นิ่งเสีย โพธิสัตว์ คำสอนที่หลายคนนำมาใช้แต่ ขัดกับธรรมะของพระพุทธเจ้า

ผมเคยคุยกับนักปฏิบัติหลายคนมักจะนำคำสอนของ หลวงปู่ทวด มาใช้เสมอทำให้จนเกิดผลเสียต่อตนเองและผู้อื่น
เช่นถูกใส่ร้ายก็เงียบไม่ชี้แจง ถึงเวลาที่ควรติเตียนใครก็ไม่ติ ถีงเวลาที่ควรชมใครก็ไม่ชม
บางคนกลายเป็นคนสุดโต่งอย่างหนึ่งไปเลยคือไม่ค่อยพูด คำสอนของหลวงปู่ทวดดีแต่ไม่ควรสุดโต่งเกินไป
(คำสอนของหลวงปู่ทวด พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์)

ส่วนด้านล่างนี้คำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าลองอ่านดูดีๆมันจะขัดแย้งกัน

 พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คำติเตียนนั้น ถ้าเป็นเรื่องไม่จริง พวกเธอควรชี้แจงให้
เห็นชัดว่า ‘เรื่องนี้เป็นเรื่องไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่มี และไม่ปรากฏในพวกเรา’
             [๖] ภิกษุทั้งหลาย ถึงคนพวกอื่นจะพึงกล่าวยกย่องเรา กล่าวยกย่องพระธรรม
หรือกล่าวยกย่องพระสงฆ์ก็ตาม พวกเธอไม่ควรทำความรื่นเริงดีใจหรือกระหยิ่มใจ
ต่อคนพวกนั้น ถ้าพวกเธอทำความรื่นเริงดีใจหรือกระหยิ่มใจต่อพวกเขา พวกเธอ
ก็จะประสบอันตรายเพราะความรื่นเริงดีใจนั้นได้เช่นกัน คำยกย่องนั้น ถ้าเป็นเรื่อง
จริง พวกเธอควรยืนยันให้เขารู้ชัดลงไปว่า ‘เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ถูกต้อง มีอยู่
และปรากฏในพวกเรา’

https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=09&siri=1

 [๑๐๐] ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อโปตลิยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามโปตลิย-
*ปริพาชกว่า ดูกรโปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวก
เป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กล่าวติเตียนบุคคลผู้ควรติเตียนตาม
ความเป็นจริง โดยกาลอันควร เป็นผู้ไม่กล่าวสรรเสริญบุคคลผู้ควรสรรเสริญตาม
ความเป็นจริง โดยกาลอันควรจำพวก ๑ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กล่าว
สรรเสริญบุคคลผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ไม่กล่าว
ติเตียนบุคคลผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควรจำพวก ๑ บุคคลบาง
คนในโลกนี้ ไม่กล่าวติเตียนบุคคลผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร
ทั้งไม่กล่าวสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง โดยกาลอันควรจำพวก ๑
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กล่าวติเตียนบุคคลผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
โดยกาลอันควร ทั้งเป็นผู้กล่าวสรรเสริญบุคคลผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
โดยกาลอันควรจำพวก ๑ ดูกรโปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ใน
โลก ดูกรโปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้แล ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหน
ว่า เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่า โปตลิยปริพาชกกราบทูลว่า ท่านพระโคดม
บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลก
นี้ เป็นผู้กล่าวติเตียนบุคคลผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร แต่
ไม่กล่าวสรรเสริญบุคคลผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง โดยกาลอันควรจำพวก ๑
ฯลฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กล่าวติเตียนบุคคลผู้ควรติเตียนตามความ
เป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งเป็นผู้กล่าวสรรเสริญบุคคลผู้ควรสรรเสริญตามความ
เป็นจริง โดยกาลอันควรจำพวก ๑ บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้าพเจ้าชอบใจบุคคลผู้ไม่กล่าวติเตียน บุคคลผู้ควร
ติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร และไม่กล่าวสรรเสริญบุคคลที่ควร
สรรเสริญตามความเป็นจริง โดยกาลอันควรว่า เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่า
บุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีความงาม คือ อุเบกขา ฯ
             พ. ดูกรโปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวก
เป็นไฉน ฯลฯ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้กล่าวติเตียนบุคคลที่ควร
ติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร และผู้สรรเสริญบุคคลที่ควรสรรเสริญ
ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควรนี้ เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่าบุคคล ๔
จำพวกนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีความงาม คือ ความเป็นผู้รู้จักกาลในอัน
ควรติเตียนและสรรเสริญนั้นๆ ฯ
             โป. ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯลฯ
ท่านพระโคดม บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้าพเจ้าชอบใจบุคคลที่กล่าวติเตียน
บุคคลที่ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร และกล่าวสรรเสริญบุคคล
ที่ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง โดยกาลอันควรว่า เป็นผู้งามกว่า และประณีต
กว่าบุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีความงาม คือ ความเป็น
ผู้รู้กาลในอันติเตียนและสรรเสริญนั้นๆ ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดม
ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของ
ที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในเวลามืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุ
จักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรมและ
ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=100&book=21
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่