Tarim Basin ( Cr.wikiwand.com )
ตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา นักสำรวจได้มีการขุดค้นพบมัมมี่จำนวนมากใต้ทะเลทรายในแอ่งทาริม (Tarim Basin) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน อยู่ในพื้นที่เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ มัมมี่ซึ่งถูกเรียกว่า “มัมมี่แห่งทาริม” หรือ Tarim Mummies มีอายุระหว่าง 1800 ปี ถึงราว 100 ปีก่อนคริสตกาล
โดยศพที่ค้นพบอยู่ในสภาพสมบูรณ์ยิ่งกว่ามัมมี่ที่อียิปต์ สามารถมองเห็นเส้นผมและขนตาได้อย่างชัดเจน ทั้งเสื้อผ้าอาภรณ์และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆที่ฝังไว้กับมัมมี่ก็ถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี สาเหตุที่มัมมี่แห่งทาริมสามารถคงสภาพสมบูรณ์ไว้ได้ นอกจากเทคนิคการเก็บรักษาศพที่ดีแล้ว ยังเป็นเพราะสภาพอากาศที่แห้งแล้งและดินที่มีสภาพเป็นด่างของพื้นที่ดังกล่าว โดยปัจจุบันมัมมี่ทาริมถูกจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ของเขตปกครองตนเองซินเจียง (新疆自治区博物馆)
การค้นพบดังกล่าวนำมาซึ่งประเด็นอันชวนพิศวง เพราะมัมมี่ทาริมจำนวนมากมีลักษณะทางกายภาพแบบ “ฝรั่ง” หรือชาวคอเคเชียนอย่างเด่นชัด ทั้งรูปร่างสูงยาว รูปหน้าเหลี่ยม ตาลึก จมูกโด่ง เส้นผมสีอ่อน เช่น สีแดง สีบลอนด์และสีน้ำตาล
ยกตัวอย่างเช่น มัมมี่ซึ่งถูกขนานนามว่า “โฉมงามแห่งเสี่ยวเหอ” (Beauty of Xiaohe) (小河美女) ตั้งชื่อตามสถานที่ที่ค้นพบ เป็นมัมมี่ที่มีอายุเก่าแก่ราว 3,500-3,800 ปี ใบหน้าของเธอ ซึ่งน่าจะเสียชีวิตในวัย 30 ปี ยังมีเค้าความงามให้เห็น ทั้งใบหน้าได้รูป ผมสีแดงยาวสยาย รวมถึงขนตางอนยาวทั้งแผง
เธอสวมหมวกขนสัตว์ประดับขนนก กระโปรงถัก และรองเท้าบู๊ทหนังสัตว์อย่างดี สภาพศพถูกเก็บรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ โดยเมื่อขุดพบครั้งแรกทั้งร่างกายเธอถูกเคลือบเป็นชั้นหนาด้วยสารที่มีสีขาวคล้ายน้ำนม และถูกห่อไว้ด้วยเสื้อคลุมขนสัตว์สีขาว ด้วยลักษณะอันหรูหราของเครื่องแต่งกายและวัตถุที่ถูกฝังพร้อมกับศพ สะท้อนว่าโฉมงามแห่งเสี่ยวเหอเป็นที่รักอย่างยิ่งของผู้ทำพิธีฝังศพเธอ
ยังมีมัมมี่ของชายซึ่งถูกเรียกว่า Cherchen man ซึ่งมีอายุเก่าแก่ราว 3,000 ปี โดย Cherchen (Chärchän) หรือ เฉี่ยม่อ 且末 เป็นชื่อเมืองใกล้กับสุสานที่ขุดค้นพบมัมมี่ดังกล่าว Cherchen man เสียชีวิตขณะอายุประมาณห้าสิบปี เขามีผมสีน้ำตาลออกแดง แซมด้วยสีเทา โหนกแก้มสูง จมูกยาวปลายงุ้ม ริมฝีปากอวบอิ่ม และเคราสีแดง สวมเสื้อคลุมผ้าทอลายทแยงสีแดงและสนับแข้ง มองจากภายนอกแล้วดูเหมือนกับนักรบชาวเคลต์ (Celtic) ซึ่งกระจายอยู่ในยุโรป โดย Cherchen man มีรูปร่างสูงถึงหกฟุต
Beauty of Xiaohe
ทารกหมวกฟ้า ( Cr.kitskinny.wordpress.com/)
นอกจากนี้ยังมีมัมมี่ "ทารกหมวกฟ้า" ที่เสียชีวิตตอนอายุประมาณ 9 เดือน ซึ่งมีอายุเก่าแก่ราว 2,800 ปี เขามีผมสีน้ำตาลอ่อน คิ้วบาง ดวงตาทั้งสองข้างถูกปิดไว้ด้วยหินแบนสี่เหลี่ยม ซึ่งคาดว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในการฝังศพทารก ร่างถูกห่อหุ้มไว้ด้วยผ้าขนสัตว์สีแดงเข้ม รัดด้วยเชือกสีแดงและน้ำเงินพันกัน และสวมหมวกผ้าแคชเมียร์สีน้ำเงิน ข้างศพยังพบขวดนมที่ทำจากเต้านมแกะอีกด้วย
และมัมมี่ชาย "อิ๋งปัน" ซึ่งอายุ 55 ปี ตอนที่เสียชีวิตมัมมี่เหล่านี้ถูกฝังเอาไว้ในหลุมศพคนละหลุมบนแอ่งทาริมในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์อันไกลโพ้นทางภาคตะวันตกของจีน
มัมมี่ทาริมได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักวิชาการต่างชาติซึ่งพยายามเข้าไปศึกษาวิจัย ในปี 1993 ทีมนักวิจัยนำโดย Victor Mair ศาสตราจารย์ด้านจีนศึกษาจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียประเทศอเมริกา เขาศึกษาเรื่องมัมมี่มาตั้งแต่ปี 2536 และร่วมเขียนหนังสือเรื่อง The Tarim Mummies: Ancient China and the Mysery of the Earliest Peoples From the West
เขาได้ทำการตรวจสอบพันธุกรรมของมัมมี่แห่งทาริม ทีมของศาสตราจารย์ Mair พบว่ามัมมี่ทาริมที่อายุเก่าแก่ที่สุดเป็นชาวคอเคซอยด์ พูดภาษากลุ่ม Tocharian ซึ่งเป็นภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน
โดยคาดว่าชาวคอเคซอยด์อพยพมาจากแถบไซบีเรียเมื่อ 5,000 ปีก่อน และไม่ได้เกี่ยวข้องกับชาวอุยกูร์ซึ่งอพยพมาถึงพื้นที่แอ่งทาริมเมื่อราวหนึ่งพันกว่าปีก่อน ในปี 2007 รัฐบาลจีนได้อนุญาตให้มีการตรวจสอบดีเอ็นเอมัมมี่ทาริม ซึ่งผลการตรวจพบว่ากลุ่มชนในแอ่งทาริมนั้นไม่ได้มีต้นกำเนิดเดียว แต่มีที่มาหลากหลาย ทั้งจากยุโรป เมโสโปเตเมีย หุบเขาอินดัส (Indus Valley) ในปากีสถาน และที่อื่นๆซึ่งยังไม่สามารถระบุได้
นักวิชาการเชื่อว่า การขุดค้นพบมัมมี่แห่งทาริม เป็นหลักฐานที่พลิกความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับตะวันตก ตามประวัติศาสตร์ที่ยอมรับกันทั่วไปในจีนนั้น การเดินทางไปยังดินแดนตะวันตกเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น โดยขุนนางจางเชียน 张骞 ได้รับมอบหมายจากจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ให้นำคณะทูตออกเดินทางไปเชื่อมสัมพันธไมตรียังดินแดนทางตะวันตกของจีนเมื่อราวสองพันกว่าปีก่อน
โดยจางเชียนได้เดินทางไปจนถึงเอเชียกลาง จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกเส้นทางสายไหม ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมไปสู่ยุโรป แต่การค้นพบมัมมี่แห่งทาริมเป็นหลักฐานชี้ว่า มีชาวคอเคซอยด์อยู่ในพื้นที่ทางตะวันตกของจีนมาเป็นเวลายาวนานเกือบสี่พันปีแล้ว และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างชาวยุโรปกับชาวจีนก็อาจจะมีมายาวนานกว่าที่เราเคยเข้าใจนับพันปี
ดร.สเปนเซอร์ เวลส์ ผู้อำนวยการโครงการจีโนกราฟิกของเนชั่นแนล จีโอกราฟิก โซไซตี้ ระบุว่า การค้นพบมัมมี่หน้าตาชาวคอเคเชียนเหล่านี้ทำให้สันนิษฐานว่า พวกชนเผ่าเร่ร่อนในยุคสำริด ซึ่งพูดภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน บางทีอาจเป็นคนมาจากแถบรัสเซีย และยูเครน น่าจะเป็นผู้นำวัฒนธรรม และถ่ายทอดยีนส์ ลักษณะรูปร่างหน้าตาให้แก่ผู้คนในแถบตะวันตกของจีน
จากการวิจัยดีเอ็นเอเมื่อเร็ว ๆ นี้ยังทำให้เห็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างผู้คนจากโลกตะวันตกกับผู้หญิง และผู้คนในเอเชียกลาง
อีกทั้งข้าวของบางชิ้น ที่พบอยู่กับมัมมี่ เช่น เครื่องใช้สำริด และกระดูกแกะ ก็บ่งนัยว่า ชาวยุโรปเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี เช่น การผสมโลหะ และการนำสัตว์บางชนิดมาเลี้ยงให้แก่จีน นอกจากนั้น การค้าระหว่างยุโรปกับเอเชียยังอาจเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อเกือบ 4,000 ปีแล้วก็ได้ ทว่าการก่อตัวอย่างเป็นกิจลักษณะของเส้นทางสายไหม ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าเชื่อมระหว่างอเชีย ยุโรป และแอฟริกา เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อราว 138 ปีก่อนคริสตกาลในสมัยราชวงศ์ฮั่น
Loulan beauty สายพันธุ์ที่สวยงามด้วยรอยสัก
(Cr.commons.wikimedia.org)
เธอเสียชีวิตเมื่ออายุประมาณ 40 อาจเพราะความเป็นอยู่ยากลำบากและปัญหาของปอดที่เกิดจากส่วนผสมของทรายและควันพิษที่สูดดมจากบริเวณที่อยู่ เธอถูกฝังโดยการสวมใส่เสื้อผ้าที่สวยงาม ช่วงเวลาแห่งการตายของเธอ นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าในเวลานั้นยังไม่มีชาวยุโรปในเอเชีย แต่ลูลาดูเหมือนคนผิวขาวอย่างมาก ผมสีบลอนด์ของเธอถูกถักอย่างสวยงาม เธอมีโหนกแก้มสูง เบ้าตาลึก ขนตายาว จมูกเล็กโด่ง ริมฝีปากบาง มีรูปพระจันทร์เสี้ยวบนใบหน้าของเธอ บางร่างยังมีรอยสักมากมายบนมืออาจด้วยเหตุผลเชิงสัญลักษณ์หรือเป็นการตกแต่งร่างกาย
มัมมี่ทั้งหมดที่พบในพื้นที่ Tarim เป็นของชนเผ่า Chertsen ของยุโรป ส่วนใหญ่มีรอยสักเหมือนพวกไซเธียนส์และธราเซียนด้วยเทคนิคที่คล้ายคลึงกับวิธีการที่ทันสมัย ด้วยสีที่หลากหลายและติดทนนาน
ส่วนมัมมี่ชาย Cherchen Man เขามีความสูงประมาณ 1.80 เมตร มีรอยสักของดวงอาทิตย์บนขมับ เขาถูกห่อด้วยเสื้อคลุมสีแดงและหุ้มขาทำจากผ้าลายเหมือนผ้าสก็อต ความลับของพวกเขาอาจซ่อนอยู่ในรอยสัก จากการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม การที่ผู้ชายในเวลานั้นเลือกที่จะได้รับรอยสักมันต้องเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญ เนื่องจากรอยสักนั้นเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์อำนาจและบารมี
มัมมี่ Tarim ทำให้โลกวิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่าเมื่อ 4,000 ปีก่อนมนุษย์เดินทางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความคิด ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าทำไมรูปแบบศิลปะและตำนานบางเรื่องเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
Cr.
http://ypogeia-drasi.blogspot.com/2014/05/blog-post_9982.html
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
“มัมมี่แห่งทาริม” Tarim Mummies
โดยศพที่ค้นพบอยู่ในสภาพสมบูรณ์ยิ่งกว่ามัมมี่ที่อียิปต์ สามารถมองเห็นเส้นผมและขนตาได้อย่างชัดเจน ทั้งเสื้อผ้าอาภรณ์และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆที่ฝังไว้กับมัมมี่ก็ถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี สาเหตุที่มัมมี่แห่งทาริมสามารถคงสภาพสมบูรณ์ไว้ได้ นอกจากเทคนิคการเก็บรักษาศพที่ดีแล้ว ยังเป็นเพราะสภาพอากาศที่แห้งแล้งและดินที่มีสภาพเป็นด่างของพื้นที่ดังกล่าว โดยปัจจุบันมัมมี่ทาริมถูกจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ของเขตปกครองตนเองซินเจียง (新疆自治区博物馆)
การค้นพบดังกล่าวนำมาซึ่งประเด็นอันชวนพิศวง เพราะมัมมี่ทาริมจำนวนมากมีลักษณะทางกายภาพแบบ “ฝรั่ง” หรือชาวคอเคเชียนอย่างเด่นชัด ทั้งรูปร่างสูงยาว รูปหน้าเหลี่ยม ตาลึก จมูกโด่ง เส้นผมสีอ่อน เช่น สีแดง สีบลอนด์และสีน้ำตาล
นอกจากนี้ยังมีมัมมี่ "ทารกหมวกฟ้า" ที่เสียชีวิตตอนอายุประมาณ 9 เดือน ซึ่งมีอายุเก่าแก่ราว 2,800 ปี เขามีผมสีน้ำตาลอ่อน คิ้วบาง ดวงตาทั้งสองข้างถูกปิดไว้ด้วยหินแบนสี่เหลี่ยม ซึ่งคาดว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในการฝังศพทารก ร่างถูกห่อหุ้มไว้ด้วยผ้าขนสัตว์สีแดงเข้ม รัดด้วยเชือกสีแดงและน้ำเงินพันกัน และสวมหมวกผ้าแคชเมียร์สีน้ำเงิน ข้างศพยังพบขวดนมที่ทำจากเต้านมแกะอีกด้วย
ดร.สเปนเซอร์ เวลส์ ผู้อำนวยการโครงการจีโนกราฟิกของเนชั่นแนล จีโอกราฟิก โซไซตี้ ระบุว่า การค้นพบมัมมี่หน้าตาชาวคอเคเชียนเหล่านี้ทำให้สันนิษฐานว่า พวกชนเผ่าเร่ร่อนในยุคสำริด ซึ่งพูดภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน บางทีอาจเป็นคนมาจากแถบรัสเซีย และยูเครน น่าจะเป็นผู้นำวัฒนธรรม และถ่ายทอดยีนส์ ลักษณะรูปร่างหน้าตาให้แก่ผู้คนในแถบตะวันตกของจีน
จากการวิจัยดีเอ็นเอเมื่อเร็ว ๆ นี้ยังทำให้เห็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างผู้คนจากโลกตะวันตกกับผู้หญิง และผู้คนในเอเชียกลาง
อีกทั้งข้าวของบางชิ้น ที่พบอยู่กับมัมมี่ เช่น เครื่องใช้สำริด และกระดูกแกะ ก็บ่งนัยว่า ชาวยุโรปเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี เช่น การผสมโลหะ และการนำสัตว์บางชนิดมาเลี้ยงให้แก่จีน นอกจากนั้น การค้าระหว่างยุโรปกับเอเชียยังอาจเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อเกือบ 4,000 ปีแล้วก็ได้ ทว่าการก่อตัวอย่างเป็นกิจลักษณะของเส้นทางสายไหม ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าเชื่อมระหว่างอเชีย ยุโรป และแอฟริกา เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อราว 138 ปีก่อนคริสตกาลในสมัยราชวงศ์ฮั่น
มัมมี่ทั้งหมดที่พบในพื้นที่ Tarim เป็นของชนเผ่า Chertsen ของยุโรป ส่วนใหญ่มีรอยสักเหมือนพวกไซเธียนส์และธราเซียนด้วยเทคนิคที่คล้ายคลึงกับวิธีการที่ทันสมัย ด้วยสีที่หลากหลายและติดทนนาน
ส่วนมัมมี่ชาย Cherchen Man เขามีความสูงประมาณ 1.80 เมตร มีรอยสักของดวงอาทิตย์บนขมับ เขาถูกห่อด้วยเสื้อคลุมสีแดงและหุ้มขาทำจากผ้าลายเหมือนผ้าสก็อต ความลับของพวกเขาอาจซ่อนอยู่ในรอยสัก จากการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม การที่ผู้ชายในเวลานั้นเลือกที่จะได้รับรอยสักมันต้องเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญ เนื่องจากรอยสักนั้นเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์อำนาจและบารมี
มัมมี่ Tarim ทำให้โลกวิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่าเมื่อ 4,000 ปีก่อนมนุษย์เดินทางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความคิด ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าทำไมรูปแบบศิลปะและตำนานบางเรื่องเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)