เหมือนเป็นการเล่าเรื่องเดิมซ้ำๆ แต่เปลี่ยนบริบท แต่จะทำเช่นไรได้ ในเมื่อชีวิตของศิลปินเกย์คนดังในแวดวงต่างๆ ของยุค 70 – 80 ต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความไม่ยอมรับในตัวตนจากพ่อแม่ ครอบครัว สังคมรอบข้าง ออกมาดิ้นรนเพื่อหาที่ทางให้กับอาชีพหน้าที่การงาน พร้อมๆ กับค้นหาจัดวางตัวเองให้อยู่ในตำแหน่งที่ทางที่เหมาะสม ได้สัมผัสกับชื่อเสียงเงินทอง ยาเสพติด เซ็กส์ และเอชไอวี/เอดส์ เช่นเดียวกับ Robert Mapplethorpe ช่างภาพคนดังแห่งยุค 70 - 80 ผู้สร้างสรรค์ผลงานอันฉาวโฉ่ด้วยเซ็กส์ ชุดหนัง S&M คนผิวสี และภาพดอกไม้!
.
Mapplethorpe เล่าเรื่องราวในชีวิตของ Robert Mapplethorpe ตั้งแต่วันที่เค้ายังเป็นศิลปินทำงานภาพคอลลาจในห้องเช่ารูหนู พบรักกับศิลปินสาว พร้อมๆ กับแอบใช้ชีวิตอีกด้านในโลกของเกย์ จนถึงวันที่เลิกรากับแฟนสาว ได้ค้นพบเสน่ห์ของกล้องถ่ายภาพ พบรักอีกครั้งกับเศรษฐีหนุ่มใหญ่ที่สนับสนุนผลงานของเค้า แล้วในขณะที่ผลงานและไอเดียของ Robert กำลังพุ่งแรง ด้วยการนำเสนอภาพเปลือยคอนเซ็ปต์แรงๆ มัดกล้ามของคนผิวสี การเปิดเผยทั้งเต้านมของนางแบบ และแท่งเนื้อของนายแบบเพศชาย ชีวิตส่วนตัวของ Robert กลับกำลังดิ่งลงเหวไปเรื่อยๆ ด้วยการเสพติดทั้งโคเคนและเซ็กส์
.
ชอบมากกับการที่เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงจากชายหนุ่มจิตใจดีในตอนต้นเรื่อง สู่การเป็นศิลปินผู้ต่อต้านสังคม ก้าวร้าว ใจร้ายกับทุกคนรอบตัว ไปจนถึงการตั้งคำถามของการสร้างสรรค์ผลงานของ Robert ที่ดูเหมือนเหยียบย่ำศักดิ์ศรีของตัวแบบ โดยเฉพาะความหลงใหลในเด็กหนุ่มผิวสี ชอบมากขึ้นไปอีกกับความสัมพันธ์ระหว่าง Robert กับ Edward ผู้เป็นน้องชายที่เดินรอยตามพี่ชาย แม้มันจะคลิเช่แค่ไหนก็ตาม
.
Ondi Timoner ผู้กำกับเลือกนำเสนอ Mapplethorpe ด้วยทีท่าที่ค่อนข้างเก่าเชย ทั้งวิธีการเล่าเรื่อง งานโปรดักชั่น การแสดง ไปจนถึงงานภาพที่เก่าซีด จนทำให้เราเผลอคิดว่า หนังมันสร้างขึ้นในปลายยุค 80 หรือยุค 90 หรือไร ทว่ามันก็ยิ่งขับเน้นให้ผลงานของ Robert Mapplethorpe ดูแรงและล้ำเกินยุคสมัยได้จริงๆ แน่นอนว่าการแสดงของ Matt Smith คือมวลพลังที่ขับเคลื่อนหนังไปข้างหน้าและทำให้เราสัมผัสเลือดเนื้อในตัวศิลปินผู้แปลกแยกคนนี้ ถึงแม้ว่า Robert ตัวจริงจะหล่อกว่านี้เยอะก็ตาม
.
ในขณะที่หลายครั้งหลายหน เราพยายามหลีกเลี่ยงการ “หากิน” กับเซ็กส์และเรือนร่างของผู้ชายในเนื้องาน หรือพยายามหาข้ออ้างสวยๆ มาพูดเสมอในการทำเช่นนั้น แต่ Mapplethorpe ทำให้เรากล้าที่จะยักไหล่ใส่ข้ออ้างทั้งหมดทั้งมวล ก็เซ็กส์และเรือนร่างของผู้ชายมันคือสิ่งสวยงามที่ใครๆ ก็อยากเสพ แล้วจะเป็นไรไปเล่า หากเรานำเสนอสิ่งเหล่านั้นเพื่อทุกคน หรือแม้แต่เพื่อสนองตัวเอง?
.
เราได้ดู Mapplethorpe ในเทศกาลหนัง LGBT+ Film Festival 2019 ซึ่งจัดขึ้น Bangkok Screening Room และไม่รู้เหมือนกันว่ามันจะมีโอกาสได้ฉายที่ไหนอีกไหม
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
[CR] [Review] Mapplethorpe (2018)
เหมือนเป็นการเล่าเรื่องเดิมซ้ำๆ แต่เปลี่ยนบริบท แต่จะทำเช่นไรได้ ในเมื่อชีวิตของศิลปินเกย์คนดังในแวดวงต่างๆ ของยุค 70 – 80 ต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความไม่ยอมรับในตัวตนจากพ่อแม่ ครอบครัว สังคมรอบข้าง ออกมาดิ้นรนเพื่อหาที่ทางให้กับอาชีพหน้าที่การงาน พร้อมๆ กับค้นหาจัดวางตัวเองให้อยู่ในตำแหน่งที่ทางที่เหมาะสม ได้สัมผัสกับชื่อเสียงเงินทอง ยาเสพติด เซ็กส์ และเอชไอวี/เอดส์ เช่นเดียวกับ Robert Mapplethorpe ช่างภาพคนดังแห่งยุค 70 - 80 ผู้สร้างสรรค์ผลงานอันฉาวโฉ่ด้วยเซ็กส์ ชุดหนัง S&M คนผิวสี และภาพดอกไม้!
.
Mapplethorpe เล่าเรื่องราวในชีวิตของ Robert Mapplethorpe ตั้งแต่วันที่เค้ายังเป็นศิลปินทำงานภาพคอลลาจในห้องเช่ารูหนู พบรักกับศิลปินสาว พร้อมๆ กับแอบใช้ชีวิตอีกด้านในโลกของเกย์ จนถึงวันที่เลิกรากับแฟนสาว ได้ค้นพบเสน่ห์ของกล้องถ่ายภาพ พบรักอีกครั้งกับเศรษฐีหนุ่มใหญ่ที่สนับสนุนผลงานของเค้า แล้วในขณะที่ผลงานและไอเดียของ Robert กำลังพุ่งแรง ด้วยการนำเสนอภาพเปลือยคอนเซ็ปต์แรงๆ มัดกล้ามของคนผิวสี การเปิดเผยทั้งเต้านมของนางแบบ และแท่งเนื้อของนายแบบเพศชาย ชีวิตส่วนตัวของ Robert กลับกำลังดิ่งลงเหวไปเรื่อยๆ ด้วยการเสพติดทั้งโคเคนและเซ็กส์
.
ชอบมากกับการที่เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงจากชายหนุ่มจิตใจดีในตอนต้นเรื่อง สู่การเป็นศิลปินผู้ต่อต้านสังคม ก้าวร้าว ใจร้ายกับทุกคนรอบตัว ไปจนถึงการตั้งคำถามของการสร้างสรรค์ผลงานของ Robert ที่ดูเหมือนเหยียบย่ำศักดิ์ศรีของตัวแบบ โดยเฉพาะความหลงใหลในเด็กหนุ่มผิวสี ชอบมากขึ้นไปอีกกับความสัมพันธ์ระหว่าง Robert กับ Edward ผู้เป็นน้องชายที่เดินรอยตามพี่ชาย แม้มันจะคลิเช่แค่ไหนก็ตาม
.
Ondi Timoner ผู้กำกับเลือกนำเสนอ Mapplethorpe ด้วยทีท่าที่ค่อนข้างเก่าเชย ทั้งวิธีการเล่าเรื่อง งานโปรดักชั่น การแสดง ไปจนถึงงานภาพที่เก่าซีด จนทำให้เราเผลอคิดว่า หนังมันสร้างขึ้นในปลายยุค 80 หรือยุค 90 หรือไร ทว่ามันก็ยิ่งขับเน้นให้ผลงานของ Robert Mapplethorpe ดูแรงและล้ำเกินยุคสมัยได้จริงๆ แน่นอนว่าการแสดงของ Matt Smith คือมวลพลังที่ขับเคลื่อนหนังไปข้างหน้าและทำให้เราสัมผัสเลือดเนื้อในตัวศิลปินผู้แปลกแยกคนนี้ ถึงแม้ว่า Robert ตัวจริงจะหล่อกว่านี้เยอะก็ตาม
.
ในขณะที่หลายครั้งหลายหน เราพยายามหลีกเลี่ยงการ “หากิน” กับเซ็กส์และเรือนร่างของผู้ชายในเนื้องาน หรือพยายามหาข้ออ้างสวยๆ มาพูดเสมอในการทำเช่นนั้น แต่ Mapplethorpe ทำให้เรากล้าที่จะยักไหล่ใส่ข้ออ้างทั้งหมดทั้งมวล ก็เซ็กส์และเรือนร่างของผู้ชายมันคือสิ่งสวยงามที่ใครๆ ก็อยากเสพ แล้วจะเป็นไรไปเล่า หากเรานำเสนอสิ่งเหล่านั้นเพื่อทุกคน หรือแม้แต่เพื่อสนองตัวเอง?
.
เราได้ดู Mapplethorpe ในเทศกาลหนัง LGBT+ Film Festival 2019 ซึ่งจัดขึ้น Bangkok Screening Room และไม่รู้เหมือนกันว่ามันจะมีโอกาสได้ฉายที่ไหนอีกไหม
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้