นพ.วัฒนา บุญสม ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจวิชัยเวช รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจโรคหัวใจ ว่าโรคหัวใจมีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย ซึ่งการตรวจโรคหัวใจจะมีหลายอย่าง ที่ตรวจกันบ่อย ๆ ก็คือ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ซึ่งการตรวจในรูปแบบนี้ จะทำให้ทราบการทำงานของระบบไฟฟ้าหัวใจ ว่าปกติไหม และอาจจะบ่งบอกถึงโรคอื่นก็ได้ด้วย
หรือบางคนมีปัญหาเรื่องใจสั่น หน้ามืด เป็นลม เป็นไม่กี่วินาที แล้วก็หาย บางทีมาโรงพยาบาลก็ตรวจไม่เจอ ลักษณะแบบนี้เราอาจใช้เครื่องมือ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง เป็นเครื่องที่ใช้ติดกับตัวคนไข้ นำกลับบ้านได้ เครื่องจะอัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดเวลา เมื่อมีอาการเครื่องก็จะบอกได้ว่า ตอนนั้นเกิดเรื่องอะไร ทำให้แพทย์ทราบอาการหัวใจ ในแต่ละช่วงเวลาได้
หรือท่านใดมีปัญหาเรื่องของลิ้นหัวใจตีบ หัวใจโต อาการโรคหัวใลักษณะนี้ จะมีการตรวจ ที่เรียกว่า เอ็กโคคาร์ดิโอแกรม
การทำอัลตร้าซาวน์ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ การทำงานหัวใจโดยรวม จะทราบพยาธิสภาพของหัวใจ การทำงานของหัวใจได้ดีขึ้น ก็จะเป็นแนวทางในการรักษาของแพทย์
วิธีการเลือกโปรแกรมการตวจคัดกรองโรคหัวใจ ที่เหมาะกับตัวเอง?
การเลือกโปรแกรมการตรวจคัดกรองหัวใจ ของแต่ละท่าน เบื้องต้นคุณหมอจะวิเคราะห์จากอาการเบื้องต้น ถ้าคนไข้ที่มีอาการ คุณหมอก็จะแนะนำรูปแบบการตรวจรูปแบบหนึ่ง ส่วนคนไข้ที่ไม่มีอาการ ก็จะแนะนำโปรแกรมการตรวจอีกแบบหนึ่ง
- กรณีที่คนไข้ มีอาการมา เช่น รู้สึก
เหนื่อย เหนื่อยผิดปกติ หรือเจ็บแน่นหน้าอก แล้วสงสัยว่ามีปัญหาหลอดเลือด หัวใจตีบหรือเปล่า หมอจะแนะนำให้ตรวจเรื่องของการ
ตรวจวิ่งสายพาน การวิ่งสายพาน จะพบการที่หัวใจขาดเลือดระหว่างวิ่ง อาจจะมีการเจ็บแน่นหน้าอก และทำให้ คลื่นไฟฟ้าหัวใจโชว์ว่ามี ก็จะบอกได้ว่าเป็น ไม่เป็น ทำให้เป็นแนวทางในการรักษา
- ถ้า
เหนื่อยง่าย ให้
ตรวจเช็คเอ็กโค่ หรือการทำอัลตร้าซาวน์หัวใจ จะทราบว่าการทำงาน กล้ามเนื้อหัวใจตีบไหม ลิ้นหัวใจตีบ รั่วหรือเปล่า
- ถ้า
มีอาการใจสั่น หน้ามืด เป็นลม หมออาจจะสงสัยว่า เป็นเรื่องของหัวใจเต้นผิดจังหวะ กลุ่มนี้อาจจะ
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อาจจะ
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ก็จะได้ทราบ คือบางคนอาการใจสั่น เป็นแค่ช่วงไม่กี่วินาที ก็หาย มาถึงโรงพยาบาลก็ตรวจไม่เจอแล้ว การตรวจอันนี้คือ มีเครื่องเล็ก ๆ ติดกับตัว กลับไปบ้าน เครื่องที่ว่านี้จะอัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงเลย เพราะฉะนั้นถ้าคุณมีอาการตอนไหน เครื่องจะโชว์ว่าหัวใจ
เต้นผิดจังหวะหรือเปล่า จะได้ทราบถึงการวินิจฉัย
แต่บางคนไม่มีอาการอะไร แต่มีครอบครัวเป็นโรคหัวใจ บางคนมีประวัติเสียชีวิตฉับพลันในครอบครัว ตั้งแต่อายุน้อย ๆ ก็สงสัยเป็นโรคหัวใจ กลุ่มเหล่านี้คุณหมอก็จะแนะนำให้ประเมินความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง เขาก็จะดู เบาหวาน ไขมันความดัน สูบบุหรี่คุณมีไหม แล้วก็จะประเมินความเสี่ยงได้ การประเมินความเสี่ยง เป็นการคำนวน พอทราบความเสี่ยงแล้ว ในรายที่ความเสี่ยงสูงเกิน 10% จะเกิดปัญหาโรคหัวใจในอนาคต ภายใน
10 ปี คุณหมอจะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม คือ ดูค่าหินปูนในเส้นเลือดหัวใจ โดยการทำเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
ใช้เวลาตรวจไม่นาน ประมาณ 10 นาทีก็ทราบแล้ว เช่น ค่าหินปูน ถ้าค่าหินปูนมากผิดปกติ แสดงว่าโรคเริ่มมาที่หัวใจ และก็ตรวจดูว่า เส้นเลือดที่ขาตีบไหม เส้นเลือดที่คอตีบไหม ซึ่งเส้นเลือดที่คอ ที่ขาตีบเนี้ยตรวจง่าย เป็นการตรวจอัลตร้าซาวน์ วัดความดันก็ทราบแล้ว ถ้ามันตีบ หลอดเลือดที่แขน ขา หรือคอตีบ เส้นเลือดหัวใจก็อาจจะตีบด้วย เนื่องจากเป็นอวัยวะ เดียวกัน อีกอันคือการตรวจดูฮอร์โมนในเส้นเลือด ที่บ่งถึงการอักเสบของเส้นเลือด ถ้าตรวจเจอการอักเสบเกิดขึ้นเยอะ อาจจะบ่งชี้ว่ามีปัญหาที่เส้นเลือดแล้ว คุณหมออาจจะให้คำแนะนำในการตรวจดูด้วยเครื่องมืออื่นเพิ่มเติม
ในรายที่มีประวัติคอบครัว เช่น ปอดไหลตายในครอบครัว กลุ่มนี้อาจจะเป็นกลุ่มที่ต้องรีบมาหาหมอ ถ้าหมอเช็คแล้วมีความเสี่ยง ก็อาจจะแนะนำวิธีการรักษาแต่เนิ่น ๆ จะได้ไม่เสียชีวิตฉับพลันเหมือนในครอบครัว
โรคหัวใจรู้ทัน..รักษาได้ หากพบมีอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์นะครับ
โรคหัวใจ ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง?
การเลือกโปรแกรมการตรวจคัดกรองหัวใจ ของแต่ละท่าน เบื้องต้นคุณหมอจะวิเคราะห์จากอาการเบื้องต้น ถ้าคนไข้ที่มีอาการ คุณหมอก็จะแนะนำรูปแบบการตรวจรูปแบบหนึ่ง ส่วนคนไข้ที่ไม่มีอาการ ก็จะแนะนำโปรแกรมการตรวจอีกแบบหนึ่ง
- กรณีที่คนไข้ มีอาการมา เช่น รู้สึกเหนื่อย เหนื่อยผิดปกติ หรือเจ็บแน่นหน้าอก แล้วสงสัยว่ามีปัญหาหลอดเลือด หัวใจตีบหรือเปล่า หมอจะแนะนำให้ตรวจเรื่องของการตรวจวิ่งสายพาน การวิ่งสายพาน จะพบการที่หัวใจขาดเลือดระหว่างวิ่ง อาจจะมีการเจ็บแน่นหน้าอก และทำให้ คลื่นไฟฟ้าหัวใจโชว์ว่ามี ก็จะบอกได้ว่าเป็น ไม่เป็น ทำให้เป็นแนวทางในการรักษา
- ถ้าเหนื่อยง่าย ให้ตรวจเช็คเอ็กโค่ หรือการทำอัลตร้าซาวน์หัวใจ จะทราบว่าการทำงาน กล้ามเนื้อหัวใจตีบไหม ลิ้นหัวใจตีบ รั่วหรือเปล่า
- ถ้ามีอาการใจสั่น หน้ามืด เป็นลม หมออาจจะสงสัยว่า เป็นเรื่องของหัวใจเต้นผิดจังหวะ กลุ่มนี้อาจจะ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อาจจะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ก็จะได้ทราบ คือบางคนอาการใจสั่น เป็นแค่ช่วงไม่กี่วินาที ก็หาย มาถึงโรงพยาบาลก็ตรวจไม่เจอแล้ว การตรวจอันนี้คือ มีเครื่องเล็ก ๆ ติดกับตัว กลับไปบ้าน เครื่องที่ว่านี้จะอัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงเลย เพราะฉะนั้นถ้าคุณมีอาการตอนไหน เครื่องจะโชว์ว่าหัวใจ
เต้นผิดจังหวะหรือเปล่า จะได้ทราบถึงการวินิจฉัย
แต่บางคนไม่มีอาการอะไร แต่มีครอบครัวเป็นโรคหัวใจ บางคนมีประวัติเสียชีวิตฉับพลันในครอบครัว ตั้งแต่อายุน้อย ๆ ก็สงสัยเป็นโรคหัวใจ กลุ่มเหล่านี้คุณหมอก็จะแนะนำให้ประเมินความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง เขาก็จะดู เบาหวาน ไขมันความดัน สูบบุหรี่คุณมีไหม แล้วก็จะประเมินความเสี่ยงได้ การประเมินความเสี่ยง เป็นการคำนวน พอทราบความเสี่ยงแล้ว ในรายที่ความเสี่ยงสูงเกิน 10% จะเกิดปัญหาโรคหัวใจในอนาคต ภายใน
10 ปี คุณหมอจะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม คือ ดูค่าหินปูนในเส้นเลือดหัวใจ โดยการทำเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์