รบกวนสอบถามผู้รู้กฏหมายแรงงานค่ะ ดิฉันทำงาน บ. แห่งหนึ่ง ตั้งท้องและลาคลอดตามปกติ แต่ช่วงที่กลับจากลาคลอด เบิกค่าคลอดกับประกันสังคม ก็ได้ตามปกติ คือ ค่าคลอด + เงินชดเชยระหว่างลาคลอด 45 วัน จนกระทั้งเกือบครบกำหนด 90 วัน ดิฉันไม่เห็นเงินชดเชยในส่วนของ บ. เข้าบัญชีเลย จึงโทรไปสอบถามกับฝ่ายบุคคล บ. จึงได้คำตอบว่า เงินจำนวนนี้ ต้องกลับมาทำงานก่อน บ. จึงจะจ่ายให้ จนครบกำหนด ดิฉันพบปัญหาส่วนตัว ไม่สามารถฝากลูกให้ใครเลี้ยงได้เลย จากสถานการณ์ Covid.19.คนที่รับจ้างเลี้ยงเด็ก ในหมู่บ้านที่ดิฉันอยู่ เลิกเลี้ยงชั่วคราว เพื่อเป็นการป้องกันโรคระบาดสู่เด็ก จะให้พ่อแม่ที่อยู่ ตจว. เลี้ยง ท่านก็แก่เฒ่ามาก กลัวจะไม่ไหว และที่สำคัญ คือ ลูกกินนมดิฉันค่ะ จึงปรึกษากับสามี สามีให้ลาออกมาเลี้ยงลูกก่อนค่ะ ไว้เค้าโตกว่านี้ ค่อยหางานทำใหม่ ดิฉันจึงไปลาออกที่ บ. ค่ะ และได้สอบถามถึงเงินชดเชยระหว่างลาคลอดด้วย **ทาง บ. แจ้งว่า หาก พนง.ลาคลอด แล้วกลับมาลาออก บ. ไม่จ่ายเงินชดเชยลาคลอด 45 วันให้แต่อย่างใด... ดิฉันก็สอบถามต่อว่า เพราะเหตุใด ถึงไม่จ่ายให้ดิฉัน ก็ได้คำตอบจากฝ่ายบุคคลว่า เป็นระเบียบปฏิบัติของ บ. มานานแล้ว.. ดิฉันขอสอบถามค่ะว่า บ. สามารถทำแบบนี้ได้หรือคะ ดิฉันทำงานเสียประกันสังคมถูกต้องทุกอย่าง เงินสองหมื่นกว่า มันมากสำหรับแม่คนนึงที่ต้องการนำมาเลี้ยงดูลูก แม้จะเพียงระยะหนึ่งก็ตาม ดิฉันอยากทราบข้อกฏหมายแรงงาน ว่าถ้าดิฉันร้อง สนง.คุ้มครองแรง จ. ที่ดิฉันอยู่ มันจะจบแบบไหนคะ มีเหตุผลใดที่นายจ้างไม่จ่ายได้รึป่าวคะ ทำไมเค้าถึงกล้าทำแบบนี้ เพราะลูกจ้างไปร้องเค้าก็ต้องจ่ายอยู่ดี ดิฉันกลัวเค้ามีช่องที่จะเอาตัวรอดได้ค่ะ ช่วยแม่ลูกอ่อนทีค่ะ ขอบคุณผู้รู้ทุกท่านค่ะ
นายจ้างไม่จ่ายเงินชดเชยลาคลอด 45 วันค่ะ ต้องทำอย่างไรคะ