พอถึงปีใหม่ก็ต้องนึกถึงการตั้ง New Year Resolutions ตั้งปณิธานครั้งใหม่ เป้าหมายอะไรที่อยากทำให้สำเร็จภายในปีใหม่นี้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วก็มักจะเป็นการพัฒนาตัวเองในทางที่ดีขึ้น แต่จากข้อมูลสถิติพบว่าน้อยคนที่จะทำได้สำเร็จ มีคนมากมายที่ล้มเลิกความตั้งใจ เลิกทำตามเป้าหมายที่วางไว้
บางคนอาจกลัวไม่กล้าเริ่มต้นลงมือทำ ลังเลว่าออกไปวิ่งแล้วจะทำให้สุขภาพดี ไม่มั่นใจว่าตัวเองจะทำได้ สิ่งเดียวที่จะทำให้เรารู้คือเริ่มต้นลงมือทำ เริ่มออกไปวิ่ง ความกลัวอาจฉุดรั้งเราไว้ และการเริ่มต้นก็เป็นเพียงหนทางเดียวที่จะเอาชนะมัน
จุดเริ่มต้นนั้นสำคัญ ก้าวแรกคือสิ่งสำคัญ แต่มันก็ยังไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด สิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นคือเส้นชัย
บางคนอาจเริ่มต้นทำอะไรหลายๆ อย่างได้ง่ายๆ แต่ปัญหาคือทำไม่เสร็จสักอย่าง ไม่รู้ว่าจะทำยังไงให้งานเสร็จ
บางครั้งเราพบว่า เราอ่านหนังสือเพียงแค่ 10% ของทั้งหมดที่ซื้อมาเก็บไว้ สวนหลังบ้านที่ตั้งใจจะปลูกต้นไม้ก็กลับกลายเป็นร้าง ต้นไม้เหี่ยวตายหมด ความกระตือรือร้นมันอยู่ได้แค่ไม่กี่วัน ไม่กี่เดือน หลังจากนั้นก็หายไป แต่เราไม่ได้เป็นแบบนี้ตามลำพัง มีคนอีกมากมายที่มีพฤติกรรมคล้ายๆ กัน
92% ของคนที่ตั้งเป้าหมายว่าปีใหม่อยากจะทำ อยากเปลี่ยนแปลงบางอย่างนั้นล้มเหลว ล้มเลิก คนเหล่านั้นเริ่มต้นลงมือทำและล้มเลิกไป จากคน 100 คน มีเพียงแค่ 8 คนเท่านั้นที่ทำตามเป้าหมายจนสำเร็จ
และปัญหาก็ไม่ใช่เพราะเราไม่ได้อดทน ไม่จริงจัง ไม่ได้พยายามมากพอ แต่มันเป็นเพราะว่าเราต่างก็มีความอยากสมบูรณ์แบบอยู่ภายในตัว
เริ่มต้นอ่านหนังสือตั้งใจไว้ว่าจะอ่านให้ได้วันละบท แต่ถ้ามีวันที่งานยุ่งมากจนลืมอ่านหนังสือ เพียงแค่ขาดไปหนึ่งวันก็จะทำให้รู้สึกไม่อยากอ่านต่อ ทำให้ล้มเลิกเป้าหมาย ทำให้วางหนังสือเล่มนั้น
ตั้งใจออกไปวิ่งทุกเช้าวันเสาร์อาทิตย์ แต่ถ้าได้หยุดไปหนึ่งวัน หลังจากที่ความต่อเนื่องหายไป ก็จะทำให้ไม่อยากทำต่อ หยุดบ่อยขึ้นและสุดท้ายเลิกไป
ไม่ว่าจะตั้งใจลดน้ำหนัก ตั้งใจว่าจะเขียนหนังสือ อยากเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้ได้เลื่อนตำแหน่ง ผลลัพธ์ก็เหมือนกัน ยิ่งเราพยายามทำให้มันสมบูรณ์แบบมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะล้มเหลวและเลิกไปมากขึ้น
ในหนังสือ Finish: Give Yourself the Gift of Done ผู้เขียนได้บอกไว้ว่าการขาดความพยายามไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้คนล้มเลิก ความอดทนไม่ใช่คำตอบ ไม่ว่าใครก็สามารถทำตามเป้าหมายให้สำเร็จได้
ถ้าอยากทำสำเร็จ เราจะต้องรู้จักละทิ้งความอยากสมบูณ์แบบ ตั้งเป้าหมายให้ต่ำลง ลดเป้าหมายลงครึ่งหนึ่ง และต้องรู้จักทำให้เป้าหมายนั้นเป็นเรื่องสนุก
ยิ่งเราไม่สนใจทำให้มันสมบูรณ์แบบ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะทำได้สำเร็จมากขึ้น เลือกสนใจเฉพาะสิ่งที่สำคัญๆ และทิ้งที่เหลือไป
วันที่มันเริ่มไม่สมบูรณ์แบบ
เราให้ความสำคัญกับการเริ่มต้นมากเกินไป บางคนยึดคำขวัญ “เริ่มต้นดีถือว่าเสร็จไปครึ่งทาง” หรือ “บางครั้งเราอาจต้องกระโดดหน้าผาก่อน แล้วค่อยงอกปีกบินได้เหมือนนก”
วันแรกสำคัญและยังมีอีกวันที่ต้องใส่ใจ นั่นคือวันที่สิ่งที่ตั้งเป้าไว้ มันเริ่มไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่คิดไว้ มันมีแววว่าเราจะทำไม่ได้
เมื่อไหร่ที่เกิดเหตุการณ์ทำให้ไม่เป็นไปตามแผน เช่นในบางวันที่ยุ่งมากเกินไป หรือไม่สามารถปฎิเสธเลยต้องออกไปเที่ยวข้างนอกกับเพื่อน มันมักจะทำให้เรากลับมาทำตามแผนเดิมไม่ได้ และก็ไม่ใช่เพราะเราทำต่อไม่ได้ แต่เป็นเพราะผลลัพธ์มันไม่ได้สมบูรณ์แบบอย่างที่คิดไว้
เหตุผลที่คนละทิ้งความตั้งใจจะคล้ายๆ กัน คือไม่สามารถทำได้ตามที่ตั้งใจไว้ ชีวิตยุ่งจนทำให้ทำตามแผนที่วางไว้ไม่ได้ มันมีความยุ่งยากเข้ามามากเกินไปที่จะแก้ไขได้
มันง่ายที่จะหยุดทำ ถ้าตั้งใจไว้ว่าจะวิ่งให้ได้เวลาตามกำหนด แต่พอวิ่งไปครึ่งทางแล้วพบว่าทำเวลาแย่กว่าที่กำหนดไว้ ทำให้หยุดวิ่ง เพียงเพราะคิดว่าผลลัพธ์มันจะไม่สมบูรณ์แบบ มันไม่ตรงตามที่ตั้งใจไว้
ความพยายามที่จะทำให้สมบูรณ์แบบ ขัดขวางไม่ให้เราทำตามเป้าหมาย เราล้มเลิกเพราะผลลัพธ์มันไม่สมบูรณ์แบบ
เราไม่ต้องการเกรด B หรือ C มันต้องได้ A เท่านั้น นั่นทำให้หลายคนกลัวที่จะเริ่มต้น เพราะคิดว่าได้ 0 ดีกว่า 50 เพราะเชื่อว่ามันต้องสมบูรณ์แบบ ถ้าไม่สมบูรณ์แบบถือว่าล้มเหลว และเราจะไม่ล้มเหลวถ้าเราไม่ได้เริ่มทำ
แต่การที่ทำอะไรก็ตามแล้วไม่ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบ มันไม่ได้ทำให้เราตาย ไม่มีอะไรร้ายแรงเกิดขึ้น ไม่มีใครตายถ้าเราทำตามเป้าหมายไม่ได้
ความพยายามฝืนไม่ให้ตกเป็นทาสของความอยากสมบูรณ์แบบเป็นสิ่งสำคัญ เป็นปัจจัยที่ทำให้คนที่ชอบเริ่มต้นโน่นนี่ ให้กลายเป็นคนที่ทำสำเร็จ
เราจะเห็นความไม่สมบูรณ์แบบเกิดขึ้นได้เร็วๆ ไม่ต้องรอให้ถึงเดือนหรอก เอาแค่วันที่ 2 ก็เริ่มรู้แล้วว่าจะทำไม่ได้ และมันจะทำให้เราหยุดไปต่อ
วันที่ 2 สำหรับหลายคน มันคือวันที่ความไม่สมบูรณ์แบบมาถึง คือวันที่ทำให้บางคนหยุดวิ่ง หยุดตื่นเช้า หยุดคุมอาหารแล้วกลับมากินของหวานเหมือนเดิม
เราจะไม่มีทางทำได้สมบูรณ์แบบ และสิ่งที่สำคัญมากกว่าความสมบูรณ์แบบ มันคือการก้าวไปข้างหน้า ไปด้วยความไม่สมบูรณ์แบบ วันนี้ทำไม่ได้ ก็ลองทำอีกทีพรุ่งนี้ หรืออาทิตย์หน้า
แต่ความสมบูรณ์แบบก็ตายยาก เพราะบางคนอาจมองว่าสิ่งที่ตรงข้ามกับความสมบูรณ์แบบคือความล้มเหลว แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ สิ่งที่ตรงข้ามความสมบูรณ์แบบมันคือการทำได้สำเร็จ
ลดเป้าหมายลงครึ่งหนึ่ง
ทำไมต้องวิ่ง 5 กิโล ในเมื่อเราลงวิ่งมาราธอนได้ จะไปเขียนบทความสั้นๆ ทำไม ถ้าเราสามารถเขียนหนังสือเป็นเล่มๆ ได้ จะสนใจเงินหมื่นทำไมในเมื่อเราหาเงินได้เป็นแสน
หลายครั้งที่เราตั้งเป้าหมายไว้โดยที่แม้แต่ Superman หรือ Supergirl เองก็ยังทำไม่ได้ เวลาที่เริ่มต้นงานใหม่ๆ ก็มักจะประเมินเวลาที่ใช้ทำงานนั้นผิด แต่นั่นก็เป็นความผิดพลาดของคนทั่วไป
เรามักจะคิดว่าเราต้องเป้าหมายที่สูง เป้าหมายใหญ่ๆ ถึงทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่ในความเป็นจริง หลายครั้งมันทำแบบนั้นไม่ได้ สำหรับคนที่ตั้งเป้าหมายจะลดน้ำหนักลง 10 กิโล แต่ทำจริงลดได้ 8 จะทำให้เกิดความท้อแท้ แต่สำหรับคนที่ตั้งเป้าไว้ที่ 5 กิโล แต่ทำจริงได้ 8 ถือว่าได้กำไร มองเป็นความสำเร็จ
สิ่งที่เหมือนกันคือลดน้ำหนักลงได้ 8 กิโล แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือมุมมองของคนหลังจากนั้น คนที่ตั้งเป้าหมายต่ำกว่าจะมองว่าทำได้สำเร็จ
ความอยากสมบูรณ์แบบ ทำให้เราตั้งเป้าหมายไว้สูงเกินไป มันพยายามขัดขวางเราไม่ให้เริ่มต้น ทำให้เรารู้สึกว่าอย่าเริ่มเลยดีกว่า อย่าเสียเวลาถ้าทำได้ไม่ดีพอ มันพยายามบอกเราว่า เราแก่เกินไป เราเด็กเกินไป เรายุ่งมากเกินไป เรามีเป้าหมายที่ต้องทำมากเกินไป จนไม่รู้ว่าจะทำอันไหน เราไม่มีเงิน ไม่มีใครช่วยเหลือแนะนำ หรือมีคนที่ทำได้ดีกว่า เราไม่มีทางสู้ได้
Planning fallacy คือการคิดวางแผนผิดพลาด เราคาดหวังว่าเราจะทำงานสำเร็จในเวลาที่คาดไว้ เพราะมองโลกในแง่ดีมากเกินไป และประเมินเวลาที่ต้องใช้น้อยเกินไป
ปัญหาเกิดจากการประเมินสิ่งที่จะทำได้ภายในหนึ่งวันมากเกินไป และถ้าทำไม่ได้ ก็จะทำให้หมดหวัง หมดกำลังใจ ทำให้ล้มเลิกและทำไม่สำเร็จ
ลดเป้าหมายลงครึ่งหนึ่ง อาจดูเป็นการโกง แต่มันช่วยได้จริงๆ คนที่ลดเป้าหมายลง สามารถทำตามเป้าหมายนั้นได้สำเร็จ และมันจะเพิ่มความอยากที่จะทำงานทำตามเป้าหมายมากขึ้นอีก ทำให้กระตือรือร้นที่จะทำต่อไปให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าตอนนี้เราวิ่ง 10 กิโล ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 20 นาที การตั้งเป้าหมายโดยลดเวลาให้เหลือ 1 ชั่วโมง 10 นาที มันจะเป็นไปได้มากกว่าลดเวลาให้เหลือแค่ 60 นาที และมันจะทำให้เราพยายามมากขึ้น เพราะเราสามารถทำได้ตามเป้าหมายเล็กๆ เป้าหมายครึ่งนึงที่วางไว้
https://thaifamilylink.org/
Finisher เปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นคนที่ทำสำเร็จ
บางคนอาจกลัวไม่กล้าเริ่มต้นลงมือทำ ลังเลว่าออกไปวิ่งแล้วจะทำให้สุขภาพดี ไม่มั่นใจว่าตัวเองจะทำได้ สิ่งเดียวที่จะทำให้เรารู้คือเริ่มต้นลงมือทำ เริ่มออกไปวิ่ง ความกลัวอาจฉุดรั้งเราไว้ และการเริ่มต้นก็เป็นเพียงหนทางเดียวที่จะเอาชนะมัน
จุดเริ่มต้นนั้นสำคัญ ก้าวแรกคือสิ่งสำคัญ แต่มันก็ยังไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด สิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นคือเส้นชัย
บางคนอาจเริ่มต้นทำอะไรหลายๆ อย่างได้ง่ายๆ แต่ปัญหาคือทำไม่เสร็จสักอย่าง ไม่รู้ว่าจะทำยังไงให้งานเสร็จ
บางครั้งเราพบว่า เราอ่านหนังสือเพียงแค่ 10% ของทั้งหมดที่ซื้อมาเก็บไว้ สวนหลังบ้านที่ตั้งใจจะปลูกต้นไม้ก็กลับกลายเป็นร้าง ต้นไม้เหี่ยวตายหมด ความกระตือรือร้นมันอยู่ได้แค่ไม่กี่วัน ไม่กี่เดือน หลังจากนั้นก็หายไป แต่เราไม่ได้เป็นแบบนี้ตามลำพัง มีคนอีกมากมายที่มีพฤติกรรมคล้ายๆ กัน
92% ของคนที่ตั้งเป้าหมายว่าปีใหม่อยากจะทำ อยากเปลี่ยนแปลงบางอย่างนั้นล้มเหลว ล้มเลิก คนเหล่านั้นเริ่มต้นลงมือทำและล้มเลิกไป จากคน 100 คน มีเพียงแค่ 8 คนเท่านั้นที่ทำตามเป้าหมายจนสำเร็จ
และปัญหาก็ไม่ใช่เพราะเราไม่ได้อดทน ไม่จริงจัง ไม่ได้พยายามมากพอ แต่มันเป็นเพราะว่าเราต่างก็มีความอยากสมบูรณ์แบบอยู่ภายในตัว
เริ่มต้นอ่านหนังสือตั้งใจไว้ว่าจะอ่านให้ได้วันละบท แต่ถ้ามีวันที่งานยุ่งมากจนลืมอ่านหนังสือ เพียงแค่ขาดไปหนึ่งวันก็จะทำให้รู้สึกไม่อยากอ่านต่อ ทำให้ล้มเลิกเป้าหมาย ทำให้วางหนังสือเล่มนั้น
ตั้งใจออกไปวิ่งทุกเช้าวันเสาร์อาทิตย์ แต่ถ้าได้หยุดไปหนึ่งวัน หลังจากที่ความต่อเนื่องหายไป ก็จะทำให้ไม่อยากทำต่อ หยุดบ่อยขึ้นและสุดท้ายเลิกไป
ไม่ว่าจะตั้งใจลดน้ำหนัก ตั้งใจว่าจะเขียนหนังสือ อยากเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้ได้เลื่อนตำแหน่ง ผลลัพธ์ก็เหมือนกัน ยิ่งเราพยายามทำให้มันสมบูรณ์แบบมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะล้มเหลวและเลิกไปมากขึ้น
ในหนังสือ Finish: Give Yourself the Gift of Done ผู้เขียนได้บอกไว้ว่าการขาดความพยายามไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้คนล้มเลิก ความอดทนไม่ใช่คำตอบ ไม่ว่าใครก็สามารถทำตามเป้าหมายให้สำเร็จได้
ถ้าอยากทำสำเร็จ เราจะต้องรู้จักละทิ้งความอยากสมบูณ์แบบ ตั้งเป้าหมายให้ต่ำลง ลดเป้าหมายลงครึ่งหนึ่ง และต้องรู้จักทำให้เป้าหมายนั้นเป็นเรื่องสนุก
ยิ่งเราไม่สนใจทำให้มันสมบูรณ์แบบ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะทำได้สำเร็จมากขึ้น เลือกสนใจเฉพาะสิ่งที่สำคัญๆ และทิ้งที่เหลือไป
วันที่มันเริ่มไม่สมบูรณ์แบบ
เราให้ความสำคัญกับการเริ่มต้นมากเกินไป บางคนยึดคำขวัญ “เริ่มต้นดีถือว่าเสร็จไปครึ่งทาง” หรือ “บางครั้งเราอาจต้องกระโดดหน้าผาก่อน แล้วค่อยงอกปีกบินได้เหมือนนก”
วันแรกสำคัญและยังมีอีกวันที่ต้องใส่ใจ นั่นคือวันที่สิ่งที่ตั้งเป้าไว้ มันเริ่มไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่คิดไว้ มันมีแววว่าเราจะทำไม่ได้
เมื่อไหร่ที่เกิดเหตุการณ์ทำให้ไม่เป็นไปตามแผน เช่นในบางวันที่ยุ่งมากเกินไป หรือไม่สามารถปฎิเสธเลยต้องออกไปเที่ยวข้างนอกกับเพื่อน มันมักจะทำให้เรากลับมาทำตามแผนเดิมไม่ได้ และก็ไม่ใช่เพราะเราทำต่อไม่ได้ แต่เป็นเพราะผลลัพธ์มันไม่ได้สมบูรณ์แบบอย่างที่คิดไว้
เหตุผลที่คนละทิ้งความตั้งใจจะคล้ายๆ กัน คือไม่สามารถทำได้ตามที่ตั้งใจไว้ ชีวิตยุ่งจนทำให้ทำตามแผนที่วางไว้ไม่ได้ มันมีความยุ่งยากเข้ามามากเกินไปที่จะแก้ไขได้
มันง่ายที่จะหยุดทำ ถ้าตั้งใจไว้ว่าจะวิ่งให้ได้เวลาตามกำหนด แต่พอวิ่งไปครึ่งทางแล้วพบว่าทำเวลาแย่กว่าที่กำหนดไว้ ทำให้หยุดวิ่ง เพียงเพราะคิดว่าผลลัพธ์มันจะไม่สมบูรณ์แบบ มันไม่ตรงตามที่ตั้งใจไว้
ความพยายามที่จะทำให้สมบูรณ์แบบ ขัดขวางไม่ให้เราทำตามเป้าหมาย เราล้มเลิกเพราะผลลัพธ์มันไม่สมบูรณ์แบบ
เราไม่ต้องการเกรด B หรือ C มันต้องได้ A เท่านั้น นั่นทำให้หลายคนกลัวที่จะเริ่มต้น เพราะคิดว่าได้ 0 ดีกว่า 50 เพราะเชื่อว่ามันต้องสมบูรณ์แบบ ถ้าไม่สมบูรณ์แบบถือว่าล้มเหลว และเราจะไม่ล้มเหลวถ้าเราไม่ได้เริ่มทำ
แต่การที่ทำอะไรก็ตามแล้วไม่ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบ มันไม่ได้ทำให้เราตาย ไม่มีอะไรร้ายแรงเกิดขึ้น ไม่มีใครตายถ้าเราทำตามเป้าหมายไม่ได้
ความพยายามฝืนไม่ให้ตกเป็นทาสของความอยากสมบูรณ์แบบเป็นสิ่งสำคัญ เป็นปัจจัยที่ทำให้คนที่ชอบเริ่มต้นโน่นนี่ ให้กลายเป็นคนที่ทำสำเร็จ
เราจะเห็นความไม่สมบูรณ์แบบเกิดขึ้นได้เร็วๆ ไม่ต้องรอให้ถึงเดือนหรอก เอาแค่วันที่ 2 ก็เริ่มรู้แล้วว่าจะทำไม่ได้ และมันจะทำให้เราหยุดไปต่อ
วันที่ 2 สำหรับหลายคน มันคือวันที่ความไม่สมบูรณ์แบบมาถึง คือวันที่ทำให้บางคนหยุดวิ่ง หยุดตื่นเช้า หยุดคุมอาหารแล้วกลับมากินของหวานเหมือนเดิม
เราจะไม่มีทางทำได้สมบูรณ์แบบ และสิ่งที่สำคัญมากกว่าความสมบูรณ์แบบ มันคือการก้าวไปข้างหน้า ไปด้วยความไม่สมบูรณ์แบบ วันนี้ทำไม่ได้ ก็ลองทำอีกทีพรุ่งนี้ หรืออาทิตย์หน้า
แต่ความสมบูรณ์แบบก็ตายยาก เพราะบางคนอาจมองว่าสิ่งที่ตรงข้ามกับความสมบูรณ์แบบคือความล้มเหลว แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ สิ่งที่ตรงข้ามความสมบูรณ์แบบมันคือการทำได้สำเร็จ
ลดเป้าหมายลงครึ่งหนึ่ง
ทำไมต้องวิ่ง 5 กิโล ในเมื่อเราลงวิ่งมาราธอนได้ จะไปเขียนบทความสั้นๆ ทำไม ถ้าเราสามารถเขียนหนังสือเป็นเล่มๆ ได้ จะสนใจเงินหมื่นทำไมในเมื่อเราหาเงินได้เป็นแสน
หลายครั้งที่เราตั้งเป้าหมายไว้โดยที่แม้แต่ Superman หรือ Supergirl เองก็ยังทำไม่ได้ เวลาที่เริ่มต้นงานใหม่ๆ ก็มักจะประเมินเวลาที่ใช้ทำงานนั้นผิด แต่นั่นก็เป็นความผิดพลาดของคนทั่วไป
เรามักจะคิดว่าเราต้องเป้าหมายที่สูง เป้าหมายใหญ่ๆ ถึงทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่ในความเป็นจริง หลายครั้งมันทำแบบนั้นไม่ได้ สำหรับคนที่ตั้งเป้าหมายจะลดน้ำหนักลง 10 กิโล แต่ทำจริงลดได้ 8 จะทำให้เกิดความท้อแท้ แต่สำหรับคนที่ตั้งเป้าไว้ที่ 5 กิโล แต่ทำจริงได้ 8 ถือว่าได้กำไร มองเป็นความสำเร็จ
สิ่งที่เหมือนกันคือลดน้ำหนักลงได้ 8 กิโล แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือมุมมองของคนหลังจากนั้น คนที่ตั้งเป้าหมายต่ำกว่าจะมองว่าทำได้สำเร็จ
ความอยากสมบูรณ์แบบ ทำให้เราตั้งเป้าหมายไว้สูงเกินไป มันพยายามขัดขวางเราไม่ให้เริ่มต้น ทำให้เรารู้สึกว่าอย่าเริ่มเลยดีกว่า อย่าเสียเวลาถ้าทำได้ไม่ดีพอ มันพยายามบอกเราว่า เราแก่เกินไป เราเด็กเกินไป เรายุ่งมากเกินไป เรามีเป้าหมายที่ต้องทำมากเกินไป จนไม่รู้ว่าจะทำอันไหน เราไม่มีเงิน ไม่มีใครช่วยเหลือแนะนำ หรือมีคนที่ทำได้ดีกว่า เราไม่มีทางสู้ได้
Planning fallacy คือการคิดวางแผนผิดพลาด เราคาดหวังว่าเราจะทำงานสำเร็จในเวลาที่คาดไว้ เพราะมองโลกในแง่ดีมากเกินไป และประเมินเวลาที่ต้องใช้น้อยเกินไป
ปัญหาเกิดจากการประเมินสิ่งที่จะทำได้ภายในหนึ่งวันมากเกินไป และถ้าทำไม่ได้ ก็จะทำให้หมดหวัง หมดกำลังใจ ทำให้ล้มเลิกและทำไม่สำเร็จ
ลดเป้าหมายลงครึ่งหนึ่ง อาจดูเป็นการโกง แต่มันช่วยได้จริงๆ คนที่ลดเป้าหมายลง สามารถทำตามเป้าหมายนั้นได้สำเร็จ และมันจะเพิ่มความอยากที่จะทำงานทำตามเป้าหมายมากขึ้นอีก ทำให้กระตือรือร้นที่จะทำต่อไปให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าตอนนี้เราวิ่ง 10 กิโล ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 20 นาที การตั้งเป้าหมายโดยลดเวลาให้เหลือ 1 ชั่วโมง 10 นาที มันจะเป็นไปได้มากกว่าลดเวลาให้เหลือแค่ 60 นาที และมันจะทำให้เราพยายามมากขึ้น เพราะเราสามารถทำได้ตามเป้าหมายเล็กๆ เป้าหมายครึ่งนึงที่วางไว้
https://thaifamilylink.org/