โควิด-19 ว่าน่ากลัวแล้ว แต่หากเป็นร่วมกับไข้หวัดใหญ่ที่มักจะระบาดในหน้าฝนจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายกับชีวิตได้เลยค่ะ
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ระบาดมากในหน้าฝน ประกอบกับการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 จึงมีความน่ากังวลมากเพราะอาการของทั้งสองโรคนั้นค่อนข้างคล้ายคลึงกัน โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ 38-40 องศา ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งจะมีอาการที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย คือ ผู้ติดเชื้อ COVID-19 จะมีน้ำมูกไม่เยอะ และยังมีการแพร่กระจายสู่ผู้อื่นจากการสัมผัสผู้ป่วยเมื่อมีการไอและจามเหมือนกันอีกด้วย
จากการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศจีนพบว่า ผู้ที่ป่วยเป็นโรค COVID -19 จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการได้รับเชื้ออื่น ๆ ถึง 20-80 % และการติดเชื้อร่วมกันกับ COVID -19 พบว่าเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ มีโอกาสทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการติดเชื้อร่วมกันนั้นเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากถึง 29-55 %
ในประเทศไทยพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่มากกว่า COVID -19 ถึง 33 เท่า พบผู้เสียชีวิตสูงถึง 2 %ทั่วโลก โดยในปี 2561-2562 พบผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดมากที่สุดในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายนแต่ในปี 2563 พบผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดมากในเดือนมกราคม และมีแนวโน้มลดลงในเดือนเมษายน เพราะเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID -19 ทำให้คนหันมาใส่ใจและดูแลสุขภาพกันมากขึ้น เมื่อสถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลี่คลายอาจจะทำให้คนละเลยการดูแลสุขภาพ จึงต้องพึงระวังการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ร่วมกับการติดเชื้อ COVID -19 ที่อาจระบาดขึ้นอีกในช่วงหน้าฝนที่ใกล้จะถึงนี้
ในช่วงที่ยังไม่มีตัวยา หรือวัคซีนป้องกัน COVID-19 แต่คุณสามารถดูแลตนเอง ประกอบกับป้องกันไข้หวัดใหญ่ด้วยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ด้วยวิธีนี้คุณจะสามารป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อทั้ง 2 ตัวนี้พร้อมกันได้ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมควบคุมโรค
https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1280920200508032433.pdf
ระวังการติดเชื้อ COVID-19 ร่วมกับไข้หวัดใหญ่ในหน้าฝน
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ระบาดมากในหน้าฝน ประกอบกับการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 จึงมีความน่ากังวลมากเพราะอาการของทั้งสองโรคนั้นค่อนข้างคล้ายคลึงกัน โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ 38-40 องศา ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งจะมีอาการที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย คือ ผู้ติดเชื้อ COVID-19 จะมีน้ำมูกไม่เยอะ และยังมีการแพร่กระจายสู่ผู้อื่นจากการสัมผัสผู้ป่วยเมื่อมีการไอและจามเหมือนกันอีกด้วย
จากการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศจีนพบว่า ผู้ที่ป่วยเป็นโรค COVID -19 จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการได้รับเชื้ออื่น ๆ ถึง 20-80 % และการติดเชื้อร่วมกันกับ COVID -19 พบว่าเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ มีโอกาสทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการติดเชื้อร่วมกันนั้นเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากถึง 29-55 %
ในประเทศไทยพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่มากกว่า COVID -19 ถึง 33 เท่า พบผู้เสียชีวิตสูงถึง 2 %ทั่วโลก โดยในปี 2561-2562 พบผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดมากที่สุดในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายนแต่ในปี 2563 พบผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดมากในเดือนมกราคม และมีแนวโน้มลดลงในเดือนเมษายน เพราะเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID -19 ทำให้คนหันมาใส่ใจและดูแลสุขภาพกันมากขึ้น เมื่อสถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลี่คลายอาจจะทำให้คนละเลยการดูแลสุขภาพ จึงต้องพึงระวังการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ร่วมกับการติดเชื้อ COVID -19 ที่อาจระบาดขึ้นอีกในช่วงหน้าฝนที่ใกล้จะถึงนี้
ในช่วงที่ยังไม่มีตัวยา หรือวัคซีนป้องกัน COVID-19 แต่คุณสามารถดูแลตนเอง ประกอบกับป้องกันไข้หวัดใหญ่ด้วยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ด้วยวิธีนี้คุณจะสามารป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อทั้ง 2 ตัวนี้พร้อมกันได้ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมควบคุมโรค https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1280920200508032433.pdf