🛑มาลาริน/ข่าวดีค่ะ..สธ.ยัน กทม.ติดเชื้อโควิดน้อยลงจริง หลังค้นหาเชิงรุก คลินิก-สลัมคลองเตย-หมู่บ้าน-คอนโด ไม่พบติดเชื้อ

สธ.ยัน กทม.ติดเชื้อโควิดน้อยลงจริง หลังค้นหาเชิงรุก คลินิก-สลัมคลองเตย-หมู่บ้าน-คอนโด ไม่พบติดเชื้อ



สธ.เผย กทม.ติดโควิดน้อยลงจริง ค้นหาเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยง และสถานที่เสี่ยง ทั้งบุคลากรคลินิกชุมชนอบอุ่น ชุมชนแออัดคลองเตย 3 หมู่บ้านจัดสรร คอนโด 2 เรือนจำ รวมมากกว่า 4 พันเคส ไม่พบการติดเชื้อ แต่ยังมีความเสี่ยงระบาดใหม่จากคนเดินทางต่างประเทศและต่างจังหวัด และการผ่อนปรนกิจการ ต้องคงมาตรการเว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือ



วันนี้ (9 พ.ค.) นพ.ปรีชา เปรมปรี รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 9 พ.ค. มีผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่ม 4 ราย โดยมี 1 รายมาจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) จึงคิดว่า กทม.มีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาด แม้จะไม่พบผู้ป่วยมาหลายวันแล้ว โดยมาตรการที่ดำเนินการใน กทม.ขณะนี้ หลังการระบาดเริ่มลดลงแะมีการผ่อนปรน คือ การค้นหาเชิงรุกในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ คือ 1.ผู้ให้บริการสาธาณะที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดกลุ่มอื่นได้ เช่น ขนส่งสาธารณะ แท็กซี่ ส่งของต่างๆ 2.บุคลากรทางการแพทย์ 3.กลุ่มผู้ต้องขังแรกเข้า 4.กลุ่มซ่อนเร้น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ชุมชนแออัด และ แรงงานต่างด้าว

"กทม.มีชุมชนแออัดจำนวนมาก และเป็นชุมชนแออัดขนาดใหญ่ มีคนเป็นหลักแสน เช่น ชุมชนแออัดคลองเตย ที่เข้าถึงได้ยาก จึงร่วมกับภาคเอกชน หน่วยงานในพื้นที่ และ กทม.เข้าค้นหาเชิงรุก เพื่อมั่นใจว่ามีผู้ป่วยหลงเหลือตกค้างในชุมชนหรือไหม ส่วนแรงงานต่างด้าว มีลิสต์แรงงานเข้ามาแล้วที่จะตรวจเพิ่มเติม กำลังร่วมกับ กทม.ดำเนินการ" นพ.ปรีชากล่าวและว่า สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ มีการตรวจในคลินิกชุมชนอบอุ่นของ กทม. แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่บุคลากรคนใดตรวจพบเชื้อ 

นพ.ปรีชากล่าวว่า กลุ่มที่จะเข้ามาแพร่เชื้อใน กทม.ได้ คือ กลุ่มที่มาจากต่างประเทศ กับกลุ่มที่ย้ายมาจากพื้นที่เสี่ยง คือ ภูเก็ต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ 2 กลุ่มนี้เมื่อเดินทางมาจะถูกกักในสถานที่กักกันที่รัฐกำหนดทั้ง State Quarantine และ Local Quarantine ถ้าทำได้ดี ก็จะนำเชื้อเข้ามาในกทม.และประเทศไทยน้อยลง ทำให้เรามีแนวทางควบคุมไม่ให้เกิดระบาดได้ นอกจากนี้ ต้องมีมาตรการทางสังคม สวมหน้ากาก ล้างมือ ระวังกิจกรรมสังคมร่วมกัน เพราะถ้ายังเสี่ยงอยู่ การระบาดเฟสถัดไปก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้



นพ.ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดี คร. กล่าวว่า ขณะนี้มี State Quarantine 23 แห่ง และ Local Quarantine ใน 12 เขตสุขภาพรองรับได้ 13,491 คน รับผู้เดินทางจากต่างประเทศไว้สังเกตอาการประมาณ 10,000 ราย พบผู้ติดเชื้อ 87 ราย แยกเป็น State Quarantine 21 ราย และ Local Quarantine 66 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้เดินทางจากประเทศอินโดนีเซีย รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาเลเซีย ซึ่งหากไม่กักตัวไว้สังเกตอาการ จะทำให้เกิดการแพร่กระจายโรคได้ อาจมีผู้ติดเชื้อในชุมชนเพิ่มขึ้นกว่า 10,000 ราย ทั้งนี้ ยังต้องคงมาตรการกักกันผู้เดินทางจากต่างประเทศให้ครบ 100 % เพื่อลดการนำเชื้อเข้าสู่ประเทศ และต้องเข้มมาตรการเชิงรุกค้นหาผู้ติดเชื้อในประเทศ ลดการแพร่ระบาดให้อยู่ในระดับที่ระบบรองรับได้



2.หมู่บ้านจัดสรร ซึ่งไม่มีกลไกภาครัฐเข้าไป เพราะเป็นนิติบุคคล เข้าไม่ถึง มีรั้วกั้น ไม่รู้สถานการณ์แท้จริง ก็ใช้โมเดลอาสาสมัครแบบคลองเตยเข้าไปใน 3 หมู่บ้านจัดสรร นำแอปพลิเคชัน clicknic มาใช้คัดกรองพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค 300 กว่าราย ตรวจแล้วไม่พบการติดเชื้อ แสดงว่าการระบาดยังไม่เจาะลงในพื้นที่ที่เราเข้าไม่ถึง
3.คอนโดมิเนียม มีความเป็นเมือง อยู่เป็นตึกเป็นชั้น ห้องใครห้องมัน ระบบข้อมูลการรายงานของโรคเข้าไม่ถึงหน่วยงานภาครัฐ จึงใช้อาสาสมัครคอนโด เข้าไปร่วมคัดกรอง ทำแบบสอบถาม ผ่านเข้าไลน์กรุ๊ปคอนโด และตรวจเชื้อก็ไม่พบการติดเชื้อ และ 4.เรือนจำ 2 เรือนจำ ก็ไม่พบการติดเชื้อเช่นกัน รวมถึงกลุ่มบุคลากรในคลินิกชุมชนอบอุ่นและกลุ่มพนักงานสาธารณะ ซึ่งไม่พบการติดเชื้อ

"สถานการณ์ใน กทม.ถือว่าลดลงจริงในชุมชน ในกลุ่มเปราะบาง ประชาชนทั่วไป แม้สถานการณ์ในทิศทางดี แตก็ยังมีความเสี่ยง คือ คนเข้ามาในประเทศ เชื้ออาจซ่อนเร้นบางจุดที่ยังไม่พบ อยากให้คงมาตรการหน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่างต่อไป จะช่วยลดการระบาดได้" นพ.เอนกกล่าวและว่า ทั้งนี้ จากการลงตรวจกลุ่มเสี่ยงใน กทม. 4,820 ราย และสถานที่เสี่ยง 1,152 ราย ไม่พบการติดเชื้อ



https://mgronline.com/qol/detail/9630000048574

ข่าวนี้ทำให้คนกทม.ยินดีค่ะ

ว่าจะใช้ชีวิตวิถีใหม่อย่างมั่นใจในความปลอดภัย

อรุณสวัสดิ์ยามเช้าค่ะ...🦋🌹🐦

วันนี้จะออกไปไหนดี....เพี้ยนลาเวนเดอร์

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 20
การแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) วันที่ 10 พ.ค. 2563
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
การแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)
ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
วันที่ 10 พฤษภาคม 2563







รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19  ณ วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม 2563
ประเทศไทย
ผู้ติดเชื้อสะสม 3,009 ราย ใน 68 จังหวัด (เพิ่มขึ้นในวันนี้ 5 ราย)
เสียชีวิตรวม 56 ราย (ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในวันนี้)
รักษาหายป่วยแล้ว 2,794 ราย (92.85%) เพิ่มขึ้น 7 ราย
ผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่มขึ้นในวันนี้ 5 ราย เข้ารับการรักษาที่กรุงเทพมหานคร (1 ราย, State Quarantine 1 ราย) ชลบุรี (State Quarantine 2 ราย) และนราธิวาส (1 ราย)
กรุงเทพมหานคร มีผู้ป่วยที่รับรักษาสะสมมากที่สุด (1,528 ราย) ตามด้วย ภูเก็ต (220), นนทบุรี (157), ยะลา (124), สมุทรปราการ (114), ชลบุรี (87), ปัตตานี (79), สงขลา (44), เชียงใหม่ (40) , ปทุมธานี (39) , นราธิวาส (30) และนครปฐม (22) โดยมีผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระหว่าง state quarantine และในจังหวัดต่างๆ รวม 90 ราย
ทั้งนี้ เมื่อจำแนกตามจังหวัดที่รับผู้ติดเชื้อเข้ารักษา (ไม่รวมผู้ติดเขื้อในกลุ่ม State Quarantine)
   - มี 67 จังหวัดที่รับผู้ติดเชื้อไว้รักษา
   - ไม่เคยมีรายงานผู้ติดเชื้อเลย                  จำนวน 10 จังหวัด
   - ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ใน 28 วันที่ผ่านมา   จำนวน 45 จังหวัด
   - ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ใน 14 วันที่ผ่านมา   จำนวน 13 จังหวัด
   - ยังมี ผู้ติดเชื้อรายใหม่ ใน 14 วันที่ผ่านมา  จำนวน  9 จังหวัด
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.)
ส่วนรายงานข้อมูลของอาเซียนและการวิเคราะห์จะอยู่ในรอบการรายงานช่วงเย็น
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/2768882843237270

แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 10 พฤษภาคม​ 2563
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19
ณ​ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ประจำวันที่ 10 พฤษภาคม​ 2563


7 วัน หลังผ่อนปรน

วันนี้ (10 พ.ค. 63) เป็นวันที่ครบ 7 วันหลังจากเริ่มมาตรการผ่อนปรนในระยะที่ 1 ในวันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมา ร้านค้าต่างๆเริ่มเปิดได้ เช่นร้านตัดผม ร้านอาหาร สวนสาธารณะ และเริ่มมีการจำหน่ายสุรา ซึ่งในวันแรกที่ผ่อนปรน เราก็ได้เห็นภาพที่น่ากังวลของการแย่งซื้อของ การไม่ทำตามมาตรการในการป้องกันโรค เช่นร้านอาหารที่นั่งแออัด ร้านตัดผมที่มีการนั่งรอ รวมไปถึงการใช้บริการขนส่งสาธารณะ เช่นรถไฟฟ้า ที่แออัดกัน ไม่มี Social Distancing หรือมีการลักลอบเปิดกิจการบางประเภทที่ยังไม่อนุญาตให้เปิด ซึ่งบางส่วนก็ได้มีการตักเตือน หรือสั่งปิดไปแล้ว

จึงเกิดความกังวลขึ้นว่า จะเกิดการระบาดเป็นระลอก 2 หรือไม่ หลังจากที่เรากดยอดตกลงมาจน “ต่ำสิบ” ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นกันในตั้งแต่ประมาณ 7-14 วัน ซึ่งเป็นจำนวนวันที่กำหนดให้เป็นการกักตัว ซึ่งหากเรายังรักษายอดต่ำสิบนี้ไว้ได้ ก็ค่อนข้างแน่นอนว่าเราจะสามารถผ่อนปรนได้ในระยะที่ 2 ต่อไป

ดังนั้นวันนี้ ซึ่งเป็นวันที่ 7 จึงเป็นอีกวันที่เรารอลุ้นกันว่า ยอดจะเริ่มพุ่งขึ้นหรือไม่

ซึ่งยอดของวันนี้คือ 5 ราย ยัง “ต่ำสิบ” โดยมี 2 รายที่ติดเชื้อจากภายในประเทศ (กรุงเทพ และ นราธิวาส) และ 3 รายเป็นผู้ป่วยที่มาจากต่างประเทศ (UAE และ ปากีสถาน) ซึ่งเข้ากักตัวใน State Quarantine และวันนี้ ไม่มีผู้เสียชีวิต

แต่ในวันพรุ่งนี้ ตัวเลขจะเพิ่มขึ้น “เกินสิบ” หรือไม่ ยังต้องลุ้นกันต่อไป เพราะรายงานเบื้องต้นอย่างไม่เป็นทางการ มีผู้ติดเชื้อจาก จ.ภูเก็ตแล้ว 4 ราย รอการสอบสวนเพิ่มเติม

ในอีก 7 วันต่อไปนี้ จนถึง 14 วัน เราจึงต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ว่ายอดผู้ติดเชื้อจะเป็นอย่างไร และเราจะได้ไปต่อในการผ่อนปรนระยะที่ 2 อย่างไรบ้าง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การป้องกันตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราแต่ละคนจะทำได้ ที่จะทำให้ทั้งประเทศผ่านวิกฤตไปด้วยกันได้
https://www.facebook.com/ThaiCovidCenter/posts/126782028987715
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่