว อคฺคปฺปสาทา กตเม จตฺตาโร
ยาวตา ภิกฺขเว สตฺตา อปทา วา ทฺวิปทา วา จตุปฺปทา วา พหุปฺปทา วา รูปิโน วา อรูปิโน วา สญฺญิโน วา อสญฺญิโน
วา เนวสญฺญินาสญฺญิโน วา ตถาคโต เตสํ อคฺคมกฺขายติ อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ เย ภิกฺขเว พุทฺเธ ปสนฺนา อคฺเค เต ปสนฺนา อคฺเค โข ปน ปสนฺนานํ อคฺโค วิปาโก โหติ ฯ ยาวตา ภิกฺขเว ธมฺมา สงฺขตา อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ เย ภิกฺขเว อริเย อฏฺฐงฺคิเก มคฺเค ปสนฺนา อคฺเค เต ปสนฺนา อคฺเค โข ปน ปสนฺนานํ อคฺโค วิปาโก โหติ ฯ
ยาวตา ภิกฺขเว ธมฺมา สงฺขตา วา อสงฺขตา วา วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ ยทิทํ มทนิมฺมทโน ปิ ปาสวินโย อาลยสมุคฺฆาโต วฏฺฏูปจฺเฉโท ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ เย ภิกฺขเว วิราเค ธมฺเม ปสนฺนา อคฺเค
เต ปสนฺนา อคฺเค โข ปน ปสนฺนานํ อคฺโค วิปาโก โหติ ฯ
ยาวตา ภิกฺขเว สงฺฆา วา คณา วา ตถาคตสาวกสงฺโฆ เตสํ
อคฺคมกฺขายติ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา เอส
ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส เย ภิกฺขเว สงฺเฆ ปสนฺนา อคฺเค
เต ปสนฺนา อคฺเค โข ปน ปสนฺนานํ อคฺโค วิปาโก โหติ ฯ อิเม โข ภิกฺขเว จตฺตาโร อคฺคปฺปสาทาติ ฯ
อคฺคโต เว ปสนฺนานํ อคฺคํ ธมฺมํ วิชานตํ
อคฺเค พุทฺเธ ปสนฺนานํ ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร
อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ วิราคูปสเม สุเขแ
อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ ปญฺญกเขฺตเตฺอนุตตเรฺ
อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ อคฺคํ ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ ฯ
อคฺคสฺส ทาตา เมธาวี อคฺคธมฺมสมาหิโต
เทวภูโต มนุสฺโส วา อคฺคปฺปตฺโต ปโมทตีติ ฯ
ว่าด้วยสิ่งที่เลิศ ๔
[ฉบับมหาจุฬาฯ]
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาตพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓
[ฉบับมหาจุฬาฯ]
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๔. อัคคัปปสาทสูตร
ว่าด้วยความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
[๓๔] ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้
ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตามมีรูปหรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเรากล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
๒. ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์ ๘ เรากล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในอริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
๓. ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งหรือธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด วิราคะ (ความคลายกำหนัด) คือ ความสร่างความเมาความดับความกระหาย ความถอนอาลัย ความตัดวัฏฏะ ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ นิพพานเรากล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในวิราคธรรม ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
๔. หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด พระสงฆ์สาวกของตถาคต ได้แก่ พระอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก เรากล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในสงฆ์ ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้แล
บุญที่เลิศ คือ อายุ วรรณะ
ยศ เกียรติ สุข และพละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้เลื่อมใส
ผู้รู้ธรรมที่เลิศโดยความเป็นธรรมที่เลิศ
ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ
ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม
ผู้เลื่อมใสในพระธรรมที่เลิศ
อันเป็นที่คลายความกำหนัด
เป็นที่สงบระงับ นำสุขมาให้
ผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ
ซึ่งเป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ให้ทานในท่านผู้เลิศ
นักปราชญ์ผู้ตั้งมั่นในธรรมที่เลิศ
ให้ทานแก่ท่านผู้เลิศ
เกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่
อัคคัปปสาทสูตรที่ ๔ จบ
https://youtu.be/evoKIaV6aro
[๓๔] จตฺตาโรเม ภิกฺขเว อคฺคปฺปสาทา กตเม จตฺตาโร
ยาวตา ภิกฺขเว สตฺตา อปทา วา ทฺวิปทา วา จตุปฺปทา วา พหุปฺปทา วา รูปิโน วา อรูปิโน วา สญฺญิโน วา อสญฺญิโน
วา เนวสญฺญินาสญฺญิโน วา ตถาคโต เตสํ อคฺคมกฺขายติ อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ เย ภิกฺขเว พุทฺเธ ปสนฺนา อคฺเค เต ปสนฺนา อคฺเค โข ปน ปสนฺนานํ อคฺโค วิปาโก โหติ ฯ ยาวตา ภิกฺขเว ธมฺมา สงฺขตา อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ เย ภิกฺขเว อริเย อฏฺฐงฺคิเก มคฺเค ปสนฺนา อคฺเค เต ปสนฺนา อคฺเค โข ปน ปสนฺนานํ อคฺโค วิปาโก โหติ ฯ
ยาวตา ภิกฺขเว ธมฺมา สงฺขตา วา อสงฺขตา วา วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ ยทิทํ มทนิมฺมทโน ปิ ปาสวินโย อาลยสมุคฺฆาโต วฏฺฏูปจฺเฉโท ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ เย ภิกฺขเว วิราเค ธมฺเม ปสนฺนา อคฺเค
เต ปสนฺนา อคฺเค โข ปน ปสนฺนานํ อคฺโค วิปาโก โหติ ฯ
ยาวตา ภิกฺขเว สงฺฆา วา คณา วา ตถาคตสาวกสงฺโฆ เตสํ
อคฺคมกฺขายติ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา เอส
ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส เย ภิกฺขเว สงฺเฆ ปสนฺนา อคฺเค
เต ปสนฺนา อคฺเค โข ปน ปสนฺนานํ อคฺโค วิปาโก โหติ ฯ อิเม โข ภิกฺขเว จตฺตาโร อคฺคปฺปสาทาติ ฯ
อคฺคโต เว ปสนฺนานํ อคฺคํ ธมฺมํ วิชานตํ
อคฺเค พุทฺเธ ปสนฺนานํ ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร
อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ วิราคูปสเม สุเขแ
อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ ปญฺญกเขฺตเตฺอนุตตเรฺ
อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ อคฺคํ ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ ฯ
อคฺคสฺส ทาตา เมธาวี อคฺคธมฺมสมาหิโต
เทวภูโต มนุสฺโส วา อคฺคปฺปตฺโต ปโมทตีติ ฯ