ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
สื่อญี่ปุ่นตีข่าว ตลาดคอนโดฯ ไทย ซบเซา หลังการลงทุนจากจีนลดลง ผลกระทบต่อเนื่องจากโควิด 19 และเงินบาทแข็งค่า ชี้คอนโดฯ กทม. ขายไม่ออกเป็นแสน หลายที่เริ่มงัดกลยุทธ์ลดแหลก
วันที่ 10 มิถุนายน 2563 เว็บไซต์ Nikkei Asian Review นำเสนอรายงานวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดคอนโดมิเนียมในประเทศไทย ที่มีแนวโน้มซบเซาลง เมื่อการลงทุนจากจีนเริ่มหดหาย นับตั้งแต่เงินบาทเริ่มแข็งค่า จนมาเจอสถานการณ์โรคระบาดซัดซ้ำในปีนี้
จากการสัมภาษณ์ นายบ็อบบี้ เหอ ชาวจีนจากปักกิ่ง ที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในไทย เปิดเผยว่า เขามีเพื่อนชาวจีนนับสิบคนที่เป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมหลายยูนิต ตามย่านยอดนิยมต่าง ๆ ในไทย เช่น กทม. ภูเก็ต และพัทยา โดยบางคนซื้อคอนโดมิเนียมเก็บไว้ถึง 3 ยูนิต ในโครงการเดียวกัน เพราะมีแผนจะใช้ชีวิตหลังเกษียณในไทย
"พวกเขาตั้งใจเก็บไว้อยู่เอง 1 ยูนิต และอีก 2 ยูนิต ไว้ปล่อยเช่า เพื่อหาเงินมาใช้หลังเกษียณ" บ็อบบี้ เหอ กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้อสังหาริมทรัพย์ในไทยดูเหมือนจะมีราคาน่าดึงดูดใจสำหรับผู้ซื้อชาวจีน เมื่อเทียบกับตลาดในจีน แต่การลงทุนในไทยกลับถดถอยลง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก โดยเม็ดเงินจากจีนเริ่มหายไปจากตลาดในไทยตั้งแต่ปี 2562 เนื่องจากสถานการณ์เงินบาทแข็งค่า และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน แต่การระบาดของ COVID-19 กลับเข้ามาซ้ำเติม ไม่ต่างจากการโรยเกลือลงบนแผล
บ็อบบี้ เหอ เผยว่า มีนักลงทุนชาวจีนคนหนึ่งที่เคยใช้เงิน 3.8 ล้านบาท ซื้อคอนโดมิเนียมยูนิตหนึ่งแถวชานเมือง กทม. แต่ไม่นานมานี้กลับทราบว่าทางนักพัฒนาโครงการเพิ่งหั่นราคาลงเหลือไม่ถึง 3 ล้านบาท
ทั้งนี้ Nikkei Asian Review ชี้ว่า ตลาดที่อยู่อาศัยในไทยขึ้นอยู่กับน้ำหนักจากนักลงทุนจีน โดยข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า จากเม็ดเงินมูลค่า 92.16 พันล้านบาท ที่ไทยได้รับโอนจากชาวต่างชาติที่เข้ามาซื้อคอนโดมิเนียมในปี 2561 มีถึง 43% ที่มาจากจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง
นอกจากนี้ สหรัฐฯ สิงคโปร์ ไต้หวัน อังกฤษ และญี่ปุ่น ก็อยู่ในกลุ่มผู้ซื้อที่นำเงินมาลงทุนสูงสุดในอันดับรองลงมาเช่นกัน
ด้าน นายหวง เฉิง ชายชาวจีนจากเมืองเฉิงตู ซึ่งเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมหลายยูนิต ในย่านวงเวียนใหญ่และอ่อนนุช ซึ่งเป็นย่านที่นักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมเช่าห้องพัก Airbnb เผยว่า ก่อนหน้าที่จะมีโรคระบาด เขาสามารถปล่อยห้องให้เช่าได้ง่าย ๆ ในราคาไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท แต่ตอนนี้คอนโดมิเนียมของเขาส่วนใหญ่กลับถูกทิ้งว่าง
อนึ่ง ไทยมีคำสั่งห้ามเที่ยวบินพาณิชย์เดินทางเข้าประเทศไทยจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน ซึ่งแม้จะเริ่มมีการหารือเรื่องการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ผู้สังเกตการณ์ด้านการตลาดมองว่ากิจกรรมด้านการท่องเที่ยวในไทยน่าจะยังไม่ฟื้นกลับมา จนกว่าจะถึงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2563
ทั้งนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้เผยข้อมูลในเดือนพฤษภาคม คาดว่า ในปี 2563 ไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงเกือบ 2 ใน 3 จากปีที่ผ่านมา โดยเหลือเพียงแค่ 14 ล้านคน เมื่อเทียบกับในปี 2562 ที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนไทยร่วม 39.8 ล้านคน เรียกว่าเป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบ 14 ปี
ในส่วนของตลาดคอนโดมิเนียมของไทย พบว่า ระหว่างปี 2553-2561 ไทยมีคอนโดมิเนียมใหม่ที่เปิดตัวใน กทม. เฉลี่ยปีละ 105,000 ยูนิต แต่ยอดขายในแต่ละปีจะมีเพียง 96,000 ยูนิต เท่านั้น โดยพบว่าในเดือนพฤษภาคม 2563 ยังมีคอนโดมิเนียมใน กทม. อีกราว 100,000 ยูนิต ที่ยังคงเปิดขายอยู่
เมื่อมีสถานการณ์โรคระบาด ก็ยิ่งส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ นักพัฒนาโครงการแต่ละแห่งต่างพยายามงัดกลยุทธ์ต่าง ๆ มาจูงใจผู้ซื้อ บางแห่งเสนอส่วนลดสูงสุดถึง 50% อย่างไรก็ตาม นางสาวริษิณี สาริกบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า ตลาดคอนโดมิเนียมค่อนข้างชะลอตัวลงทั้งในแง่อุปสงค์และอุปทาน โดยคาดว่าน่าจะต้องใช้เวลาอีก 2 ปี กว่าตลาดคอนโดมิเนียมในไทยจะกลับมาดีขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก Nikkei Asian Review
ข่าวจาก : กระปุกดอทคอม
https://money.kapook.com/view227114.html
สื่อญี่ปุ่นตีข่าว ตลาดคอนโดฯ ไทย ซบเซา หลังการลงทุนจากจีนลดลง ในช่วงโควิด 19
สื่อญี่ปุ่นตีข่าว ตลาดคอนโดฯ ไทย ซบเซา หลังการลงทุนจากจีนลดลง ผลกระทบต่อเนื่องจากโควิด 19 และเงินบาทแข็งค่า ชี้คอนโดฯ กทม. ขายไม่ออกเป็นแสน หลายที่เริ่มงัดกลยุทธ์ลดแหลก
วันที่ 10 มิถุนายน 2563 เว็บไซต์ Nikkei Asian Review นำเสนอรายงานวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดคอนโดมิเนียมในประเทศไทย ที่มีแนวโน้มซบเซาลง เมื่อการลงทุนจากจีนเริ่มหดหาย นับตั้งแต่เงินบาทเริ่มแข็งค่า จนมาเจอสถานการณ์โรคระบาดซัดซ้ำในปีนี้
จากการสัมภาษณ์ นายบ็อบบี้ เหอ ชาวจีนจากปักกิ่ง ที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในไทย เปิดเผยว่า เขามีเพื่อนชาวจีนนับสิบคนที่เป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมหลายยูนิต ตามย่านยอดนิยมต่าง ๆ ในไทย เช่น กทม. ภูเก็ต และพัทยา โดยบางคนซื้อคอนโดมิเนียมเก็บไว้ถึง 3 ยูนิต ในโครงการเดียวกัน เพราะมีแผนจะใช้ชีวิตหลังเกษียณในไทย
"พวกเขาตั้งใจเก็บไว้อยู่เอง 1 ยูนิต และอีก 2 ยูนิต ไว้ปล่อยเช่า เพื่อหาเงินมาใช้หลังเกษียณ" บ็อบบี้ เหอ กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้อสังหาริมทรัพย์ในไทยดูเหมือนจะมีราคาน่าดึงดูดใจสำหรับผู้ซื้อชาวจีน เมื่อเทียบกับตลาดในจีน แต่การลงทุนในไทยกลับถดถอยลง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก โดยเม็ดเงินจากจีนเริ่มหายไปจากตลาดในไทยตั้งแต่ปี 2562 เนื่องจากสถานการณ์เงินบาทแข็งค่า และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน แต่การระบาดของ COVID-19 กลับเข้ามาซ้ำเติม ไม่ต่างจากการโรยเกลือลงบนแผล
บ็อบบี้ เหอ เผยว่า มีนักลงทุนชาวจีนคนหนึ่งที่เคยใช้เงิน 3.8 ล้านบาท ซื้อคอนโดมิเนียมยูนิตหนึ่งแถวชานเมือง กทม. แต่ไม่นานมานี้กลับทราบว่าทางนักพัฒนาโครงการเพิ่งหั่นราคาลงเหลือไม่ถึง 3 ล้านบาท
ทั้งนี้ Nikkei Asian Review ชี้ว่า ตลาดที่อยู่อาศัยในไทยขึ้นอยู่กับน้ำหนักจากนักลงทุนจีน โดยข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า จากเม็ดเงินมูลค่า 92.16 พันล้านบาท ที่ไทยได้รับโอนจากชาวต่างชาติที่เข้ามาซื้อคอนโดมิเนียมในปี 2561 มีถึง 43% ที่มาจากจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง
นอกจากนี้ สหรัฐฯ สิงคโปร์ ไต้หวัน อังกฤษ และญี่ปุ่น ก็อยู่ในกลุ่มผู้ซื้อที่นำเงินมาลงทุนสูงสุดในอันดับรองลงมาเช่นกัน
ด้าน นายหวง เฉิง ชายชาวจีนจากเมืองเฉิงตู ซึ่งเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมหลายยูนิต ในย่านวงเวียนใหญ่และอ่อนนุช ซึ่งเป็นย่านที่นักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมเช่าห้องพัก Airbnb เผยว่า ก่อนหน้าที่จะมีโรคระบาด เขาสามารถปล่อยห้องให้เช่าได้ง่าย ๆ ในราคาไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท แต่ตอนนี้คอนโดมิเนียมของเขาส่วนใหญ่กลับถูกทิ้งว่าง
อนึ่ง ไทยมีคำสั่งห้ามเที่ยวบินพาณิชย์เดินทางเข้าประเทศไทยจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน ซึ่งแม้จะเริ่มมีการหารือเรื่องการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ผู้สังเกตการณ์ด้านการตลาดมองว่ากิจกรรมด้านการท่องเที่ยวในไทยน่าจะยังไม่ฟื้นกลับมา จนกว่าจะถึงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2563
ทั้งนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้เผยข้อมูลในเดือนพฤษภาคม คาดว่า ในปี 2563 ไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงเกือบ 2 ใน 3 จากปีที่ผ่านมา โดยเหลือเพียงแค่ 14 ล้านคน เมื่อเทียบกับในปี 2562 ที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนไทยร่วม 39.8 ล้านคน เรียกว่าเป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบ 14 ปี
ในส่วนของตลาดคอนโดมิเนียมของไทย พบว่า ระหว่างปี 2553-2561 ไทยมีคอนโดมิเนียมใหม่ที่เปิดตัวใน กทม. เฉลี่ยปีละ 105,000 ยูนิต แต่ยอดขายในแต่ละปีจะมีเพียง 96,000 ยูนิต เท่านั้น โดยพบว่าในเดือนพฤษภาคม 2563 ยังมีคอนโดมิเนียมใน กทม. อีกราว 100,000 ยูนิต ที่ยังคงเปิดขายอยู่
เมื่อมีสถานการณ์โรคระบาด ก็ยิ่งส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ นักพัฒนาโครงการแต่ละแห่งต่างพยายามงัดกลยุทธ์ต่าง ๆ มาจูงใจผู้ซื้อ บางแห่งเสนอส่วนลดสูงสุดถึง 50% อย่างไรก็ตาม นางสาวริษิณี สาริกบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า ตลาดคอนโดมิเนียมค่อนข้างชะลอตัวลงทั้งในแง่อุปสงค์และอุปทาน โดยคาดว่าน่าจะต้องใช้เวลาอีก 2 ปี กว่าตลาดคอนโดมิเนียมในไทยจะกลับมาดีขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก Nikkei Asian Review
ข่าวจาก : กระปุกดอทคอม
https://money.kapook.com/view227114.html