เหตุผลของการต่อพรก.ฉุกเฉิน...ความจริงมันก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร หากไม่เอาแต่เล่นการเมืองกัน
แต่หากจ้องแต่จะบลัฟกันอย่างเดียว...แม้จะมีเหตุผลตั้งร้อยพัน ก็หามีคนฟังโดยสงบไม่
คนไม่พอใจและวิพากษ์ด่าทอย่อมมีเป็นธรรมดา...เพราะไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย
คนที่ต้องรับผิดชอบ...ย่อมมีสิทธิอันชอบธรรมในการตัดสินใจอย่างรอบคอบดีแล้วในมิติทุกด้าน
ก็ควรจะให้เขาทำงานไป...ดีกว่าเอาอวัยวะมาราน้ำไปวันๆ
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
●● 'หมอแก้ว'เฉลย...ทำไมยังต้องมี'พรก.ฉุกเฉิน' ทั้งที่มีพรบ.โรคติดต่อ ●●
25 พ.ค. 63 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ชี้แจงว่า พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่ใช้จัดการปัญหาโรคติดเชื้อโควิด-19 ในปัจจุบันจะเป็นการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อเป็นหลัก โดยผู้มีอำนาจเต็มในการออกประกาศใดๆ คือผู้ว่าราชการจังหวัด ที่จะออกข้อกำหนดว่าสถานที่ใดต้องปฏิบัติอย่างไรไม่ว่าจะเป็นร้านทั่วไป หรือห้างสรรพสินค้า
ส่วนพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศเพื่อให้การบริหารงานแบบบูรณาการระหว่างกระทรวงอื่นๆ ให้มีความเป็นเอกภาพมากขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นผู้ดูแลภาพรวมทั้งหมด เพราะฉะนั้นประกาศดังกล่าวนำมาเสริมในส่วนของการทำงานข้ามกระทรวงและอำนาจบางอย่างที่ พ.ร.บ.โรคติดต่อไม่มี ซึ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินสามารถนำมาใช้โดยเฉพาะการประกาศเคอร์ฟิว โดยทั้งหมดนี้ เพื่อที่จะควบคุมสถานการณ์ และจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน.
Cr. :
https://www.thaipost.net/main/detail/66883
●● 'หมอแก้ว'เฉลย...ทำไมยังต้องมี'พรก.ฉุกเฉิน' ทั้งที่มีพรบ.โรคติดต่อ ●●
แต่หากจ้องแต่จะบลัฟกันอย่างเดียว...แม้จะมีเหตุผลตั้งร้อยพัน ก็หามีคนฟังโดยสงบไม่
คนไม่พอใจและวิพากษ์ด่าทอย่อมมีเป็นธรรมดา...เพราะไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย
คนที่ต้องรับผิดชอบ...ย่อมมีสิทธิอันชอบธรรมในการตัดสินใจอย่างรอบคอบดีแล้วในมิติทุกด้าน
ก็ควรจะให้เขาทำงานไป...ดีกว่าเอาอวัยวะมาราน้ำไปวันๆ
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
●● 'หมอแก้ว'เฉลย...ทำไมยังต้องมี'พรก.ฉุกเฉิน' ทั้งที่มีพรบ.โรคติดต่อ ●●
25 พ.ค. 63 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ชี้แจงว่า พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่ใช้จัดการปัญหาโรคติดเชื้อโควิด-19 ในปัจจุบันจะเป็นการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อเป็นหลัก โดยผู้มีอำนาจเต็มในการออกประกาศใดๆ คือผู้ว่าราชการจังหวัด ที่จะออกข้อกำหนดว่าสถานที่ใดต้องปฏิบัติอย่างไรไม่ว่าจะเป็นร้านทั่วไป หรือห้างสรรพสินค้า
ส่วนพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศเพื่อให้การบริหารงานแบบบูรณาการระหว่างกระทรวงอื่นๆ ให้มีความเป็นเอกภาพมากขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นผู้ดูแลภาพรวมทั้งหมด เพราะฉะนั้นประกาศดังกล่าวนำมาเสริมในส่วนของการทำงานข้ามกระทรวงและอำนาจบางอย่างที่ พ.ร.บ.โรคติดต่อไม่มี ซึ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินสามารถนำมาใช้โดยเฉพาะการประกาศเคอร์ฟิว โดยทั้งหมดนี้ เพื่อที่จะควบคุมสถานการณ์ และจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน.
Cr. : https://www.thaipost.net/main/detail/66883