คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
หากจำเป้นต้องให้ยืมจริง เลี่ยงไม่ได้จริง ทำได้อย่างมากคือลดความเสี่ยงที่จะเป็นหนี้สูญหรือเพิ่มโอกาสที่จะได้รับชำระหนี้(แม้จะไม่ทั้งหมด)
ซึ่งผมลองไล่ๆและเรียงลำดับดู อาจมีสลับกันไปบ้างในบางตำแหน่งตามแต่ความถนัดในการติดตามของแต่ละคน
1.เอาทรัพย์สินมา "ขายฝาก" เพราะทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นของเราไม่ใช่ของของ เขาแค่มีสิทธืไถ่คืนในเวลากำหนด และทรัพย์สินนั้นเราสามารถนำออกมาใช้ได้ด้วย ตอนเค้ามาไถ่คืนอาจจะไถ่คืนตามจำนวนเงินที่เอาไป หรือมากกว่าก็ได้(เท่าที่ไม่เกินกฎหมายห้าม) ถ้าเค้าไม่ไถ่คืนอย่างน้อบบคุณก็ได้ทรัพย์นั้นไว้ใช้ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาฟ้องร้อง บังคับคดี ขายทอดตลาดเลย เช่น เอาที่ดินมาขายฝาก
2.เอาทรัพย์สินมา "จำนอง" เช่น ที่ดิน ใช่แล้วที่ดินมันไม่หนีหายไปไหนแน่นอนไม่จ่ายก็บังคับจำนอง เพียงแต่คุณต้องเสียเวลาฟ้องร้อง
บังคับคดี ประกาศขายทอดตลาด จนขายทอดตลาดได้ รับเงิน และแน่นอนเจ้าหนี้จำนองอาจไม่ใช่คุณคนเดียวและคนแรก แต่อย่างน้อยถ้าไม่จ่าย
ก็ยังมีที่ดินที่สามรถบังคับจำนองได้ และไม่เสียสิทธิที่จะเรียกหนี้ที่กู้ซึ่งเป็นหนี้ประธาน และถ้าจะให้เค้าจำนองอย่าลืมทำข้อตกลงยกเว้นกฎหมายไว้ด้วย ว่าหากขายทอดตลาดได้เงินไม่พอใช้ ผู้จำนองต้องรับผิดในส่วนที่ขาดอยู่ เพราะไม่งั้นเกิดขายทอดตลาดไปแล้วไม่ได้ถึง จะไปเรียกกับเค้าไม่ได้แล้ว
3.เอาทรัพย์สินมา "จำนำ" อันนี้จะคล้ายกับขายฝาก เพียงแต่ทรัพย์ที่ขายฝากจะเป็นของผู้ซื้อฝากและสามารถนำของออกใช้งานได้อย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่จำนำทรัพย์สินยังเป็นของผู้จำนำเพียงแต่ผู้รับจำนำเป็นผู้เก็บดูแลทรัพย์สินชิ้นนั้น ถึงไม่จ่ายก็ยังมีทรัพย์ที่จำนำอยู่ ไว้บังคับจำนำอยู่
เพียงแต่จะยุ่งยากเวลามีการบังคับจำนำและต้องขายทอดตลาด ถ้าขายทอดตลาดไม่ได้คุ้มทุน ก็ยังสามารถไปเรียกส่วนต่างได้อีกต่างหาก ส่วนมากทรัพย์ที่จำนำเค้าจึงมักไม่ให้ราคาเต็ม เช่นราคาเต็ม 100 บาท ให้ราคาสัก 70 บาท พอ เกิดขายทอดตลาดได้ 60 บาท
อย่างน้อยขายทุนแค่ 10 บาท ดีกว่าให้ไป 100 บาท ขายได้ 60 บาท ขาดทุน 40 บาท
4.ทำสัญญากู้ และให้มีผู้ค้ำประกัน(ดอกร้อยละ 15 ต่อไปเลย)
- อันนี้รู้ๆกันขี้เกียจอธิบาย
5.ทำสัญญากู้ ไม่มีผู้ค้ำประกัน(ดอกร้อยละ 15 ต่อไปเลย)
- วัดดวงกันไป
6.สัญญาปากปล่าว
- แมนๆคุยกัน วัดใจกันไปเลย
ซึ่งผมลองไล่ๆและเรียงลำดับดู อาจมีสลับกันไปบ้างในบางตำแหน่งตามแต่ความถนัดในการติดตามของแต่ละคน
1.เอาทรัพย์สินมา "ขายฝาก" เพราะทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นของเราไม่ใช่ของของ เขาแค่มีสิทธืไถ่คืนในเวลากำหนด และทรัพย์สินนั้นเราสามารถนำออกมาใช้ได้ด้วย ตอนเค้ามาไถ่คืนอาจจะไถ่คืนตามจำนวนเงินที่เอาไป หรือมากกว่าก็ได้(เท่าที่ไม่เกินกฎหมายห้าม) ถ้าเค้าไม่ไถ่คืนอย่างน้อบบคุณก็ได้ทรัพย์นั้นไว้ใช้ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาฟ้องร้อง บังคับคดี ขายทอดตลาดเลย เช่น เอาที่ดินมาขายฝาก
2.เอาทรัพย์สินมา "จำนอง" เช่น ที่ดิน ใช่แล้วที่ดินมันไม่หนีหายไปไหนแน่นอนไม่จ่ายก็บังคับจำนอง เพียงแต่คุณต้องเสียเวลาฟ้องร้อง
บังคับคดี ประกาศขายทอดตลาด จนขายทอดตลาดได้ รับเงิน และแน่นอนเจ้าหนี้จำนองอาจไม่ใช่คุณคนเดียวและคนแรก แต่อย่างน้อยถ้าไม่จ่าย
ก็ยังมีที่ดินที่สามรถบังคับจำนองได้ และไม่เสียสิทธิที่จะเรียกหนี้ที่กู้ซึ่งเป็นหนี้ประธาน และถ้าจะให้เค้าจำนองอย่าลืมทำข้อตกลงยกเว้นกฎหมายไว้ด้วย ว่าหากขายทอดตลาดได้เงินไม่พอใช้ ผู้จำนองต้องรับผิดในส่วนที่ขาดอยู่ เพราะไม่งั้นเกิดขายทอดตลาดไปแล้วไม่ได้ถึง จะไปเรียกกับเค้าไม่ได้แล้ว
3.เอาทรัพย์สินมา "จำนำ" อันนี้จะคล้ายกับขายฝาก เพียงแต่ทรัพย์ที่ขายฝากจะเป็นของผู้ซื้อฝากและสามารถนำของออกใช้งานได้อย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่จำนำทรัพย์สินยังเป็นของผู้จำนำเพียงแต่ผู้รับจำนำเป็นผู้เก็บดูแลทรัพย์สินชิ้นนั้น ถึงไม่จ่ายก็ยังมีทรัพย์ที่จำนำอยู่ ไว้บังคับจำนำอยู่
เพียงแต่จะยุ่งยากเวลามีการบังคับจำนำและต้องขายทอดตลาด ถ้าขายทอดตลาดไม่ได้คุ้มทุน ก็ยังสามารถไปเรียกส่วนต่างได้อีกต่างหาก ส่วนมากทรัพย์ที่จำนำเค้าจึงมักไม่ให้ราคาเต็ม เช่นราคาเต็ม 100 บาท ให้ราคาสัก 70 บาท พอ เกิดขายทอดตลาดได้ 60 บาท
อย่างน้อยขายทุนแค่ 10 บาท ดีกว่าให้ไป 100 บาท ขายได้ 60 บาท ขาดทุน 40 บาท
4.ทำสัญญากู้ และให้มีผู้ค้ำประกัน(ดอกร้อยละ 15 ต่อไปเลย)
- อันนี้รู้ๆกันขี้เกียจอธิบาย
5.ทำสัญญากู้ ไม่มีผู้ค้ำประกัน(ดอกร้อยละ 15 ต่อไปเลย)
- วัดดวงกันไป
6.สัญญาปากปล่าว
- แมนๆคุยกัน วัดใจกันไปเลย
แสดงความคิดเห็น
อยากถามประสบการณ์ปล่อยเงินกู้แบบถูกกฏหมายของบุคคลธรรมดากับบุคคลธรรมดา ถ้าเราจะทำต้องระมัดระวังอะไรบ้างคะ
แต่จะไปคืนคนที่ปล่อยเงินกู้นอกระบบแบบมีดอกเบี้ย มีสัญญาก่อน
แต่กับเราไม่ยอมคืน เพราะไม่มีสัญญา ไม่มีดอกเบี้ย..
กลายเป็นเราเต็มใจช่วยเหลือ กลับเสียเปรียบ..
ดังนั้น.. เราคิดว่า ต่อไปคนเหล่านี้ หรือ คนใหม่ๆมายืม
เราจะทำสัญญา พร้อมคิดดอกเบี้ย ตามกฏหมายคือไม่เกิน 15% ต่อปี ลดต้นลดดอก
มีการทำสัญญาผ่อนจ่ายให้แน่นหนา
เราอยากทราบว่า มีใครทำแบบนี้บ้าง ควรมีข้อควรระวังอะไร และต้องเตรียมอะไรบ้างค่ะ
เช่น เตรียมคนทวงหนี้ 55 หรือ ต้องมีคนค้ำประกัน .. อื่นๆๆ
... คือ..เราจะให้เท่าที่จำเป็นและรู้จักจริงๆค่ะ... แบบให้โดยทำใจว่า หายไปไม่เดือนร้อน...
แต่ต้องทำสัญญาและมีดอกเบี้ย จะได้ใช้คืนเรา...
ใครมีประสบการณ์อะไรบ้าง
ขอคำแนะนำหน่อย ขอบคุณค่ะ