สวัสดีครับ...
ช่วงเวลาที่ไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดตลอดหลายเดือนนี้ ผมได้มีโอกาสทำหลายสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ทำมานาน ทั้งอ่านหนังสือที่ซื้อมาดองไว้หลายเล่ม ย้อนกลับไปดูหนังเก่า ๆ ที่เคยดู และหนึ่งในนั้นคือหนังรักเรื่องดังเมื่อ 13 ปีที่แล้ว และเป็นหนังไทยในความทรงจำของใครหลายคนรวมถึงตัวผมเองด้วย นั่นก็คือเรื่อง “รักแห่งสยาม” นั่นเองครับ
ต้องบอกก่อนว่าผมเคยดูรักแห่งสยามมาหลายครั้งในหลายช่วงอายุ เป็นหนังไทยที่ผมรักและประทับใจมากเรื่องหนึ่งเลย แต่การย้อนกลับมาดูรอบนี้ในวัยที่โตขึ้น (แต่ยังไม่แก่นะครับ ฮ่า ๆ) ทำให้ผมได้เห็นมุมมองของเรื่องราวความรักที่ถูกซ่อนไว้และให้คนดูได้ตีความหมายกันไป เมื่อก่อนผมอาจจะมองว่าเป็นหนังรักวัยรุ่น แนว Coming of age มีความสัมพันธ์ของครอบครัวเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่วันนี้ผมขอเปลี่ยนความคิดอีกครั้ง เพราะ “รักแห่งสยาม” คือหนัง “ครอบครั๊ว ครอบครัว” แบบแท้จริงเลยครับ
การวิเคราะห์ต่อไปนี้ผมไม่รู้ว่าถูกผิดอย่างไร เพราะผมวิเคราะห์ในมุมมองที่ผมได้ดูและลองประมวลประสบการณ์ร่วมที่ผ่านมา ถ้าขาดตกประเด็นไหนไปช่วยแนะนำให้ด้วยนะครับ
เรื่องราวของเรื่อง เริ่มต้นจากการเล่าถึงครอบครัวหนึ่งที่นับว่าสมบูรณ์แบบในสายตาของใครหลายคน ความหมายคือ เป็นภาพครอบครัวที่อบอุ่น พ่อแม่ดูแลให้ความรักอย่างเต็ม พี่น้องรักกันคุยกันได้ทุกเรื่อง ผมกำลังพูดถึงครอบครัวของโต้ง(มาริโอ้) แตง(พลอย) สุนีย์(คุณนก สินจัย) และกร(คุณกบ ทรงสิทธิ์) ที่ผมบอกว่าครอบครัวนี้สมบูรณ์แบบ เพราะตัวหนังได้ให้มุมมองให้เราได้เปรียบเทียบกับครอบครัวของมิว (พิช ออกัส) บ้านตรงข้าม ที่เป็นลูกชายคนเดียว มีอาม่าคอยดูแล และดูเหมือนตัวละครตัวนี้ขาดอะไรบางอย่าง ซึ่งจะแสดงออกในช่วงเวลาต่อมา
จุดเปลี่ยนแรกของครอบครัวโต้งคือการสูญเสียแตง พี่สาวคนโตของครอบครัวไปจากการหลงป่า จุดนี้เป็นจุดที่ทำให้ครอบครัวที่เคยสมบูรณ์แบบเปลี่ยนแปลงไปจากหน้ามือเป็นหลังเท้าเลยทีเดียว ในมุมมองของผมมองว่าการสูญเสียแตงไปทำให้เกิดตัวละครสองตัวที่สะท้อนความคิดใต้จิตใจของมนุษย์ต่อการสูญเสียคนที่รักไป ผ่านตัวละคร “สุนีย์” และ “กร”
“สุนีย์” เป็นภาพสะท้อนของ
“คนที่พยายามหลีกหนีความจริงจากการสูญเสีย” ไม่ผิดหรอกครับที่คนเราจะต้อง move on และเดินหน้าต่อไป แต่สำหรับสุนีย์นั้นมันไม่ใช่แค่การมูฟออน แต่มันคือการทิ้งความจริงทั้งหมดไว้ข้างหลัง เพื่อพยายามให้ตัวเอง(และครอบครัว) หลุดพ้นจากความเจ็บปวดไปได้ ในฉากหนังเราจะเห็นการย้ายบ้านของโต้ง เหตุผลหนึ่งผมมองว่าสุนีย์พยายามจะพาทุกคนออกไปจากบรรยากาศที่มีแตงเคยอยู่ หรือหลายครั้งที่สุนีย์พยายามไม่พูดถึงเรื่องราวในอดีตของแตง เช่น ฉากที่สุนีย์นั่งดูทีวีกับโต้ง แล้วกรเดินถือรูปถ่ายที่มีแค่สามคน แต่ไม่มีแตงมาถามว่า
“แตงหายไปไหน?”
ซึ่งสุนีย์ก็ตอบกลับอย่างปัด ๆ ว่า “ไปกับเพื่อนแล้วมั้ง ฉันจำไม่ได้”
กรก็ซักต่อว่า “แล้วทำไมไม่เอารูปที่มีแตงมาวางล่ะ”
ทำให้สุนีย์ถึงกับอารมณ์ขึ้นแล้วเหวี่ยงกลับไปว่า “ก็เพราะว่ามันไม่มีเขาแล้วอะสิ”
จากเรื่องราวเหล่านี้มันสะท้อนให้เห็นว่าสุนีย์พยายามที่จะหนีจากความเจ็บปวดแบบสุดโต่ง คือไม่พูดถึง ไม่กล่าวถึง พยายามทำให้ครอบครัวของตนเองลืมแตงไปให้ได้ แต่ผมเชื่อว่าสุนีย์รู้ดีว่า “เขากำลังหลอกตัวเอง”
มาดูอีกด้านหนึ่ง “กร” ผู้เป็นพ่อที่รู้สึกผิดต่อตัวเองอย่างมากที่อนุญาตให้ลูกไปเที่ยวกับเพื่อนต่อจนนำมาซึ่งเหตุการณ์สะเทือนใจครั้งใหญ่ของครอบครัว ทำให้กรเศร้ามาก และสุดท้ายหันมาพึ่งเหล้าแทน สำหรับผมมองว่า
“กรเป็นตัวแทนของคนที่จมอยู่กับอดีต”
ในขณะที่สุนีย์พยายามมูฟออน แต่กรกลับทำทุกอย่างตรงกันข้าม เขาเฝ้านึกถึงเหตุการณ์นั้นอยู่ตลอดและโทษตัวเองเสมอ ฉากเดียวกันกับข้างบนและอีกหลายฉากในเรื่องที่กรจะเปิดดูรูปถ่าย และถามคนนั้นคนนี้อยู่เสมอว่าแตงไปไหน ทั้งที่ความจริงผมว่ากรรู้ดีอยู่แล้วว่าแตงไม่มีทางกลับมา และเขาสูญเสียลูกสาวของเขาไปแล้วจริง ๆ จึงประชดชีวิตตัวเองด้วยจมอยู่กับกองเหล้าตลอดเวลา
เมื่อผลจากการเดินทางตรงกันข้ามของผู้เป็นพ่อและแม่ ทำให้ผลกรรมตกมาอยู่ที่ “โต้ง” กลายเป็นว่าโต้งขาดความเป็นตัวเองไปหลังจากสูญเสียแตง ผมสังเกตจากการที่ในช่วงวัยเด็ก(เก้า จิรายุ) โต้งมีความเป็นคนขี้เล่นและเป็นตัวเองมากกว่า แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์สูญเสียครั้งนั้นขึ้น โต้งกลายเป็นอีกคนที่นิ่ง ๆ ไม่หือไม่อือกับอะไรทั้งนั้น แม้กระทั่งกับความรักที่มีกับโดนัท (เบสท์ อธิชา) ก็ตาม ในช่วงที่โต้งกำลังก้าวเข้าสู่วัยรุ่นอย่างเต็มตัว เขาจึงไม่รู้ความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเอง ว่าเขาต้องการอะไร
จุดเปลี่ยนที่สองของครอบครัวนี้ คือการกลับเข้ามาของมิว และการที่ได้รู้จักกับจูน หญิงสาวที่มีหน้าตาคล้ายกับแตงอย่างกับคนเดียวกัน
การเข้ามาของจูน(ที่หลอกกรว่าเป็นแตง) ทำให้บรรยากาศภายในครอบครัวดูเหมือนจะดีขึ้น ที่บอกว่าดูเหมือนจะดี ความหมายก็คือยังไม่ดีนั่นเองครับ เพราะทุกอย่างที่เข้ามาทำให้ทุกตัวละครเกิดการหลอกตัวเองขึ้น ในมุมนี้สุนีย์ก็พยายามหลอกตัวเองว่าการที่จูนปลอมเป็นแตงจะช่วยทำให้สามีของเธอยอมเข้ารับการรักษาอาการติดเหล้า
ส่วนกรที่มีท่าทีเปลี่ยนไป ผมกลับมองว่าในเรื่องราวนี้ กรรู้อยู่แล้วว่าผู้หญิงคนนี้ไม่ใช่แตง เพราะตลอดหลายปีที่ผ่านมาเขาเชื่ออย่างสนิทใจไปแล้วว่าแตงไม่ได้อยู่แล้ว แต่เขาก็เลือกทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อหลอกตัวเองในเรื่องความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอดีต ผมตีความจากการเล่นเกมหาสมบัติของกร อย่างที่โต้งบอกแหละครับว่ามันเป็นเกมประจำครอบครัว แปลว่ากรมีอะไรจะให้กับแตง(จูน) แต่สุดท้ายจูนก็เล่นไปไม่ถึงที่กรจะให้ ผมว่ากรไม่ได้ลืมอย่างที่โต้งบอกหรอก แต่เรื่องนี้ทำให้กรรู้ว่าถ้าเป็นแตงจริง ๆ แตงคงไม่หยุดเล่นแค่นี้แน่ หรือฉากเปิดดูอัลบั้มรูปที่กรก็พยายามหลอกถามให้แตงเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ จนไปถึงรูปเจ้าปัญหาที่ไม่มีแตง จูนบอกว่าแตงคงไปกับเพื่อนแล้ว ถึงไม่ได้อยู่ในรูป เหตุการณ์เหล่านี้น่าจะทำให้กรมั่นใจได้ว่าคนที่นั่งอยู่ตรงหน้าเขาไม่ใช่แตง เขาสูญเสียแตงไปแล้วจริง ๆ ดังนั้นมันจึงสะท้อนออกมาที่มีฉากที่กรเข้าโรงพยาบาล แล้วจูนบอกกับสุนีย์ว่าถึงเขาจะเข้ามา แต่กรก็ไม่เคยหยุดกินเหล้าเลย ถ้าในแง่หนึ่งอาจจะมาจากอาการติดเหล้า แต่ในมุมหนึ่งผมกลับมองว่ามันสะท้อนว่ากรรู้ความจริงทุกอย่าง และยังจมอยู่กับอดีตเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ผมว่าหนังเล่าได้ดีมากผ่านรูปภาพรูปนี้ เพราะมันทำให้เราเห็นพัฒนาการของตัวละครได้ดีมาก ๆ
ในช่วงต้นเรื่อง ฉากที่ผมเล่าไปที่กรถามถึงแตง นั่นสะท้อนให้เห็นว่าสุนีย์และกรกำลังเดินสวนทางกัน ซึ่งนี่คือสิ่งที่ทำให้ครอบครัวที่เคยสมบูรณ์เปลี่ยนแปลงไป
ฉากที่สอง คือฉากที่กรคุยกับแตง(จูน) ผมมองว่าช่วงเวลาที่จูนเข้ามาในครอบครัว ทำให้เส้นทางที่เคยเดินสวนทางกันของพ่อแม่ มันกลับมาใกล้กันมากขึ้น คือตัวละครจูนกำลังทำให้ทุกคนยอมรับความจริงและอยู่กับความจริงมากขึ้น
และฉากสุดท้ายคือฉากที่สุนีย์เล่นเกมตามหาสมบัติที่จูนวางไว้ จนไปพบข้อความสุดท้ายที่ทิ้งท้ายพร้อมกับรูปถ่ายรูปเดิม เมื่อกรเดินมาเห็นแล้วถามว่า “แตงไปกับเพื่อนแล้วใช่มั้ย?”
สุนีย์ที่เคยหนีความจริงมาตลอด ตอนนี้ก็ยอมรับแล้วว่าในรูปแตงยังอยู่กับเรา เพราะแตงเป็นคนถ่ายรูปนั้นเอง
อีกตัวละครสำคัญที่ทำให้สุนีย์ต้องยอมรับความเป็นจริงโดยดุษฎี คือ มิว การสูญเสีย “ลูกสาว” คงเป็นเรื่องยากที่คนเป็นแม่จะยอมรับได้ เขาจึงพยายามทำทุกวิถีทางที่จะไม่ยอมสูญเสีย “ลูกชาย” คนสุดท้ายไปเป็นอันขาด ฉากสุนีย์ไปคุยกับมิวที่บ้านเพื่อให้มิวยุติความสัมพันธ์กับโต้ง นั่นคือความในใจทั้งหมดของตัวละครตัวนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นกับครอบครัวนี้ ไม่ใช่เพราะขาดความรัก แต่เป็นเพราะพวกเขามีความรักให้กันอย่างมากล้น แต่ไม่เคยที่จะเข้าใจในความรักมุมมองของคนอื่นบ้าง สุนีย์เป็นแม่ที่ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อเป็นเสาหลักของครอบครัว จากหลายฉากแสดงให้เห็นว่าเขายอมทำทุกอย่างเพื่อให้ครอบครัวกลับมาสมบูรณ์ แม้กระทั่งการยอมให้จูนเข้ามาในครอบครัว ทั้งที่มันเป็นสิ่งที่สุนีย์ปฏิเสธมาโดยตลอดหลังการสูญเสียแตงไป ถึงแม้ว่าหนังจะพยายามเล่าให้สุนีย์ดูจะสงสัยกับชีวิตของจูนกับแตง แต่หลายฉากมันก็อธิบายในตัวเองไปแล้วว่าสุนีย์ไม่คิดว่าจูนคือแตง ทั้งการพูดกับจูนว่า เธอไม่ใช่คนในครอบครัวของฉันจะไปรู้อะไร หรือฉันควรจะรู้ว่าเธอเป็นใคร ไม่ใช่เอาใครที่ไหนไม่รู้เข้ามาในบ้าน ทั้งหมดทั้งมวลนี้มันชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่าสุนีย์ยอมรับตั้งแต่แรกแล้วว่าเขาสูญเสียแตงไปแล้ว
บทสรุปของเรื่องทำให้เราเห็นถึงการกลับมาเชื่อมต่อกันของคนในครอบครัวอีกครั้ง ฉากโต้งถามแม่เรื่องเลือกตุ๊กตาตัวไหนดี ฉากสุนีย์ดูรูปถ่ายครอบครัวกับกรแล้วร้องไห้ และสิ่งสำคัญคือ เราทุกคนล้วนต้องยอมรับความจริงและอยู่กับมันให้ได้ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นความจริงที่เจ็บปวด แต่สุดท้ายความจริงก็คือความจริง สุดท้ายความรักของครอบครัว คือความรักที่ยิ่งใหญ่และมีพลังมาก ในหลายครั้งเราอาจจะไม่เข้าใจในความหวังดีของคนในครอบครัวจนนำมาซึ่งความขัดแย้งกันได้ ดังนั้นรักกันอย่างเดียวอาจจะไม่พอ ในเมื่อเราไม่สามารถเข้าใจจิตใจของทุกคนได้ผ่านการมองตา การสื่อสารและการเชื่อมต่อซึ่งกันและกันจึงสำคัญไม่แพ้กับความรักที่เรามีให้กันเลยครับ
มาถึงตอนสุดท้ายอยากขอบคุณทีมงานและทีมนักแสดงเรื่องนี้ทุกคนที่ได้สร้างผลงานหนังไทยดี ๆ ออกมาให้เราชม อยากให้หนังไทยมีผลงานดี ๆ แบบนี้อีกครับ เชื่อว่าคนไทยของเรามีศักยภาพมากพอที่จะสร้างผลงานดีๆออกมาให้คนไทยได้ชมนะครับ
ปล. ความจริงยังมีอีกหลายฉากที่ไม่เอามาพูดถึงในกระทู้นี้ เพราะถ้าตั้งใจดูอย่างจริงจังทุกฉากมันมีความหมายและเชื่อมโยงเรื่องเอาไว้เข้าด้วยกันเสมอ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเรื่องราวส่วนหนึ่งของหนังในมุมมองของผม แล้วคุณล่ะครับ มีความทรงจำดีๆ หรือเรื่องราวอะไรเกี่ยวกับรักแห่งสยามบ้าง มาแชร์กันครับ
ปล2. เพลงคืนอันเป็นนิรันดร์เป็นเพลงที่ผมชอบมากครับ ความหมายเพลงดีมาก ๆ ขอฝากให้ทุกคนฟังด้วยนะครั
ย้อนวันวาน “รักแห่งสยาม” หนังที่เป็นมากกว่าหนังรัก แต่เป็นหนังที่อธิบายคำว่า “ความรัก” ได้อย่างลงตัว
ช่วงเวลาที่ไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดตลอดหลายเดือนนี้ ผมได้มีโอกาสทำหลายสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ทำมานาน ทั้งอ่านหนังสือที่ซื้อมาดองไว้หลายเล่ม ย้อนกลับไปดูหนังเก่า ๆ ที่เคยดู และหนึ่งในนั้นคือหนังรักเรื่องดังเมื่อ 13 ปีที่แล้ว และเป็นหนังไทยในความทรงจำของใครหลายคนรวมถึงตัวผมเองด้วย นั่นก็คือเรื่อง “รักแห่งสยาม” นั่นเองครับ
ต้องบอกก่อนว่าผมเคยดูรักแห่งสยามมาหลายครั้งในหลายช่วงอายุ เป็นหนังไทยที่ผมรักและประทับใจมากเรื่องหนึ่งเลย แต่การย้อนกลับมาดูรอบนี้ในวัยที่โตขึ้น (แต่ยังไม่แก่นะครับ ฮ่า ๆ) ทำให้ผมได้เห็นมุมมองของเรื่องราวความรักที่ถูกซ่อนไว้และให้คนดูได้ตีความหมายกันไป เมื่อก่อนผมอาจจะมองว่าเป็นหนังรักวัยรุ่น แนว Coming of age มีความสัมพันธ์ของครอบครัวเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่วันนี้ผมขอเปลี่ยนความคิดอีกครั้ง เพราะ “รักแห่งสยาม” คือหนัง “ครอบครั๊ว ครอบครัว” แบบแท้จริงเลยครับ
การวิเคราะห์ต่อไปนี้ผมไม่รู้ว่าถูกผิดอย่างไร เพราะผมวิเคราะห์ในมุมมองที่ผมได้ดูและลองประมวลประสบการณ์ร่วมที่ผ่านมา ถ้าขาดตกประเด็นไหนไปช่วยแนะนำให้ด้วยนะครับ
เรื่องราวของเรื่อง เริ่มต้นจากการเล่าถึงครอบครัวหนึ่งที่นับว่าสมบูรณ์แบบในสายตาของใครหลายคน ความหมายคือ เป็นภาพครอบครัวที่อบอุ่น พ่อแม่ดูแลให้ความรักอย่างเต็ม พี่น้องรักกันคุยกันได้ทุกเรื่อง ผมกำลังพูดถึงครอบครัวของโต้ง(มาริโอ้) แตง(พลอย) สุนีย์(คุณนก สินจัย) และกร(คุณกบ ทรงสิทธิ์) ที่ผมบอกว่าครอบครัวนี้สมบูรณ์แบบ เพราะตัวหนังได้ให้มุมมองให้เราได้เปรียบเทียบกับครอบครัวของมิว (พิช ออกัส) บ้านตรงข้าม ที่เป็นลูกชายคนเดียว มีอาม่าคอยดูแล และดูเหมือนตัวละครตัวนี้ขาดอะไรบางอย่าง ซึ่งจะแสดงออกในช่วงเวลาต่อมา
จุดเปลี่ยนแรกของครอบครัวโต้งคือการสูญเสียแตง พี่สาวคนโตของครอบครัวไปจากการหลงป่า จุดนี้เป็นจุดที่ทำให้ครอบครัวที่เคยสมบูรณ์แบบเปลี่ยนแปลงไปจากหน้ามือเป็นหลังเท้าเลยทีเดียว ในมุมมองของผมมองว่าการสูญเสียแตงไปทำให้เกิดตัวละครสองตัวที่สะท้อนความคิดใต้จิตใจของมนุษย์ต่อการสูญเสียคนที่รักไป ผ่านตัวละคร “สุนีย์” และ “กร”
“สุนีย์” เป็นภาพสะท้อนของ “คนที่พยายามหลีกหนีความจริงจากการสูญเสีย” ไม่ผิดหรอกครับที่คนเราจะต้อง move on และเดินหน้าต่อไป แต่สำหรับสุนีย์นั้นมันไม่ใช่แค่การมูฟออน แต่มันคือการทิ้งความจริงทั้งหมดไว้ข้างหลัง เพื่อพยายามให้ตัวเอง(และครอบครัว) หลุดพ้นจากความเจ็บปวดไปได้ ในฉากหนังเราจะเห็นการย้ายบ้านของโต้ง เหตุผลหนึ่งผมมองว่าสุนีย์พยายามจะพาทุกคนออกไปจากบรรยากาศที่มีแตงเคยอยู่ หรือหลายครั้งที่สุนีย์พยายามไม่พูดถึงเรื่องราวในอดีตของแตง เช่น ฉากที่สุนีย์นั่งดูทีวีกับโต้ง แล้วกรเดินถือรูปถ่ายที่มีแค่สามคน แต่ไม่มีแตงมาถามว่า
“แตงหายไปไหน?”
ซึ่งสุนีย์ก็ตอบกลับอย่างปัด ๆ ว่า “ไปกับเพื่อนแล้วมั้ง ฉันจำไม่ได้”
กรก็ซักต่อว่า “แล้วทำไมไม่เอารูปที่มีแตงมาวางล่ะ”
ทำให้สุนีย์ถึงกับอารมณ์ขึ้นแล้วเหวี่ยงกลับไปว่า “ก็เพราะว่ามันไม่มีเขาแล้วอะสิ”
จากเรื่องราวเหล่านี้มันสะท้อนให้เห็นว่าสุนีย์พยายามที่จะหนีจากความเจ็บปวดแบบสุดโต่ง คือไม่พูดถึง ไม่กล่าวถึง พยายามทำให้ครอบครัวของตนเองลืมแตงไปให้ได้ แต่ผมเชื่อว่าสุนีย์รู้ดีว่า “เขากำลังหลอกตัวเอง”
มาดูอีกด้านหนึ่ง “กร” ผู้เป็นพ่อที่รู้สึกผิดต่อตัวเองอย่างมากที่อนุญาตให้ลูกไปเที่ยวกับเพื่อนต่อจนนำมาซึ่งเหตุการณ์สะเทือนใจครั้งใหญ่ของครอบครัว ทำให้กรเศร้ามาก และสุดท้ายหันมาพึ่งเหล้าแทน สำหรับผมมองว่า
เมื่อผลจากการเดินทางตรงกันข้ามของผู้เป็นพ่อและแม่ ทำให้ผลกรรมตกมาอยู่ที่ “โต้ง” กลายเป็นว่าโต้งขาดความเป็นตัวเองไปหลังจากสูญเสียแตง ผมสังเกตจากการที่ในช่วงวัยเด็ก(เก้า จิรายุ) โต้งมีความเป็นคนขี้เล่นและเป็นตัวเองมากกว่า แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์สูญเสียครั้งนั้นขึ้น โต้งกลายเป็นอีกคนที่นิ่ง ๆ ไม่หือไม่อือกับอะไรทั้งนั้น แม้กระทั่งกับความรักที่มีกับโดนัท (เบสท์ อธิชา) ก็ตาม ในช่วงที่โต้งกำลังก้าวเข้าสู่วัยรุ่นอย่างเต็มตัว เขาจึงไม่รู้ความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเอง ว่าเขาต้องการอะไร
จุดเปลี่ยนที่สองของครอบครัวนี้ คือการกลับเข้ามาของมิว และการที่ได้รู้จักกับจูน หญิงสาวที่มีหน้าตาคล้ายกับแตงอย่างกับคนเดียวกัน
การเข้ามาของจูน(ที่หลอกกรว่าเป็นแตง) ทำให้บรรยากาศภายในครอบครัวดูเหมือนจะดีขึ้น ที่บอกว่าดูเหมือนจะดี ความหมายก็คือยังไม่ดีนั่นเองครับ เพราะทุกอย่างที่เข้ามาทำให้ทุกตัวละครเกิดการหลอกตัวเองขึ้น ในมุมนี้สุนีย์ก็พยายามหลอกตัวเองว่าการที่จูนปลอมเป็นแตงจะช่วยทำให้สามีของเธอยอมเข้ารับการรักษาอาการติดเหล้า
ส่วนกรที่มีท่าทีเปลี่ยนไป ผมกลับมองว่าในเรื่องราวนี้ กรรู้อยู่แล้วว่าผู้หญิงคนนี้ไม่ใช่แตง เพราะตลอดหลายปีที่ผ่านมาเขาเชื่ออย่างสนิทใจไปแล้วว่าแตงไม่ได้อยู่แล้ว แต่เขาก็เลือกทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อหลอกตัวเองในเรื่องความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอดีต ผมตีความจากการเล่นเกมหาสมบัติของกร อย่างที่โต้งบอกแหละครับว่ามันเป็นเกมประจำครอบครัว แปลว่ากรมีอะไรจะให้กับแตง(จูน) แต่สุดท้ายจูนก็เล่นไปไม่ถึงที่กรจะให้ ผมว่ากรไม่ได้ลืมอย่างที่โต้งบอกหรอก แต่เรื่องนี้ทำให้กรรู้ว่าถ้าเป็นแตงจริง ๆ แตงคงไม่หยุดเล่นแค่นี้แน่ หรือฉากเปิดดูอัลบั้มรูปที่กรก็พยายามหลอกถามให้แตงเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ จนไปถึงรูปเจ้าปัญหาที่ไม่มีแตง จูนบอกว่าแตงคงไปกับเพื่อนแล้ว ถึงไม่ได้อยู่ในรูป เหตุการณ์เหล่านี้น่าจะทำให้กรมั่นใจได้ว่าคนที่นั่งอยู่ตรงหน้าเขาไม่ใช่แตง เขาสูญเสียแตงไปแล้วจริง ๆ ดังนั้นมันจึงสะท้อนออกมาที่มีฉากที่กรเข้าโรงพยาบาล แล้วจูนบอกกับสุนีย์ว่าถึงเขาจะเข้ามา แต่กรก็ไม่เคยหยุดกินเหล้าเลย ถ้าในแง่หนึ่งอาจจะมาจากอาการติดเหล้า แต่ในมุมหนึ่งผมกลับมองว่ามันสะท้อนว่ากรรู้ความจริงทุกอย่าง และยังจมอยู่กับอดีตเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ผมว่าหนังเล่าได้ดีมากผ่านรูปภาพรูปนี้ เพราะมันทำให้เราเห็นพัฒนาการของตัวละครได้ดีมาก ๆ
ในช่วงต้นเรื่อง ฉากที่ผมเล่าไปที่กรถามถึงแตง นั่นสะท้อนให้เห็นว่าสุนีย์และกรกำลังเดินสวนทางกัน ซึ่งนี่คือสิ่งที่ทำให้ครอบครัวที่เคยสมบูรณ์เปลี่ยนแปลงไป
ฉากที่สอง คือฉากที่กรคุยกับแตง(จูน) ผมมองว่าช่วงเวลาที่จูนเข้ามาในครอบครัว ทำให้เส้นทางที่เคยเดินสวนทางกันของพ่อแม่ มันกลับมาใกล้กันมากขึ้น คือตัวละครจูนกำลังทำให้ทุกคนยอมรับความจริงและอยู่กับความจริงมากขึ้น
และฉากสุดท้ายคือฉากที่สุนีย์เล่นเกมตามหาสมบัติที่จูนวางไว้ จนไปพบข้อความสุดท้ายที่ทิ้งท้ายพร้อมกับรูปถ่ายรูปเดิม เมื่อกรเดินมาเห็นแล้วถามว่า “แตงไปกับเพื่อนแล้วใช่มั้ย?”
สุนีย์ที่เคยหนีความจริงมาตลอด ตอนนี้ก็ยอมรับแล้วว่าในรูปแตงยังอยู่กับเรา เพราะแตงเป็นคนถ่ายรูปนั้นเอง
สิ่งที่เกิดขึ้นกับครอบครัวนี้ ไม่ใช่เพราะขาดความรัก แต่เป็นเพราะพวกเขามีความรักให้กันอย่างมากล้น แต่ไม่เคยที่จะเข้าใจในความรักมุมมองของคนอื่นบ้าง สุนีย์เป็นแม่ที่ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อเป็นเสาหลักของครอบครัว จากหลายฉากแสดงให้เห็นว่าเขายอมทำทุกอย่างเพื่อให้ครอบครัวกลับมาสมบูรณ์ แม้กระทั่งการยอมให้จูนเข้ามาในครอบครัว ทั้งที่มันเป็นสิ่งที่สุนีย์ปฏิเสธมาโดยตลอดหลังการสูญเสียแตงไป ถึงแม้ว่าหนังจะพยายามเล่าให้สุนีย์ดูจะสงสัยกับชีวิตของจูนกับแตง แต่หลายฉากมันก็อธิบายในตัวเองไปแล้วว่าสุนีย์ไม่คิดว่าจูนคือแตง ทั้งการพูดกับจูนว่า เธอไม่ใช่คนในครอบครัวของฉันจะไปรู้อะไร หรือฉันควรจะรู้ว่าเธอเป็นใคร ไม่ใช่เอาใครที่ไหนไม่รู้เข้ามาในบ้าน ทั้งหมดทั้งมวลนี้มันชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่าสุนีย์ยอมรับตั้งแต่แรกแล้วว่าเขาสูญเสียแตงไปแล้ว
บทสรุปของเรื่องทำให้เราเห็นถึงการกลับมาเชื่อมต่อกันของคนในครอบครัวอีกครั้ง ฉากโต้งถามแม่เรื่องเลือกตุ๊กตาตัวไหนดี ฉากสุนีย์ดูรูปถ่ายครอบครัวกับกรแล้วร้องไห้ และสิ่งสำคัญคือ เราทุกคนล้วนต้องยอมรับความจริงและอยู่กับมันให้ได้ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นความจริงที่เจ็บปวด แต่สุดท้ายความจริงก็คือความจริง สุดท้ายความรักของครอบครัว คือความรักที่ยิ่งใหญ่และมีพลังมาก ในหลายครั้งเราอาจจะไม่เข้าใจในความหวังดีของคนในครอบครัวจนนำมาซึ่งความขัดแย้งกันได้ ดังนั้นรักกันอย่างเดียวอาจจะไม่พอ ในเมื่อเราไม่สามารถเข้าใจจิตใจของทุกคนได้ผ่านการมองตา การสื่อสารและการเชื่อมต่อซึ่งกันและกันจึงสำคัญไม่แพ้กับความรักที่เรามีให้กันเลยครับ
มาถึงตอนสุดท้ายอยากขอบคุณทีมงานและทีมนักแสดงเรื่องนี้ทุกคนที่ได้สร้างผลงานหนังไทยดี ๆ ออกมาให้เราชม อยากให้หนังไทยมีผลงานดี ๆ แบบนี้อีกครับ เชื่อว่าคนไทยของเรามีศักยภาพมากพอที่จะสร้างผลงานดีๆออกมาให้คนไทยได้ชมนะครับ
ปล. ความจริงยังมีอีกหลายฉากที่ไม่เอามาพูดถึงในกระทู้นี้ เพราะถ้าตั้งใจดูอย่างจริงจังทุกฉากมันมีความหมายและเชื่อมโยงเรื่องเอาไว้เข้าด้วยกันเสมอ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเรื่องราวส่วนหนึ่งของหนังในมุมมองของผม แล้วคุณล่ะครับ มีความทรงจำดีๆ หรือเรื่องราวอะไรเกี่ยวกับรักแห่งสยามบ้าง มาแชร์กันครับ
ปล2. เพลงคืนอันเป็นนิรันดร์เป็นเพลงที่ผมชอบมากครับ ความหมายเพลงดีมาก ๆ ขอฝากให้ทุกคนฟังด้วยนะครั