"วิโรจน์"ร่ายยาว ปม #เรียนออนไลน์ ติงรัฐ ต้องคำนึงความเหลื่อมล้ำ แนะทุ่มเต็มที่เพื่อเด็ก
https://www.matichon.co.th/politics/news_2190132
วิโรจน์”ร่ายยาว ปม#เรียนออนไลน์ ชี้ ประเทศจะพัฒนาไปได้แค่ไหน จะมีที่ยืนอยู่ตรงไหนของโลกขึ้นอยู่กับเด็ก ระบุ สังคมไทยต้องมองเด็กเป็นเหมือน “ลูกหลาน”ต้องช่วยฟูมฟักดูแล รัฐต้องมีกลไกพัฒนาให้เติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพเพื่อเป็นกำลังหลักของประเทศ
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม นาย
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล ทวิตข้อความลงในทวิตเตอร์ @wirojlak ประเด็น
#เรียนออนไลน์ ประเด็นสำคัญมันอยู่ที่ฐานคิดระหว่างการพัฒนาให้เด็กคนหนึ่ง ให้กลายเป็นพลเมืองที่มีขีดความสามารถ นั้นเป็นหน้าที่หลักร่วมกันของรัฐ และพ่อแม่ หรือหน้าที่หลักอยู่ที่พ่อแม่ และรัฐเป็นส่วนเสริม นี่คือการต่อสู้กันทางความคิด ซึ่งสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทย
บางกลุ่ม บอกว่า “
การที่พ่อแม่จำนวนหนึ่ง อยากให้ลูกมาเรียนที่โรงเรียน นั้นเป็นการผลักภาระมาให้โรงเรียน”
แต่บางกลุ่ม ก็บอกว่า “
การ #เรียนออนไลน์ นั้นเป็นความพยายามของโรงเรียนที่จะผลักภาระมาให้พ่อแม่
ตนเชื่อว่า การพัฒนาให้เด็กคนหนึ่ง ให้กลายเป็นพลเรือนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และร่วมมือ ในการพัฒนาประเทศ นั้นเป็นหน้าที่หลักที่รัฐต้องทำ ไม่ว่าเด็กคนนั้น จะมีปูมหลังอย่างไรก็ตามการพัฒนาเด็กหนึ่งคน จึงเป็นหน้าที่หลักของทั้งพ่อแม่ และรัฐ รวมทั้งประชาชนทุกคนด้วย ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีความพร้อมหรือไม่ พ่อแม่ของเด็กจะเป็นอย่างไร ครอบครัวเขาจะเป็นอย่างไร แต่เมื่อเวลาผ่านไป เด็กเหล่านี้ ก็ต้องเติบโตขึ้นมาเป็นพลเรือนของประเทศนี้ ซึ่งเด็กเหล่านี้ที่ต้องแบกภาระในการพัฒนาประเทศนี้ ต่อจากคนรุ่นของเรา ที่จะเข้าสู่วัยชรา
ประเทศของเราจะพัฒนาไปได้แค่ไหน จะสามารถแข่งขัน และร่วมมือกับนานาอารยประเทศได้เพียงไร จะมีที่ยืนอยู่ตรงไหนของโลกใบนี้ในอนาคตนั้นขึ้นอยู่กับเด็กๆ เหล่านี้ทั้งสิ้น นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ที่การพัฒนาเด็กเหล่านี้ทุกคน ไม่ว่าเด็กจะมีปูมหลังอย่างไร จึงเป็นหน้าที่หลักของรัฐ
ยอมรับว่า เด็กหลายคนขาดความพร้อม ทั้งในมุมของพ่อแม่ ฐานะทางบ้าน และปัญหาสังคมต่างๆ แต่ถ้าเรามัวแต่ผลักภาระในการพัฒนาเด็กเหล่านี้ ให้กับพ่อแม่ โดยที่รัฐเป็นเพียงส่วนเสริม เราจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าเด็กเหล่านี้จะเติบโตขึ้นมา เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ที่เราทุกคนภูมิใจร่วมกัน
ตนคิดว่า สังคมไทยต้องมองเด็กเหล่านี้ เป็นเหมือน “
ลูกหลานของเรา” ที่ต้องช่วยกันฟูมฟักดูแลต่อให้เด็กเหล่านี้เป็นเด็กกำพร้า ต่อให้พ่อแม่ของเด็กเหล่านี้จะขาดความพร้อมเช่นไร รัฐก็ควรต้องมีกลไก ในการพัฒนาเด็กเหล่านี้ ให้เติบโตขึ้นมาเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพให้ได้ในมุมของเด็กกำพร้า ถ้าเรามองในเชิงบวก โดยคิดว่าเขาคือความหวังของชาติ และพัฒนาเขาให้ดีที่สุด ให้เขากลายเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ เมื่อเขาโตขึ้น เขาจะกลายเป็นกำลังหลักของประเทศ เพราะเด็กเหล่านี้ จะไม่ต้องแบกรับภาระที่ต้องดูแลพ่อแม่ ไม่ต้องเผชิญหน้ากับ Midlife Crisis
เด็กเหล่านี้ จะมี Focus เดียว คือ การมุ่งพัฒนาตนเอง และพัฒนาประเทศที่เขาภูมิใจ และพร้อมรับผิดชอบกับประชาชนทุกคน เพราะเขาจะตระหนักอยู่เสมอว่า ประชาชนทุกคนในประเทศนี้ คือ พ่อแม่ ที่ช่วยกันฟูมฟักให้เขาเติบโตขึ้นมา เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ดังนั้น รัฐที่ดี จะไม่นำเอาประเด็นปูมหลังของเด็ก เอาปัญหาของพ่อแม่ของเด็ก มาเป็นข้ออ้างใดๆ เลย เพราะไม่ว่าเด็กจะมีปูมหลังอย่างไร รัฐก็ต้องมีหน้าที่พัฒนาให้เขากลายเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพให้ได้ เด็กคนไหน ที่พ่อแม่มีความพร้อม มีฐานะทางบ้านที่ดี มีสังคมแวดล้อมที่เอื้ออำนวย รัฐก็จะเบาแรงหน่อย เพราะพ่อแม่สามารถช่วยรัฐได้มากขึ้น เพื่อให้รัฐจะได้ทุ่มสรรพกำลัง มาฟูมฟักเด็กที่ขาดแคลน เพื่อให้เด็กทุกคน ทุกปูมหลัง เติบโตขึ้นมาเป็นพลเมืองที่ดีให้ได้
“
ยืนยันว่า การพัฒนาเด็ก ต้องเป็นหน้าที่หลักของรัฐ และพ่อแม่ร่วมกัน เด็กคนไหนที่พ่อแม่ไม่พร้อม รัฐก็ต้องเข้าไปทำหน้าที่หลัก เพื่อให้มั่นใจว่า เด็กทุกคนในแผ่นดินนี้ ไม่ว่าปูมหลังจะเป็นเช่นไร ก็จะสามารถเติบโตขึ้นมากลายเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพได้ดังนั้น การที่พ่อแม่กลุ่มหนึ่ง อยากให้โรงเรียนเปิดเทอม เพราะเขาต้องทำงาน หรือเขาไม่มีความพร้อมที่จะสอนลูกได้ จึงไม่ใช่การผลักภาระไปสู่โรงเรียน แต่นี่ควรจะเป็นหน้าที่ของโรงเรียนอยู่แล้ว”
การที่กระทรวงศึกษาธิการ จะดึงดันให้เด็กทุกคน #เรียนออนไลน์ ให้ได้ โดยไม่สนใจความเหลื่อมล้ำ และข้อจำกัดทางสังคมอื่นๆ ประกอบเลย ต่างหากที่เป็นความพยายามละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของตน และผลักภาระไปสู่พ่อแม่ การตำหนิพ่อแม่ ที่เขามีความจำเป็นต้องให้ลูกมาโรงเรียน ว่าเป็นการผลักภาระมาให้ทางโรงเรียน จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะโรงเรียนมีหน้าที่หลักตรงนี้อยู่แล้ว ไม่ใช่หรือ
ถ้ากรอบคิดของกระทรวงศึกษาธิการ มองให้กว้างกว่า “
พื้นที่โรงเรียน” ก็จะเข้าใจในเรื่องนี้
การ #เรียนออนไลน์ ไม่มีทางที่เด็กจะติดเชื้อที่โรงเรียนแน่ๆ แต่ไม่ได้มีอะไรการันตีว่า เด็กจะไม่ติดเชื้อนอกโรงเรียน
ถ้ากระทรวงศึกษาฯ มองว่า การที่เด็กคนหนึ่งติดเชื้อ ไม่ว่าติดในโรงเรียน หรือนอกโรงเรียน เป็นเรื่องที่กระทรวงศึกษาฯ ต้องใส่ใจด้วย กระทรวงศึกษาฯ จะไม่คิดที่จะผลักเด็กออกนอกโรงเรียน เพื่อให้ตนพ้นจากความรับผิดชอบแบบนี้ กระทรวงศึกษาฯ ของรัฐที่ดี เขาจะตระหนักดีว่า ตนมีหน้าที่ในการดูแล สุขอนามัย ความปลอดภัย พัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งที่โรงเรียน และนอกโรงเรียน ไม่ได้จำกัดเฉพาะ “ขอบเขตพื้นที่โรงเรียน” เท่านั้น
ถ้าจะพัฒนาประเทศให้ไกลไปกว่านี้ เราจะพึ่งพลเมืองกลุ่มเดียวไม่ได้หรอก แบกประเทศไม่ไหวแน่ๆ รัฐต้องเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ มองว่าการพัฒนาเด็กทุกคน ทุกปูมหลัง ทุกข้อจำกัด ให้พวกเขาทุกคน มีโอกาสที่จะเติบโต เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพได้ เป็นหน้าที่หลักของรัฐ ถ้าประเทศ สามารถพัฒนาให้เด็กส่วนใหญ่เติบโตให้กลายเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพได้ ในอนาคต แม้ว่าอัตราการเกิดจะน้อยลง แต่พลเมืองทุกคนที่เติบโตขึ้น เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ประเทศถึงจะอยู่รอดได้ เด็กที่เกิดมาจน รัฐต้องมีกลไกที่ทำให้เขากลายเป็นผู้ใหญ่ที่หลุดพ้นจากความจนได้ ประเทศถึงจะมีความหวัง ถ้าเกิดมาเป็นเด็กจน แล้วต้องโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่จน มีลูกจน แก่ตัวก็กลายเป็นผู้สูงอายุที่จน อย่างนี้ประเทศหมดหวัง
กรอบความคิดที่ควรจะเป็นก็คือ “
เด็กทุกๆ คน ในประเทศนี้ ถือเป็นลูกหลานของคนไทยทุกคน ที่รัฐต้องเลี้ยงดู และพัฒนาพวกเขา ให้กลายเป็นพลเรือนที่มีคุณภาพให้ได้ ไม่ว่าเขาจะมีปูมหลังเช่นไร” ประเทศจึงจะมีโอกาสที่จะกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
https://twitter.com/wirojlak
'จาตุรนต์' รำลึก พฤษภาทมิฬ ชี้ น่าหดหู่ บ้านเมืองวันนี้ถอยหลังยิ่งกว่าปี 2534-2535
https://www.matichon.co.th/politics/news_2190181
จาตุรนต์ รำลึก พฤษภาทมิฬ ชี้ น่าหดหู่บ้านเมืองวันนี้ถอยหลังยิ่งกว่าช่วงปี 2534-2535
เมื่อวันที่ 17 พ.ค. นาย
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก รำลึกเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ระบุว่า
ไม่น่าเชื่อว่าเหตุการณ์พฤษภาทมิฬผ่านไปแล้วเป็นเวลาถึง 28 ปี นึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นแล้วยังเหมือนเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้เอง อาจเป็นเพราะมีงานรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นกันอยู่เป็นประจำและมีการวิเคราะห์ศึกษาบทเรียนจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นอยู่บ่อยๆ
ความจริงการต่อสู้ของประชาชนหลังการรัฐประหารของรสช.ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2534 ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 เป็นการต่อสู้ที่มีความหมายอย่างมากเพราะนอกจากทำให้หยุดยั้งการสืบทอดอำนาจ [เผล่ะจัง] แล้วยังทำให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 14 ปี กว่าจะมีการรัฐประหารอีกครั้งในปี 2549
กล่าวได้ว่าช่วงเวลา 14 ปี จากปี 2535 – 2549 เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุดที่ประเทศไทยอยู่กันอย่างเป็นประชาธิปไตยพอสมควรและปลอดจากการรัฐประหาร
การรัฐประหารของรสช.ในปี 2534 กับการรัฐประหารของคมช.ในปี 2549 มีผลต่อเนื่องตามมาที่แตกต่างกันอย่างมาก ทำให้น่าศึกษาว่าหลังจากที่มีการพัฒนาประชาธิปไตยติดต่อกันมาถึง 14 ปี มีเหตุปัจจัยอะไรที่ทำให้บ้านเมืองถอยหลังอย่างมากในหลายแง่มุม
คณะรสช.หมดบทบาทลงไปในเวลาสั้นๆจากแรงต่อต้านของหลายฝ่ายทั้งประชาชน ภาคประชาสังคม นักศึกษา สื่อมวลชนและพรรคการเมือง รวมทั้งชนชั้นนำด้วยกันเอง นำไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยขึ้นระดับหนึ่งก่อนที่จะเกิดการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ที่ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายโดยเฉพาะประชาชนในเวลาต่อมา
ระบบรัฐสภา ระบบพรรคการเมืองถูกทำให้เข้มแข็งขึ้น พร้อมๆกับการตรวจสอบถ่วงดุลที่เข้มแข็งขึ้นด้วย แต่ต่อมาพลังประชาชนแตกเป็นฝักเป็นฝ่าย ชนชั้นนำที่เคยแตกแยกกันมากกลับผนึกกำลังกันได้มากขึ้นๆ คนชั้นกลางที่เคยเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยย้ายข้างไปเป็นจำนวนมาก
การรัฐประหารในปี 2549 ไม่ได้ถูกสกัดกั้นขัดขวางอย่างที่เคยเกิดขึ้นในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ แต่กลับพัฒนาไปสู่การยื้ออำนาจกันระหว่าง [เผล่ะจัง] กับประชาธิปไตยอยู่หลายปีก่อนที่จะถอยหลังไปสู่ความเป็น [เผล่ะจัง] มากยิ่งขึ้นในการรัฐประหารปี 2557 ที่ทำให้เกิดระบอบการปกครองที่ล้าหลังยิ่งกว่ายุคสมัยใดๆ ขณะที่ชนชั้นนำผนึกกันเป็นปึกแผ่น มีกฎกติกาที่ร้อยรัดกันไว้อย่างเข้มแข็งมั่นคงกว่าสมัยก่อนๆ ส่วนพลังประชาชนก็ยังคงแตกเป็นฝักเป็นฝ่ายและพรรคการเมืองถูกทำลายให้อยู่ในสภาพที่อ่อนแอ
หรือว่าการเปลี่ยนแปลงในเดือนพฤษภาคม 2535 และพัฒนาการหลังจากนั้นเกิดขึ้นได้เนื่องจากความแตกแยกอ่อนแอของชนชั้นนำไทยเป็นการชั่วคราวทำให้ชนชั้นนำต้องอยู่ในสภาพจำยอม ตกกระไดพลอยโจน พอตั้งหลักได้ก็กลับมายึดทุกอย่างคืนไป
หรือว่าพลังทางสังคมทั้งภาคเอกชนและประชาชนยังไม่มีความเชื่อที่แท้จริงต่อหลักการประชาธิปไตยเหมือนกับตอนที่หลายฝ่ายไชโยโห่ร้องที่ได้คนนอกเป็นนายกฯอีกครั้งหลังจากการเสียเลือดเสียเนื้อในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬที่ต่อต้านคัดค้านคนนอกเป็นนายกฯผ่านไปหยกๆ
มองย้อนกลับไปในอดีตแล้วเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ยังมีเรื่องที่น่าศึกษาทำความเข้าใจสังคมไทยไม่น้อย ในแง่มุมที่มีทั้งน่าหดหู่และทำให้เกิดกำลังใจ
ที่น่าหดหู่เพราะวันนี้บ้านเมืองดูจะถอยหลังไปกว่าเมื่อปี 2534-2535 ด้วยซ้ำ
แต่เมื่อดูพัฒนาการทางการเมืองในระยะใกล้มากๆคือในเร็วๆนี้เปรียบเทียบกับในอดีต ก็จะเห็นด้านที่ทำให้เกิดกำลังใจอยู่เหมือนกัน ขณะนี้พลังฝ่ายประชาชนดูจะลดความแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายลงไปบ้าง พลังใหม่ๆเกิดขึ้นและกำลังเติบโตเข้มแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ชนชั้นนำก็ดูจะลดความเป็นเอกภาพลงไปมากและหัวหน้ารัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารก็กำลังเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว
ในส่วนของพรรคการเมือง แม้พรรคฝ่ายค้านยังต้องการการปรับตัวและต้องผ่านการทดสอบอีกพอสมควร แต่ก็มีประชาชนสนับสนุนอยู่ไม่น้อย ส่วนพรรคการเมืองที่สนับสนุนผู้มีอำนาจก็กำลังอ่อนแอลงมาก พรรคที่เป็นแกนของรัฐบาลที่พยายามทำตัวให้แตกต่างจากพรรคการเมืองในสมัยรสช.ก็กำลังขัดแย้งภายในและดูเหมือนกำลังจะเปลี่ยนแปลงถอยหลังไปสู่การเป็นพรรคการเมืองแบบพรรคสามัคคีธรรมในสมัยรสช.เข้าไปทุกที
JJNY : วิโรจน์ร่ายยาวปม#เรียนออนไลน์/จาตุรนต์ชี้หดหู่ บ้านเมืองถอยหลัง/หอค้าแฉหน่วยงานรัฐถลุงงบ/ทั่วโลกป่วยโควิด4.79ล.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2190132
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล ทวิตข้อความลงในทวิตเตอร์ @wirojlak ประเด็น #เรียนออนไลน์ ประเด็นสำคัญมันอยู่ที่ฐานคิดระหว่างการพัฒนาให้เด็กคนหนึ่ง ให้กลายเป็นพลเมืองที่มีขีดความสามารถ นั้นเป็นหน้าที่หลักร่วมกันของรัฐ และพ่อแม่ หรือหน้าที่หลักอยู่ที่พ่อแม่ และรัฐเป็นส่วนเสริม นี่คือการต่อสู้กันทางความคิด ซึ่งสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทย
บางกลุ่ม บอกว่า “การที่พ่อแม่จำนวนหนึ่ง อยากให้ลูกมาเรียนที่โรงเรียน นั้นเป็นการผลักภาระมาให้โรงเรียน”
แต่บางกลุ่ม ก็บอกว่า “การ #เรียนออนไลน์ นั้นเป็นความพยายามของโรงเรียนที่จะผลักภาระมาให้พ่อแม่
ตนเชื่อว่า การพัฒนาให้เด็กคนหนึ่ง ให้กลายเป็นพลเรือนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และร่วมมือ ในการพัฒนาประเทศ นั้นเป็นหน้าที่หลักที่รัฐต้องทำ ไม่ว่าเด็กคนนั้น จะมีปูมหลังอย่างไรก็ตามการพัฒนาเด็กหนึ่งคน จึงเป็นหน้าที่หลักของทั้งพ่อแม่ และรัฐ รวมทั้งประชาชนทุกคนด้วย ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีความพร้อมหรือไม่ พ่อแม่ของเด็กจะเป็นอย่างไร ครอบครัวเขาจะเป็นอย่างไร แต่เมื่อเวลาผ่านไป เด็กเหล่านี้ ก็ต้องเติบโตขึ้นมาเป็นพลเรือนของประเทศนี้ ซึ่งเด็กเหล่านี้ที่ต้องแบกภาระในการพัฒนาประเทศนี้ ต่อจากคนรุ่นของเรา ที่จะเข้าสู่วัยชรา
ประเทศของเราจะพัฒนาไปได้แค่ไหน จะสามารถแข่งขัน และร่วมมือกับนานาอารยประเทศได้เพียงไร จะมีที่ยืนอยู่ตรงไหนของโลกใบนี้ในอนาคตนั้นขึ้นอยู่กับเด็กๆ เหล่านี้ทั้งสิ้น นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ที่การพัฒนาเด็กเหล่านี้ทุกคน ไม่ว่าเด็กจะมีปูมหลังอย่างไร จึงเป็นหน้าที่หลักของรัฐ
ยอมรับว่า เด็กหลายคนขาดความพร้อม ทั้งในมุมของพ่อแม่ ฐานะทางบ้าน และปัญหาสังคมต่างๆ แต่ถ้าเรามัวแต่ผลักภาระในการพัฒนาเด็กเหล่านี้ ให้กับพ่อแม่ โดยที่รัฐเป็นเพียงส่วนเสริม เราจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าเด็กเหล่านี้จะเติบโตขึ้นมา เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ที่เราทุกคนภูมิใจร่วมกัน
ตนคิดว่า สังคมไทยต้องมองเด็กเหล่านี้ เป็นเหมือน “ลูกหลานของเรา” ที่ต้องช่วยกันฟูมฟักดูแลต่อให้เด็กเหล่านี้เป็นเด็กกำพร้า ต่อให้พ่อแม่ของเด็กเหล่านี้จะขาดความพร้อมเช่นไร รัฐก็ควรต้องมีกลไก ในการพัฒนาเด็กเหล่านี้ ให้เติบโตขึ้นมาเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพให้ได้ในมุมของเด็กกำพร้า ถ้าเรามองในเชิงบวก โดยคิดว่าเขาคือความหวังของชาติ และพัฒนาเขาให้ดีที่สุด ให้เขากลายเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ เมื่อเขาโตขึ้น เขาจะกลายเป็นกำลังหลักของประเทศ เพราะเด็กเหล่านี้ จะไม่ต้องแบกรับภาระที่ต้องดูแลพ่อแม่ ไม่ต้องเผชิญหน้ากับ Midlife Crisis
เด็กเหล่านี้ จะมี Focus เดียว คือ การมุ่งพัฒนาตนเอง และพัฒนาประเทศที่เขาภูมิใจ และพร้อมรับผิดชอบกับประชาชนทุกคน เพราะเขาจะตระหนักอยู่เสมอว่า ประชาชนทุกคนในประเทศนี้ คือ พ่อแม่ ที่ช่วยกันฟูมฟักให้เขาเติบโตขึ้นมา เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ดังนั้น รัฐที่ดี จะไม่นำเอาประเด็นปูมหลังของเด็ก เอาปัญหาของพ่อแม่ของเด็ก มาเป็นข้ออ้างใดๆ เลย เพราะไม่ว่าเด็กจะมีปูมหลังอย่างไร รัฐก็ต้องมีหน้าที่พัฒนาให้เขากลายเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพให้ได้ เด็กคนไหน ที่พ่อแม่มีความพร้อม มีฐานะทางบ้านที่ดี มีสังคมแวดล้อมที่เอื้ออำนวย รัฐก็จะเบาแรงหน่อย เพราะพ่อแม่สามารถช่วยรัฐได้มากขึ้น เพื่อให้รัฐจะได้ทุ่มสรรพกำลัง มาฟูมฟักเด็กที่ขาดแคลน เพื่อให้เด็กทุกคน ทุกปูมหลัง เติบโตขึ้นมาเป็นพลเมืองที่ดีให้ได้
“ยืนยันว่า การพัฒนาเด็ก ต้องเป็นหน้าที่หลักของรัฐ และพ่อแม่ร่วมกัน เด็กคนไหนที่พ่อแม่ไม่พร้อม รัฐก็ต้องเข้าไปทำหน้าที่หลัก เพื่อให้มั่นใจว่า เด็กทุกคนในแผ่นดินนี้ ไม่ว่าปูมหลังจะเป็นเช่นไร ก็จะสามารถเติบโตขึ้นมากลายเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพได้ดังนั้น การที่พ่อแม่กลุ่มหนึ่ง อยากให้โรงเรียนเปิดเทอม เพราะเขาต้องทำงาน หรือเขาไม่มีความพร้อมที่จะสอนลูกได้ จึงไม่ใช่การผลักภาระไปสู่โรงเรียน แต่นี่ควรจะเป็นหน้าที่ของโรงเรียนอยู่แล้ว”
การที่กระทรวงศึกษาธิการ จะดึงดันให้เด็กทุกคน #เรียนออนไลน์ ให้ได้ โดยไม่สนใจความเหลื่อมล้ำ และข้อจำกัดทางสังคมอื่นๆ ประกอบเลย ต่างหากที่เป็นความพยายามละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของตน และผลักภาระไปสู่พ่อแม่ การตำหนิพ่อแม่ ที่เขามีความจำเป็นต้องให้ลูกมาโรงเรียน ว่าเป็นการผลักภาระมาให้ทางโรงเรียน จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะโรงเรียนมีหน้าที่หลักตรงนี้อยู่แล้ว ไม่ใช่หรือ
ถ้ากรอบคิดของกระทรวงศึกษาธิการ มองให้กว้างกว่า “พื้นที่โรงเรียน” ก็จะเข้าใจในเรื่องนี้
การ #เรียนออนไลน์ ไม่มีทางที่เด็กจะติดเชื้อที่โรงเรียนแน่ๆ แต่ไม่ได้มีอะไรการันตีว่า เด็กจะไม่ติดเชื้อนอกโรงเรียน
ถ้ากระทรวงศึกษาฯ มองว่า การที่เด็กคนหนึ่งติดเชื้อ ไม่ว่าติดในโรงเรียน หรือนอกโรงเรียน เป็นเรื่องที่กระทรวงศึกษาฯ ต้องใส่ใจด้วย กระทรวงศึกษาฯ จะไม่คิดที่จะผลักเด็กออกนอกโรงเรียน เพื่อให้ตนพ้นจากความรับผิดชอบแบบนี้ กระทรวงศึกษาฯ ของรัฐที่ดี เขาจะตระหนักดีว่า ตนมีหน้าที่ในการดูแล สุขอนามัย ความปลอดภัย พัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งที่โรงเรียน และนอกโรงเรียน ไม่ได้จำกัดเฉพาะ “ขอบเขตพื้นที่โรงเรียน” เท่านั้น
ถ้าจะพัฒนาประเทศให้ไกลไปกว่านี้ เราจะพึ่งพลเมืองกลุ่มเดียวไม่ได้หรอก แบกประเทศไม่ไหวแน่ๆ รัฐต้องเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ มองว่าการพัฒนาเด็กทุกคน ทุกปูมหลัง ทุกข้อจำกัด ให้พวกเขาทุกคน มีโอกาสที่จะเติบโต เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพได้ เป็นหน้าที่หลักของรัฐ ถ้าประเทศ สามารถพัฒนาให้เด็กส่วนใหญ่เติบโตให้กลายเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพได้ ในอนาคต แม้ว่าอัตราการเกิดจะน้อยลง แต่พลเมืองทุกคนที่เติบโตขึ้น เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ประเทศถึงจะอยู่รอดได้ เด็กที่เกิดมาจน รัฐต้องมีกลไกที่ทำให้เขากลายเป็นผู้ใหญ่ที่หลุดพ้นจากความจนได้ ประเทศถึงจะมีความหวัง ถ้าเกิดมาเป็นเด็กจน แล้วต้องโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่จน มีลูกจน แก่ตัวก็กลายเป็นผู้สูงอายุที่จน อย่างนี้ประเทศหมดหวัง
กรอบความคิดที่ควรจะเป็นก็คือ “เด็กทุกๆ คน ในประเทศนี้ ถือเป็นลูกหลานของคนไทยทุกคน ที่รัฐต้องเลี้ยงดู และพัฒนาพวกเขา ให้กลายเป็นพลเรือนที่มีคุณภาพให้ได้ ไม่ว่าเขาจะมีปูมหลังเช่นไร” ประเทศจึงจะมีโอกาสที่จะกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
https://twitter.com/wirojlak
'จาตุรนต์' รำลึก พฤษภาทมิฬ ชี้ น่าหดหู่ บ้านเมืองวันนี้ถอยหลังยิ่งกว่าปี 2534-2535
https://www.matichon.co.th/politics/news_2190181
จาตุรนต์ รำลึก พฤษภาทมิฬ ชี้ น่าหดหู่บ้านเมืองวันนี้ถอยหลังยิ่งกว่าช่วงปี 2534-2535
เมื่อวันที่ 17 พ.ค. นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก รำลึกเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ระบุว่า
ไม่น่าเชื่อว่าเหตุการณ์พฤษภาทมิฬผ่านไปแล้วเป็นเวลาถึง 28 ปี นึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นแล้วยังเหมือนเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้เอง อาจเป็นเพราะมีงานรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นกันอยู่เป็นประจำและมีการวิเคราะห์ศึกษาบทเรียนจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นอยู่บ่อยๆ
ความจริงการต่อสู้ของประชาชนหลังการรัฐประหารของรสช.ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2534 ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 เป็นการต่อสู้ที่มีความหมายอย่างมากเพราะนอกจากทำให้หยุดยั้งการสืบทอดอำนาจ [เผล่ะจัง] แล้วยังทำให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 14 ปี กว่าจะมีการรัฐประหารอีกครั้งในปี 2549
กล่าวได้ว่าช่วงเวลา 14 ปี จากปี 2535 – 2549 เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุดที่ประเทศไทยอยู่กันอย่างเป็นประชาธิปไตยพอสมควรและปลอดจากการรัฐประหาร
การรัฐประหารของรสช.ในปี 2534 กับการรัฐประหารของคมช.ในปี 2549 มีผลต่อเนื่องตามมาที่แตกต่างกันอย่างมาก ทำให้น่าศึกษาว่าหลังจากที่มีการพัฒนาประชาธิปไตยติดต่อกันมาถึง 14 ปี มีเหตุปัจจัยอะไรที่ทำให้บ้านเมืองถอยหลังอย่างมากในหลายแง่มุม
คณะรสช.หมดบทบาทลงไปในเวลาสั้นๆจากแรงต่อต้านของหลายฝ่ายทั้งประชาชน ภาคประชาสังคม นักศึกษา สื่อมวลชนและพรรคการเมือง รวมทั้งชนชั้นนำด้วยกันเอง นำไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยขึ้นระดับหนึ่งก่อนที่จะเกิดการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ที่ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายโดยเฉพาะประชาชนในเวลาต่อมา
ระบบรัฐสภา ระบบพรรคการเมืองถูกทำให้เข้มแข็งขึ้น พร้อมๆกับการตรวจสอบถ่วงดุลที่เข้มแข็งขึ้นด้วย แต่ต่อมาพลังประชาชนแตกเป็นฝักเป็นฝ่าย ชนชั้นนำที่เคยแตกแยกกันมากกลับผนึกกำลังกันได้มากขึ้นๆ คนชั้นกลางที่เคยเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยย้ายข้างไปเป็นจำนวนมาก
การรัฐประหารในปี 2549 ไม่ได้ถูกสกัดกั้นขัดขวางอย่างที่เคยเกิดขึ้นในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ แต่กลับพัฒนาไปสู่การยื้ออำนาจกันระหว่าง [เผล่ะจัง] กับประชาธิปไตยอยู่หลายปีก่อนที่จะถอยหลังไปสู่ความเป็น [เผล่ะจัง] มากยิ่งขึ้นในการรัฐประหารปี 2557 ที่ทำให้เกิดระบอบการปกครองที่ล้าหลังยิ่งกว่ายุคสมัยใดๆ ขณะที่ชนชั้นนำผนึกกันเป็นปึกแผ่น มีกฎกติกาที่ร้อยรัดกันไว้อย่างเข้มแข็งมั่นคงกว่าสมัยก่อนๆ ส่วนพลังประชาชนก็ยังคงแตกเป็นฝักเป็นฝ่ายและพรรคการเมืองถูกทำลายให้อยู่ในสภาพที่อ่อนแอ
หรือว่าการเปลี่ยนแปลงในเดือนพฤษภาคม 2535 และพัฒนาการหลังจากนั้นเกิดขึ้นได้เนื่องจากความแตกแยกอ่อนแอของชนชั้นนำไทยเป็นการชั่วคราวทำให้ชนชั้นนำต้องอยู่ในสภาพจำยอม ตกกระไดพลอยโจน พอตั้งหลักได้ก็กลับมายึดทุกอย่างคืนไป
หรือว่าพลังทางสังคมทั้งภาคเอกชนและประชาชนยังไม่มีความเชื่อที่แท้จริงต่อหลักการประชาธิปไตยเหมือนกับตอนที่หลายฝ่ายไชโยโห่ร้องที่ได้คนนอกเป็นนายกฯอีกครั้งหลังจากการเสียเลือดเสียเนื้อในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬที่ต่อต้านคัดค้านคนนอกเป็นนายกฯผ่านไปหยกๆ
มองย้อนกลับไปในอดีตแล้วเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ยังมีเรื่องที่น่าศึกษาทำความเข้าใจสังคมไทยไม่น้อย ในแง่มุมที่มีทั้งน่าหดหู่และทำให้เกิดกำลังใจ
ที่น่าหดหู่เพราะวันนี้บ้านเมืองดูจะถอยหลังไปกว่าเมื่อปี 2534-2535 ด้วยซ้ำ
แต่เมื่อดูพัฒนาการทางการเมืองในระยะใกล้มากๆคือในเร็วๆนี้เปรียบเทียบกับในอดีต ก็จะเห็นด้านที่ทำให้เกิดกำลังใจอยู่เหมือนกัน ขณะนี้พลังฝ่ายประชาชนดูจะลดความแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายลงไปบ้าง พลังใหม่ๆเกิดขึ้นและกำลังเติบโตเข้มแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ชนชั้นนำก็ดูจะลดความเป็นเอกภาพลงไปมากและหัวหน้ารัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารก็กำลังเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว
ในส่วนของพรรคการเมือง แม้พรรคฝ่ายค้านยังต้องการการปรับตัวและต้องผ่านการทดสอบอีกพอสมควร แต่ก็มีประชาชนสนับสนุนอยู่ไม่น้อย ส่วนพรรคการเมืองที่สนับสนุนผู้มีอำนาจก็กำลังอ่อนแอลงมาก พรรคที่เป็นแกนของรัฐบาลที่พยายามทำตัวให้แตกต่างจากพรรคการเมืองในสมัยรสช.ก็กำลังขัดแย้งภายในและดูเหมือนกำลังจะเปลี่ยนแปลงถอยหลังไปสู่การเป็นพรรคการเมืองแบบพรรคสามัคคีธรรมในสมัยรสช.เข้าไปทุกที