ทศวรรษที่ผ่านมา เราได้เห็นกลุ่มสนับสนุนการเมืองหลายฝ่าย ส่วนมาก ก็มีด่าและชื่นชม ในสิ่งที่ตัวเองรัก และในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ
แต่เคยคิดดูดีๆ ไหม ว่าสิ่งที่เราตำหนิติเตียนนั้น มันคือสิ่งที่นักการเมืองทำ หรือเป็นสิ่งที่สะท้อนจากผู้สนับสนุนนักการเมือง พรรคการเมือง หรือนโยบายทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อนหาเสียง หรือมาตรการที่ออกมาจากรัฐบาล
ทั้งนี้ทั้งนั้น ด้วยความเป็นประเทศประชาธิปไตย ประชาชนทั้งหลายสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ทั้งนโยบายก่อนหาเสียง และมาตรการของรัฐ(ซึ่งต้องสอดคล้องกับนโยบายที่หาเสียงไว้)
การวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหลาย ก็ออกมาใน 3 ลักษณะคือ
- วิพากษ์วิจารณ์ตัวนโยบาย หรือ
- วิพากษ์วิจารณ์คนออกนโยบาย
- วิพากษ์วิจารณ์เสียงสะท้อนในนโยบายต่างๆ ซึ่งหมายถึง การเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับตัวผู้สนับสนุน และไม่สนับสนุนนโยบายเหล่านั้น
การวิพากษ์วิจารณ์ตัวนโยบาย อาจจะเป็นการยากเกินไป สำหรับประชาชนที่ไม่เคยมีโอกาส ได้รับรู้ในข้อมูลของการบริหารบ้านเมืองที่แท้จริง หลายคนเอาไปเปรียบเทียบกับการบริหารงานของบริษัท ซึ่งระเบียบ และกฎหมายคุ้มครองแตกต่างกันออกไปจาก ระเบียบและกฎหมายที่คุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งทำให้ เกิดข้อโต้แย้งกันระหว่างผู้ที่รู้ เกิดข้อโต้แย้งกันระหว่างผู้ที่รู้ กับผู้ที่ไม่รู้
ซึ่งไม่ใช่ความเห็นที่ต่างมุมมอง แต่เป็นการเข้าใจผิด เห็นผิด และเชื่อกันอย่างผิดๆ
การวิจารณ์ตัวคนออกนโยบาย ก็มีไม่แพ้กัน เช่น หากนโยบายเดียวกัน แต่ผู้ที่ประกาศมาตรการหรือนโยบายนั้น เป็นคนที่คุณสนับสนุน คุณก็จะยินดีปรีดา และเห็นว่ามันถูกต้อง แต่ถ้าผู้ประกาศมาตรการหรือนโยบายนั้น เป็นคนที่คุณไม่สนับสนุน คุณก็จะมีแต่การตำหนิติเตียน โดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ทั้งสองฝ่ายนั้น มีวิธีการต่างกันหรือไม่อย่างไร
ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์ผู้สนับสนุนนโยบายหรือมาตรการต่างๆ ของนักการเมือง หรือพูดง่ายๆ ว่า เสื้อแดงด่าสลิ่ม สลิ่มด่าเสื้อแดง เป็นการโต้เถียงกันไปมาระหว่างผู้สนับสนุนทั้งสองฝ่าย โดยที่ใช้นักการเมือง หรือนโยบายการเมือง มาเป็นข้ออ้างในการโจมตีกันไปมา ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่ได้เข้าข่ายในการวิจารณ์ตัวนโยบาย หรือความเชื่อมั่นในตัวนักการเมืองและพรรคการเมืองเลย
วันนี้มาถามสั้นๆ ง่ายๆ
คุณเป็นประเภทไหน
คุณแยกออกไหม ระหว่างนักการเมือง พรรคการเมือง และ ผู้สนับสนุนพรรคการเมือง
แต่เคยคิดดูดีๆ ไหม ว่าสิ่งที่เราตำหนิติเตียนนั้น มันคือสิ่งที่นักการเมืองทำ หรือเป็นสิ่งที่สะท้อนจากผู้สนับสนุนนักการเมือง พรรคการเมือง หรือนโยบายทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อนหาเสียง หรือมาตรการที่ออกมาจากรัฐบาล
ทั้งนี้ทั้งนั้น ด้วยความเป็นประเทศประชาธิปไตย ประชาชนทั้งหลายสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ทั้งนโยบายก่อนหาเสียง และมาตรการของรัฐ(ซึ่งต้องสอดคล้องกับนโยบายที่หาเสียงไว้)
การวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหลาย ก็ออกมาใน 3 ลักษณะคือ
- วิพากษ์วิจารณ์ตัวนโยบาย หรือ
- วิพากษ์วิจารณ์คนออกนโยบาย
- วิพากษ์วิจารณ์เสียงสะท้อนในนโยบายต่างๆ ซึ่งหมายถึง การเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับตัวผู้สนับสนุน และไม่สนับสนุนนโยบายเหล่านั้น
การวิพากษ์วิจารณ์ตัวนโยบาย อาจจะเป็นการยากเกินไป สำหรับประชาชนที่ไม่เคยมีโอกาส ได้รับรู้ในข้อมูลของการบริหารบ้านเมืองที่แท้จริง หลายคนเอาไปเปรียบเทียบกับการบริหารงานของบริษัท ซึ่งระเบียบ และกฎหมายคุ้มครองแตกต่างกันออกไปจาก ระเบียบและกฎหมายที่คุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งทำให้ เกิดข้อโต้แย้งกันระหว่างผู้ที่รู้ เกิดข้อโต้แย้งกันระหว่างผู้ที่รู้ กับผู้ที่ไม่รู้
ซึ่งไม่ใช่ความเห็นที่ต่างมุมมอง แต่เป็นการเข้าใจผิด เห็นผิด และเชื่อกันอย่างผิดๆ
การวิจารณ์ตัวคนออกนโยบาย ก็มีไม่แพ้กัน เช่น หากนโยบายเดียวกัน แต่ผู้ที่ประกาศมาตรการหรือนโยบายนั้น เป็นคนที่คุณสนับสนุน คุณก็จะยินดีปรีดา และเห็นว่ามันถูกต้อง แต่ถ้าผู้ประกาศมาตรการหรือนโยบายนั้น เป็นคนที่คุณไม่สนับสนุน คุณก็จะมีแต่การตำหนิติเตียน โดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ทั้งสองฝ่ายนั้น มีวิธีการต่างกันหรือไม่อย่างไร
ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์ผู้สนับสนุนนโยบายหรือมาตรการต่างๆ ของนักการเมือง หรือพูดง่ายๆ ว่า เสื้อแดงด่าสลิ่ม สลิ่มด่าเสื้อแดง เป็นการโต้เถียงกันไปมาระหว่างผู้สนับสนุนทั้งสองฝ่าย โดยที่ใช้นักการเมือง หรือนโยบายการเมือง มาเป็นข้ออ้างในการโจมตีกันไปมา ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่ได้เข้าข่ายในการวิจารณ์ตัวนโยบาย หรือความเชื่อมั่นในตัวนักการเมืองและพรรคการเมืองเลย
วันนี้มาถามสั้นๆ ง่ายๆ
คุณเป็นประเภทไหน