ปฏิสัมภิทามีแต่ในเฉพาะพระอริยะบุคคล เท่านั้น
ปฏิสัมภิทา คือ ความรู้แตกฉานในธรรม ๔ อย่าง ได้แก่ ในเหตุ ๑ ในผล ๑ ในภาษา ๑ ในปฏิภาณ ๑ ซึ่งปุถุชน ไม่มีปฏิสัมภิทา แต่ พระอริยบุคคลเท่านั้นที่มีปฏิสัมภิทา
พระอริยบุคคลทุกขั้น มีปฏิสัมภิทาญาณ แม้พระโสดาบันก็มีครับ รวมทั้งพระอรหันต์สุกขวิปัสสก แต่ไม่บริบูรณ์ เท่ากับพระอรหันต์ ที่เป็นมหาสาวก สำหรับพระมหาสาวกทุกท่านมีปฏิสัมภิทาต่างกันได้ คือ มีปัญญาแตกฉานตามการสะสม เช่น ท่านพระสารีบุตรย่อมแตกฉานมากกว่ามหาสาวกท่านอื่นๆ ครับ
ดังนั้น พระอริยบุคคลทุกขั้นมีปัญญาแตกฉานที่เป็นปฏิสัมภิทา แต่แตกต่างกันไป มีมาก มีน้อย ผู้ที่มีมาก ก็เรียกได้ว่า เป็นผู้มีปฏิสัมภิทา ๔ นั่นเอง ครับ ซึ่งพระอรหันต์ ที่เป็นสุกขวิปัสสก ดับกิเลสอย่างเดียว แต่ไม่ได้มีฤทธิ์ แต่ท่านก็ต้องอบรมวิปัสสนา จนถึงขนาดดับกิเลสได้ ดังนั้นท่านก็ต้องมีปัญญา แตกฉานบ้าง ในธรรม ในอรรถ บ้างครับ และ
แม้พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ท่านก็ต้องประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมดับกิเลสได้บางส่วน และประจักษ์พระนิพพานด้วย เพราะฉะนั้น ท่านก็มี ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน ในด้านต่างๆ ตามสมควร ดังเช่น พระอานนท์ เมื่อยังเป็นพระโสดาบัน ท่านก็เป็นผู้เลิศ ใน ๕ สถาน และ มีความแตกฉาน ในพระธรรมมาก ก็เป็นผู้มีปฏิสัมภิทา เช่นกัน แต่ตามสมควรกับความเป็นพระโสดาบัน ครับ
ดังข้อความในพระไตรปิฎก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 20
อันธรรมดาว่า การเรียนพระพุทธพจน์แม้มากมาย แล้วบรรลุปฏิสัมภิทา ย่อมไม่มีแก่ ปุถุชน, แต่พระอริยสาวกที่จะได้ชื่อว่าไม่บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมไม่มีเลย.
ความหมายของปฏิสัมภิทา 4
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ 1. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ, ปรีชาแจ้งในความหมาย, เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึงผล - discrimination of meanings; analytic insight of consequence)
2. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม, ปรีชาแจ้งใจหลัก, เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้ - discrimination of ideas; analytic insight of origin)
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ, ปรีชาแจ้งในภาษา, รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ และภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจ้งให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้ - discrimination of language; analytic insight of philology)
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ, ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ, มีไหวพริบ ซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ เข้ากับกรณีเข้ากับเหตุการณ์ - discrimination of sagacity; analytic insight of ready wit; initiative; creative and applicative insight)
-----------------------
https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=155
-------------------------------------------------------------
ฟังธรรมออนไลน์
https://www.dhammahome.com/discuss
วิทยุธรรมะออนไลน์
https://www.dhammahome.com/radio
ปฏิสัมภิทามีแต่ในเฉพาะพระอริยะบุคคล เท่านั้น
ปฏิสัมภิทา คือ ความรู้แตกฉานในธรรม ๔ อย่าง ได้แก่ ในเหตุ ๑ ในผล ๑ ในภาษา ๑ ในปฏิภาณ ๑ ซึ่งปุถุชน ไม่มีปฏิสัมภิทา แต่ พระอริยบุคคลเท่านั้นที่มีปฏิสัมภิทา
พระอริยบุคคลทุกขั้น มีปฏิสัมภิทาญาณ แม้พระโสดาบันก็มีครับ รวมทั้งพระอรหันต์สุกขวิปัสสก แต่ไม่บริบูรณ์ เท่ากับพระอรหันต์ ที่เป็นมหาสาวก สำหรับพระมหาสาวกทุกท่านมีปฏิสัมภิทาต่างกันได้ คือ มีปัญญาแตกฉานตามการสะสม เช่น ท่านพระสารีบุตรย่อมแตกฉานมากกว่ามหาสาวกท่านอื่นๆ ครับ
ดังนั้น พระอริยบุคคลทุกขั้นมีปัญญาแตกฉานที่เป็นปฏิสัมภิทา แต่แตกต่างกันไป มีมาก มีน้อย ผู้ที่มีมาก ก็เรียกได้ว่า เป็นผู้มีปฏิสัมภิทา ๔ นั่นเอง ครับ ซึ่งพระอรหันต์ ที่เป็นสุกขวิปัสสก ดับกิเลสอย่างเดียว แต่ไม่ได้มีฤทธิ์ แต่ท่านก็ต้องอบรมวิปัสสนา จนถึงขนาดดับกิเลสได้ ดังนั้นท่านก็ต้องมีปัญญา แตกฉานบ้าง ในธรรม ในอรรถ บ้างครับ และ
แม้พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ท่านก็ต้องประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมดับกิเลสได้บางส่วน และประจักษ์พระนิพพานด้วย เพราะฉะนั้น ท่านก็มี ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน ในด้านต่างๆ ตามสมควร ดังเช่น พระอานนท์ เมื่อยังเป็นพระโสดาบัน ท่านก็เป็นผู้เลิศ ใน ๕ สถาน และ มีความแตกฉาน ในพระธรรมมาก ก็เป็นผู้มีปฏิสัมภิทา เช่นกัน แต่ตามสมควรกับความเป็นพระโสดาบัน ครับ
ดังข้อความในพระไตรปิฎก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 20
อันธรรมดาว่า การเรียนพระพุทธพจน์แม้มากมาย แล้วบรรลุปฏิสัมภิทา ย่อมไม่มีแก่ ปุถุชน, แต่พระอริยสาวกที่จะได้ชื่อว่าไม่บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมไม่มีเลย.
ความหมายของปฏิสัมภิทา 4
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
-------------------------------------------------------------
ฟังธรรมออนไลน์ https://www.dhammahome.com/discuss
วิทยุธรรมะออนไลน์ https://www.dhammahome.com/radio